*ทุกคนสามารถข้ามไปที่คำถามที่บรรทัดสุดท้ายได้เลยนะครับ เพราะช่วงแรกเป็นช่วงที่ผมอรรถาธิบาย และระบายเกี่ยวกับตัวเอง อาจเรียกว่าเป็นเนื้อเรื่องก็ได้ครับ สำหรับคนที่อยากเข้าประเด็นเลยก็ข้ามไปเลยก็ได้ครับ แต่ผมอยากให้ทุกคนอ่านและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อด้วยนะครับ
ขอขอบคุณท่านที่ผ่านมาอ่านและช่วยเหลือนะครับ
เนื้อเรื่อง
ผมจบจาก โรงเรียนช่างแห่งหนึ่งครับ พอจบมาปี 64 ผมก็ไปเรียน ม.เอกชนแห่งหนึ่ง สาขาวิศวะ หลังจากนั้นผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่มากๆ เพราะตอน ปวช. ผมได้ฝึกงานและทำงานในโรงงานและผมก็มีประสบการณ์ไม่ดีในที่ทำงาน พอคิดว่าถ้าจบวิศวะไปแล้วต้องมาทำงานอะไรแบบนี้ สายนี้ผมคงทนไม่ได้แน่ ช่วงนั้นผมได้เริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวการเมือง แนวความคิด ปรัชญา ประวัติศาสตร์แล้วชอบมากๆ พอผมรู้ตัวว่าผมไม่น่าจะไปต่อกับสายวิศวะผมก็ออกจาก ม.นั้นตอนกำลังจะจบซัมเมอร์ปีแรก แล้วพักช่วงไปหนึ่งเทอม ช่วงนั้นผมก็ได้อ่านหนังสือเพิ่มขึ้น หนังสือเกี่ยวกับอะไรแบบนี้ ผมชอบมากจนไม่รู้จะอธิบายยังไงเลย มันทำให้ผมกลายเป็นนักอ่าน สร้างชีวิตประจำวันใหม่ให้ผม ผมเลยมันใจว่าจะมาสายนี้อย่างแน่นอน แต่พอจะหาที่เรียน ผมไม่รู้เลยว่าจะเรียนที่ไหน เพราะว่า ผมจบจากสายอาชีวะมา และนี่ก็ถือเป็นข้อเสียอย่างมาก เพราะเด็กอาชีวะแทบไม่ได้เรียนวิชาที่หลากหลายเท่าเด็กสายสามัญ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบการสอบอะไรเลย ไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบมหาลัยเกี่ยวกับคณะต่างๆ ช่วงที่ผมเรียนปวช.ผมไม่ได้สอบอะไรเลยแบบที่เด็กสามัญสอบกัน ช่วงม.ปลายของเด็กสามัญส่วนใหญ่มักจะกำลังเป็นช่วงที่ตัดสินใจว่า ในอนาคตต้องการทำอาชีพอะไรหรือชอบอะไร แต่สำหรับเด็กอาชีวะอย่างผมนั้นตอนที่ตัดสินใจเข้าเรียนปวช. ก็เหมือนการตัดสินใจอาชีพอนาคตหรือแนวทางในอนาคตไว้แล้ว
(ย่อหน้านี้จะข้ามไปก็ได้ครับ เป็นย่อหน้าที่ผมกำลังหาข้ออ้างปลอบใจให้ตัวเองอยู่)
ผู้อ่านบางคนอาจคิดว่า "รู้ว่าตัวเองชอบอะไรเร็วก็ดีแล้วไม่ใช่หรอ" ใช่ครับ อาจะดีสำหรับบางคน แต่คนอย่างผมนั้นที่รู้ตัวช้าว่าชอบอะไร มันกลับกลายเป็นข้อเสียเปรียบอย่างมหาศาล เพราะว่า 1.ถึงแม้ว่าผมจะสามารถเลือกที่จะเข้ามหาลัยได้ตอนจบ ปวช. แต่ตัวเลือกคณะที่ผมจะเข้าได้มีจำกัดกว่าสายสามัญ และเด็กปวช. ส่วนใหญ่เลืกที่จะต่อปวส.มากกว่ามหาลัย 2.