สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
หากเราหายใจด้วย 100% Oxygen จะเป็นอย่างไร ?
ขออธิบายนิดนึงก่อนนะครับ
เมื่อเราหายใจ อากาศที่มีออกซิเจนจะเข้าสู่ปอด
และซึมผ่านทางเส้นเลือดฝอยที่ถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด
ออกซิเจนจะไปทุกส่วนของร่างกายผ่านทางเลือด
ให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทำงานได้ตามปกติครับ
แต่ หากเราหายใจเอา 100% Oxygen เข้าไป
ระดับออกซิเจนที่สูงเกินไปเป็นเวลานานมาก ๆ
จะเป็นอันตรายต่อผิวโปรตีนของเนื้อเยื่อปอดได้
ทำให้ถุงลมขนาดเล็ก (Alveoli) ในปอดเต็มไปด้วยของเหลว
และที่สำคัญ คือ มันอาจไม่พองตัวอีกต่อไป (ปอดยุบ)
ปอดจะไม่สามารถรับอากาศได้ตามปกติ เราจะมีอาการเหนื่อยหอบ
แบบคนที่สูบบุหรี่มานานจนถงุลมปอดไม่ทำงานแล้ว
นอกจากนั้นอาจทำให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลางได้
เช่น มีอาการ .... เวียนหัว มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้
สับสน และสุดท้ายจะมีอาการชัก-ไม่รู้สึกตัว
อาการพิษของออกซิเจน จะเริ่มหลังจากหายใจเอา 100% Oxygen
เข้าไปติดต่อกันนาน 6 - 8 ชั่วโมง โดยจะมีอาการไอ
เพราะระคายเคืองจากออกซิเจนเข้มข้นทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ
ต่อไปจะเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เนื่องจากมีของเหลวในปอดเพิ่มขึ้น
และ ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซของถุงลมจะเริ่มลดลง
แม้นั่งเฉย ๆ ก็เหนื่อย .... สุดท้ายเมื่ออาการจากระบบประสาทส่วนกลาง
เริ่มปรากฏแล้ว ก็อาจสายเกินไปครับ ตายได้เลย
ขอเล่าประสบการณ์ตรงของการสูด 100% Oxygen ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขออธิบายนิดนึงก่อนนะครับ
เมื่อเราหายใจ อากาศที่มีออกซิเจนจะเข้าสู่ปอด
และซึมผ่านทางเส้นเลือดฝอยที่ถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือด
ออกซิเจนจะไปทุกส่วนของร่างกายผ่านทางเลือด
ให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทำงานได้ตามปกติครับ
แต่ หากเราหายใจเอา 100% Oxygen เข้าไป
ระดับออกซิเจนที่สูงเกินไปเป็นเวลานานมาก ๆ
จะเป็นอันตรายต่อผิวโปรตีนของเนื้อเยื่อปอดได้
ทำให้ถุงลมขนาดเล็ก (Alveoli) ในปอดเต็มไปด้วยของเหลว
และที่สำคัญ คือ มันอาจไม่พองตัวอีกต่อไป (ปอดยุบ)
ปอดจะไม่สามารถรับอากาศได้ตามปกติ เราจะมีอาการเหนื่อยหอบ
แบบคนที่สูบบุหรี่มานานจนถงุลมปอดไม่ทำงานแล้ว
นอกจากนั้นอาจทำให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลางได้
เช่น มีอาการ .... เวียนหัว มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้
สับสน และสุดท้ายจะมีอาการชัก-ไม่รู้สึกตัว
อาการพิษของออกซิเจน จะเริ่มหลังจากหายใจเอา 100% Oxygen
เข้าไปติดต่อกันนาน 6 - 8 ชั่วโมง โดยจะมีอาการไอ
เพราะระคายเคืองจากออกซิเจนเข้มข้นทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ
ต่อไปจะเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เนื่องจากมีของเหลวในปอดเพิ่มขึ้น
และ ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซของถุงลมจะเริ่มลดลง
แม้นั่งเฉย ๆ ก็เหนื่อย .... สุดท้ายเมื่ออาการจากระบบประสาทส่วนกลาง
เริ่มปรากฏแล้ว ก็อาจสายเกินไปครับ ตายได้เลย
ขอเล่าประสบการณ์ตรงของการสูด 100% Oxygen ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 10
สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ ผมเอามาจากหลักสูตรการสอนดำน้ำ Recreational Nitrox หรือการดำน้ำแบบ SCUBA ที่ใช้ก๊าซผสมพิเศษที่มีออกซิเจนสูงกว่า 21% นะครับ..
