ข้อความที่บอกว่า รัสเซียช่วยให้ไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้น จริงเท็จแค่ไหนครับ?

เพราะตอนนั้นผมเข้าใจว่ารัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นพันธมิตรกัน (Triple Entente) 
 คือ ชื่อเรียกของพันธมิตรระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพื่อเป็นพันธมิตรยับยั้งฝ่ายมหาอำนาจกลาง และยังเป็นแผนการของฝรั่งเศสซึ่งต้องการโอบล้อมจักรวรรดิเยอรมัน



แล้วถ้ารัสเซียช่วยเราจริงๆ ตามที่เค้าบอก รัสเซียช่วยมากขนาดไหนครับ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียที่ช่วยสยามไว้  แต่ถูกพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซียสังหารตายทั้งหมด

ตอนนี้คงไม่ต้องถือว่ามีบุญคุณต่อกันแล้วนะ  เพราะบุญคุณนั้นหมดไปเมื่อราชวงศ์โรมานอฟถูกสังหารทั้งตระกูลแล้ว
ความคิดเห็นที่ 4
รัสเซียพวกนั้น ไม่ใช่รัสเซียพวกนี้

รัสเซียพวกนี้คือพวกล้มเจ้านะครับ
ความคิดเห็นที่ 8
การล่าอาณานิคมของมหาอำนาจยุโรปในศตวรรษที่ 19 เนี่ยไม่ใช่ว่าอยากจะเอากองทัพหรือเรือไปถล่มที่ไหนก็ทำได้ครับ เพราะมันดูเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนและไร้อารยหรือไร้รสนิยมมากๆ  โดยเฉพาะประเทศที่มีระบบรัฐสภาหรือรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษและฝรั่งเศสเนี่ย ถ้าแค่อยากจะทำแต่ไม่มีเหตุจูงใจที่น่าเชื่อถือพอ ก็ยากที่จะโน้มน้าวให้รัฐสภาอนุมัติการส่งกองทัพมาได้ครับ

ดังนั้นจึงมีแนวคิดของยุโรปคือ การล่าอาณานิคมแบบอารยะ ด้วยการสร้างเงื่อนไขต่างๆให้เห็นถึงความจำเป็น (แม้จะข้างๆคูๆ) ในการต้องส่งกองทัพไปพิชิตอาณานิคมหรือดินแดนโพ้นทะเลนั้นๆครับ

โดยหากเป็นดินแดนที่ป่าเถื่อน การบุกหรือยึดก็สามารถใช้เหตุแบบป่าเถื่อนกระทำได้เช่นกัน เข้าทำนองว่าตาต่อตาฟันต่อฟัน แต่หากเป็นดินแดนที่กึ่งอารยะหรือมีอารยะ มหาอำนาจยุโรปก็ต้องหาเหตุต่างๆนาๆเพื่อเป็นชนวนในการส่งกองทัพเข้าไปรุกรานครับ

การที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประภาสยุโรปสองครั้ง เป็นการสร้างภาพลักษณ์ว่าสยามเป็นดินแดนที่มีอารยะเช่นกัน และการได้ถ่ายพระรูปร่วมกับจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ 2 และการไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิวิลเฮล์มแห่งเยอรมัน ก็บ่งบอกว่าสองชาตินี้ต้อนรับราชวงศ์แห่งสยามและประเทศสยามในฐานะอารยะประเทศ มิใช่บ้านป่าเมืองเถื่อนที่ไม่มีตัวตนในเวทีโลกครับ

การกระทำตรงนี้ทำให้ชาวยุโรปรู้จักสยามมากขึ้น (ทั้งคนอังกฤษ ฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ) ดังนั้นการหาเรื่องเพื่อยึดสยามเป็นอาณานิคมก็ต้องหาอะไรที่มันสมเหตุสมผลในการที่จะประกาศสงครามหรือเป็นชนวนที่โน้มน้าวให้รัฐสภาอนุมัติเคลื่อนกองทัพได้ ซึ่งทำให้การยึดสยามมันซับซ้อนขึ้นอีกมากโข
ความคิดเห็นที่ 11
ส่วนตัว ผมว่าภาพถ่ายที่มีอิทธิพลจริงๆน่าจะเป็นภาพนี้มากกว่า  โดยเฉพาะฝรั่งเศษ
ความคิดเห็นที่ 7
ต้องแยกเป็นเสด็จเยือนปารีส 2 ครั้ง ครั้งแรกปี 1897
ฝรั่งเศสยังเป็นแค่พันธมิตรรัสเซีย
ประชาชนชาวฝรั่งเศสมีภาพพจน์เกลียดสยามมาก และคาดว่ากษัตริย์สยามเยือนปารีสจะถูกฝูงชนประท้วง
ก่อนหน้าหนังสือพิมพ์ Le Correspondant ชอบลงข่าวเหยียดผิว
“นิสัยไม่ดีของชาวสยามมักถูกรายงานอยู่เสมอ เห็นว่าสยามถูกยกให้เป็นเรื่องไร้สาระและสนุกสนาน ไม่น่าไว้วางใจ ขาย “มนุษย์” ในราคาใด ๆ ทุจริต ขาดเกียรติ เกียจคร้าน ฯลฯ ในที่สุดมันก็จะถูกยึดครองโดยอำนาจอาณานิคม พลังนั้นต้องฝรั่งเศสแน่นอน

