ภูตแม่น้ำโขง ฉบับนิยาย โดย สิทธา เชตวัน พ.ศ.2534
สนพ.โลกทิพย์
สิทธา เชตวัน เป็นหนึ่งในนามปากกาของ เพชร สถาบัน
นักเขียนนิยายบู๊ ระดับพระกาฬคนหนึ่งในบรรณพิภพ
ภายหลังเปลี่ยนมาเขียนนิยายแนวพุทธ ผสานความเชื่อท้องถิ่น
ภูตแม่น้ำโขง แต่งลงเป็นตอนๆในนิตยสารขวัญเรือน
นิยายดังอีกเรื่องหนึ่งที่ สิทธา เชตวัน แต่งลงนิตยสารโลกทิพย์ คือ พญาเงือกคำ
เล่าถึงตำนาน มนุษย์น้ำ อาศัยในแก่งหลี่ผี ประเทศลาว
ถือเป็นนิยาย สัตว์ประหลาด เมืองบาดาล ที่แต่งได้น่าติดตามเรื่องหนึ่ง
ภูตแม่น้ำโขง ฉบับรีเมก 2565
บทโทรทัศน์ เดินเรื่องต่างจากละคร 2536,2551
ละครทั้งสองฉบับก่อนหน้า เปิดเรื่องด้วย งานแข่งเรือ แห่นาง เสื่อผ้า สิ่งประกอบฉาก ไม่ตรงกับ พ.ศ.2515 ค่อนไปทางปีที่ถ่ายทำ
ถ่ายเรือนไทยภาคกลาง ติดแอร์ สมมุติว่าเป็นหนองคาย
พระเอกแบกกล้องยูเมติกกับตัวอัดเทป ทั้งชุดเกือบสองล้านบาท ไปถ่ายวิถีชีวิตชาวบ้าน
ผู้ผลิตเท่านั้นถึงจะซื้อกล้องแพงกว่าบ้านเดี่ยว มาถ่ายงานได้ โต๊ะตัดต่ออีกหลายล้าน
นักแสดงเล่นแข็งเป็นหิน
ถ้าชมละครสองฉบับก่อนหน้าโดยไม่อคติ ลำเอียง ย่อมมองเห็น ความพกพร่องมากมาย ไม่สมกับเป็นละครย้อนยุค ที่เล่าถึงสมัยฟูนัน เจินละ นครหลวง ถึง ศรีเทพ ทวารวดี เป็นอารยธรรมพันกว่าปีของอุษาคเนย์
ไม่มีการเล่าถึงสาเหตุที่ พระเอกต้องมาที่หมู่บ้านนางคอย
เล่าเรื่องไม่มีหัวท้าย แต่ละตัวละครนึกจะโผล่ก็โผล่ ขาดความต่อเนื่อง
ภูตแม่น้ำโขง ฉบับละคร 2565 เดินเรื่อง แบ่งเป็นสองภาค
ภาคที่ ๑
เดินเรื่อง พ.ศ.2515 ณ หมู่บ้านนางคอย จ.หนองคาย
พื้นที่ตอนเหนือของหมู่บ้านติดลำน้ำโขงตลอดแนว
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะยากจน เลี้ยงชีพด้วยการทำนา เลี้ยงไก่ จับปลา หาของป่า
กำนันเป็นผู้มีอิทธิพล ปล่อยเงินกู้นอกระบบ
การคมนาคม ทางน้ำเป็นทางหลัก มีถนนดินลูกรังเข้าถึงหมู่บ้านเพียงเส้นเดียว
สถานีอนามัยขาดหมอจากส่วนกลางมาประจำ
ชาวบ้านว่า หมอคนก่อนไหลตาย
พระเอกนึกเบื่อหน่ายเมืองกรุง และต้องการสานงานวิจัยจิตเวชของพ่อที่ทำค้างไว้ให้เสร็จ
จนต้องประสบกับสิ่งเหนือธรรมชาติ พันธสัญญาเมื่อพันปีก่อนจากอดีตชาติ
อัญญา แปลว่า ท่าน เป็นคำแสดงวรรณะนำหน้านาม เจ้าเมือง อุปราช ราชบุตร เชื้อพระวงศ์
ภาคที่ ๒
เดินเรื่องเมื่อราวพันปีก่อน
เนื่องจากข้อสันนิฐาน เรื่องดอกจำปากะ หรือ จำปาเขมร หรือ ลั่นทม
ยังไม่ได้ข้อยุติ ว่าเขมรได้รับพันธุ์ไม้จากทวีปอเมริกาใต้ บริเวณหมู่เกาะแคริเบียน จากผู้ใด