เด็กอาชีวะแทบไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับวิชาอื่นๆที่ไม่ใช่เกี่ยวกับวิศวกรรม หรือสายวิชาชีพของตน (และถ้าสมมติว่าผมเรียนวิศวะต่อ ผมอาจจะมีข้อได้เปรียนในการปฏิบัติมากกว่าเด็กสายสามัญ และเด็กสายสามัญมีข้อได้เปรียบทางทฤษฎีมากกว่า แต่ไม่นานเด็กสายสามัญก็จะตามทักษะการปฏิบัติทันอย่างแน่นอน แต่จะเป็นผมเองที่ไม่สามารถตามเด็กสามัญทันในด้านทฤษฎี เพราะเด็กสายสามัญเค้าอยู่ในสังคมที่หล่อหลอมและผลักดันทักษะด้านการคิดได้ดีกว่า) 3.สังคมของสาย ปวช. หล่อหลอมให้เด็กสายนี้เป็นคนปฏิบัติมากกว่า พูดง่ายๆคือ ถูกสร้างมาให้เป็นแรงงาน ถ้าเราลองดูเด็กปวช.ว่าจบไปแล้วทำงานอะไร ส่วนใหญ่ก็จะไปเป็นช่างหรือไม่ก็พนักงานโรงงาน และค่านิยมนี้ก็ถูกถ่ายถอดและผลิตซ้ำในหมู่คนสายอาชีพมาเรื่อยๆ สังคมของเด็กสายปวช.นั้นเหมือนเป็นการรวมคนที่ไม่มีที่จะไป หรือครอบครัวยากจนมารวมตัวกัน ในตอนที่ผมเรียนปวช.นั้น มีเด็กที่มีปัญหาเยอะมาก จนแทบกลายเป็นเรื่องปกติ อย่างเช่นปัญหาการท้องในวัยเรียน เกเร ติดสารเสพติด เด็กปวช. ที่เรียนต่อมหาวิทยาลัยน้อย ในความคิดของผมคิดว่าอัตราส่วนนักเรียนที่ต่อ มหาลัย แทบไม่เกิน 30%
ต่อมาผมได้ไปเจองานสัมมนาด้านวิชาการ และมีเหล่าคณาจารย์ของมธ.มาร่วมงานด้วย พอผมได้ฟังการอธิบายของอาจารย์ที่เล่าเรื่องและแนวคิดต่างๆ ผมจึงอยากที่จะเข้าคณะรัฐศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผมก็ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการที่จะเข้าไปเรียนคณะนี้ ผมไปเจอข้อมูลหนึ่งว่า คณะรัฐศาสตร์มีการรับตรงอยู่ ผมจึงอยากที่จะลองดู แต่พอหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ปรากฎว่าการสอบรับตรงมีเฉพาะเด็กที่จบในปีการศึกษานั้นเท่านั้นที่จะมีสิทธิ(ผมไม่รู้ว่าข้อมูลที่หามาถูกต้องมั้ยหรืออาจจะเกิดจากการหาข้อมูลไม่เพียงพอของผมเอง) ผมจึงถอดใจและไปเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเอกชนแถว รังสิต สาขาที่ผมเรียนก็เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับสหวิทยาการ เกี่ยวกับ การเมือง สังคม และ ธุรกิจ ซึ่งผมเข้าไปตอนเทอมสอง พอผมเรียนมาได้เทอมหนึ่งผมรู้สึกว่ามันสนุกมาก โคตรมันเลยที่ได้เรียนเกี่ยวเรื่องอะไรแบบนี้ ผมตั้งใจเรียนมากๆเพราะผมสนุกกับมันมาก แต่ความคิดเกี่ยวกับธรรมศาสตร์มันก็ยังฝั่งอยู่ในจิตตลอดเวลาว่า "ถ้าผมไม่ได้ไปเรียนปวช.ตอนนี้ผมจะอยู่ที่ไหน ผมคงอาจจะได้เรียนที่ มธ." ผมได้แต่ปลอบใจตัวเองว่า มันก็คงได้แค่นี้แหละ ไม่มากไปกว่านี้ ตลอดเวลาช่วงที่ผ่านมาความคิดนี้คอยหลอกหลอนผมตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสาเหตุและปัจจัยภายในจิตใจผมทั้งสิ้น แต่ต่อมาปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอกเริ่มปรากฎมาให้ผมเห็นมากขึ้น คือปัญหาเกี่ยวกับเพื่อน ปัญหาที่มาจากเนื้อหา และปัญหาทางด้านโอกาส
