สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้จัดการเสวนาในหัวข้อเรื่อง
" คิด ขาย เขียน " เพื่อเพิ่มเติมความรู้เรื่องบทละครสำหรับนักเขียนบทละครโทรทัศน์มืออาชีพ โดยได้รับเกียรติจากผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้แทนสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ เพื่อมาแลกเปลี่ยนข้อมูล ความประสงค์ของทางผู้จัด ผู้ผลิต สถานีโทรทัศน์ ว่าต้องการบทละครโทรทัศน์ในรูปแบบใด เพื่อการพัฒนาของนักเขียนบทละครโทรทัศน์ ที่จะได้มีโอกาสพัฒนางานเขียน สรุปได้คร่าวๆ
ช่อง7
แนวไหนก็ได้ แต่ต้องสนุกครบรส เข้มข้นในทุกๆแนว มีความเข้าถึงง่าย เพราะจะได้สอดคล้องกับฐานคนดูของช่อง ไม่นำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งภายในละคร 30 กว่าชั่วโมง จะต้องมีครบทุกอารมณ์ในละครเรื่องเดียว เช่นละครดราม่า ต้องมีคอมเมดี้มาเพื่อผ่อนคลาย ละครบู๊ ต้องมีดราม่ามาเพื่อเบรกอารมณ์ เป็นต้น สามารถรับชมได้ทุกๆวัย
ช่อง3
ต้องการละครแนวกลุ่มคนเมือง จะเป็นแนวไหนก็ได้ คอมเมดี้ ดราม่า แอ็กชั่น แต่ต้องมีความสนุก มีความอินคลาส กล่าวคือจะต้องตอบโจทย์กลุ่มคนเมือง แต่จะต้องเข้าถึงกลุ่มชนบทไปพร้อมๆกัน ละครแนวไหน ต้องไปให้สุด เช่น ดราม่า ก็ต้อง
ดราม่าให้สุด คอมเมดี้ ก็ต้องไปให้สุด
ช่องวัน31
ละคร ต้องเป็นโลกแห่งความจริง ตัวละครเหมือนคนปกติจริงๆ มีความเป็นมนุษย์ ไม่นำเสนอในมุมมองเดียว สู้ชีวิต-ถึงลูกถึงคน ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ และบุคคลทั่วไป
ช่อง8
เปิดรับทุกๆแนว ต้องสนุก ครบรส เข้มข้น ถึงใจ และต้องขายได้ทั้งในและนอกประเทศ
GMM25
ต้องการแนวซีรี่ส์ ทาร์เก็ตวัยรุ่น ประมาณ 8/12/16 ตอน ต้องสนุก น่าติดตามทุกตอน ตอบโจทย์กลุ่มคนเมือง ไม่เอาแนวผี/แอ็กชั่น/ฉากหลังในต่างจังหวัด
กันตนา
ต้องการเชิดชู " กันตนาคลาสสิค " คือพวกละครแนวสยองขวัญ แต่ต้องมาปรับเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในสังคมปัจจุบัน
ทั้งนี้ ยังมีในอีกหลายๆหัวข้อ ที่นักเขียนทุกท่านได้ร่วมกันอภิปราย
📌“คิด” คือ ปรับฐานความรู้ความเข้าใจตั้งแต่ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนาและ วิธีการ
ปรับ content ที่พร้อมจะอยู่ตลาดโลก
1.สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคของ “ชนชั้นกลาง” เป็นใหญ่ คนกลุ่มนี้ใช้โซเชียลเก่ง ปกป้องตัวเองจากอำนาจนอกระบบได้ดีขึ้น อันนี้ทำให้นิยายยุคเก่า เช่น ตัวละครถูกอำนาจเถื่อนกดขี่ โดยไม่หือไม่อือ เพราะไม่มีทางเลือก อาจต้องทำเป็นละครพีเรียด