หลักฐานปัจจุบัน ฝรั่งนำจำปากะไปยังปารีส แล้วล่องเรือมายังอุษาคเนย์ ช่วงอยุทธยาตอนกลาง สมัยพระนารายณ์
อีกทั้งในวรรณคดี ร้อยแก้ว ไม่พบคำที่กล่าวถึงจำปากะก่อนยุคพระนารายณ์
หากใช้หลักฐานที่ยืนยันได้ ดอกจำปากะ คนไทย เขมร ลาว รู้จักดอกไม้นำเข้านี้เมื่อราว 4-500ปีก่อน
จึงไม่เก่าพอ ที่อัญญานางทอหูก ใช้จำปากะ ทัดมวยผมเพื่อบูชาเทพเหนือเกล้า เหนือหัว หรือ ทัดหูเพื่อความงาม
หากกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอ เดินเรือไปถึงทวีปอเมริกา สมัยหย่งเล่อฮ่องเต้ ต้าหมิงได้ก่อนฝรั่งจริง
จำปากะจะเป็นที่รู้จักและนิยมในพระนครหลวง อาณาจักรกัมโพช เมื่อราวพันปีก่อนแน่นอน
แต่ตอนนี้ยังไม่พบหลักฐานที่ชี้ชัด
เช่นนั้นการที่ผู้จัด ได้เล่าถึงอดีตชาติ สมัยเขมรเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์
จากเสื้อผ้าหน้าผม แต่ละตัวละคร รวมถึงชื่อแต่ละตัวละครในอดีตชาติ
ดูเป็นยุคสมัย ฟูนัน เจินละ ลงมา จนถึงยุคบาปวน ไม่เกินนครวัดแน่นอน
เครื่องสวมศีรษะ มวยผม รับอิทธิพลอินเดียใต้
เครื่องประดับตามตัว เป็นงานดุนโลหะทอง รมดำ ต่างหูกระดิ่ง คล้ายรูปสลักหินทราย
อัญญานางทอหูก เป็นเชื้อพระวงศ์เขมร สืบจากพราหมณ์โกณทัญญะจากอินเดียใต้กับเจ้านางผู้ปกครองท้องถิ่น จากบันทึกของจีน
ใบหน้าจึงเป็นลูกครึ่งแขกปนเขมร ผิวเนียนละเอียด รูปร่างอ้อนแอ้นอรชร
หากอัญญานางทอหูก มีนามว่าจำปา เช่นเดียวกับ จำปากะที่ทัดหู
ยังมีพระนาม จามเทวี กษัตรีมอญหริภุญชัย (พ.ศ.1206-13) ที่ใช้จำปาเป็นชื่อในช่วงเวลาใกล้กันนั้นด้วย
และมีชื่อเมืองซับจำปา เมืองโบราณสมัยทวารวดี
ผู้เขียนจึงขอเดาว่า
อดีตชาติ เกิดเหตุที่พระนคร อาณาจักรเขมรโบราณ ที่คนไท พุทธเถรวาท เรียกว่า ขอม
ขอม แต่เดิมคือ คนไท ที่รับวัฒนธรรม ฮินดู พุทธมหายาน
อัญญานางทอหูก ถูกจองจำ ตีตรวน ใส่ขือคาไปยังแดนประหาร แล้วต้องขวานจามคอ
อัญญานางทอหูก คงถูกปลดลงเป็น ไพร่ จึงประหารด้วยวิธีนี้
จากนั้นอัญญานางทอหูก พร้อมบริวาร ไปอยู่เมืองบาดาลใต้ลำน้ำโขง บำเพ็ญตบะญาณสายดำ โดยการกินเลือดหรือสูบปราณผู้คน จนใกล้ครบพันคน
คติความเชื่อที่ปรากฏในละครฉบับนี้ เป็น ศาสนาผี มีโลกหลังความตายต่างจากไตรภูมิ
ที่มาชื่อแม่น้ำโขง
คนไต จีน โบราณ เรียกว่า แม่น้ำ กาหลง ปรากฏใน มหากาพย์ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ,ลิลิตพระลอ
กาหลง แผลงมาจาก เกาหลง หรือ กาลอง แปลว่า เก้ามังกร
เพราะแม่น้ำสายนี้มี มังกรเก้าตัวพิทักษ์
คนไทดำ เวียดนาม เรียก มังกร ว่า ตัวเงือก
พิธีขอฝนของชาวไทดำ สิบสองจุไท แห่ตัวเงือก(มังกร,นาค)