แต่พอหนังสือพิมพ์ เลอ ฟิกาโร หนังสือพิมพ์สายอนุรักษ์นิยม ลงรูปรัชกาล ที่ 5 โดยซาร์นิโคลัส (พันธมิตรของฝรั่งเศส) ทำให้ประชาชนมั่นใจ มันเตือนผู้อ่านว่าถึงแม้สยามจะดูเหมือนเป็นแฟนตาซีแบบตะวันออก“ เราต้องไม่ลืมว่าราชาแห่งสยามแม้ว่าเขาจะเป็นชาวเอเชียก็ตาม แต่เป็นราชาแห่งศักดิ์ศรีเหมือนชาวยุโรป”

L'Illustration ตีพิมพ์ภาพกษัตริย์สยามกับซาร์แห่งรัสเซีย และสร้างความชื่นชอบให้กับชาวปารีสอย่างมาก “ปารีสเป็นชาวตะวันออกโดยสิ้นเชิง...และผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาหลังจากผู้มาเยือนชาวเอเชีย เราได้ดูพวกเขา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สามารถพูดได้ว่า ฉันเคยเห็นพวกเขาแล้ว! ”

“แต่เมื่อครั้นมาถึงปารีสเข้า เขาก็รับรองอย่างแข็งแรง” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในสมัยนั้นคือเฟลิกซ์ โฟร์ (Felix Faure) จัดการรับรองอย่างยิ่งใหญ่และมารับเสด็จฯ ถึงสถานีรถไฟ Gare du Nord แห่งกรุงปารีส ทรงกล่าวเพิ่มเติมว่า
“การที่เขาทำเช่นนี้ ผู้ซึ่งมีสัญญาไม่วิปลาสคงจะเข้าใจได้ว่า เขาไม่ได้ทำด้วยกลัวเกรงอำนาจเราอย่างใด ทำด้วยเห็นแก่พระบารมีเอมเปอเรอ”


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจทรงทราบความคิดเห็นเหล่านั้นหรือไม่เราไม่ทราบ ภารกิจหลักของท่านคือปกป้องชื่อเสียงของสยาม ส่งเสริมศักดิ์ศรีของอำนาจอธิปไตยและต่อต้านฝรั่งเศสที่จะผนวกสยาม ครั้งนั้นนั้นทรงประสบความสำเร็จอย่างมาก แม้ว่าสยามและฝรั่งเศสไม่ได้เป็นเพื่อนสนิทกันเนื่องจากการเสด็จเยือน แต่พวกเขากลับไม่ถือว่าเป็นเพื่อนบ้านที่อันตรายอีกต่อไป

ช่วงนั้นรัสเซียกับอังกฤษไม่ถูกกันเรื่องอังกฤษจะทะเยอทะยานจะยึดอัฟกานิสถานซึ่งเป็นรัฐกันชนของรัสเซีย ซาร์จึงส่งทูตที่ดีที่สุดมาช่วยสยามคือ Alexander Olarovsky ให้เป็นอุปทูตและกงสุลใหญ่รัสเซียประจำสยาม เขาได้รับมอบหมายเป็นพิเศษให้ต่อต้านการขยายตัวของอังกฤษในอินโดจีนและเป็นตัวแทนสันติภาพระหว่างสยามและฝรั่งเศส
Olarovsky ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในฐานะทูตของซาร์ในสยามเพื่อปกป้องอาณาจักรของเพื่อนของ Nicholas II เขาโน้มน้าวให้พวกฝรั่งเศสส่งจันทบุรีกลับสยาม เขายังสร้างสัมพันธ์กับฑูตอังกฤษสร้างราชกรีฑาสโมสและร่วมเพาะพันธุ์ม้าแข่ง ส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษไม่ได้ข้ามพรมแดนพม่า-สยามจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2


แต่เสด็จเยือนปารีสครั้งที่ 2 (1907) ต่างออกไป
ทรงไปให้กำลังใจรัสเซียที่แพ้สงครามกับญี่ปุ่น และภาพพจน์กับฝรั่งเศสมองสยามเป็นพันธมิตรแล้ว
หลังจากที่อังกฤษหันไปสนับสนุนญี่ปุ่น จนถึง ww1 สยามก็ส่งทหารไปช่วยฝรั่งเศส
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่