เห็นมีเพื่อนสมาชิกถามถึงเรื่องความหมายละครน้ำเน่า เอาบทความมาให้อ่านกันค่ะ บทความนี้ถูกวิเคราะห์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 แต่ก็ยังจริงมาจนถึงปัจจุบัน
_______
“ละครน้ำเน่า” อาจเป็นคำนิยามที่เหมารวมผลผลิตอย่างหนึ่งในโลกบันเทิงที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากคนทุกกลุ่ม ในบริบทด้านระยะเวลา วลีนี้อาจไม่สะท้อนลักษณะของละครในยุคหลังได้แล้ว ดังเห็นได้ว่า ผลงานถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่า ในยุคหนึ่งคำนี้ถูกใช้อธิบายละครทีวีไปเสียได้
“น้ำเน่าก็คือน้ำที่หยุดนิ่ง หยุดนานเข้าก็ไม่ยอมไหลไปไหน ชาชินกับความสงบปลอดภัย ยินดีกับความจำเจซ้ำซาก เป็นน้ำที่ไม่ยอมผจญภัย ไม่แสวงหา ไม่รู้สึกรู้สากับโลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลง นานเข้า ‘น้ำ’ ก็ไม่เป็นน้ำอีกต่อไป แม้เมื่อ ‘เน่า’ ก็ยังเข้าใจว่าตนยังเป็นน้ำ ทั้งที่กลายเป็นโคลนตมไปแล้ว…”
เมื่อคำนี้ถือกำเนิดแล้ว น่าคิดว่าหากจะนิยามผลงานเรื่องหนึ่งว่าเป็น “ละครน้ำเน่า” ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ในประเด็นนี้ สุรพงษ์ พินิจเค้า ได้เขียนบทความลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เรื่อง “บัญญัติสิบละครน้ำเน่า” โดยสรุปสูตรสำเร็จสิบประการของละครน้ำเน่าไว้ว่า “บังเอิญพบกัน ช่างฝันคิดในใจ คนใช้คุยกัน คู่ขวัญแม่ลูก ถูกแอบฟังแต่มองไม่เห็น คิดไม่เป็นจึงพูดคนเดียว ชอบกราดเกรี้ยวเอาตอนกินข้าว โอ้…พระเจ้า! ปลอมตัวแต่จำไม่ได้ นางวายร้ายชอบใช้เสียงแหลม และของแถมที่ขาดไม่ได้…นางเอกท้องต้องอ้วก”
รายละเอียดโดยคร่าวของแต่ละประการมีดังนี้
บังเอิญพบกัน
ความบังเอิญเป็นสิ่งที่สามารถหยิบมานำเสนอได้แต่ควรจะเสนออย่างมีสติไม่ดูถูกสติปัญญาคนดู นำเสนอไปตามปกติวิสัยของความบังเอิญที่ อาจจะหรือน่าจะเกิดขึ้นได้ในบางสถานการณ์ ไม่ใช่ใช้เป็นทางออกในการเล่าเรื่องอย่างมักง่ายและไร้สติปัญญา
หนึ่งเด้ง…ตัวอิจฉามากินข้าวในร้านอาหาร ‘บังเอิญ’ มาเจอพระเอกกับนางเอกในร้านเดียวกัน ทั้งที่อยู่กันคนละเขต กทม. อย่างนี้เขาเรียกว่าหนึ่งเด้ง… บางทีก็พบกันที่ศูนย์การค้าเดียวกัน วันเดียวกัน ร้านเดียวกัน เวลาเดียวกัน ตามแต่อัธยาศัยของความบังเอิญ!
