งูฟลอริดาที่หายากตายเพราะกลืนตะขาบยักษ์

.

.
ผู้เยี่ยมชมสวนสาธารณะของรัฐฟลอริดา
ใน  Key Largo พบงูชนิดที่หายากตาย
เพราะมีตะขาบยักษ์คาที่คอ (© Drew Martin)
.
.

งูสวมมงกุฎริมโขดหิน  (Tantilla oolitica)
อยู่ในรายชื่อสายพันธุ์งูชนิดที่หายากมาก
ที่ถูกคุกคามของรัฐฟลอริดาตั้งแต่ปี 1975
งูชนิดนี้เป็นงูที่หายากที่สุดในอเมริกาเหนือ
และนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้พบเห็นงูชนิดนี้
ในป่ามานานกว่า 4 ปีแล้ว

แต่เมื่อเร็วๆ นี้
งูที่หายากตัวหนึ่งปรากฏตัวขึ้น
ในสวนสาธารณะของรัฐฟลอริดา
การพบเห็นครั้งนั้นเป็นเรื่องน่าเศร้า
งูกลายเป็นศพจากสัตว์ป่าที่น่าสยดสยอง
(สัตว์ป่า คือ สัตว์ที่ไม่มีคนเลี้ยง กม.อังกฤษ
ศาตราจารย์ ประพนธ์ ศาตะมาน)
.
.

.
.

ผู้เยี่ยมชมอุทยานแห่งรัฐหลอริดา Key Largo ที่
John Pennekamp Coral Reef State Park
พบซากงูตายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2022
มันสำลักตะขาบยักษ์ตายขณะที่กลืนลงไป
ระหว่างกลืนลงมาในหลอดอาหาร
ตะขาบยักษ์ที่ถูกกลืนเข้าก็ตายตามไปด้วย

ฉากที่น่าสยดสยองนี้  ชี้ให้เห็นว่า
งูเสียชีวิตในขณะที่สำลักอาหารมื้อใหญ่
ตะขาบมีขนาดลำตัวประมาณ 1/3 ของนักล่า
จึงเป็นไปได้ว่าที่ งูสำลักอาหารจนตาย
ผลการศึกษาเผยแพร่ 4 กันยายน 2022
ในวารสาร The Scientific Naturalist
.
.

.
.

งูสวมมงกุฎริมโขดหินนั้นไม่มีพิษ
มีหัวสีดำและลำตัวสีน้ำตาลอมชมพู
มีความยาว 6 - 11 นิ้ว (15 - 28 เซนติเมตร)
พบได้เฉพาะในเขต Florida Keys 
และทางทิศอิศานของชายฝั่งแอตแลนติค
ข้อมูล แผนกนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์สัตว์ป่า
University of Florida's Department of Wildlife Ecology and Conservation

งูชนิดนี้อยู่ในรายชื่อสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
และหายากของรัฐฟลอริดาตั้งแต่ปี 1975
ตัวอย่างงูที่มีชีวิตล่าสุดถูกพบในปี 2015
ในขณะที่การพบเห็นครั้งล่าสุดที่บันทึกไว้
คือ งูที่เสียชีวิตเพราะถูกแมวฆ่าตายในปี 2018
Kevin Enge ผู้เขียน/ผู้ช่วยในการวิจัย ร่วมกับ
Florida Fish and Wildlife Conservation Commission

" งูสวมมงกุฎริมโขดหิน พบเห็นไม่ได้ง่ายนัก
ใน Key Largo/ที่อื่น ๆ เพราะมีขนาดตัวเล็กมาก
ขุดโพรงอาศัยอยู่ ทั้งยังใช้เวลาส่วนใหญ่
ซ่อนตัวอยู่ใต้เศษใบไม้ หรือในโพรงดิน
มักจะพบเห็นก็ตอนที่ช่วงฝนตกหนักมาก
ที่บังคับให้มันโผล่ขึ้นมาบนพื้นผิวดิน

