สาขาวิชาเคมีเพื่ออุตสาหกรรม
Chemistry for Industry
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะทางเคมีที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพในภาคอุตสาหกรรมทั่วไป และมีองค์ความรู้เฉพาะด้านที่ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ พื้นภาคและประเทศ เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะเชิงสากล
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งเอกชนและภาครัฐ งานที่สามารถทำได้ คือ
1) นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมทางหลวง การไฟฟ้า กองพิสูจน์หลักฐาน มหาวิทยาลัย เป็นต้น
2) นักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาคเอกชน เช่น
- อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
- อุตสาหกรรมไขมันและน้ำมัน
- อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ เช่น ยารักษาโรค เครื่องสำอาง สารเคมี
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก เส้นใย
- อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) นักวิจัยและพัฒนา (R&D) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
4) ผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการและผู้ควบคุมการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
5) ประกอบธุรกิจส่วนตัว
สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
Environment for Sustainability
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน เป็นหลักสูตรที่มีการเชื่อมโยง ของศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการที่เป็นพหุวิทยาการ เน้นการสร้างบัณฑิต ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการทำงานจริงและทักษะของพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการสื่อสาร และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไข ป้องกัน และจัดการปัญหาด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสามารถศึกษาทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อกำหนด ทางวิชาชีพ สามารถประกอบวิชาชีพในด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมและป้องกันมลพิษ ทั้งในสถานประกอบการ ชุมชน เมือง ทั้งรัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมมีความรู้พื้นฐานอย่างเพียงพอในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถเข้าสู่ตลาดงานสากลและสร้างงานเองได้ นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญ ต่อการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น การเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อรองรับความหลากหลายและเข้าสู่สากล และการวิจัยเพื่อพัฒนา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) งานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ด้านการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการดําเนินงาน
2) งานควบคุมมลพิษ ด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบ ออกแบบระบบ เดินระบบ บํารุงรักษาระบบ
การจัดการ อํานวยการ และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
3) หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆในกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ฯลฯ และองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เช่น นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
4) หน่วยงานเอกชนและภาคอุตสาหกรรม เช่น เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
5) องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) ทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
6) หน่วยงานบริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
7) สถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้องทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
8) การทำธุรกิจส่วนตัวและอาชีพอิสระ
เลือกเรียนอะไรดี เคมีอุตสาหกรรมvs สิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
Chemistry for Industry
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะทางเคมีที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพในภาคอุตสาหกรรมทั่วไป และมีองค์ความรู้เฉพาะด้านที่ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ พื้นภาคและประเทศ เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีสมรรถนะเชิงสากล
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งเอกชนและภาครัฐ งานที่สามารถทำได้ คือ
1) นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมทางหลวง การไฟฟ้า กองพิสูจน์หลักฐาน มหาวิทยาลัย เป็นต้น
2) นักวิทยาศาสตร์ตามหน่วยงานภาคเอกชน เช่น
- อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
- อุตสาหกรรมไขมันและน้ำมัน
- อุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ เช่น ยารักษาโรค เครื่องสำอาง สารเคมี
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง พลาสติก เส้นใย
- อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) นักวิจัยและพัฒนา (R&D) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
4) ผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการและผู้ควบคุมการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
5) ประกอบธุรกิจส่วนตัว
สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
Environment for Sustainability
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน เป็นหลักสูตรที่มีการเชื่อมโยง ของศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการที่เป็นพหุวิทยาการ เน้นการสร้างบัณฑิต ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการทำงานจริงและทักษะของพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการสื่อสาร และมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไข ป้องกัน และจัดการปัญหาด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสามารถศึกษาทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อกำหนด ทางวิชาชีพ สามารถประกอบวิชาชีพในด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมและป้องกันมลพิษ ทั้งในสถานประกอบการ ชุมชน เมือง ทั้งรัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถ ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมมีความรู้พื้นฐานอย่างเพียงพอในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถเข้าสู่ตลาดงานสากลและสร้างงานเองได้ นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญ ต่อการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น การเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อรองรับความหลากหลายและเข้าสู่สากล และการวิจัยเพื่อพัฒนา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) งานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ด้านการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการดําเนินงาน
2) งานควบคุมมลพิษ ด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบ ออกแบบระบบ เดินระบบ บํารุงรักษาระบบ
การจัดการ อํานวยการ และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
3) หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆในกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ฯลฯ และองค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เช่น นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
4) หน่วยงานเอกชนและภาคอุตสาหกรรม เช่น เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
5) องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) ทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
6) หน่วยงานบริษัทที่ปรึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
7) สถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้องทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
8) การทำธุรกิจส่วนตัวและอาชีพอิสระ