1.ปัญหาที่มาจากเพื่อนนั้น คือ ผมไม่มีเพื่อนแบบที่ผมอยากจะมี เพื่อนแต่ละคนในคณะผม มีแต่คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกสุนทรียะทั้งสิ้น ซึ่งผมไม่ได้ไม่ชอบพวกเค้าแต่ผมอยากจะมีเพื่อนที่มีความต้องการและโหยหาแบบที่ผมเป็น ผมต้องการเพื่อนที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนและระบาย เกี่ยวกับความรู้และการค้นคว้าที่สั่งสมมา ต้องการคนที่สนใจและรักในการใฝ่หาความรู้แบบผม
2.ปัญหาจากเนื้อหาของการเรียน ผมไม่ได้บอกว่าคณาจารย์ที่ทำงานอยู่ในคณะผมไม่เก่ง ทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาความรู้ของตน แต่ถ้าเปรียบเทียบกับ มธ.แล้ว ผมคิดว่าคณาจารย์ที่ มธ มีประสิทธิภาพมากกว่าในการป้อนข้อมูลแก่ความโหยหาของผม และอาจเป็นเพราะว่า คณาจารย์ของ มธ ได้สร้างและเผยแสดงความเชี่ยวชาญของตนให้เห็นมากกว่าผ่านงานเขียนหรือ ผ่านสื่อต่างๆ มากมาย ทำให้ผมต้องการเสพข้อมูลจากท่านเหล่านั้น(ผมได้อ่านงานเขียนของท่านอาจารย์เหล่านี้และชอบมาก และอยากจะไปสัมผัสกับท่านเหล่านั้น)
3.ปัญหาทางด้านโอกาสคือ ปัญหาในการหาโอกาสหรือแนวทางในอนาคตได้น้อยกว่ามธ. ในคณะที่ผมศึกษาอยู่ตอนนี้แทบจะไม่มีรุ่นพี่คนใดเลยที่ได้ไปในที่ๆผมต้องการจะไป และในคณะนี้มีโอกาสมาเผยตัวให้เห็นน้อยมาก เช่น โอกาสในการเรียนต่อตปท. (ที่ผมกล่าวมาผมหมายถึงโอกาสที่ตรงกับแนวทางและความต้องการของผม จริงๆมีโอกาสมากมายปรากฎกายออกมาตลอดเวลาแต่โอกาสเหล่านี้ไม่ใช้โอกาสที่ผมต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโอกาสในทางธุรกิจ)
ทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่ความต้องการของผมที่จะลองต่อสู้เข้าไปเป็นหนึ่งในนิสิตของคณะรัฐศาสตร์ ผมอยากที่จะตามหาความฝันของผม ผมไม่อาจทนต่อสิ่งที่ค้างคาอยู่ในใจ ผมคงทนตัวเองไม่ได้แน่ๆถ้าผมไม่ได้สู้สุดกำลังของผม ที่ผ่านมาผมหาข้ออ้างให้ตนเองเพื่อหลอกหลวงตัวตนของตนเองมาตลอด ปกป้องจิตใจส่วหนึ่งด้วยของอ้าง แต่ผมทนไม่ไหวแล้วที่จะอยู่อย่างนี้ต่อไป ทั้งหมดนี้จึงนำมาซึ่งบทความกระทู้นี้ ซึ่งต้องการที่จะระบายความในใจและต้องการแนวทางในการต่อสู้
ผมจึงอยากสอบถามทุกท่านว่า ผมควรเตรียมตัวอย่างไร และคนที่มีคุณสมบัติแบบผมซึ่งก็คือจบการศึกษาจาก ปวช. ตั้งแต่ปี 64 มีทางไหนบ้างที่ผมจะผ่านเข้าไปได้ และระบบ TCAS66 ผมต้องเข้ารอบไหนรอบ 3 หรือรอบ 4 และต้องสอบอะไรบ้าง มีสิทธิมั้ยที่ผมจะได้เป็นนิสิตรัฐศาสตร์ และมีรุ่นพี่ท่านใดบ้างที่มีคุณสมบัติแบบผมและสามารถผ่านสนามรบแรกนี้ไปได้ การสอบปีนี้ที่ใช้วิชาเฉพาะ 70 tgat 30 กับ GPAX อันนี้คือเฉพาะเด็กที่จบปี 65 เท่านั้นใช่มั้ยครับ ของผมต้องสอบอันที่ใช้ tgat 30 A-level สังคม 25 อิ้ง 25 กับ 20* คณิต+ภาษาต่างๆใช่มั้ยฮะ หรือว่ามีอันอื่นอีกครับรบกวนช่วยชี้แนะด้วยนะฮะ