การหายใจด้วยออกซิเจน อาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous Syndrome - CNS) ได้ ถ้า "แรงดันเฉพาะส่วน - Partial Pressure" ของออกซิเจน สูงเกิน 1.4 หรือ 1.6 bar (แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล)
อาการ CNS นี้มีได้ตั้งแต่อาการกระตุก สั่น ชัก หรือหมดสติ
ในบรรยากาศปกติ แรงดันบรรยากาศ 1 bar นั้น เมื่อเราคิด partial pressure ของออกซิเจน จะได้ว่า แรงดันเฉพาะส่วนของออกซิเจน คือ 0.21 bar
(21% ออกซิเจน * แรงดันบรรยากาศ 1 bar)
แม้ว่าจะหายใจเอา 100% O2 ก็ตาม partial pressure ของ O2 ก็ยังอยู่แค่ 1 bar จึงจะยังไม่เกิดอาการ CNS
แต่ถ้าคุณหายใจในบริเวณที่แรงดันบรรยากาศรอบตัวสูงกว่า 1 bar ก็จะเริ่มมีความเสี่ยงที่ ppO2 (partial pressure of O2) จะเข้าใกล้ หรือ เกิน 1.4/1.6 ได้
เช่น เมื่อดำน้ำลงไปในทะเล ทุกๆ ความลึกที่เพิ่มขึ้น 10 เมตร แรงดันจากน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 1 bar
ที่ความลึก 10 เมตร แรงดันบรรยากาศ 1+1 = 2 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 2 = 0.42
ที่ความลึก 20 เมตร แรงดันบรรยากาศ 2+1 = 3 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 3 = 0.63
ที่ความลึก 30 เมตร แรงดันบรรยากาศ 3+1 = 4 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 4 = 0.84
ที่ความลึก 40 เมตร แรงดันบรรยากาศ 4+1 = 5 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 5 = 1.05
ที่ความลึก 50 เมตร แรงดันบรรยากาศ 5+1 = 6 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 6 = 1.26
จะเห็นว่า ถ้าใช้อากาศปกติ ดำลงไปถึง 50 เมตร ก็ยังไม่เกิดอาการ CNS (แต่จะไปมีความเสี่ยงต่อ Decompression Sickness แทน ซึ่งเป็นผลจากไนโตรเจน ไม่ใช่ประเด็นของกระทู้นี้)
แต่ถ้าเปลี่ยนจากใช้อากาศปกติ ไปใช้ก๊าซผสม ที่มี O2 = 32% แทน จะคำนวณได้ว่า
ที่ความลึก 10 เมตร แรงดันบรรยากาศ 1+1 = 2 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 2 = 0.64
ที่ความลึก 20 เมตร แรงดันบรรยากาศ 2+1 = 3 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 3 = 0.96
ที่ความลึก 30 เมตร แรงดันบรรยากาศ 3+1 = 4 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 4 = 1.28
ที่ความลึก 40 เมตร แรงดันบรรยากาศ 4+1 = 5 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 5 = 1.50
ที่ความลึก 50 เมตร แรงดันบรรยากาศ 5+1 = 6 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 6 = 1.92
จะเห็นได้ว่า ที่ความลึกระหว่าง 30-40 เมตร ก็จะเข้าสู่ระดับความเสี่ยงต่ออาการ CNS แล้ว
ทีนี้ ถ้าใช้ 100% O2 ล่ะ...
