🇹🇭💖มาลาริน💖🇹🇭30ส.ค.โควิดไทยที่29/ป่วย994คน หาย2,111คน เสียชีวิต27คน/หมอ ยง วัคซีนครึ่งโดส/รักษาผ่านแอฟ รับยาร้าน


https://www.bangkokbiznews.com/social/1023684


ยิ้มง" ชี้ฉีดวัคซีนเชื้อตายตามด้วย mRNA ครึ่ง-เต็มโดสภูมิสูงไม่ต่างกัน ระบุมีการเผยแพร่ในวารสาร “VACCINE” ที่เป็นวารสารระดับนานาชาติที่ได้มาตรฐานสูง 
 
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า
 
โควิด 19 วัคซีน  การใช้วัคซีนขนาดครึ่งโดส mRNA กระตุ้นผู้ที่เคยได้รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อน
 
ผลงานวิจัยของเรา แสดงออกมาชัดเจน ถึงการใช้วัคซีน mRNA 
 
ไม่ว่าจะเป็น วัคซีนไฟเซอร์ หรือ moderna การให้เพียงขนาดครึ่งเดียว กับเต็มโดส ในการกระตุ้นผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื่อตาย sinovac มาก่อน 
 
ผลภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างกัน อยู่ในระดับที่สูง 
 
ผลงานได้รับการเผยแพร่ในวารสาร “VACCINE” ที่เป็นวารสารระดับนานาชาติที่ได้มาตรฐานสูง 
 
และเป็นที่ยอมรับ รายละเอียดสามารถหาอ่านได้ เพราะวารสารได้เผยแพร่แล้ว
 
วัคซีนเชื้อตาย จะเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ให้แล้ว เมื่อกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นใช้ไวรัสเวกเตอร์ AstraZeneca
 
,mRNA หรือโปรตีนซับยูนิต Covovax (Novavax) กระตุ้นภูมิได้สูงมาก 
ไม่ได้ด้อยกว่าการให้วัคซีนชนิดเดียวกัน 3 เข็ม 
 
และจากการติดตามของเราในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนเต็มโดสและครึ่งโดส ไปจนถึง 4 เดือนหรือ 120 วัน 
 
การลดลงของภูมิต้านทานไม่ว่าจะได้รับเต็มโดสหรือครึ่งโดส ไม่แตกต่างกัน
วัคซีน Moderna เป็นที่ยอมรับ ทั่วโลกว่าการกระตุ้น ใช้เพียงครึ่งเดียว หรือขนาด  50 ไมโครกรัมก็เพียงพออยู่แล้ว
 

https://www.thansettakij.com/health/538383

เพี้ยนแคปเจอร์สปสช.เผยผู้ป่วยโควิดรักษาด้วยการแพทย์ทางไกลผ่าน 3 แอปกว่า 9 พันครั้ง/รับยาที่ร้าน 5.5 หมื่นครั้ง
วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565


สปสช.เผย 5 เดือน มีผู้ป่วยโควิด-19 รับบริการด้วยระบบการแพทย์ทางไกลผ่าน 3 แอปพลิเคชัน และรับยาที่ร้านขายยา แล้วรวมกว่า 6.4 หมื่นครั้ง แยกเป็นบริการผ่าน 3 แอปพลิเคชัน เริ่ม ก.ค. 65 รวม 9,043 ครั้ง และบริการรับยา-ให้คำแนะนำการใช้ยา ผ่านร้านยา เริ่ม มี.ค. 65 รวม 55,482 พร้อมเดินหน้าให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 ทุกสิทธิต่อเนื่อง
30 สิงหาคม 2565 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาและลดความแออัดในการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล สปสช.จึงได้ร่วมกับผู้ให้บริการระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้ง บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Good Doctor Technology และ ทรู เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) และบริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) เพื่อให้การดูแลและรักษาผู้ป่วยโควิด-19 
 