โขง หรือ ของ ที่คนท้องถิ่นแถบลาวเรียก มาจากภาษามอญว่า โคล้ง
พวกไทย-ลาว รับ โคล้ง มาใช้แล้วเพี้ยนเป็น คลอง แปลว่า ทางคมนาคม เช่น
แม่น้ำลําคลอง แต่ในวัฒนธรรมลาวไม่ออกเสียงควบกล้ำ เลยเรียก ของ แล้วคนทาง ภาคกลางออกเสียงเป็น โขง
แม่น้ำล้านช้าง หรือ หลานชางเจียง ชื่อที่จีนเรียกแม่น้ำโขง ในปัจจุบัน แปลว่า แม่น้ำไหลเชี่ยวกราก
เขมร เรียก ตนเลธม แปลว่า แม่น้ำใหญ่
เพราะแม่น้ำโขงเมื่อไหลลงใต้ผ่านไทย ลาว จรดที่ราบสูงแขวงจัมปาสัก
แม่น้ำโขงไหลตกลงไปในกัมพูชา เรียก น้ำตกคอนพะเพ็ง เป็น
น้ำตกใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ว่ากันว่าน้ำตกตรงบริเวณนั้นมีปริมาณน้ำมากกว่าน้ำตกไนแอการาเสียอีก เมื่อลงไปในกัมพูชาชื่อแม่น้ำโขงจึงเปลี่ยน ตนเลธม ด้วยประการฉะนี้
ดังนั้นคำว่า แม่น้ำโขง และ ชื่อตัวละคร ในภาคอดีตชาติกล่าวถึงจึง ละไว้ในฐานที่คนไทยดูเข้าใจ
คุณภาพการผลิตละคร
บท
เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง สลับย้อนอดีตเป็นระยะ น่าจะมีเล่าอดีตชาติเต็มๆบางตอน
ลำดับตวามดี ไม่สับสน ไม่ตกประเด็น
แต่พระเอก บททื่อไปหน่อย ไม่เชื่อในสิ่งลี้ลับ ขนาดจะเดินไปจมน้ำตายยังไม่เฉลียวใจ
แต่เวลาฉลาด วิเคราะห์ที ระดับ คินดะอิจิ โคนัน
ตัวประกอบมีส่วนในการเดินเรื่อง สร้างบรรยากาศ คติความเชื่อในสังคมหมู่บ้านนางคอยชัดเจน เฉลี่ยบทได้ดี
เว้าอีสาน เป็นคำไทแท้ เช่น
ย่างจั้งใด บ่เบิ่งหน้าเบิ่งหลังเลย
เดินยังไง ไม่ดูหน้าดูหลังเลย
เดิน เป็นคำยืม จากเขมร
ถ่ายภาพ
ใช้กล้องถ่ายหนัง sony cinealta 4k 2ตัว
เลนส์ถ่ายหนัง sony cinealta pl lenes 4k
เป็นเลนส์เดี่ยว ไวแสง ความบิดเบือนต่ำ
เลนส์มุมกว้าง ถ่ายคนใกล้ๆ ภาพไม่วูบวาบ บิดเบี้ยว
ต้นฉบับคงเป็น4k 25p
ใช้ดอลลี่ เครน ขาตั้งกล้อง ค้ำจุนกล้องตลอดการถ่ายทำ
ภาพนิ่งไม่สั่นไหว พร่ามัว โฟกัสแม่นยำ สีไม่เพี้ยน
จัดแสงนุ่มนวล ขอบวัตถุไม่แข็ง ละลายฉากหลังสวยงาม
มาตรฐานภาพที่ได้ ทัดเทียมต่างประเทศ
บันทึกเสียง
ใช้ไมค์บูม ไมค์เหน็บ แบบดิจิตอล 24หรือ32bit เสียงชัดเจน ช่วงเสียงดังเบาไม่แกว่ง
ก้องบ้างเมื่ออยู่ในห้องปิด
ตัดต่อ
เดินเรื่องปานกลาง ไม่ยืดถ้าดูต่อเนื่องโดยไม่มีโฆษณา
มุมกล้องดูง่าย ไม่สับสน ตกหล่น
กำกับศิลป์
ตรงยุคหรือใกล้เคียง ไม่ผิดฝาผิดตัว จับแพะชนแกะ ผิดยุคผิดสมัย ทั้งรูปทรงและสีสัน
ดนตรีประกอบ
ใช้ แคน ปี่ ขลุ่ยเพียงออ นำ
สร้างบรรยากาศขนพองสยองเกล้า
แต่เพลงที่ใช้ปี่นำ บางทีนึกว่า องค์บาก จะได้ดูแม่ไม้มวยไทย ยุคเขมร