ขอบคุณทุกคนมากครับที่ช่วยเหลือผมและอ่านข้อความของผม
เด็กซิ่วจากปี 64 จบ ปวช. อยากเข้า รัฐศาสตร์ มธ. ปี66
เนื้อเรื่อง(ย่อหน้านี้จะข้ามไปก็ได้ครับ เป็นย่อหน้าที่ผมกำลังหาข้ออ้างปลอบใจให้ตัวเองอยู่)
ผู้อ่านบางคนอาจคิดว่า "รู้ว่าตัวเองชอบอะไรเร็วก็ดีแล้วไม่ใช่หรอ" ใช่ครับ อาจะดีสำหรับบางคน แต่คนอย่างผมนั้นที่รู้ตัวช้าว่าชอบอะไร มันกลับกลายเป็นข้อเสียเปรียบอย่างมหาศาล เพราะว่า 1.ถึงแม้ว่าผมจะสามารถเลือกที่จะเข้ามหาลัยได้ตอนจบ ปวช. แต่ตัวเลือกคณะที่ผมจะเข้าได้มีจำกัดกว่าสายสามัญ และเด็กปวช. ส่วนใหญ่เลืกที่จะต่อปวส.มากกว่ามหาลัย 2.เด็กอาชีวะแทบไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับวิชาอื่นๆที่ไม่ใช่เกี่ยวกับวิศวกรรม หรือสายวิชาชีพของตน (และถ้าสมมติว่าผมเรียนวิศวะต่อ ผมอาจจะมีข้อได้เปรียนในการปฏิบัติมากกว่าเด็กสายสามัญ และเด็กสายสามัญมีข้อได้เปรียบทางทฤษฎีมากกว่า แต่ไม่นานเด็กสายสามัญก็จะตามทักษะการปฏิบัติทันอย่างแน่นอน แต่จะเป็นผมเองที่ไม่สามารถตามเด็กสามัญทันในด้านทฤษฎี เพราะเด็กสายสามัญเค้าอยู่ในสังคมที่หล่อหลอมและผลักดันทักษะด้านการคิดได้ดีกว่า) 3.สังคมของสาย ปวช. หล่อหลอมให้เด็กสายนี้เป็นคนปฏิบัติมากกว่า พูดง่ายๆคือ ถูกสร้างมาให้เป็นแรงงาน ถ้าเราลองดูเด็กปวช.ว่าจบไปแล้วทำงานอะไร ส่วนใหญ่ก็จะไปเป็นช่างหรือไม่ก็พนักงานโรงงาน และค่านิยมนี้ก็ถูกถ่ายถอดและผลิตซ้ำในหมู่คนสายอาชีพมาเรื่อยๆ สังคมของเด็กสายปวช.นั้นเหมือนเป็นการรวมคนที่ไม่มีที่จะไป หรือครอบครัวยากจนมารวมตัวกัน ในตอนที่ผมเรียนปวช.นั้น มีเด็กที่มีปัญหาเยอะมาก จนแทบกลายเป็นเรื่องปกติ อย่างเช่นปัญหาการท้องในวัยเรียน เกเร ติดสารเสพติด เด็กปวช. ที่เรียนต่อมหาวิทยาลัยน้อย ในความคิดของผมคิดว่าอัตราส่วนนักเรียนที่ต่อ มหาลัย แทบไม่เกิน 30%
ต่อมาผมได้ไปเจองานสัมมนาด้านวิชาการ และมีเหล่าคณาจารย์ของมธ.มาร่วมงานด้วย พอผมได้ฟังการอธิบายของอาจารย์ที่เล่าเรื่องและแนวคิดต่างๆ ผมจึงอยากที่จะเข้าคณะรัฐศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผมก็ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการที่จะเข้าไปเรียนคณะนี้ ผมไปเจอข้อมูลหนึ่งว่า คณะรัฐศาสตร์มีการรับตรงอยู่ ผมจึงอยากที่จะลองดู แต่พอหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ปรากฎว่าการสอบรับตรงมีเฉพาะเด็กที่จบในปีการศึกษานั้นเท่านั้นที่จะมีสิทธิ(ผมไม่รู้ว่าข้อมูลที่หามาถูกต้องมั้ยหรืออาจจะเกิดจากการหาข้อมูลไม่เพียงพอของผมเอง) ผมจึงถอดใจและไปเลือกเข้ามหาวิทยาลัยเอกชนแถว