สำหรับคนรักงู ชอบดูงูที่มีชีวิตและล่ารายชื่องู
สายพันธุ์ที่เป็น  Holy Grail ใน Florida
(จอกศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซู ของมีค่าในตำนาน
เชื่อกันว่า ได้กินอาหารในจอกจะเป็นอมตะ
รบที่ไหน ชนะที่นั่น ไม่มีใครทำลายได้)

นักล่างูส่วนใหญ่ยังไม่มีใครพบเห็นเลย
แม้ว่าจะดั้นด้นค้นหาเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ "
Kevin Enge  ตอบทางอีเมล กับ Live Science 
.
.

.
Galahad, Bors &Percival achieve the Grail Tapestry woven by Morris & Co
.
.

.
การทำ CT สแกน CT เผยให้เห็นว่า
ตะขาบยักษ์ (Scolopendra alternans)
ขนาด 1/3  ของงูที่กลืนมัน (© Drew Martin)
.
.

เมื่อผู้มาเยี่ยมอุทยานพบงูที่ตายแล้ว
ซึ่งวัดได้ยาวประมาณ 8 นิ้ว (21 ซม.)
ปากของสัตว์เลื้อยคลานอ้าปากค้างกว้าง
และมีส่วนหลังของตะขาบยาว 3 นิ้ว (7.3 ซม.)
ตะขาบ (Scolopendra alternans)
ห้อยออกมา/ยื่นออกมาราว 1 นิ้ว (2.3 ซม.)

เจ้าหน้าที่อุทยานได้ติดต่อกับนักวิทยาศาสตร์
กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดา
Florida Museum of Natural History
(FMNH) ในเมือง Gainesville
เพื่อนำซากงูและตะขาบไปที่พิพิธภัณฑ์
ณ ที่แห่งนั้น นักวิจัยได้รักษาสภาพและวิเคราะห์
สัตว์เลื้อยคลานคู่นี้โดยหวังว่า ตัวอย่างที่พบ
จะทราบถึงสาเหตุการตายในครั้งนี้
เปิดเผยเบาะแสเกี่ยวกับนิสัย/ชีววิทยาของงู
.
.

.
.


" หายากมาก
ในฐานะนักชีววิทยางูในฟลอริดา
การค้นพบครั้งนี้น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง
เรามีตัวอย่าง Tantilla oolitica ที่เก็บไว้
เพียง15 ตัวอย่างที่พิพิธภัณฑ์ฟลอริดา
ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่รู้จัก
ของสายพันธุ์นี้ที่รู้จักทุกแห่ง

นอกจากนี้เรายังมีตัวอย่างแบบ
holotype และ paratype
(ต้นแบบและคล้ายต้นแบบ)
ด้วยว่าเป็นอย่างไรบ้าง
แต่เราไม่เคยมีตัวอย่างแบบนี้
งูที่เสียชีวิตขณะกินเหยื่อ
และผมคิดว่า
ยังไม่มีใครพบเช่นเดียวกัน 

การค้นพบแบบนี้หายากมาก
แม้แต่กับงูสายพันธุ์ทั่วไป
ในงานสะสมทั้งหมดของเรา
ผมคิดว่า เราอาจมีตัวอย่างงู
อีก 2 สายพันธุ์ที่เสียชีวิตขณะกินเหยื่อ "
Coleman Sheehy ผู้ร่วมวิจัยด้านการศึกษา
นักวิจัยและผู้จัดการฝ่ายรวบรวมที่ FMNH
ตอบอีเมลกับ Live Science

เพื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ฆ่างู
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้การตรวจเอกซเรย์ด้วย
การทำ CT สแกน เพื่อดูอวัยวะภายในสัตว์
และเห็นภาพอาหารมื้อสุดท้าย
การตรวจแบบนี้ไม่ทำลายตัวอย่าง
แม้ว่ายังไม่ทราบระยะเวลาตายของงู
ว่าได้นอนตายอยู่บนเส้นทางนานแค่ไหน
แต่เนื้อเยื่ออ่อนยังคงไม่บุบสลาย
และยังอยู่ในสภาพที่ดี (ยังไม่เน่าเปื่อย)
ได้เผยให้เห็นถึงรายละเอียดที่ไม่คาดคิด
.
.