นารายณ์ขวางจักร
หิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน
องคตควงพระขรรค์
หนุมานข้ามลงกา
นักแสดง
ตัวละครหลักเรื่องนี้มีหลายตัว ที่มีผลต่อการเดินเรื่องทั้งสองภาค
ฝีมือการแสดงทุกคนจึงช่วยกันแบกเรื่องไว้ได้
ในละครเว้าอีสาน สำเนียงนครพนม
พระเอก สองตอนแรกบทน้อย ต้องดูกันต่อไป
ภาคอดีต ใส่เสื้อไม่โชว์กล้าม
ขุนแสนเมือง ไม่น่าถือ แปะกั๊ก อาวุธยาวโบราณของเขมร(น่าจะดัดแปลงจาก เกอ ของจีน ต้าฮั่น)
นางเอกเรื่องนี้มีสองคน มีบุคคลิก ความงามคนละแบบ
เมื่อเล่นสลับบทกันก็ร้ายคนละอย่าง
อุ้ม น่ารัก รับบท บัวผัน สาวน้อย18ฝน ใสซื่อ สู้ชีวิต
อดีตชาติ เป็นนางร้าย ที่ห้ามขัดใจ อยากได้อะไรต้องได้
เล่นได้ดี ดูเป็นสาวอีสานบ้านนา หาเช้ากินค่ำ เว้าอีสานชัดลื่นหู ถึงจะแทงปลา สาวเทาไม่เก่ง แต่ทำให้เชื่อว่า โดนเจ้าแม่ทอหูกสิงสู่
เสียงใส่เอฟเฟ็กตอนโดนสิง ในตย.มีพลังมาก แต่พอในละครไม่ใส่จืดไปเยอะ ปกติคนโดนสิงเสียงจะเปลี่ยน
ยิหวา สวยหวาน นิ่ง
พอเป็นเจ้าแม่ทอหูก ถ้าเจอที่ริมโขง ตอนมืด ยืนบนผิวน้ำ คงยกมือไหว้ท่วมหัว
รักแรง เกลียดแรง ขนาดจะพาพระเอกลงน้ำให้ไปเป็นผีอยู่เมืองบาดาลด้วยกัน
การแสดงในน้ำ ทั้งสามคน สีหน้า แววตา ทำได้ดี ทั้งที่มีเวลาไม่กี่นาที ในแต่ละเทค
นางเอกทั้งสองว่ายน้ำไม่เป็น กลัวการลงน้ำ ต้องมาฝึกตั้งแต่พื้นฐาน ใจสู้จริงๆ
กำกับการแสดง
ดูเป็นหนังผีไทย ที่ต่างชาติลอกไปแล้วทำไม่เหมือน
จังหวะ การรับส่ง ในฉากที่มีคนเยอะ มีความต่อเนื่อง
นักแสดงเชื่อ อินกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้คนดูคล้อยตามได้
แม้cgจะดีตามงบที่ไม่มาก และไม่มีมาร์กให้นักแสดงเล็ง
แต่สามารถชี้แนะจนสายตาทุกคน มองไปตำแหน่งเดียวกัน เช่น
ฉาก พิธีเซียงข้อง
ฉาก อาเพศ ฝูงผีเสื้อ คางคก บิน ว่าย ข้ามน้ำโขง
หวังว่าละครจะสนุก เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะ ภาคอดีตชาติ ทางช่องน่าจะตัดลงยูทูปเล่าภาคอดีตเต็มๆ คนดูจะได้เข้าถึงละครได้มากขึ้น เพราะภาคอดีตชาตินี้ ไม่เคยสร้างเป็นละครมาก่อน
ถือว่าละครฉบับ2565 เล่าเรื่องสมบูรณ์ครบถ้วนที่สุด และปรับบท ให้ตัวละครมีความลึก ที่มาที่ไปละเอียดขึ้น
ขอขอบคุณช่อง3 ผู้จัด และคณะ ที่ยกระดับการผลิตละครย้อนยุคสยองขวัญ เพื่อการส่งออกและรองรับการออกอากาศ สตรีมมิ่ง4k 10bit av1 ในอนาคต ส่งผลให้คนดูคิดจ่ายค่าดูย้อนหลังรายเดือนแน่นอน เพื่อพัฒนาไปสู่8k 12bit av1 ในอนาคต
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ ขอบคุณครับ
ภูตแม่น้ำโขง ละครเกรดส่งออก เดินเรื่องตรงยุคตามบทประพันธ์
ภูตแม่น้ำโขง ฉบับนิยาย โดย สิทธา เชตวัน พ.ศ.2534
สนพ.โลกทิพย์
สิทธา เชตวัน เป็นหนึ่งในนามปากกาของ เพชร สถาบัน
นักเขียนนิยายบู๊ ระดับพระกาฬคนหนึ่งในบรรณพิภพ
ภายหลังเปลี่ยนมาเขียนนิยายแนวพุทธ ผสานความเชื่อท้องถิ่น
ภูตแม่น้ำโขง แต่งลงเป็นตอนๆในนิตยสารขวัญเรือน
นิยายดังอีกเรื่องหนึ่งที่ สิทธา เชตวัน แต่งลงนิตยสารโลกทิพย์ คือ พญาเงือกคำ
เล่าถึงตำนาน มนุษย์น้ำ อาศัยในแก่งหลี่ผี ประเทศลาว
ถือเป็นนิยาย สัตว์ประหลาด เมืองบาดาล ที่แต่งได้น่าติดตามเรื่องหนึ่ง
ภูตแม่น้ำโขง ฉบับรีเมก 2565
บทโทรทัศน์ เดินเรื่องต่างจากละคร 2536,2551
ละครทั้งสองฉบับก่อนหน้า เปิดเรื่องด้วย งานแข่งเรือ แห่นาง เสื่อผ้า สิ่งประกอบฉาก ไม่ตรงกับ พ.ศ.2515 ค่อนไปทางปีที่ถ่ายทำ
ถ่ายเรือนไทยภาคกลาง ติดแอร์ สมมุติว่าเป็นหนองคาย
พระเอกแบกกล้องยูเมติกกับตัวอัดเทป ทั้งชุดเกือบสองล้านบาท ไปถ่ายวิถีชีวิตชาวบ้าน
ผู้ผลิตเท่านั้นถึงจะซื้อกล้องแพงกว่าบ้านเดี่ยว มาถ่ายงานได้ โต๊ะตัดต่ออีกหลายล้าน
นักแสดงเล่นแข็งเป็นหิน
ถ้าชมละครสองฉบับก่อนหน้าโดยไม่อคติ ลำเอียง ย่อมมองเห็น ความพกพร่องมากมาย ไม่สมกับเป็นละครย้อนยุค ที่เล่าถึงสมัยฟูนัน เจินละ นครหลวง ถึง ศรีเทพ ทวารวดี เป็นอารยธรรมพันกว่าปีของอุษาคเนย์
ไม่มีการเล่าถึงสาเหตุที่ พระเอกต้องมาที่หมู่บ้านนางคอย
เล่าเรื่องไม่มีหัวท้าย แต่ละตัวละครนึกจะโผล่ก็โผล่ ขาดความต่อเนื่อง
ภูตแม่น้ำโขง ฉบับละคร 2565 เดินเรื่อง แบ่งเป็นสองภาค
ภาคที่ ๑
เดินเรื่อง พ.ศ.2515 ณ หมู่บ้านนางคอย จ.หนองคาย
พื้นที่ตอนเหนือของหมู่บ้านติดลำน้ำโขงตลอดแนว
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะยากจน เลี้ยงชีพด้วยการทำนา เลี้ยงไก่ จับปลา หาของป่า
กำนันเป็นผู้มีอิทธิพล ปล่อยเงินกู้นอกระบบ
การคมนาคม ทางน้ำเป็นทางหลัก มีถนนดินลูกรังเข้าถึงหมู่บ้านเพียงเส้นเดียว
สถานีอนามัยขาดหมอจากส่วนกลางมาประจำ
ชาวบ้านว่า หมอคนก่อนไหลตาย
พระเอกนึกเบื่อหน่ายเมืองกรุง และต้องการสานงานวิจัยจิตเวชของพ่อที่ทำค้างไว้ให้เสร็จ
จนต้องประสบกับสิ่งเหนือธรรมชาติ พันธสัญญาเมื่อพันปีก่อนจากอดีตชาติ
อัญญา แปลว่า ท่าน เป็นคำแสดงวรรณะนำหน้านาม เจ้าเมือง อุปราช ราชบุตร เชื้อพระวงศ์
ภาคที่ ๒
เดินเรื่องเมื่อราวพันปีก่อน
เนื่องจากข้อสันนิฐาน เรื่องดอกจำปากะ หรือ จำปาเขมร หรือ ลั่นทม
ยังไม่ได้ข้อยุติ ว่าเขมรได้รับพันธุ์ไม้จากทวีปอเมริกาใต้ บริเวณหมู่เกาะแคริเบียน จากผู้ใด