ทั้งนี้ จากการให้บริการที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน (30 ส.ค.65) มีผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารับบริการสะสม เป็นจำนวน 9,043 ครั้ง หรือเฉลี่ย 177.3 ครั้ง/วัน ในจำนวนนี้เป็นการเข้ารับบริการกับแอป Good Doctor (เริ่มบริการ 11 ก.ค.) จำนวน 4,942 ครั้ง, รับบริการกับแอป MorDee (เริ่มบริการ 13 ก.ค.) จำนวน 1,950 ครั้ง และรับบริการกับแอป Clicknic (เริ่มบริการ 28 ก.ค.) จำนวน 2,151 ครั้ง 



ในส่วนของการให้บริการแอป Clicknic นั้น นอกจากการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวแล้ว ยังให้บริการรักษาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 608 โดยได้มีการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์หรือโมลนูพิราเวียร์ให้กับผู้ป่วยตามการวินิจฉัยและดุลพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา ซึ่งจากข้อมูลการดูแลมีผู้ป่วยกลุ่ม 608 เข้าหลักเกณฑ์อาการสีเหลืองที่ได้รับจ่ายยาโมลนูพิราเวียร์แล้วจำนวน 433 ราย 
    
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า นอกจากนี้ สปสช. ยังได้ร่วมกับสภาเภสัชกรรม ในการจัดบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยร้านยาด้วย “บริการผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน” (OP Self isolation) หรือ เจอ แจก จบ ที่ช่วยเพิ่มความครอบคลุมเข้าถึงบริการ ซึ่งที่ผ่านมามีร้านยาทั่วประเทศเข้าร่วมบริการจำนวน 532 แห่ง เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2565 จากข้อมูลบริการในระบบถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2565 มีผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารับบริการจำนวน 55,482 ครั้ง (55,308 คน) โดยจังหวัดกรุงเทพฯ มีจำนวนรับบริการมากที่สุด 21,200 ครั้ง รองลงมาเป็นจังหวัดนนทบุรี 4,564 ครั้ง ชลบุรี 4,367 ครั้ง เชียงใหม่ 2,806 ครั้ง และนครปฐม 2,651 ครั้ง 
 
ส่วน 5 อันดับร้านยาที่ให้บริการดูแลผู้ป่วยโควิด คือ ร้านเภสัชกรสุพรรณ 2 จำนวน 1,450 ครั้ง ร้านพรพงษ์เภสัช จำนวน 1,008 ครั้ง ร้านสมนึกเภสัช สาขา 3 จำนวน 986 ครั้ง ร้านฉัตรโอสถ จำนวน 920 ครั้ง และร้านเคเจ ฟาร์มาซี 913 ครั้ง  

“ขณะนี้บริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งรูปแบบบริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกล โดย 3 แอปพลิเคชัน และบริการดูแลผ่านร้านยาทั่วประเทศยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนของ สปสช. จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายเฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทองเท่านั้นและที่ผ่านมามีประชาชนเข้ารับบริการรวม 64,115 ราย (ข้อมูล ณ 24 ส.ค. 65) ขณะที่ในส่วนสำนักงานประกันสังคมและกรมบัญชีกลางจะดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนผู้ประกันตนและข้าราชการ เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการดูแล”     
 
ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 “สิทธิบัตรทอง 30 บาท สวัสดิการข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น และสิทธิประกันสังคม” พบแพทย์ Telemedicine-ส่งยาฟรีถึงบ้าน ผ่าน 3 แอปพลิเคชัน



เมื่อตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเลือกลงทะเบียน เพื่อพบแพทย์ผ่านออนไลน์ ซักถามและจ่ายยาตามอาการ (หากเข้าเกณฑ์ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์) พร้อมจัดส่งถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 

1.แอปพลิเคชัน Clicknic ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด : https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57
 
รับผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์) สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic

2.แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p 
รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp

3.แอปพลิเคชัน Good Doctor Technologyให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย): https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7
 
 รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และชลบุรี เท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @gdtt 
ส่วนบริการ เจอ แจก จบ ที่ร้านยา เป็นบริการครอบคลุมทั่วประเทศ รับทั้งสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ สามารถดูรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการใกล้บ้าน คลิก https://www.nhso.go.th/downloads/197
 
https://www.naewna.com/local/676674

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ....

วันนี้ผู้ป่วยใหม่ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลลดต่ำอยู่ในหลักร้อยแล้วนะคะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0nbxxvRceGVegsbdPuiTMrhqWqnte5VGFKe8KNQDWg5rbN2mn8TZRXHoJ3bCRt5iPl


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 29 ส.ค. 2565)
รวม 142,698,628 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 29 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 12,507 โดส

เข็มที่ 1 : 1,662 ราย
เข็มที่ 2 : 1,772 ราย
เข็มที่ 3 : 9,321 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,250,029 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,708,285 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,740,314 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02gxZ3EqfFRT4yXGAf6U69b3ocyJqAkFWqxDkR6ukjuZaznr5pDQVTXQUDTXhv2f9hl


กรมการขนส่งทางบก เคร่งครัดมาตรการโควิด ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาให้บริการ
แนะ!! ผู้ประกอบการขายตั๋วผ่านระบบออนไลน์ ลดแออัด

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มีมติเห็นชอบการผ่อนคลายมาตรการการสวมหน้ากากอนามัย ประชาชนสามารถสวมหน้ากากอนามัยได้ตามความสมัครใจ ไม่มีความจำเป็นคัดกรองอุณหภูมิในอาคารสถานที่ แต่อาจมีการคัดกรองอุณหภูมิในสถานที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด และมีการเว้นระยะห่างตามความเหมาะสม เพื่อผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจควบคู่กับการคงดำเนินมาตรการที่จำเป็นสำหรับป้องกันและควบคุมโรค และยังคงแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด สถานที่ปิด สถานที่มีการระบายอากาศไม่ดี เช่น ขนส่งสาธารณะ

กรมการขนส่งทางบก ได้ปรับเปลี่ยนมาตรการให้บริการรถโดยสารสาธารณะและเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อควบคุมการระบาดของโรคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และกำหนดมาตรการด้านสาธารณสุขสำหรับการประกอบการขนส่ง เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและประชาชนผู้รับบริการ โดยมาตรการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะและรถยนต์สาธารณะ รวมถึงภายในสถานีขนส่งผู้โดยสาร ต้องทำความสะอาดภายในสถานีขนส่งและภายในรถโดยสาร เช่น บันไดหรือบันไดเลื่อน ปุ่มกดลิฟต์ ราวจับ เบาะที่นั่ง ห้องสุขา ด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ พร้อมมีจุดให้บริการล้างมือด้วยด้วยแอลกอฮอล์ งดให้บริการอาหารระหว่างเดินทาง สำหรับการเดินรถโดยสารสาธารณะข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ต้องจัดให้มีช่องทางการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าผ่านทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์อื่น เพื่ออำนวยความสะดวก และลดความแออัดของผู้ใช้บริการ ส่วนการจำหน่ายตั๋ว ณ สถานประกอบการ ต้องจัดให้มีที่นั่งรอ ระบบการเข้าคิวซื้อตั๋ว ให้เป็นไปตามมาตรการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) มาตรการปฏิบัติสำหรับรถจักรยานยนต์ ทำความสะอาดแฮนด์รถจักรยานยนต์ เบาะที่นั่ง หมวกกันน็อกสำหรับผู้โดยสารด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับผู้โดยสารระหว่างให้บริการ มาตรการปฏิบัติสำหรับพนักงานขับรถและผู้ให้บริการ ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่ให้บริการ

ที่มา กรมการขนส่งทางบก
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid09Xws5jnfHyhfF36qob7R5J5FvXJgXMEf9R3a8TQYbt2FvfKmW5HEq3V3eJTrSfAJl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่