เวลาเค้าทำทางด่วน,ทางยกระดับ ทำไมถึงทำถนนข้างบนให้ราบเรียบได้ ทั้งที่พื้นข้างล่างมีสูงมีต่ำมีเนิน ฯลฯ

เค้าวัดกันยังไงครับ แล้วสงสัยว่าทำไมมันทำได้เป๊ะมาก เพราะเวลาขับรถวิ่งบนทางด่วน มันแบนราบบบบจริง ๆ เค้าทำได้ยังไงทั้งที่ตัวเสาเองก็ลงไปในดินที่ไม่ได้เรียบ แต่ข้างบนถนนเส้นยาวๆเป็นสิบกิโลประสานกันสนิทไม่มีกระดกสักนิ้วเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เขามีจุดอ้างอิงความสูงของตัวเสาเทียบกับระดับของพื้นดินข้างล่าง และใต้เสาทางด่วนในดินมีเสาเข็มที่ตอกลึกถึงชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักได้โดยโครงสร้างข้างบนไม่ทรุด ดังนั้นไม่ว่าพื้นดินข้างล่างจะสูงหรือต่ำ พื้นถนนบนเสาก็จะราบเรียบเสมอกัน
งานวิศวกรรมโยธาลักษณะนี้ใช้การคำนวณทาง ตรีโกณมิติครับ

เพิ่มเติม
เวลาสำรวจก่อนเริ่มก่อสร้าง ช่างสำรวจหรือ Surveyor เขาจะลงพื้นที่วัดระดับโดยใช้ระดับอ้างอิงจากอาคารใกล้เคียงแล้วตอกหมุดไว้... มีจุดระดับอ้างอิงหลายจุด ก็เพิ่มความถูกต้องแม่นยำ เพราะตรวจสอบความถูกต้อง ปรับแก้ได้
เมื่อเริ่มการก่อสร้าง ก็จะถ่ายระดับจากจุดนี้ไปฐานของเสาทางด่วน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่