สองเด้ง…ขับรถมาเจอกันตรงไฟแดงพอดี นอกจากมาที่ไฟแดงเดียวกันในเวลาเดียวกัน ยังทะลึ่งมาจอดข้าง ๆ กัน และเปิดกระจกให้เห็นกันอีก
สามเด้ง…นางเอกถูกฉุดเข้าโรงแรมม่านรูด ‘บังเอิญ’ มีคนรู้จักก็เข้ามาใช้บริการโรงแรมเดียวกัน เวลาเดียวกัน และยังมาใช้บริการห้องข้าง ๆ ติดกันอีก ทำให้นางเอกถูกช่วยเหลือไว้ได้ จึงเกิดต่อสู้กัน ระหว่างนั้นนางเอกก็วิ่งหนีออกมาหน้าโรงแรม ก็คือ ‘บังเอิญ’ วิ่งมาพบกับพระเอกซึ่งขับรถผ่านมาตรงนั้นพอดี
ช่างฝันคิดในใจ
อันนี้ถือเป็นธรรมเนียมละครโทรทัศน์ ต้องมีคิดในใจ ก็ไม่ทราบว่าทำไมเหมือนกัน พระเอกคิดในใจออกมาดัง ๆ ตัดภาพไปที่นางเอกก็กำลังคิดในใจเหมือนกัน ตัดภาพไปอีก ตัวอิจฉาก็กำลังคิดในใจ ขอให้สังเกต ถ้าตัวละครเดิน ๆ อยู่ หยุดเดินเมื่อไหร่ เสียงคิดในใจจะออกมาทันที อีกหน่อยก็คิดในใจคุยกันซะเลย
คนใช้คุยกัน
นี่เป็นการเล่าเรื่องแบบ Pattern ที่เจริญรอยตามกันมา บทบาทคนใช้หรือ ‘อีแจ๋ว’ มีไว้สำหรับใช้ในกรณี ‘คนเขียนบท’ ไม่รู้จะเล่าเรื่องยังไง ก็ใช้วิธีที่เรียกว่า ‘คนใช้คุยกัน’ ถือเป็นบุคคลที่สาม ที่บอกคนดูว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนเลว ใครกำลังคิดอะไรกับใครอย่างไร ถ้าเห็นฉากในครัว เห็นคนใช้กำลังวิพากษ์วิจารณ์เจ้านายก็ให้ตั้งใจฟัง
คู่ขวัญแม่ลูก
นี่คือ Stock Character ตัวละครก็คือ ‘แม่’ ที่ให้ท้าย ‘ลูกสาว’ ให้ไปตามจีบพระเอก เพื่อหวังมรดก อะไรทำนองนี้ ตัวละคร ‘แม่ลูกคู่ขวัญ’ นับเป็นน้ำเน่านิ่งอีกแบบที่ยังเห็นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกของตัวละครก็ถอดแบบกันเป็นมาตรฐานที่เหมือนกันทุกเรื่อง ต่างกันที่ใครจะมารับบทเท่านั้น เหมือนมีท่ารำ ท่าเต้นกำหนดไว้ โดยไม่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ใดอีกต่อไป
ถูกแอบฟังแต่มองไม่เห็น
สูตรนี้อันที่จริงก็ไม่หนักหนานัก เพียงแต่มันน่ารำคาญ บทบาทการแอบฟังมีให้เห็นเสมอ ๆ ในละครพวกนี้ แต่บางครั้งดูไปก็เหมือนลิเกไม่มีผิด บางทีคนแอบฟังยืนหัวโด่อยู่ตำตา แต่ไอ้คนถูกแอบกลับมองไม่เห็น เล่าความลับจนหมดเปลือก
คิดไม่เป็นจึงพูดคนเดียว
ไอ้เรื่องคิดในใจยังพอรับกันได้ แต่ไอ้เรื่องให้ตัวละครยืนพูดนั่งพูดอยู่คนเดียวเป็นตุเป็นตะนี่ซิ ยิ่งกว่านั้นเมื่อลองจับใจความในสิ่งที่พูดคนเดียวออกมานั้นมันมีความจำเป็นใดหรือไม่ บางครั้งก็แทบไม่มีอะไรเป็นสาระ เพียงแต่ย้ำความรู้สึกของตัวละคร ซึ่งหลายต่อหลายครั้งก็ไม่เห็นความจำเป็นใดใด วิธีการดังกล่าว ในลิเกหรือแม้ในละครของโลกที่เป็นแบบแผนมาตั้งแต่โบราณเขาใช้กันมาก่อน เรียกว่า ‘โซลิลโลควี’ (Soliloquy) เรียกให้ง่าย ๆ ก็คือ ‘ป้องปากพูดกับคนดู’