รังสิต สาขาที่ผมเรียนก็เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับสหวิทยาการ เกี่ยวกับ การเมือง สังคม และ ธุรกิจ ซึ่งผมเข้าไปตอนเทอมสอง พอผมเรียนมาได้เทอมหนึ่งผมรู้สึกว่ามันสนุกมาก โคตรมันเลยที่ได้เรียนเกี่ยวเรื่องอะไรแบบนี้ ผมตั้งใจเรียนมากๆเพราะผมสนุกกับมันมาก แต่ความคิดเกี่ยวกับธรรมศาสตร์มันก็ยังฝั่งอยู่ในจิตตลอดเวลาว่า "ถ้าผมไม่ได้ไปเรียนปวช.ตอนนี้ผมจะอยู่ที่ไหน ผมคงอาจจะได้เรียนที่ มธ." ผมได้แต่ปลอบใจตัวเองว่า มันก็คงได้แค่นี้แหละ ไม่มากไปกว่านี้ ตลอดเวลาช่วงที่ผ่านมาความคิดนี้คอยหลอกหลอนผมตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสาเหตุและปัจจัยภายในจิตใจผมทั้งสิ้น แต่ต่อมาปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอกเริ่มปรากฎมาให้ผมเห็นมากขึ้น คือปัญหาเกี่ยวกับเพื่อน ปัญหาที่มาจากเนื้อหา และปัญหาทางด้านโอกาส
1.ปัญหาที่มาจากเพื่อนนั้น คือ ผมไม่มีเพื่อนแบบที่ผมอยากจะมี เพื่อนแต่ละคนในคณะผม มีแต่คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกสุนทรียะทั้งสิ้น ซึ่งผมไม่ได้ไม่ชอบพวกเค้าแต่ผมอยากจะมีเพื่อนที่มีความต้องการและโหยหาแบบที่ผมเป็น ผมต้องการเพื่อนที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนและระบาย เกี่ยวกับความรู้และการค้นคว้าที่สั่งสมมา ต้องการคนที่สนใจและรักในการใฝ่หาความรู้แบบผม
2.ปัญหาจากเนื้อหาของการเรียน ผมไม่ได้บอกว่าคณาจารย์ที่ทำงานอยู่ในคณะผมไม่เก่ง ทุกคนเป็นผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาความรู้ของตน แต่ถ้าเปรียบเทียบกับ มธ.แล้ว ผมคิดว่าคณาจารย์ที่ มธ มีประสิทธิภาพมากกว่าในการป้อนข้อมูลแก่ความโหยหาของผม และอาจเป็นเพราะว่า คณาจารย์ของ มธ ได้สร้างและเผยแสดงความเชี่ยวชาญของตนให้เห็นมากกว่าผ่านงานเขียนหรือ ผ่านสื่อต่างๆ มากมาย ทำให้ผมต้องการเสพข้อมูลจากท่านเหล่านั้น(ผมได้อ่านงานเขียนของท่านอาจารย์เหล่านี้และชอบมาก และอยากจะไปสัมผัสกับท่านเหล่านั้น)
3.ปัญหาทางด้านโอกาสคือ ปัญหาในการหาโอกาสหรือแนวทางในอนาคตได้น้อยกว่ามธ. ในคณะที่ผมศึกษาอยู่ตอนนี้แทบจะไม่มีรุ่นพี่คนใดเลยที่ได้ไปในที่ๆผมต้องการจะไป และในคณะนี้มีโอกาสมาเผยตัวให้เห็นน้อยมาก เช่น โอกาสในการเรียนต่อตปท. (ที่ผมกล่าวมาผมหมายถึงโอกาสที่ตรงกับแนวทางและความต้องการของผม จริงๆมีโอกาสมากมายปรากฎกายออกมาตลอดเวลาแต่โอกาสเหล่านี้ไม่ใช้โอกาสที่ผมต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโอกาสในทางธุรกิจ)