ปี 2004
ไม่รู้มีใครสังเกตรึเปล่าว่า Pentium 4 ติดอยู่ที่ 3 กิกะเฮิร์ตกว่าๆ มานานแล้ว ใช้แล้วครับ ต่อไป ตัวเลขความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่ใช่ประเด็นอีกแล้ว
หลังจากเอเอ็มดีปล่อย Athlon ที่ทำงานได้เร็วกว่ามา สามสี่ปีให้หลังก็เกิดสงครามที่เรียกว่า สงความสัญญาณนาฬิกา (Clock Race) เอเอ็มดีสู้ไม่ค่อยได้ ก็เอาเลข PR ออกมาสู้ และประกาศว่า ซีพียูดีไม่ดี ไม่ได้ดูที่คล็อกนะ ส่วนอินเทลก็ไม่สนใจ อัดสปีดต่อไป เพราะรู้ดีว่าผู้บริโภคจำนวนมาก ยังยึดติดกับเลขเมกะเฮิร์ตอยู่ ทำให้เป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาระหว่างสาวกของทั้งคู่ (ผมเดิมสาวกเอเอ็มดี ตอนนี้สาวกไอบีเอ็มแทนครับ อิๆ)
สิ่งที่เอเอ็มดีพูดนั้นถูกต้องครับ เพราะการอัดประสิทธิภาพเยอะๆ ลงในชิปเพื่อให้มันทำงานเร็ว ซักวันจะมีข้อจำกัด ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นกันแล้วว่า อินเทลยกเลิกตัวเลขเมกะเฮิร์ต แล้วเปลี่ยนมาใช้เลขชุด 3,5,7 แบบเดียวกับ BMW เพื่อเตรียมตัวสู่อนาคต ที่เลขเมกะเฮิร์ตจะไม่สำคัญอีก ช่วงหลังมานี้ และโดยเฉพาะงาน IDF (Intel Developer Forum) ปีนี้ยิ่งแสดงแนวโน้มให้เห็นได้ชัดมากขึ้น หลังจากเปิดตัว Dual Core CPU
แนวคิดของซีพียูในยุคหลังมีสองแบบครับ แบบแรกที่อินเทลใช้มาตลอดคืออัดสุดยอดความสามารถในการคำนวณ ให้อยู่ในซีพียูเพียงตัวเดียว วิธีนี้มีข้อดีคือถ้างานยากๆ งานเดียวเข้ามา ก็จะคำนวณได้เร็วมาก แน่ล่ะ ข้อเสียคือยิ่งแรง ยิ่งร้อน ยิ่งเปลืองไฟครับ แบบที่สอง เป็นแบบที่ไอบีเอ็มใช้ในซีพียู PowerPC ที่ใช้ในแมคอินทอช นั่นคือ ซีพียูไม่ต้องเร็วมาก แต่ให้มันรวมร่างกันทำงานได้ และนั่นเป็นแนวคิดของ Mulitucore น่ะเอง
อินเทลเริ่มกลับลำแล้วครับ นอกเหนือไปจากตัวเลขบอกรุ่นแบบใหม่ ความสามารถ Hyper Threading ที่อยู่ใน P4HT เป็นเหมือนหนังตัวอย่างให้โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกเตรียมตัวสู่ Multicore ถึงแม้ว่า HT จะไม่ใช่ Multicore แท้ๆ แต่ถ้าเกิดว่าอินเทลออกซีพียูแบบ Dual Core ที่มี HT มาล่ะก็ ตัวระบบปฏิบัติการจะมองเห็นเสมือนว่า มีซีพียูให้ใช้ถึง 4 ตัว
ทั้งหมดนี้แปลมาจาก Ars Technica : Multicore, dual-core, and the future of Intel ในนี้ยังมีการพูดถึงทฤษฎีที่ข้อมูลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุที่อินเทลต้องปรับตัว และเทคโนโลยีใหม่ๆ อื่นๆ ของอินเทล อย่าง WiMAX และ Digital Right Management อีกด้วยครับผม
แหล่งข่าวภาษาไทย :
https://www.blognone.com/node/38