ชอบกราดเกรี้ยวเอาตอนกินข้าว
กล่าวกันว่าฉากบังคับของละครโทรทัศน์คือ ‘ฉากกินข้าว’ ผู้กำกับละครจะเชี่ยวชาญฉากนี้มาก นอกจาก Blocking ตัวละครง่ายแล้ว ยังประหยัดทั้งเวลา ประหยัดทั้งความคิด ข้อสังเกตคือ กินข้าวพร้อมหน้ากันทีไรเป็นต้องมีการกระแหนะกระแหนกันของคู่กรณีไปซะทุกที บางครั้งไม่เป็นอันกิน ทะเลาะเยาะเย้ย ดูหมิ่น เหยียดหยันกันตลอดมื้อค่ำ
โอ้…พระเจ้า! ปลอมตัวแต่จำไม่ได้
อันนี้ไม่ขอพูดมาก เชื่อเหอะ โผล่มาเรื่อย ๆ แหละ คอยดู ไอ้ชนิดนางเอกปลอมตัวเป็นผู้ชาย แต่มนุษย์รอบข้างไม่มีใครรู้เลยสักคน ที่ไม่พูดมากก็เพราะเค้าเมาท์กันทั้งเมือง มีพวกเดียวที่ไม่รู้ตัวก็คือพวกทำละครกับคนเขียนบท
นางวายร้ายชอบใช้เสียงแหลม
นี่ก็ Shock Character ที่งมงายกันเป็นแบบแผนเสียแล้วถึงกับการคัดเลือกตัวนางมารร้ายมีการทดสอบเสียงกรี๊ดกันเลยทีเดียว นักแสดงคนใดที่ขาดคุณสมบัติเสียงหวีดแหลมเป็นอันต้องจบชีวิตการการแสดงในบทที่ว่าไปเลย บทบาทอันลึกซึ้งนี้จะพบกันในฉากนางมารร้ายมาพบปะทะคารมกับนางเอก ด่ากันด้วยโวหารยอกย้อนส่อความนัย จนที่สุดนางเอกก็เถียงชนะแล้วเดินจากไป นางมารร้ายเถียงไม่ออก เริ่มมีอาการตัวสั่นแล้วตามมาด้วยเสียงหวีดร้องแบบที่ว่าเป็นที่ภูมิอกภูมิใจของทีมงานละครที่สามารถสร้างสรรค์ฉากนี้ขึ้นมาได้
และของแถมที่ขาดไม่ได้…นางเอกท้องต้องอ้วก!
เราเชื่อว่าผู้หญิงในโลกนี้ไม่ว่าชาติใด เวลาท้องก็ท้องเหมือนกันหมด อาการแพ้ท้องก็ย่อมจะคล้าย ๆ กัน มีอาการอ้วกเป็นพื้นฐาน แต่เวลาดูหนังฝรั่งหรือหนังอื่นใด เวลาจะเล่าเรื่องว่านางเอกไปทำงามหน้าท้องมาแล้วนะ ไม่เห็นเขาจะต้องอ้วกให้ดู แต่ถ้าเป็นการเล่าเรื่องแบบเป็นนิสัยของคนเขียนบท คนทำละครมักสรุปเอาเองว่า ต้องอ้วกเท่านั้นคนจึงจะเข้าใจ และยึดเป็นมาตรฐานอันถูกต้อง กะอีแค่จะบอกว่านางเอกท้องแล้วนะ มีวิธีการที่แยบยลมากมายที่จะเล่าเรื่อง แต่ก็ยังเชื่อในสูตรสำเร็จที่ใช้กันมาไม่ต่ำกว่าห้าสิบปี ถึงกับมีการว่ากันว่า นางเอกละครไทยต้องอ้วกเป็นทุกคน
ข้อมูลจากบทความนี้ถูกวิเคราะห์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562 คุณผู้อ่านก็พิจารณากันเองเถิดว่าละครไทยนั้นยังน้ำเน่าอยู่หรือไม่ หรือเป็นน้ำสะอาดใสเหมือนไหลมาจากน้ำตก หรืออาจเป็นโคลนตมไปแล้วอย่างที่ สุรพงษ์ พินิจเค้า กล่าวไว้จริง ๆ ?
อ้างอิง:
สุรพงษ์ พินิจเค้า. (2543, 12 ตุลาคม). บัญญัติสิบละครน้ำเน่า. ศิลปวัฒนธรรม. 21(12): 124-128.