หลักฐานปัจจุบัน ฝรั่งนำจำปากะไปยังปารีส แล้วล่องเรือมายังอุษาคเนย์ ช่วงอยุทธยาตอนกลาง สมัยพระนารายณ์
อีกทั้งในวรรณคดี ร้อยแก้ว ไม่พบคำที่กล่าวถึงจำปากะก่อนยุคพระนารายณ์
หากใช้หลักฐานที่ยืนยันได้ ดอกจำปากะ คนไทย เขมร ลาว รู้จักดอกไม้นำเข้านี้เมื่อราว 4-500ปีก่อน
จึงไม่เก่าพอ ที่อัญญานางทอหูก ใช้จำปากะ ทัดมวยผมเพื่อบูชาเทพเหนือเกล้า เหนือหัว หรือ ทัดหูเพื่อความงาม
หากกองเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอ เดินเรือไปถึงทวีปอเมริกา สมัยหย่งเล่อฮ่องเต้ ต้าหมิงได้ก่อนฝรั่งจริง
จำปากะจะเป็นที่รู้จักและนิยมในพระนครหลวง อาณาจักรกัมโพช เมื่อราวพันปีก่อนแน่นอน
แต่ตอนนี้ยังไม่พบหลักฐานที่ชี้ชัด
เช่นนั้นการที่ผู้จัด ได้เล่าถึงอดีตชาติ สมัยเขมรเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์
จากเสื้อผ้าหน้าผม แต่ละตัวละคร รวมถึงชื่อแต่ละตัวละครในอดีตชาติ
ดูเป็นยุคสมัย ฟูนัน เจินละ ลงมา จนถึงยุคบาปวน ไม่เกินนครวัดแน่นอน
เครื่องสวมศีรษะ มวยผม รับอิทธิพลอินเดียใต้
เครื่องประดับตามตัว เป็นงานดุนโลหะทอง รมดำ ต่างหูกระดิ่ง คล้ายรูปสลักหินทราย
อัญญานางทอหูก เป็นเชื้อพระวงศ์เขมร สืบจากพราหมณ์โกณทัญญะจากอินเดียใต้กับเจ้านางผู้ปกครองท้องถิ่น จากบันทึกของจีน
ใบหน้าจึงเป็นลูกครึ่งแขกปนเขมร ผิวเนียนละเอียด รูปร่างอ้อนแอ้นอรชร
หากอัญญานางทอหูก มีนามว่าจำปา เช่นเดียวกับ จำปากะที่ทัดหู
ยังมีพระนาม จามเทวี กษัตรีมอญหริภุญชัย (พ.ศ.1206-13) ที่ใช้จำปาเป็นชื่อในช่วงเวลาใกล้กันนั้นด้วย
และมีชื่อเมืองซับจำปา เมืองโบราณสมัยทวารวดี
ผู้เขียนจึงขอเดาว่า
อดีตชาติ เกิดเหตุที่พระนคร อาณาจักรเขมรโบราณ ที่คนไท พุทธเถรวาท เรียกว่า ขอม
ขอม แต่เดิมคือ คนไท ที่รับวัฒนธรรม ฮินดู พุทธมหายาน
อัญญานางทอหูก ถูกจองจำ ตีตรวน ใส่ขือคาไปยังแดนประหาร แล้วต้องขวานจามคอ
อัญญานางทอหูก คงถูกปลดลงเป็น ไพร่ จึงประหารด้วยวิธีนี้
จากนั้นอัญญานางทอหูก พร้อมบริวาร ไปอยู่เมืองบาดาลใต้ลำน้ำโขง บำเพ็ญตบะญาณสายดำ โดยการกินเลือดหรือสูบปราณผู้คน จนใกล้ครบพันคน
คติความเชื่อที่ปรากฏในละครฉบับนี้ เป็น ศาสนาผี มีโลกหลังความตายต่างจากไตรภูมิ
ที่มาชื่อแม่น้ำโขง
คนไต จีน โบราณ เรียกว่า แม่น้ำ กาหลง ปรากฏใน มหากาพย์ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ,ลิลิตพระลอ
กาหลง แผลงมาจาก เกาหลง หรือ กาลอง แปลว่า เก้ามังกร
เพราะแม่น้ำสายนี้มี มังกรเก้าตัวพิทักษ์
คนไทดำ เวียดนาม เรียก มังกร ว่า ตัวเงือก
