กินเนื้อสัตว์ บาปหรือไม่?
ข้อความ "การกินเนื้อสัตว์ บาปหรือไม่? การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ คือ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา คือ รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ คือ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม คือ พยายามที่จะฆ่า
๕. เตนมรณํ คือ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น"
อธิบายว่า เรามัวแต่เข้าข้างตนเอง เพราะเขาบอกว่ากินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วไม่บาป
นี่เป็นคำตอบที่เข้าข้างตนเอง ถ้าเราไม่กินแล้ว ใครจะมาฆ่าให้เรากิน
ถ้าเราบอกว่าเรากินเนื้อสัตว์นี่ไม่ผิดใช่ไหม? เพราะเราไม่ได้ฆ่า ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย
แต่เราคิดไหมว่านี่เป็นเนื้อสัตว์ ในจิตเราที่เรากินเนื้อหมู มองแล้วรู้ไหมว่านี่เป็นเนื้อหมูไหม? แล้วเรารู้ไหมว่าเนื้อหมูตัวนี้มันตายแล้ว ก็รู้เช่นเดียวกัน แต่เพราะว่าเราไม่ได้ฆ่านี่ ถ้าเราพูดออกมาอย่างนี้ เป็นการซ้ำเติมสัตว์หมูตัวนี้หรือเปล่า?
เราเห็นหมูโดนฆ่า เราสงสารไหม?
ตอบว่า ก็สงสารหมูเหมือนกัน
สงสารแล้วยังกินเนื้อเขา เป็นการซ้ำเติมไหม?
งั้นจิตที่สงสารเขาก็เป็นจิตที่โกหก
นี่แหละ เรากินเนื้อสัตว์นี้เป็นบาป แต่เป็นบาป เบื้องต้น เขาเรียกว่า
๑. เป็นการบาปแห่งการไม่เจตนา
๒. บาปที่ยังอยู่ในภูมิ ที่จำเป็นที่จะต้องทำ
ในเมื่อเรามีในสิ่งที่ทำบาป ก็ต้องมีในสิ่งที่ทำบุญ คือ เราจะต้องไปปล่อยสัตว์ จะต้องไปเอ็นดูสัตว์ กินเจ เป็นต้น จะต้องไปสำนึกบุญคุณของเขา
คุณยังมาซ้ำเติมหมู พอกินเสร็จ ซ้ำเติมเสร็จ แล้วยังบอกว่า ฉันไม่ได้ทำผิด เลยทำอะไรฉันไม่ได้ โคตรเท่เลย
สมมติว่า เรากินวัว ๑ ตัว แล้วเราประกาศว่าการกินเนื้อวัวนี้ไม่ผิด แล้วลูกหลานวัว เขาได้ยินได้ฟัง ได้มอง เขาจะอาฆาตแค้นเราไหม?
นี่แหละ หาเรื่องก่อให้เกิดความแค้นขึ้นมา
แต่ถ้าเรากินเนื้อเขาแล้วเกิดจิตสำนึกขึ้นมา ลูกหลานวัว เขาก็จะโอเคกับเรา
เรามีการหาอาหารของกินไปให้ลูกหลานวัว เขาเรียกว่า กินแล้วสำนึก อันนี้กินแล้วซ้ำเติม แล้วยังท้าทายว่าเรากินเนื้อสัตว์แล้วไม่บาป ไม่ผิด
ถ้าเรากินเนื้อสัตว์แล้วยังไปผยอง
แต่ยังไปท้าทายเขา เขาไม่เอาความเราก็บุญแล้ว
แต่ถ้ามาท้าทายว่า ฆ่าเขาแล้วไม่ผิด
กินเนื้อเขาแล้วไม่ผิด โมหะหลงตัวเองชัดๆ
กินเนื้อสัตว์ บาปหรือไม่?
ข้อความ "การกินเนื้อสัตว์ บาปหรือไม่? การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ คือ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา คือ รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ คือ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม คือ พยายามที่จะฆ่า
๕. เตนมรณํ คือ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น"
อธิบายว่า เรามัวแต่เข้าข้างตนเอง เพราะเขาบอกว่ากินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วไม่บาป
นี่เป็นคำตอบที่เข้าข้างตนเอง ถ้าเราไม่กินแล้ว ใครจะมาฆ่าให้เรากิน
ถ้าเราบอกว่าเรากินเนื้อสัตว์นี่ไม่ผิดใช่ไหม? เพราะเราไม่ได้ฆ่า ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย
แต่เราคิดไหมว่านี่เป็นเนื้อสัตว์ ในจิตเราที่เรากินเนื้อหมู มองแล้วรู้ไหมว่านี่เป็นเนื้อหมูไหม? แล้วเรารู้ไหมว่าเนื้อหมูตัวนี้มันตายแล้ว ก็รู้เช่นเดียวกัน แต่เพราะว่าเราไม่ได้ฆ่านี่ ถ้าเราพูดออกมาอย่างนี้ เป็นการซ้ำเติมสัตว์หมูตัวนี้หรือเปล่า?
เราเห็นหมูโดนฆ่า เราสงสารไหม?
ตอบว่า ก็สงสารหมูเหมือนกัน
สงสารแล้วยังกินเนื้อเขา เป็นการซ้ำเติมไหม?
งั้นจิตที่สงสารเขาก็เป็นจิตที่โกหก
นี่แหละ เรากินเนื้อสัตว์นี้เป็นบาป แต่เป็นบาป เบื้องต้น เขาเรียกว่า
๑. เป็นการบาปแห่งการไม่เจตนา
๒. บาปที่ยังอยู่ในภูมิ ที่จำเป็นที่จะต้องทำ
ในเมื่อเรามีในสิ่งที่ทำบาป ก็ต้องมีในสิ่งที่ทำบุญ คือ เราจะต้องไปปล่อยสัตว์ จะต้องไปเอ็นดูสัตว์ กินเจ เป็นต้น จะต้องไปสำนึกบุญคุณของเขา
คุณยังมาซ้ำเติมหมู พอกินเสร็จ ซ้ำเติมเสร็จ แล้วยังบอกว่า ฉันไม่ได้ทำผิด เลยทำอะไรฉันไม่ได้ โคตรเท่เลย
สมมติว่า เรากินวัว ๑ ตัว แล้วเราประกาศว่าการกินเนื้อวัวนี้ไม่ผิด แล้วลูกหลานวัว เขาได้ยินได้ฟัง ได้มอง เขาจะอาฆาตแค้นเราไหม?
นี่แหละ หาเรื่องก่อให้เกิดความแค้นขึ้นมา
แต่ถ้าเรากินเนื้อเขาแล้วเกิดจิตสำนึกขึ้นมา ลูกหลานวัว เขาก็จะโอเคกับเรา
เรามีการหาอาหารของกินไปให้ลูกหลานวัว เขาเรียกว่า กินแล้วสำนึก อันนี้กินแล้วซ้ำเติม แล้วยังท้าทายว่าเรากินเนื้อสัตว์แล้วไม่บาป ไม่ผิด
ถ้าเรากินเนื้อสัตว์แล้วยังไปผยอง
แต่ยังไปท้าทายเขา เขาไม่เอาความเราก็บุญแล้ว
แต่ถ้ามาท้าทายว่า ฆ่าเขาแล้วไม่ผิด
กินเนื้อเขาแล้วไม่ผิด โมหะหลงตัวเองชัดๆ