เครดิต
https://www.silpa-mag.com/culture/article_26600
ที่มาของคำว่าละครน้ำเน่า และบัญญัติสิบ 10 อย่างที่ต้องมีในละครน้ำเน่า
_______
“ละครน้ำเน่า” อาจเป็นคำนิยามที่เหมารวมผลผลิตอย่างหนึ่งในโลกบันเทิงที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากคนทุกกลุ่ม ในบริบทด้านระยะเวลา วลีนี้อาจไม่สะท้อนลักษณะของละครในยุคหลังได้แล้ว ดังเห็นได้ว่า ผลงานถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่า ในยุคหนึ่งคำนี้ถูกใช้อธิบายละครทีวีไปเสียได้
“น้ำเน่าก็คือน้ำที่หยุดนิ่ง หยุดนานเข้าก็ไม่ยอมไหลไปไหน ชาชินกับความสงบปลอดภัย ยินดีกับความจำเจซ้ำซาก เป็นน้ำที่ไม่ยอมผจญภัย ไม่แสวงหา ไม่รู้สึกรู้สากับโลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลง นานเข้า ‘น้ำ’ ก็ไม่เป็นน้ำอีกต่อไป แม้เมื่อ ‘เน่า’ ก็ยังเข้าใจว่าตนยังเป็นน้ำ ทั้งที่กลายเป็นโคลนตมไปแล้ว…”
เมื่อคำนี้ถือกำเนิดแล้ว น่าคิดว่าหากจะนิยามผลงานเรื่องหนึ่งว่าเป็น “ละครน้ำเน่า” ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ในประเด็นนี้ สุรพงษ์ พินิจเค้า ได้เขียนบทความลงนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เรื่อง “บัญญัติสิบละครน้ำเน่า” โดยสรุปสูตรสำเร็จสิบประการของละครน้ำเน่าไว้ว่า “บังเอิญพบกัน ช่างฝันคิดในใจ คนใช้คุยกัน คู่ขวัญแม่ลูก ถูกแอบฟังแต่มองไม่เห็น คิดไม่เป็นจึงพูดคนเดียว ชอบกราดเกรี้ยวเอาตอนกินข้าว โอ้…พระเจ้า! ปลอมตัวแต่จำไม่ได้ นางวายร้ายชอบใช้เสียงแหลม และของแถมที่ขาดไม่ได้…นางเอกท้องต้องอ้วก”
รายละเอียดโดยคร่าวของแต่ละประการมีดังนี้
บังเอิญพบกัน
ความบังเอิญเป็นสิ่งที่สามารถหยิบมานำเสนอได้แต่ควรจะเสนออย่างมีสติไม่ดูถูกสติปัญญาคนดู นำเสนอไปตามปกติวิสัยของความบังเอิญที่ อาจจะหรือน่าจะเกิดขึ้นได้ในบางสถานการณ์ ไม่ใช่ใช้เป็นทางออกในการเล่าเรื่องอย่างมักง่ายและไร้สติปัญญา
หนึ่งเด้ง…ตัวอิจฉามากินข้าวในร้านอาหาร ‘บังเอิญ’ มาเจอพระเอกกับนางเอกในร้านเดียวกัน ทั้งที่อยู่กันคนละเขต กทม. อย่างนี้เขาเรียกว่าหนึ่งเด้ง… บางทีก็พบกันที่ศูนย์การค้าเดียวกัน วันเดียวกัน ร้านเดียวกัน เวลาเดียวกัน ตามแต่อัธยาศัยของความบังเอิญ!