2.คนส่วนใหญ่ไม่ได้ถือครองที่ดิน เกษตรไม่ใช่อาชีพในฝันของคนยุคใหม่ สตอรี่เกี่ยวกับภาคเกษตรอาจไม่ได้สวยงามในอุดมคติ แบบผู้ใหญ่ลีกับนางมา (ไม่ได้แปลว่า คอนเซ็ปผู้ใหญ่ลีใช้ไม่ได้ ที่จริงแล้ว คอนเซ็ปท์นี้ มีทั้งเกาหลีและฝรั่ง และจะมีต่อไป)
3.คนชนบทปัจจุบันฝันจะเป็นผู้ประกอบการ entrepreneur เช่น เจ้าของร้านอาหาร ในวงสนทนา คุยกันว่างานของจุฬามณี เช่น กรงกรรม ทุ่งเสน่หา สะท้อนสังคมเกษตรช่วงเปลี่ยนผ่านได้ดี จึงได้รับความนิยม
4.คนยากจนรุ่นใหม่ มีจำนวนประมาณ 6 ล้าน มักมีบุคลิก จนข้ามรุ่น คือ การศึกษาน้อย ตั้งแต่รุ่นพ่อและมักจะส่งต่อไปถึงรุ่นหลาน ที่น่าศึกษาอีกคือ คนจนเมือง ที่ต้องทำงานหนัก ค่าครองชีพสูง เวลาเขียนบทคนจน ลองศึกษาบริบทเขาดู
5.สำหรับคนรุ่นใหม่ ศาสนาถูกตั้งคำถาม และหลายประเทศ มี “คนไม่นับถือศาสนา” มากขึ้น เพราะคนเดี๋ยวนี้ไม่ชอบยึดถืออะไรที่ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่function ทันที เดี๋ยวนี้ ก็อย่ามายัดเยียดกันเลย ชีวิตเหนื่อยมากแล้ว
6.อุดมคติบางประการ เช่น ก้มหน้าก้มตากตัญญูพ่อแม่ จนชีวิตพัง/ พระเอกตายแทนนางเอก เพื่อความรัก คตินิยมเหล่านี้ กำลังเชย พระเอกนางเอก แสนดี มีรายละเอียดที่ต่างไปจากยุคก่อน เวลาเขียน ถกเถียงกันให้ดี ว่าจะไปแนว อุดมคติ หรือ เรียลลิสติค
7.คนชั้นกลางผูกติดกับโซเชียล เป็นคนที่ชอบมีส่วนร่วม ชอบแสดงความคิดเห็น ละครจะถูกวิจารณ์หนัก เร็ว และหลายครั้งเพื่อปกป้อง ศิลปินของเขา เวลาอ่านคอมเมนท์ จิตแข็งๆหน่อย เขาไม่ได้ด่า เขาต้องการมีส่วนร่วม ต้องการอรรถรส ในการดูไปบ่นไป กับวงโซเชียลของเขาแบบเรียลไทม์ หลายๆคนที่คอมเมนท์บางทียังเด็กอยู่ เราก็ไม่รู้ เราจะมาจิตตกไปทุกเรื่องไม่ได้
8. การปรับ “ของไทยๆ” ใดๆ ให้ไปประสบความสำเร็จในการเป็น
soft power ผู้ปรับต้องรู้จัก การตัดส่วนเกินออก แล้วหาจุดร่วมที่เป็นสากล ที่คนทั่วโลกเชื่อมโยงได้ เช่นโนรา อาจต้องตัดเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ออก และคงไว้ในสายตาโลก แค่ dance // content ที่จะไป global จึงต้องตัดให้เป็น หาจุดร่วมให้เป็น
📌“ขาย” คนเขียนบทส่วนใหญ่พูดไม่เก่ง ไม่งั้นคงเป็นนักพูดไม่ใช่นักเขียน
หลายๆคนพูดไม่รู้เรื่องด้วย พี่ปรัชญา ปิ่นแก้ว เลยมาสอนว่า อะไรที่ผู้จัดต้องการ และวิธีสื่อสารคืออะไร สรุปความได้ว่า
9.เลิกหมกมุ่นรายละเอียด แต่จงเล่าด้วย Log line (ประโยคสั้นๆที่บอกว่า ละครเรื่องนี้ สนุกตรงไหน ) เป็นสิ่งที่นักเขียนต้องฝึก เพราะผู้จัดต้องการเอาไปทำงานต่ออย่างรวดเร็วที่สุด และชัดเจนที่สุด
📌“เขียน” ประมาณครึ่งหนึ่งของนักเขียนบท ไม่ได้เรียนจบการละคร นักเขียนบทที่เป็นครูเขียนบท ก็เลยมาจัดให้ โดยเน้นการเขียนในโลกการทำงานจริงกับทีมงานและคนดู
10. ในมุมของผู้กำกับ ที่อยากเตือนนักเขียนบท คือ ไดอาล็อก หรือบทสนทนา ที่มีปัญหาเพราะต้องจูนกับนักแสดง ซึ่งทั้งหมดเป็นคนรุ่นเด็กมากๆ ที่มีคำพูดปกติแตกต่างออกไป แต่ก็ไม่สนับสนุนให้แอนตี้ ภาษาพูดเก่า เพราะ ละคร คือการสื่อสาร ควรใช้ภาษากลาง ที่เข้าใจได้ในทันที
และแน่นอนปัญหาที่เยอะสุด คือ คาแรคเตอร์ไม่เสถียร อาจจะเพราะคนเขียนบทในทีมคนละคนเขียน อันนี้เหนื่อยใจคนกำกับและคนดูอย่างยิ่ง
11.การแก้บท โดยส่วนใหญ่ทำให้ละครดีขึ้น ผกก หรือ ผู้จัด คือคนดูคนแรก จงอดทนแก้ไขต่อไป
12.การแก้บทถ้ามันยากนัก ตัดทิ้งหมดเลยคือทางเลือก และถ้ามันเยอะนัก ตัดคนเขียนบทคนนั้นทิ้ง
13.ละครไทย ประสบภาวะถูกเหยียดว่าเป็นโลกใบเก่า ที่ไม่พัฒนา ในกลุ่มคนทำงาน เขาจะมีศัพท์งงๆว่า เขียนแบบซีรีส์นะ(ใหม่ๆ) อย่ามาละค้อนละคร (เก่าๆ) โดนเหยียดจากคนดูไม่พอ โดนเหยียดจากคนทำงานอีก แต่เอาล่ะ เจ็บๆหน่อย แต่เข้าใจได้ เพราะที่สุดแล้ว
การเล่าเรื่องคือศิลปะ มีทฤษฎีพื้นฐาน ที่ปรับใช้ด้วยกันได้
14.คนทำละครไทยจริงๆ ไม่ได้อยู่กับ “สู้เกาหลีไม่ได้”แต่อยู่กับ “การเอาตัวให้รอดไปวันๆ “ แค่นี้ก็เหนื่อยมากแล้ว
15.ละครเหมือนของอย่างอื่น มี platform ระดับโลกจ่อรวบกินอยู่ คนทำละครทุกช่อง สู้ขาดใจในฐานะประเทศเล็กๆ ทุนต่ำๆ จะให้ไปช่วยกัน เล่าเรื่องประเด็นล้ำๆ / softpowerเพื่อชาติ / สร้างสรรค์สังคมแห่งความเท่าเทียม ทั้งที่ ตัวเลขในมือผู้จัดติดตัวแดงก็ไม่ไหว
16.เวลามีปัญหา ตามข้อ 14/15 ทีมงานละครไม่ต้องกังวล คนเขียนบทจะโดนด่า แทนท่านเอง
17.คนทำละครสายเมนสตรีม แยกกลุ่มเป้าหมายชัดเจนแล้ว เช่นละครคนเมือง ละครชาวบ้าน /ตลาดผู้ชาย / ซีรีส์กลุ่มอายุ…คนเขียนบทส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์ ทำงานทุกช่อง ต้องปรับตัวมากๆ และเร็วๆ เพราะ นโยบายก็อาจเปลี่ยนไปเป็นรายเดือน ทางแก้คือ อัตตาน้อยๆ ถามเยอะๆ คุยเยอะๆเข้าไว้
18.ทีมงานละคร ทุกสถานี ทุกค่าย พร้อมกลายร่างเป็น ซีรีส์ถ้าสังคมต้องการ
พร้อมไปสู้อยู่ใน platform ทั้งเอเซีย ทั้งโลก พร้อมๆๆๆ ทุกอย่าง ใจโคตรสู้