พิธีขอฝนของชาวไทดำ สิบสองจุไท แห่ตัวเงือก(มังกร,นาค)
โขง หรือ ของ ที่คนท้องถิ่นแถบลาวเรียก มาจากภาษามอญว่า โคล้ง
พวกไทย-ลาว รับ โคล้ง มาใช้แล้วเพี้ยนเป็น คลอง แปลว่า ทางคมนาคม เช่น
แม่น้ำลําคลอง แต่ในวัฒนธรรมลาวไม่ออกเสียงควบกล้ำ เลยเรียก ของ แล้วคนทาง ภาคกลางออกเสียงเป็น โขง
แม่น้ำล้านช้าง หรือ หลานชางเจียง ชื่อที่จีนเรียกแม่น้ำโขง ในปัจจุบัน แปลว่า แม่น้ำไหลเชี่ยวกราก
เขมร เรียก ตนเลธม แปลว่า แม่น้ำใหญ่
เพราะแม่น้ำโขงเมื่อไหลลงใต้ผ่านไทย ลาว จรดที่ราบสูงแขวงจัมปาสัก
แม่น้ำโขงไหลตกลงไปในกัมพูชา เรียก น้ำตกคอนพะเพ็ง เป็น น้ำตกใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ว่ากันว่าน้ำตกตรงบริเวณนั้นมีปริมาณน้ำมากกว่าน้ำตกไนแอการาเสียอีก เมื่อลงไปในกัมพูชาชื่อแม่น้ำโขงจึงเปลี่ยน ตนเลธม ด้วยประการฉะนี้
ดังนั้นคำว่า แม่น้ำโขง และ ชื่อตัวละคร ในภาคอดีตชาติกล่าวถึงจึง ละไว้ในฐานที่คนไทยดูเข้าใจ
คุณภาพการผลิตละคร
บท
เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง สลับย้อนอดีตเป็นระยะ น่าจะมีเล่าอดีตชาติเต็มๆบางตอน
ลำดับตวามดี ไม่สับสน ไม่ตกประเด็น
แต่พระเอก บททื่อไปหน่อย ไม่เชื่อในสิ่งลี้ลับ ขนาดจะเดินไปจมน้ำตายยังไม่เฉลียวใจ
แต่เวลาฉลาด วิเคราะห์ที ระดับ คินดะอิจิ โคนัน
ตัวประกอบมีส่วนในการเดินเรื่อง สร้างบรรยากาศ คติความเชื่อในสังคมหมู่บ้านนางคอยชัดเจน เฉลี่ยบทได้ดี
เว้าอีสาน เป็นคำไทแท้ เช่น
ย่างจั้งใด บ่เบิ่งหน้าเบิ่งหลังเลย
เดินยังไง ไม่ดูหน้าดูหลังเลย
เดิน เป็นคำยืม จากเขมร
ถ่ายภาพ
ใช้กล้องถ่ายหนัง sony cinealta 4k 2ตัว
เลนส์ถ่ายหนัง sony cinealta pl lenes 4k
เป็นเลนส์เดี่ยว ไวแสง ความบิดเบือนต่ำ
เลนส์มุมกว้าง ถ่ายคนใกล้ๆ ภาพไม่วูบวาบ บิดเบี้ยว
ต้นฉบับคงเป็น4k 25p
ใช้ดอลลี่ เครน ขาตั้งกล้อง ค้ำจุนกล้องตลอดการถ่ายทำ
ภาพนิ่งไม่สั่นไหว พร่ามัว โฟกัสแม่นยำ สีไม่เพี้ยน
จัดแสงนุ่มนวล ขอบวัตถุไม่แข็ง ละลายฉากหลังสวยงาม
มาตรฐานภาพที่ได้ ทัดเทียมต่างประเทศ
บันทึกเสียง
ใช้ไมค์บูม ไมค์เหน็บ แบบดิจิตอล 24หรือ32bit เสียงชัดเจน ช่วงเสียงดังเบาไม่แกว่ง
ก้องบ้างเมื่ออยู่ในห้องปิด
ตัดต่อ
เดินเรื่องปานกลาง ไม่ยืดถ้าดูต่อเนื่องโดยไม่มีโฆษณา
มุมกล้องดูง่าย ไม่สับสน ตกหล่น
กำกับศิลป์
ตรงยุคหรือใกล้เคียง ไม่ผิดฝาผิดตัว จับแพะชนแกะ ผิดยุคผิดสมัย ทั้งรูปทรงและสีสัน
ดนตรีประกอบ
ใช้ แคน ปี่ ขลุ่ยเพียงออ นำ
สร้างบรรยากาศขนพองสยองเกล้า