เมื่ออินเทลเปลี่ยนไป
ไม่รู้มีใครสังเกตรึเปล่าว่า Pentium 4 ติดอยู่ที่ 3 กิกะเฮิร์ตกว่าๆ มานานแล้ว ใช้แล้วครับ ต่อไป ตัวเลขความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่ใช่ประเด็นอีกแล้ว
หลังจากเอเอ็มดีปล่อย Athlon ที่ทำงานได้เร็วกว่ามา สามสี่ปีให้หลังก็เกิดสงครามที่เรียกว่า สงความสัญญาณนาฬิกา (Clock Race) เอเอ็มดีสู้ไม่ค่อยได้ ก็เอาเลข PR ออกมาสู้ และประกาศว่า ซีพียูดีไม่ดี ไม่ได้ดูที่คล็อกนะ ส่วนอินเทลก็ไม่สนใจ อัดสปีดต่อไป เพราะรู้ดีว่าผู้บริโภคจำนวนมาก ยังยึดติดกับเลขเมกะเฮิร์ตอยู่ ทำให้เป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาระหว่างสาวกของทั้งคู่ (ผมเดิมสาวกเอเอ็มดี ตอนนี้สาวกไอบีเอ็มแทนครับ อิๆ)
สิ่งที่เอเอ็มดีพูดนั้นถูกต้องครับ เพราะการอัดประสิทธิภาพเยอะๆ ลงในชิปเพื่อให้มันทำงานเร็ว ซักวันจะมีข้อจำกัด ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นกันแล้วว่า อินเทลยกเลิกตัวเลขเมกะเฮิร์ต แล้วเปลี่ยนมาใช้เลขชุด 3,5,7 แบบเดียวกับ BMW เพื่อเตรียมตัวสู่อนาคต ที่เลขเมกะเฮิร์ตจะไม่สำคัญอีก ช่วงหลังมานี้ และโดยเฉพาะงาน IDF (Intel Developer Forum) ปีนี้ยิ่งแสดงแนวโน้มให้เห็นได้ชัดมากขึ้น หลังจากเปิดตัว Dual Core CPU
แนวคิดของซีพียูในยุคหลังมีสองแบบครับ แบบแรกที่อินเทลใช้มาตลอดคืออัดสุดยอดความสามารถในการคำนวณ ให้อยู่ในซีพียูเพียงตัวเดียว วิธีนี้มีข้อดีคือถ้างานยากๆ งานเดียวเข้ามา ก็จะคำนวณได้เร็วมาก แน่ล่ะ ข้อเสียคือยิ่งแรง ยิ่งร้อน ยิ่งเปลืองไฟครับ แบบที่สอง เป็นแบบที่ไอบีเอ็มใช้ในซีพียู PowerPC ที่ใช้ในแมคอินทอช นั่นคือ ซีพียูไม่ต้องเร็วมาก แต่ให้มันรวมร่างกันทำงานได้ และนั่นเป็นแนวคิดของ Mulitucore น่ะเอง
อินเทลเริ่มกลับลำแล้วครับ นอกเหนือไปจากตัวเลขบอกรุ่นแบบใหม่ ความสามารถ Hyper Threading ที่อยู่ใน P4HT เป็นเหมือนหนังตัวอย่างให้โปรแกรมเมอร์ทั่วโลกเตรียมตัวสู่ Multicore ถึงแม้ว่า HT จะไม่ใช่ Multicore แท้ๆ แต่ถ้าเกิดว่าอินเทลออกซีพียูแบบ Dual Core ที่มี HT มาล่ะก็ ตัวระบบปฏิบัติการจะมองเห็นเสมือนว่า มีซีพียูให้ใช้ถึง 4 ตัว
ทั้งหมดนี้แปลมาจาก Ars Technica : Multicore, dual-core, and the future of Intel ในนี้ยังมีการพูดถึงทฤษฎีที่ข้อมูลใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุที่อินเทลต้องปรับตัว และเทคโนโลยีใหม่ๆ อื่นๆ ของอินเทล อย่าง WiMAX และ Digital Right Management อีกด้วยครับผม
แหล่งข่าวภาษาไทย : https://www.blognone.com/node/38