19.จำนวน ep ของซีรีส์หรือละคร ทั้งโลก มีแนวโน้มลดลงทุกที ตัวเลขปีนี้ 16 ep ยังมากไป ละครไทยสายเมนสตรีม คงค่อยๆลด
20.ซีรีส์วาย มีบุคลิกเฉพาะตัวมากๆ เป็น niche / ผูกพันกับ ไอดอลนิยม คนดูคนทำ อย่าไปใช้หลักคิดแบบแมส ที่ตนคุ้นเคย เพราะหลายครั้งมันกลับด้านกัน
21.ไทยคือ เมืองหลวงซีรีส์วายโลก เฉิดฉายมาก ผลิตกันเป็นร้อยเรื่องต่อปี เป้าหมายต่อไปสายวาย คือพัฒนาการเล่าเรื่องให้แหลมคม ลึกซึ้งขึ้น และมี genre หลากหลายขึ้น
อย่าเรียกคนเขียนบท ว่าคน
เพราะคน
ทำเพื่อตัวเอง แต่คนเขียนบท ทำเพื่อสังคม
คนเขียนบทละครทุกท่าน มีจุดมุ่งหวังที่อยากจะพัฒนาละครไทย แต่มันต้องอยู่ในกรอบของผู้จัด ของสถานี หรือผู้กำกับ ดังนั้น จะมาว่าคนเขียนบทอย่างเดียวมิได้ วอนคนดูทุกท่านให้การสนับสนุนละครไทย ไม่สังเกตุหรือว่าละครแนวแมส กระแสและเรตติ้งจะแรงมาก แต่พอลองแหวกแนว กลับแป๊กสนิท มันก็ขึ้นอยู่กับคุณผู้ชมด้วยว่าพร้อมที่จะสนับสนุนแค่ไหน.....
จากการเสวนา " คิด ขาย เขียน " ของสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับความต้องการบทละครช่องต่างๆ
ช่อง7
แนวไหนก็ได้ แต่ต้องสนุกครบรส เข้มข้นในทุกๆแนว มีความเข้าถึงง่าย เพราะจะได้สอดคล้องกับฐานคนดูของช่อง ไม่นำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งภายในละคร 30 กว่าชั่วโมง จะต้องมีครบทุกอารมณ์ในละครเรื่องเดียว เช่นละครดราม่า ต้องมีคอมเมดี้มาเพื่อผ่อนคลาย ละครบู๊ ต้องมีดราม่ามาเพื่อเบรกอารมณ์ เป็นต้น สามารถรับชมได้ทุกๆวัย
ช่อง3
ต้องการละครแนวกลุ่มคนเมือง จะเป็นแนวไหนก็ได้ คอมเมดี้ ดราม่า แอ็กชั่น แต่ต้องมีความสนุก มีความอินคลาส กล่าวคือจะต้องตอบโจทย์กลุ่มคนเมือง แต่จะต้องเข้าถึงกลุ่มชนบทไปพร้อมๆกัน ละครแนวไหน ต้องไปให้สุด เช่น ดราม่า ก็ต้อง
ดราม่าให้สุด คอมเมดี้ ก็ต้องไปให้สุด
ช่องวัน31
ละคร ต้องเป็นโลกแห่งความจริง ตัวละครเหมือนคนปกติจริงๆ มีความเป็นมนุษย์ ไม่นำเสนอในมุมมองเดียว สู้ชีวิต-ถึงลูกถึงคน ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ และบุคคลทั่วไป
ช่อง8
เปิดรับทุกๆแนว ต้องสนุก ครบรส เข้มข้น ถึงใจ และต้องขายได้ทั้งในและนอกประเทศ
GMM25
ต้องการแนวซีรี่ส์ ทาร์เก็ตวัยรุ่น ประมาณ 8/12/16 ตอน ต้องสนุก น่าติดตามทุกตอน ตอบโจทย์กลุ่มคนเมือง ไม่เอาแนวผี/แอ็กชั่น/ฉากหลังในต่างจังหวัด
กันตนา
ต้องการเชิดชู " กันตนาคลาสสิค " คือพวกละครแนวสยองขวัญ แต่ต้องมาปรับเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในสังคมปัจจุบัน
ทั้งนี้ ยังมีในอีกหลายๆหัวข้อ ที่นักเขียนทุกท่านได้ร่วมกันอภิปราย
📌“คิด” คือ ปรับฐานความรู้ความเข้าใจตั้งแต่ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนาและ วิธีการปรับ content ที่พร้อมจะอยู่ตลาดโลก
1.สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคของ “ชนชั้นกลาง” เป็นใหญ่ คนกลุ่มนี้ใช้โซเชียลเก่ง ปกป้องตัวเองจากอำนาจนอกระบบได้ดีขึ้น อันนี้ทำให้นิยายยุคเก่า เช่น ตัวละครถูกอำนาจเถื่อนกดขี่ โดยไม่หือไม่อือ เพราะไม่มีทางเลือก อาจต้องทำเป็นละครพีเรียด
2.คนส่วนใหญ่ไม่ได้ถือครองที่ดิน เกษตรไม่ใช่อาชีพในฝันของคนยุคใหม่ สตอรี่เกี่ยวกับภาคเกษตรอาจไม่ได้สวยงามในอุดมคติ แบบผู้ใหญ่ลีกับนางมา (ไม่ได้แปลว่า คอนเซ็ปผู้ใหญ่ลีใช้ไม่ได้ ที่จริงแล้ว คอนเซ็ปท์นี้ มีทั้งเกาหลีและฝรั่ง และจะมีต่อไป)
3.คนชนบทปัจจุบันฝันจะเป็นผู้ประกอบการ entrepreneur เช่น เจ้าของร้านอาหาร ในวงสนทนา คุยกันว่างานของจุฬามณี เช่น กรงกรรม ทุ่งเสน่หา สะท้อนสังคมเกษตรช่วงเปลี่ยนผ่านได้ดี จึงได้รับความนิยม
4.คนยากจนรุ่นใหม่ มีจำนวนประมาณ 6 ล้าน มักมีบุคลิก จนข้ามรุ่น คือ การศึกษาน้อย ตั้งแต่รุ่นพ่อและมักจะส่งต่อไปถึงรุ่นหลาน ที่น่าศึกษาอีกคือ คนจนเมือง ที่ต้องทำงานหนัก ค่าครองชีพสูง เวลาเขียนบทคนจน ลองศึกษาบริบทเขาดู
5.สำหรับคนรุ่นใหม่ ศาสนาถูกตั้งคำถาม และหลายประเทศ มี “คนไม่นับถือศาสนา” มากขึ้น เพราะคนเดี๋ยวนี้ไม่ชอบยึดถืออะไรที่ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่function ทันที เดี๋ยวนี้ ก็อย่ามายัดเยียดกันเลย ชีวิตเหนื่อยมากแล้ว
6.อุดมคติบางประการ เช่น ก้มหน้าก้มตากตัญญูพ่อแม่ จนชีวิตพัง/ พระเอกตายแทนนางเอก เพื่อความรัก คตินิยมเหล่านี้ กำลังเชย พระเอกนางเอก แสนดี มีรายละเอียดที่ต่างไปจากยุคก่อน เวลาเขียน ถกเถียงกันให้ดี ว่าจะไปแนว อุดมคติ หรือ เรียลลิสติค
7.คนชั้นกลางผูกติดกับโซเชียล เป็นคนที่ชอบมีส่วนร่วม ชอบแสดงความคิดเห็น ละครจะถูกวิจารณ์หนัก เร็ว และหลายครั้งเพื่อปกป้อง ศิลปินของเขา เวลาอ่านคอมเมนท์ จิตแข็งๆหน่อย เขาไม่ได้ด่า เขาต้องการมีส่วนร่วม ต้องการอรรถรส ในการดูไปบ่นไป กับวงโซเชียลของเขาแบบเรียลไทม์ หลายๆคนที่คอมเมนท์บางทียังเด็กอยู่ เราก็ไม่รู้ เราจะมาจิตตกไปทุกเรื่องไม่ได้