ที่ความลึก 10 เมตร แรงดันบรรยากาศ 1+1 = 2 bar ถ้าหายใจด้วย100% O2 จะได้ ppO2 = 1.00 * 2 = 2
จะเห็นได้ว่า ถ้าใช้ 100% O2 จะได้แค่ความลึกไม่ถึง 10 เมตร ก็เกิดอาการแล้ว
แต่การใช้ 100% O2 ในการดำน้ำ ก็มีการใช้ที่ความลึก 3-4 เมตร เพื่อช่วยในการระบายไนโตรเจนออกจากร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อ Decompression Sickness ในกรณีของพวก Saturated Diver/Technical Diver
การหายใจด้วยออกซิเจน อาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous Syndrome - CNS) ได้ ถ้า "แรงดันเฉพาะส่วน - Partial Pressure" ของออกซิเจน สูงเกิน 1.4 หรือ 1.6 bar (แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล)
อาการ CNS นี้มีได้ตั้งแต่อาการกระตุก สั่น ชัก หรือหมดสติ
ในบรรยากาศปกติ แรงดันบรรยากาศ 1 bar นั้น เมื่อเราคิด partial pressure ของออกซิเจน จะได้ว่า แรงดันเฉพาะส่วนของออกซิเจน คือ 0.21 bar
(21% ออกซิเจน * แรงดันบรรยากาศ 1 bar)
แม้ว่าจะหายใจเอา 100% O2 ก็ตาม partial pressure ของ O2 ก็ยังอยู่แค่ 1 bar จึงจะยังไม่เกิดอาการ CNS
แต่ถ้าคุณหายใจในบริเวณที่แรงดันบรรยากาศรอบตัวสูงกว่า 1 bar ก็จะเริ่มมีความเสี่ยงที่ ppO2 (partial pressure of O2) จะเข้าใกล้ หรือ เกิน 1.4/1.6 ได้
เช่น เมื่อดำน้ำลงไปในทะเล ทุกๆ ความลึกที่เพิ่มขึ้น 10 เมตร แรงดันจากน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 1 bar
ที่ความลึก 10 เมตร แรงดันบรรยากาศ 1+1 = 2 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 2 = 0.42
ที่ความลึก 20 เมตร แรงดันบรรยากาศ 2+1 = 3 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 3 = 0.63
ที่ความลึก 30 เมตร แรงดันบรรยากาศ 3+1 = 4 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 4 = 0.84
ที่ความลึก 40 เมตร แรงดันบรรยากาศ 4+1 = 5 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 5 = 1.05
ที่ความลึก 50 เมตร แรงดันบรรยากาศ 5+1 = 6 bar ถ้าหายใจด้วยอากาศปกติ (21% O2) จะได้ ppO2 = 0.21 * 6 = 1.26
จะเห็นว่า ถ้าใช้อากาศปกติ ดำลงไปถึง 50 เมตร ก็ยังไม่เกิดอาการ CNS (แต่จะไปมีความเสี่ยงต่อ Decompression Sickness แทน ซึ่งเป็นผลจากไนโตรเจน ไม่ใช่ประเด็นของกระทู้นี้)
แต่ถ้าเปลี่ยนจากใช้อากาศปกติ ไปใช้ก๊าซผสม ที่มี O2 = 32% แทน จะคำนวณได้ว่า
ที่ความลึก 10 เมตร แรงดันบรรยากาศ 1+1 = 2 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 2 = 0.64
ที่ความลึก 20 เมตร แรงดันบรรยากาศ 2+1 = 3 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 3 = 0.96
ที่ความลึก 30 เมตร แรงดันบรรยากาศ 3+1 = 4 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 4 = 1.28
ที่ความลึก 40 เมตร แรงดันบรรยากาศ 4+1 = 5 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 5 = 1.50
ที่ความลึก 50 เมตร แรงดันบรรยากาศ 5+1 = 6 bar ถ้าหายใจด้วยก๊าซผสม (32% O2) จะได้ ppO2 = 0.32 * 6 = 1.92
จะเห็นได้ว่า ที่ความลึกระหว่าง 30-40 เมตร ก็จะเข้าสู่ระดับความเสี่ยงต่ออาการ CNS แล้ว
ทีนี้ ถ้าใช้ 100% O2 ล่ะ...
ที่ความลึก 10 เมตร แรงดันบรรยากาศ 1+1 = 2 bar ถ้าหายใจด้วย100% O2 จะได้ ppO2 = 1.00 * 2 = 2
จะเห็นได้ว่า ถ้าใช้ 100% O2 จะได้แค่ความลึกไม่ถึง 10 เมตร ก็เกิดอาการแล้ว
แต่การใช้ 100% O2 ในการดำน้ำ ก็มีการใช้ที่ความลึก 3-4 เมตร เพื่อช่วยในการระบายไนโตรเจนออกจากร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อ Decompression Sickness ในกรณีของพวก Saturated Diver/Technical Diver
แสดงความคิดเห็น
ถ้าเราใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% หายใจจะเป็นยังไง