.
สภาพที่ยอดเยี่ยมของเนื้อเยื่ออ่อนของงู
ที่พบจากการทำ CT สแกน เปิดเผยให้เห็นโครงสร้างภายในของมัน  © FMNH
.
.

" หลอดลมยังคงอยู่ในสภาพอย่างดี
จนเราสามารถเห็นความยาวของหลอดลม
และส่วนใดที่ถูกบดบัง(ด้วยตะขาบยักษ์)
ผล CT สแกนพบว่า หลอดลมของงูถูกกดทับ
และอาจกีดขวางทางเดินหายใจ
ซึ่งนำไปสู่การขาดอากาศหายใจ

งูมักกลืนเหยื่อขนาดใหญ่
และบางครั้งอาจจะอาเจียน/สำรอกได้
แต่แนวขาจำนวนมากของตะขาบ
ทำให้งูสำรอกออกมาได้อย่างลำบาก "
Kevin Enge สรุปเพิ่มเติม

สาเหตุการเสียชีวิตอีกประการหนึ่ง
อาจเป็นเพราะพิษจากขาหน้าขนาดใหญ่
ของตะขาบต่อยใส่งูขณะที่กำลังจะตาย
ในระหว่างที่ถูกกลืนลงไปในคองู

เมื่อผู้ทำการศึกษาตรวจดูผลการ CT สแกน
ก็ตรวจพบบาดแผลที่ภายนอกแทบมองไม่เห็น
แต่แสดงให้เห็นความเสียหายภายในมากขึ้น
แม้ว่าการบาดเจ็บอาจจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต
แต่ก็อาจได้รับพิษมากพอที่จะทำให้งูตายได้

อาจเป็นไปได้ว่างูได้รับบาดเจ็บก่อน
ที่จะกลืนตะขาบและพิษของตะขาบ
ทำให้มันกินอาหารไม่ได้/กินอย่างลำบาก

นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า
หากสถานการณ์ที่คิดนี้ถูกต้อง
แสดงว่ามีงูสายพันธุ์ที่มีความทนทาน
ต่อสารพิษจากตะขาบ (แบบปรับตัวได้)
ซึ่งเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติ
ที่นักวิทยาศาสตร์ยังสงสัยว่ามีหรือไม่
แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีจริงหรือไม่

" การค้นพบตัวอย่างที่ตายใหม่
และยังไม่เสียหายบนพื้นดินนี้
ทำให้เกิดโอกาสที่หายาก
ในการทำงานของนักสืบ
โดยใช้วิทยาศาสตร์ล้ำสมัย

เราสามารถได้รับความคิดที่ดี
เกี่ยวกับสิ่งที่ฆ่างูหายากตัวนี้
ซึ่งอาจจะไม่ได้รับการยืนยัน
โดยการผ่าตัด (แบบในอดีต
ที่ทำลายซากที่ศึกษาได้) "
Kevin Enge  กล่าวเพิ่มเติม

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3BpMHlh
.

.
เวลางูเหลือม กินจระเข้จะไม่เหลือเศษซากเลย
เผยกระบวนการย่อยจระเข้ทั้งตัว 
ที่ถูกกลืนลงไปในท้องงูเหลือม
.
1.
.
วันแรก : จระเข้เพิ่งถูกกินเข้าไป
และยังอยู่ในสภาพดี
.
2.

.
วันที่สอง : ส่วนท้องเริ่มโดนย่อยบ้างแล้ว
.
3.

.
วันที่สาม : เนื้อหนังส่วนใหญ่เริ่มถูกย่อย
จนไม่เหลือสภาพของจระเข้แล้ว
.
4.