สองเด้ง…ขับรถมาเจอกันตรงไฟแดงพอดี นอกจากมาที่ไฟแดงเดียวกันในเวลาเดียวกัน ยังทะลึ่งมาจอดข้าง ๆ กัน และเปิดกระจกให้เห็นกันอีก
สามเด้ง…นางเอกถูกฉุดเข้าโรงแรมม่านรูด ‘บังเอิญ’ มีคนรู้จักก็เข้ามาใช้บริการโรงแรมเดียวกัน เวลาเดียวกัน และยังมาใช้บริการห้องข้าง ๆ ติดกันอีก ทำให้นางเอกถูกช่วยเหลือไว้ได้ จึงเกิดต่อสู้กัน ระหว่างนั้นนางเอกก็วิ่งหนีออกมาหน้าโรงแรม ก็คือ ‘บังเอิญ’ วิ่งมาพบกับพระเอกซึ่งขับรถผ่านมาตรงนั้นพอดี
ช่างฝันคิดในใจ
อันนี้ถือเป็นธรรมเนียมละครโทรทัศน์ ต้องมีคิดในใจ ก็ไม่ทราบว่าทำไมเหมือนกัน พระเอกคิดในใจออกมาดัง ๆ ตัดภาพไปที่นางเอกก็กำลังคิดในใจเหมือนกัน ตัดภาพไปอีก ตัวอิจฉาก็กำลังคิดในใจ ขอให้สังเกต ถ้าตัวละครเดิน ๆ อยู่ หยุดเดินเมื่อไหร่ เสียงคิดในใจจะออกมาทันที อีกหน่อยก็คิดในใจคุยกันซะเลย
คนใช้คุยกัน
นี่เป็นการเล่าเรื่องแบบ Pattern ที่เจริญรอยตามกันมา บทบาทคนใช้หรือ ‘อีแจ๋ว’ มีไว้สำหรับใช้ในกรณี ‘คนเขียนบท’ ไม่รู้จะเล่าเรื่องยังไง ก็ใช้วิธีที่เรียกว่า ‘คนใช้คุยกัน’ ถือเป็นบุคคลที่สาม ที่บอกคนดูว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนเลว ใครกำลังคิดอะไรกับใครอย่างไร ถ้าเห็นฉากในครัว เห็นคนใช้กำลังวิพากษ์วิจารณ์เจ้านายก็ให้ตั้งใจฟัง
คู่ขวัญแม่ลูก
นี่คือ Stock Character ตัวละครก็คือ ‘แม่’ ที่ให้ท้าย ‘ลูกสาว’ ให้ไปตามจีบพระเอก เพื่อหวังมรดก อะไรทำนองนี้ ตัวละคร ‘แม่ลูกคู่ขวัญ’ นับเป็นน้ำเน่านิ่งอีกแบบที่ยังเห็นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงออกของตัวละครก็ถอดแบบกันเป็นมาตรฐานที่เหมือนกันทุกเรื่อง ต่างกันที่ใครจะมารับบทเท่านั้น เหมือนมีท่ารำ ท่าเต้นกำหนดไว้ โดยไม่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ใดอีกต่อไป
ถูกแอบฟังแต่มองไม่เห็น
สูตรนี้อันที่จริงก็ไม่หนักหนานัก เพียงแต่มันน่ารำคาญ บทบาทการแอบฟังมีให้เห็นเสมอ ๆ ในละครพวกนี้ แต่บางครั้งดูไปก็เหมือนลิเกไม่มีผิด บางทีคนแอบฟังยืนหัวโด่อยู่ตำตา แต่ไอ้คนถูกแอบกลับมองไม่เห็น เล่าความลับจนหมดเปลือก
คิดไม่เป็นจึงพูดคนเดียว
ไอ้เรื่องคิดในใจยังพอรับกันได้ แต่ไอ้เรื่องให้ตัวละครยืนพูดนั่งพูดอยู่คนเดียวเป็นตุเป็นตะนี่ซิ ยิ่งกว่านั้นเมื่อลองจับใจความในสิ่งที่พูดคนเดียวออกมานั้นมันมีความจำเป็นใดหรือไม่ บางครั้งก็แทบไม่มีอะไรเป็นสาระ เพียงแต่ย้ำความรู้สึกของตัวละคร ซึ่งหลายต่อหลายครั้งก็ไม่เห็นความจำเป็นใดใด วิธีการดังกล่าว ในลิเกหรือแม้ในละครของโลกที่เป็นแบบแผนมาตั้งแต่โบราณเขาใช้กันมาก่อน เรียกว่า ‘โซลิลโลควี’ (Soliloquy) เรียกให้ง่าย ๆ ก็คือ ‘ป้องปากพูดกับคนดู’
