คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ไฝ” กันใช่มั้ยครับ ไฝในบางตำแหน่งอาจมีเสน่ห์ชวนมอง แต่ในบางตำแหน่งหรือบางลักษณะก็อาจทำให้เจ้าของรู้สึกไม่มั่นใจและไม่สบายใจได้ ทั้งในเรื่องของโหงวเฮ้ง ความสวยความงาม และไฝอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
“ไฝ” เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีของร่างกายมีการรวมตัวในบริเวณเดียวกันจนเห็นเป็นสีเข้ม อาจเป็นสีน้ำตาลหรือดำ มีลักษณะเรียบหรือนูน มีทั้งไฝที่มีมาตั้งแต่เกิด หรือเกิดขึ้นในภายหลัง โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ สีอาจจะเข้มขึ้นหรืออ่อนลง เม็ดใหญ่ขึ้นหรือจางหายไปก็ได้ แต่หากมีไฝ 100 ตำแหน่งขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนปกติถึง 7 เท่าเลยนะครับ
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง🤔
- คนที่มีผิวสีอ่อนหรือมีความไวต่อแสงแดดมาก
- มีไฝจำนวนมาก มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่เกิด มีไฝลักษณะผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลง
- ได้รับแสงแดดมากในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น
- มีประวัติมะเร็งผิวหนังในครอบครัว หรือเคยมีประวัติมะเร็งผิวหนังมาก่อน
- ต้องสัมผัสแสงแดดจ้าเป็นประจำ
- ได้รับยากดภูมิบางชนิด
มะเร็งผิวหนัง👤
มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด แต่ชนิดที่รุนแรงที่สุดคือ melanoma ซึ่งพบผู้ป่วยมากกว่าสองแสนคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตถึงห้าหมื่นคนต่อปี ผู้ชายมีโอกาสเกิด melanoma มากกว่าผู้หญิง
melanoma เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนัง ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือการสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มากเกินไป การสังเกตและปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จึงมีความสำคัญเพราะหากตรวจพบมะเร็งผิวหนังชนิดนี้และเริ่มรักษาได้เร็วจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้ถึง 99% เลยทีเดียวครับ
การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนัง🩺
การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังสามารถทำได้หลังจากที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัดชิ้นเนื้อของไฝที่น่าสงสัยเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือสามารถวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกได้ด้วยการทำแผนภูมิร่างกายหรือ Fotofinder โดยจะมีการถ่ายภาพร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าและตรวจหาความผิดปกติของไฝด้วยเครื่อง dermoscope และจะมีการทำซ้ำทุกปีจึงสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของไฝรวมถึงตรวจหาการเกิดไฝเม็ดใหม่ ๆ ได้
การรักษามะเร็งผิวหนัง👩⚕
การรักษามะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเอาบริเวณที่เป็นมะเร็งผิวหนังออกให้หมด หากมีขนาดเล็กอาจใช้วิธีการขูดออกร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือไนโตรเจนเหลว แต่หากมีขนาดใหญ่หรือมีการแพร่กระจายอาจต้องใช้วิธีเคมีบำบัดหรือการฉายแสงร่วมด้วย
การป้องกันมะเร็งผิวหนัง☂
- ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น.
- ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 ขึ้นไปเป็นประจำ
- หากจำเป็นต้องออกแดดควรใส่เสื้อผ้าป้องกันบริเวณผิวหนังที่สัมผัสแสงแดด
- หลีกเลี่ยงการอาบแดดหรือการใช้เครื่องอบผิวให้เป็นสีแทน
- หากมีไฝ ขี้แมลงวัน หูด หรือปาน ควรสังเกตอย่างใกล้ชิดและปรึกษาแพทย์หากพบการเปลี่ยนแปลง
- หากมีแผลเรื้อรังหรือแผลที่ไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์
ลักษณะของไฝที่อาจกลายเป็นมะเร็ง💁♀️
แม้ไฝส่วนใหญ่ไม่ได้กลายเป็นมะเร็ง และมะเร็งผิวหนังบางส่วนก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากไฝ แต่ไฝในบางลักษณะก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งได้ โดยมีลักษณะที่จำได้ง่ายคือ
A – Asymmetry ไฝโดยทั่วไปมักมีขนาดกลม ไฝที่มีรูปร่างไม่สมมาตรมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นมะเร็ง
B – Border ขอบเขต โดยขอบเขตของไฝที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งมักมีขอบเขตไม่สม่ำเสมอหรือไม่ชัดเจน
C – Color สี โดยทั่วไปไฝหนึ่งเม็ดควรจะเป็นสีเดียวกัน หากสีของไฝไม่สม่ำเสมอหรือมีหลายสีในเม็ดเดียวควรระวังว่าอาจกลายเป็นมะเร็งได้
D – Diameter ขนาด หากไฝมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 มิลลิเมตรอาจเป็นลักษณะของมะเร็งผิวหนังได้
E – Evolving การเปลี่ยนแปลง แม้โดยทั่วไปไฝอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากไฝมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนหรือเร็วเกินไป เช่น สี ขนาด รูปร่าง โตเร็วผิดปกติ ตกสะเก็ด หรือมีเลือดออกควรระวังและปรึกษาแพทย์
ผู้ที่มีไฝที่มีลักษณะดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อตรวจสอบว่าเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่
วิธีการกำจัดไฝ🩹
วิธีการเอาไฝออกนั้นมีสองวิธีคือการทำเลเซอร์และการตัดออก ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของไฝนั้นๆ และดุยพินิจของแพทย์ ซึ่งการกำจัดไฝทุกวิธีมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็นได้ แต่การกำจัดไฝโดยแพทย์ที่มีความชำนาญสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดแผลเป็นถาวร หรือหากเกิดแผลเป็นถาวรหรือแผลเป็นนูน (keloid) แพทย์ก็สามารถแนะนำการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไปได้
ที่ต้องระวังก็คือ หากสงสัยภาวะมะเร็งผิวหนัง ควรทำการฝานหรือตัดเพื่อส่งตรวจชิ้นเนื้อ ไม่ควรเอาออกด้วยการทำเลเซอร์ แต่ถ้าหากได้รับการตรวจวินิจัยว่าไฝนั้นไม่มีลักษณะที่เข้าข่ายสงสัยว่าเป็นมะเร็งผิวหนังสามารถเอาออกด้วยการทำเลเซอร์ได้
เนื่องจากไฝบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ พี่หมอแนะนำให้เพื่อน ๆ หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง หากพบความผิดปกติ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก เพราะยังมีโอกาสรักษาให้หายได้นะครับ ยิ่งบ้านเราเป็นเมืองร้อน แดดแรง ยิ่งต้องระวังให้มาก ดูแลตัวเองกันนะครับ พี่หมอเป็นห่วง 😊
ไฝเสน่ห์ หรือ มะเร็งผิวหนัง
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง🤔
- คนที่มีผิวสีอ่อนหรือมีความไวต่อแสงแดดมาก
- มีไฝจำนวนมาก มีไฝขนาดใหญ่ตั้งแต่เกิด มีไฝลักษณะผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลง
- ได้รับแสงแดดมากในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น
- มีประวัติมะเร็งผิวหนังในครอบครัว หรือเคยมีประวัติมะเร็งผิวหนังมาก่อน
- ต้องสัมผัสแสงแดดจ้าเป็นประจำ
- ได้รับยากดภูมิบางชนิด
มะเร็งผิวหนัง👤
มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด แต่ชนิดที่รุนแรงที่สุดคือ melanoma ซึ่งพบผู้ป่วยมากกว่าสองแสนคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตถึงห้าหมื่นคนต่อปี ผู้ชายมีโอกาสเกิด melanoma มากกว่าผู้หญิง
melanoma เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีของผิวหนัง ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือการสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มากเกินไป การสังเกตและปรึกษาแพทย์ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จึงมีความสำคัญเพราะหากตรวจพบมะเร็งผิวหนังชนิดนี้และเริ่มรักษาได้เร็วจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้ถึง 99% เลยทีเดียวครับ
การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนัง🩺
การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังสามารถทำได้หลังจากที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัดชิ้นเนื้อของไฝที่น่าสงสัยเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือสามารถวินิจฉัยในระยะเริ่มแรกได้ด้วยการทำแผนภูมิร่างกายหรือ Fotofinder โดยจะมีการถ่ายภาพร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าและตรวจหาความผิดปกติของไฝด้วยเครื่อง dermoscope และจะมีการทำซ้ำทุกปีจึงสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของไฝรวมถึงตรวจหาการเกิดไฝเม็ดใหม่ ๆ ได้
การรักษามะเร็งผิวหนัง👩⚕
การรักษามะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเอาบริเวณที่เป็นมะเร็งผิวหนังออกให้หมด หากมีขนาดเล็กอาจใช้วิธีการขูดออกร่วมกับการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือไนโตรเจนเหลว แต่หากมีขนาดใหญ่หรือมีการแพร่กระจายอาจต้องใช้วิธีเคมีบำบัดหรือการฉายแสงร่วมด้วย
การป้องกันมะเร็งผิวหนัง☂
- ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด ๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น.
- ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 ขึ้นไปเป็นประจำ
- หากจำเป็นต้องออกแดดควรใส่เสื้อผ้าป้องกันบริเวณผิวหนังที่สัมผัสแสงแดด
- หลีกเลี่ยงการอาบแดดหรือการใช้เครื่องอบผิวให้เป็นสีแทน
- หากมีไฝ ขี้แมลงวัน หูด หรือปาน ควรสังเกตอย่างใกล้ชิดและปรึกษาแพทย์หากพบการเปลี่ยนแปลง
- หากมีแผลเรื้อรังหรือแผลที่ไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์
ลักษณะของไฝที่อาจกลายเป็นมะเร็ง💁♀️
แม้ไฝส่วนใหญ่ไม่ได้กลายเป็นมะเร็ง และมะเร็งผิวหนังบางส่วนก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากไฝ แต่ไฝในบางลักษณะก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งได้ โดยมีลักษณะที่จำได้ง่ายคือ
A – Asymmetry ไฝโดยทั่วไปมักมีขนาดกลม ไฝที่มีรูปร่างไม่สมมาตรมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นมะเร็ง
B – Border ขอบเขต โดยขอบเขตของไฝที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งมักมีขอบเขตไม่สม่ำเสมอหรือไม่ชัดเจน
C – Color สี โดยทั่วไปไฝหนึ่งเม็ดควรจะเป็นสีเดียวกัน หากสีของไฝไม่สม่ำเสมอหรือมีหลายสีในเม็ดเดียวควรระวังว่าอาจกลายเป็นมะเร็งได้
D – Diameter ขนาด หากไฝมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 มิลลิเมตรอาจเป็นลักษณะของมะเร็งผิวหนังได้
E – Evolving การเปลี่ยนแปลง แม้โดยทั่วไปไฝอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากไฝมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนหรือเร็วเกินไป เช่น สี ขนาด รูปร่าง โตเร็วผิดปกติ ตกสะเก็ด หรือมีเลือดออกควรระวังและปรึกษาแพทย์
ผู้ที่มีไฝที่มีลักษณะดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อตรวจสอบว่าเป็นมะเร็งผิวหนังหรือไม่
วิธีการกำจัดไฝ🩹
วิธีการเอาไฝออกนั้นมีสองวิธีคือการทำเลเซอร์และการตัดออก ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของไฝนั้นๆ และดุยพินิจของแพทย์ ซึ่งการกำจัดไฝทุกวิธีมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็นได้ แต่การกำจัดไฝโดยแพทย์ที่มีความชำนาญสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดแผลเป็นถาวร หรือหากเกิดแผลเป็นถาวรหรือแผลเป็นนูน (keloid) แพทย์ก็สามารถแนะนำการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไปได้
ที่ต้องระวังก็คือ หากสงสัยภาวะมะเร็งผิวหนัง ควรทำการฝานหรือตัดเพื่อส่งตรวจชิ้นเนื้อ ไม่ควรเอาออกด้วยการทำเลเซอร์ แต่ถ้าหากได้รับการตรวจวินิจัยว่าไฝนั้นไม่มีลักษณะที่เข้าข่ายสงสัยว่าเป็นมะเร็งผิวหนังสามารถเอาออกด้วยการทำเลเซอร์ได้
เนื่องจากไฝบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ พี่หมอแนะนำให้เพื่อน ๆ หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง หากพบความผิดปกติ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก เพราะยังมีโอกาสรักษาให้หายได้นะครับ ยิ่งบ้านเราเป็นเมืองร้อน แดดแรง ยิ่งต้องระวังให้มาก ดูแลตัวเองกันนะครับ พี่หมอเป็นห่วง 😊