แต่เพลงที่ใช้ปี่นำ บางทีนึกว่า องค์บาก จะได้ดูแม่ไม้มวยไทย ยุคเขมร
นารายณ์ขวางจักร
หิรัญยักษ์ม้วนแผ่นดิน
องคตควงพระขรรค์
หนุมานข้ามลงกา
นักแสดง
ตัวละครหลักเรื่องนี้มีหลายตัว ที่มีผลต่อการเดินเรื่องทั้งสองภาค
ฝีมือการแสดงทุกคนจึงช่วยกันแบกเรื่องไว้ได้
ในละครเว้าอีสาน สำเนียงนครพนม
พระเอก สองตอนแรกบทน้อย ต้องดูกันต่อไป
ภาคอดีต ใส่เสื้อไม่โชว์กล้าม
ขุนแสนเมือง ไม่น่าถือ แปะกั๊ก อาวุธยาวโบราณของเขมร(น่าจะดัดแปลงจาก เกอ ของจีน ต้าฮั่น)
นางเอกเรื่องนี้มีสองคน มีบุคคลิก ความงามคนละแบบ
เมื่อเล่นสลับบทกันก็ร้ายคนละอย่าง
อุ้ม น่ารัก รับบท บัวผัน สาวน้อย18ฝน ใสซื่อ สู้ชีวิต
อดีตชาติ เป็นนางร้าย ที่ห้ามขัดใจ อยากได้อะไรต้องได้
เล่นได้ดี ดูเป็นสาวอีสานบ้านนา หาเช้ากินค่ำ เว้าอีสานชัดลื่นหู ถึงจะแทงปลา สาวเทาไม่เก่ง แต่ทำให้เชื่อว่า โดนเจ้าแม่ทอหูกสิงสู่
เสียงใส่เอฟเฟ็กตอนโดนสิง ในตย.มีพลังมาก แต่พอในละครไม่ใส่จืดไปเยอะ ปกติคนโดนสิงเสียงจะเปลี่ยน
ยิหวา สวยหวาน นิ่ง
พอเป็นเจ้าแม่ทอหูก ถ้าเจอที่ริมโขง ตอนมืด ยืนบนผิวน้ำ คงยกมือไหว้ท่วมหัว
รักแรง เกลียดแรง ขนาดจะพาพระเอกลงน้ำให้ไปเป็นผีอยู่เมืองบาดาลด้วยกัน
การแสดงในน้ำ ทั้งสามคน สีหน้า แววตา ทำได้ดี ทั้งที่มีเวลาไม่กี่นาที ในแต่ละเทค
นางเอกทั้งสองว่ายน้ำไม่เป็น กลัวการลงน้ำ ต้องมาฝึกตั้งแต่พื้นฐาน ใจสู้จริงๆ
กำกับการแสดง
ดูเป็นหนังผีไทย ที่ต่างชาติลอกไปแล้วทำไม่เหมือน
จังหวะ การรับส่ง ในฉากที่มีคนเยอะ มีความต่อเนื่อง
นักแสดงเชื่อ อินกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้คนดูคล้อยตามได้
แม้cgจะดีตามงบที่ไม่มาก และไม่มีมาร์กให้นักแสดงเล็ง
แต่สามารถชี้แนะจนสายตาทุกคน มองไปตำแหน่งเดียวกัน เช่น
ฉาก พิธีเซียงข้อง
ฉาก อาเพศ ฝูงผีเสื้อ คางคก บิน ว่าย ข้ามน้ำโขง
หวังว่าละครจะสนุก เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะ ภาคอดีตชาติ ทางช่องน่าจะตัดลงยูทูปเล่าภาคอดีตเต็มๆ คนดูจะได้เข้าถึงละครได้มากขึ้น เพราะภาคอดีตชาตินี้ ไม่เคยสร้างเป็นละครมาก่อน
ถือว่าละครฉบับ2565 เล่าเรื่องสมบูรณ์ครบถ้วนที่สุด และปรับบท ให้ตัวละครมีความลึก ที่มาที่ไปละเอียดขึ้น
ขอขอบคุณช่อง3 ผู้จัด และคณะ ที่ยกระดับการผลิตละครย้อนยุคสยองขวัญ เพื่อการส่งออกและรองรับการออกอากาศ สตรีมมิ่ง4k 10bit av1 ในอนาคต ส่งผลให้คนดูคิดจ่ายค่าดูย้อนหลังรายเดือนแน่นอน เพื่อพัฒนาไปสู่8k 12bit av1 ในอนาคต
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ ขอบคุณครับ