.
วันที่สี่ : เหลือเพียงชิ้นส่วนกระดูก
และโครงสร้างแข็ง ๆ เท่านั้น
.
5.

.
วันที่ห้า : เหลือเพียงกระดูกชิ้นเล็ก ๆ
.
6.

.
วันที่หก : แทบไม่เหลืออะไรในกระเพาะงูแล้ว
.
7.

.
วันที่เจ็ด : จระเข้ที่เพิ่งย่อยไปหมดแล้ว
ทำให้กระเพาะของงูว่างเปล่าโบ๋เบ๋
และพร้อมสำหรับอาหารมื้อต่อไปแล้ว
.



แม้จะดูเหลือเชื่อที่งูเหลือม
จะใช้เวลาย่อยจระเข้ในเวลาแค่ 7 วัน 
แต่ผลการ x-ray นักชีววิทยาพบว่า
หลังจากจระเข้ถูกกลืนเข้าไปแล้ว 
ค่า pH ในกระเพาะของงูเหลือมนั้น
จะเปลี่ยนจาก 7 เป็น 2 ภายในเวลา 24 ชั่วโมง 

นั่นก็คือ 
ภายในกระเพาะงูนั้นมีสภาพเป็นกรดที่รุนแรง 
ทั้งยังผลิตเอนไซม์สำหรับย่อยอาหาร
ในปริมาณมากรวมทั้งกระบวนการเมทาบอลิซึ่ม
ของงูนั้นยังเพิ่มขึ้นตามขนาดของเหยื่อ
ที่มันกินเข้าไปในกระเพาะอาหารนั้นอีกด้วย

รายละเอียดที่  https://bit.ly/3c7m0DC
.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ

ตะขาบกับกิ้งกือ
จะมีลักษณะที่คล้ายกันคือ ขาจำนวนมาก
กิ้งกือชาวสวนส่วนหนึ่งจะชอบมาก
เพราะทำหน้าที่กัดกินซากพืช/สัตว์ตัวเล็ก ๆ
ให้ย่อยสลาย/พรวนดินเหมือนกับไส้เดือน
ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง

กิ้งกือขนาดใหญ่บางแห่งเรียกว่า กุ้งบก
มีเนื้อจำนวนมากพอที่จะนำมาทำอาหาร
ประเภทผัด ทอด แกง กินกันได้หลายคน
และที่หาคนมีฝีมือทำขายยากแล้วในทุกวันนี้
คือ แกงน้ำพริกน้ำยากุ้งบก กินกับขนมจีน
(ขนม=เส้น จีน=ต้ม ภาษามอญ สุจิตต์ วงษ์เทศ)
.
.

ตะขาบมีเขี้ยวที่มีพิษ
มักหลบซ่อนในที่รก ๆ ที่ชื้น ๆ ตามบ้าน
ตามที่รก ๆ ของสวน/ตามป่าตามเขา
คนที่โดนตะขาบกัด ถ้าแพ้มากถึงตายได้
คนเลี้ยงหมูจะกลัวตะขาบที่สุด
ไม่ใช่กลัวตะขาบกัดคนแต่อย่างใด
แต่กลัวตะขาบกัดหมู เพราะตายทุกตัว

ตะขาบมีคนนำมาทำเป็นอาหารกินหลากหลาย
เช่น ดองเหล้าเป็นยาโป้ว(บำรุงร่างกาย/Sex)
ทอดกินเป็นกับแกล้ม แบบของหายาก
พิษนำไปวิจัยเป็นสารเคมีตั้งต้นส่วนหนึ่ง
และที่ดังที่สุดในไทยคือ
ยาอมแก้ไอตราตะขาบห้าตัว
จขกท. เวลาม่ายไหรทำ ก็ชอบซื้อมาอมเล่น
ให้มันขื่นคอดี แก้เซ็งได้เหมือนกันในบางเวลา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่