พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ฑีฆาวุสูตร
องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
[๑๔๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เชิญคฤหบดีชื่อโชติยะ ผู้เป็นบิดามาสั่งว่า ข้าแต่คฤหบดี ขอท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลตามคำของผมว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาททั้งสองของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก โชติยคฤหบดีรับคำฑีฆาวุอุบาสกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๑๔๑๗] ครั้นแล้ว โชติยคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และเขากราบทูลมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
[๑๔๑๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วได้ตรัสถามฑีฆาวุอุบาสกว่าดูกรฑีฆาวุอุบาสก ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ละหรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลา ย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ฑีฆาวุอุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาย่อมไม่ปรากฏ.
[๑๔๑๙] พ. ดูกรฑีฆาวุ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯจักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรฑีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
[๑๔๒๐] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
พ. ดูกรทีฆาวุ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป.
[๑๔๒๑] ดูกรทีฆาวุ ท่านจงพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์ มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ มีความสำคัญในความคลายกำหนัด มีความสำคัญในการดับ ดูกรฑีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.
[๑๔๒๒] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่า เป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์ ... มีความสำคัญในความดับ อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า โชติยคฤหบดีนี้ อย่าได้ถึงความทุกข์โดยล่วงไปแห่งข้าพระองค์เลย โชติยคฤหบดีได้
กล่าวว่า พ่อทีฆาวุ พ่ออย่าได้ใส่ใจถึงเรื่องนี้เลย พ่อทีฆาวุ จงใส่ใจพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ท่านให้ดีเถิด.
[๑๔๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วยพระโอวาทนี้แล้วเสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกกระทำกาละแล้ว.
[๑๔๒๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทโดยย่อ กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต มีปกติพูดจริง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่ยังตนให้ลำบาก เพราะมีธรรมเป็นเหตุ ทีฆาวุอุบาสกเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้นมีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป.
จบ สูตรที่ ๓
----
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=8247&Z=8299&pagebreak=0
----
ข้อความด้านล่างกระผมเพิ่มเติมประกอบเนื้อหาด้านบนครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ความหมายของพระสุตตันตปิฎก
พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรมรวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์
---
๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่นเทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้า โกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสาร วัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอา นิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความ มีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
---
ฑีฆาวุสูตร องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ฑีฆาวุสูตร
องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
[๑๔๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เชิญคฤหบดีชื่อโชติยะ ผู้เป็นบิดามาสั่งว่า ข้าแต่คฤหบดี ขอท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลตามคำของผมว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาททั้งสองของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก โชติยคฤหบดีรับคำฑีฆาวุอุบาสกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๑๔๑๗] ครั้นแล้ว โชติยคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และเขากราบทูลมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
[๑๔๑๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วได้ตรัสถามฑีฆาวุอุบาสกว่าดูกรฑีฆาวุอุบาสก ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ละหรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลา ย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ฑีฆาวุอุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาย่อมไม่ปรากฏ.
[๑๔๑๙] พ. ดูกรฑีฆาวุ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯจักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรฑีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
[๑๔๒๐] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.
พ. ดูกรทีฆาวุ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป.
[๑๔๒๑] ดูกรทีฆาวุ ท่านจงพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์ มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ มีความสำคัญในความคลายกำหนัด มีความสำคัญในการดับ ดูกรฑีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.
[๑๔๒๒] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่า เป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เป็นทุกข์ ... มีความสำคัญในความดับ อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า โชติยคฤหบดีนี้ อย่าได้ถึงความทุกข์โดยล่วงไปแห่งข้าพระองค์เลย โชติยคฤหบดีได้
กล่าวว่า พ่อทีฆาวุ พ่ออย่าได้ใส่ใจถึงเรื่องนี้เลย พ่อทีฆาวุ จงใส่ใจพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ท่านให้ดีเถิด.
[๑๔๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วยพระโอวาทนี้แล้วเสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกกระทำกาละแล้ว.
[๑๔๒๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทโดยย่อ กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต มีปกติพูดจริง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่ยังตนให้ลำบาก เพราะมีธรรมเป็นเหตุ ทีฆาวุอุบาสกเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้นมีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป.
จบ สูตรที่ ๓
----
ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=8247&Z=8299&pagebreak=0
----
ข้อความด้านล่างกระผมเพิ่มเติมประกอบเนื้อหาด้านบนครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ความหมายของพระสุตตันตปิฎก
พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรมรวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์
---
๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่นเทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้า โกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสาร วัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอา นิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความ มีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
---