ชอบกราดเกรี้ยวเอาตอนกินข้าว
กล่าวกันว่าฉากบังคับของละครโทรทัศน์คือ ‘ฉากกินข้าว’ ผู้กำกับละครจะเชี่ยวชาญฉากนี้มาก นอกจาก Blocking ตัวละครง่ายแล้ว ยังประหยัดทั้งเวลา ประหยัดทั้งความคิด ข้อสังเกตคือ กินข้าวพร้อมหน้ากันทีไรเป็นต้องมีการกระแหนะกระแหนกันของคู่กรณีไปซะทุกที บางครั้งไม่เป็นอันกิน ทะเลาะเยาะเย้ย ดูหมิ่น เหยียดหยันกันตลอดมื้อค่ำ
โอ้…พระเจ้า! ปลอมตัวแต่จำไม่ได้
อันนี้ไม่ขอพูดมาก เชื่อเหอะ โผล่มาเรื่อย ๆ แหละ คอยดู ไอ้ชนิดนางเอกปลอมตัวเป็นผู้ชาย แต่มนุษย์รอบข้างไม่มีใครรู้เลยสักคน ที่ไม่พูดมากก็เพราะเค้าเมาท์กันทั้งเมือง มีพวกเดียวที่ไม่รู้ตัวก็คือพวกทำละครกับคนเขียนบท
นางวายร้ายชอบใช้เสียงแหลม
นี่ก็ Shock Character ที่งมงายกันเป็นแบบแผนเสียแล้วถึงกับการคัดเลือกตัวนางมารร้ายมีการทดสอบเสียงกรี๊ดกันเลยทีเดียว นักแสดงคนใดที่ขาดคุณสมบัติเสียงหวีดแหลมเป็นอันต้องจบชีวิตการการแสดงในบทที่ว่าไปเลย บทบาทอันลึกซึ้งนี้จะพบกันในฉากนางมารร้ายมาพบปะทะคารมกับนางเอก ด่ากันด้วยโวหารยอกย้อนส่อความนัย จนที่สุดนางเอกก็เถียงชนะแล้วเดินจากไป นางมารร้ายเถียงไม่ออก เริ่มมีอาการตัวสั่นแล้วตามมาด้วยเสียงหวีดร้องแบบที่ว่าเป็นที่ภูมิอกภูมิใจของทีมงานละครที่สามารถสร้างสรรค์ฉากนี้ขึ้นมาได้
และของแถมที่ขาดไม่ได้…นางเอกท้องต้องอ้วก!
เราเชื่อว่าผู้หญิงในโลกนี้ไม่ว่าชาติใด เวลาท้องก็ท้องเหมือนกันหมด อาการแพ้ท้องก็ย่อมจะคล้าย ๆ กัน มีอาการอ้วกเป็นพื้นฐาน แต่เวลาดูหนังฝรั่งหรือหนังอื่นใด เวลาจะเล่าเรื่องว่านางเอกไปทำงามหน้าท้องมาแล้วนะ ไม่เห็นเขาจะต้องอ้วกให้ดู แต่ถ้าเป็นการเล่าเรื่องแบบเป็นนิสัยของคนเขียนบท คนทำละครมักสรุปเอาเองว่า ต้องอ้วกเท่านั้นคนจึงจะเข้าใจ และยึดเป็นมาตรฐานอันถูกต้อง กะอีแค่จะบอกว่านางเอกท้องแล้วนะ มีวิธีการที่แยบยลมากมายที่จะเล่าเรื่อง แต่ก็ยังเชื่อในสูตรสำเร็จที่ใช้กันมาไม่ต่ำกว่าห้าสิบปี ถึงกับมีการว่ากันว่า นางเอกละครไทยต้องอ้วกเป็นทุกคน
ข้อมูลจากบทความนี้ถูกวิเคราะห์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562 คุณผู้อ่านก็พิจารณากันเองเถิดว่าละครไทยนั้นยังน้ำเน่าอยู่หรือไม่ หรือเป็นน้ำสะอาดใสเหมือนไหลมาจากน้ำตก หรืออาจเป็นโคลนตมไปแล้วอย่างที่ สุรพงษ์ พินิจเค้า กล่าวไว้จริง ๆ ?
อ้างอิง:
สุรพงษ์ พินิจเค้า. (2543, 12 ตุลาคม). บัญญัติสิบละครน้ำเน่า. ศิลปวัฒนธรรม. 21(12): 124-128.
เครดิต https://www.silpa-mag.com/culture/article_26600