8. การปรับ “ของไทยๆ” ใดๆ ให้ไปประสบความสำเร็จในการเป็น soft power ผู้ปรับต้องรู้จัก การตัดส่วนเกินออก แล้วหาจุดร่วมที่เป็นสากล ที่คนทั่วโลกเชื่อมโยงได้ เช่นโนรา อาจต้องตัดเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ออก และคงไว้ในสายตาโลก แค่ dance // content ที่จะไป global จึงต้องตัดให้เป็น หาจุดร่วมให้เป็น
📌“ขาย” คนเขียนบทส่วนใหญ่พูดไม่เก่ง ไม่งั้นคงเป็นนักพูดไม่ใช่นักเขียน
หลายๆคนพูดไม่รู้เรื่องด้วย พี่ปรัชญา ปิ่นแก้ว เลยมาสอนว่า อะไรที่ผู้จัดต้องการ และวิธีสื่อสารคืออะไร สรุปความได้ว่า
9.เลิกหมกมุ่นรายละเอียด แต่จงเล่าด้วย Log line (ประโยคสั้นๆที่บอกว่า ละครเรื่องนี้ สนุกตรงไหน ) เป็นสิ่งที่นักเขียนต้องฝึก เพราะผู้จัดต้องการเอาไปทำงานต่ออย่างรวดเร็วที่สุด และชัดเจนที่สุด
📌“เขียน” ประมาณครึ่งหนึ่งของนักเขียนบท ไม่ได้เรียนจบการละคร นักเขียนบทที่เป็นครูเขียนบท ก็เลยมาจัดให้ โดยเน้นการเขียนในโลกการทำงานจริงกับทีมงานและคนดู
10. ในมุมของผู้กำกับ ที่อยากเตือนนักเขียนบท คือ ไดอาล็อก หรือบทสนทนา ที่มีปัญหาเพราะต้องจูนกับนักแสดง ซึ่งทั้งหมดเป็นคนรุ่นเด็กมากๆ ที่มีคำพูดปกติแตกต่างออกไป แต่ก็ไม่สนับสนุนให้แอนตี้ ภาษาพูดเก่า เพราะ ละคร คือการสื่อสาร ควรใช้ภาษากลาง ที่เข้าใจได้ในทันที
และแน่นอนปัญหาที่เยอะสุด คือ คาแรคเตอร์ไม่เสถียร อาจจะเพราะคนเขียนบทในทีมคนละคนเขียน อันนี้เหนื่อยใจคนกำกับและคนดูอย่างยิ่ง
11.การแก้บท โดยส่วนใหญ่ทำให้ละครดีขึ้น ผกก หรือ ผู้จัด คือคนดูคนแรก จงอดทนแก้ไขต่อไป
12.การแก้บทถ้ามันยากนัก ตัดทิ้งหมดเลยคือทางเลือก และถ้ามันเยอะนัก ตัดคนเขียนบทคนนั้นทิ้ง
13.ละครไทย ประสบภาวะถูกเหยียดว่าเป็นโลกใบเก่า ที่ไม่พัฒนา ในกลุ่มคนทำงาน เขาจะมีศัพท์งงๆว่า เขียนแบบซีรีส์นะ(ใหม่ๆ) อย่ามาละค้อนละคร (เก่าๆ) โดนเหยียดจากคนดูไม่พอ โดนเหยียดจากคนทำงานอีก แต่เอาล่ะ เจ็บๆหน่อย แต่เข้าใจได้ เพราะที่สุดแล้ว การเล่าเรื่องคือศิลปะ มีทฤษฎีพื้นฐาน ที่ปรับใช้ด้วยกันได้
14.คนทำละครไทยจริงๆ ไม่ได้อยู่กับ “สู้เกาหลีไม่ได้”แต่อยู่กับ “การเอาตัวให้รอดไปวันๆ “ แค่นี้ก็เหนื่อยมากแล้ว
15.ละครเหมือนของอย่างอื่น มี platform ระดับโลกจ่อรวบกินอยู่ คนทำละครทุกช่อง สู้ขาดใจในฐานะประเทศเล็กๆ ทุนต่ำๆ จะให้ไปช่วยกัน เล่าเรื่องประเด็นล้ำๆ / softpowerเพื่อชาติ / สร้างสรรค์สังคมแห่งความเท่าเทียม ทั้งที่ ตัวเลขในมือผู้จัดติดตัวแดงก็ไม่ไหว
16.เวลามีปัญหา ตามข้อ 14/15 ทีมงานละครไม่ต้องกังวล คนเขียนบทจะโดนด่า แทนท่านเอง
17.คนทำละครสายเมนสตรีม แยกกลุ่มเป้าหมายชัดเจนแล้ว เช่นละครคนเมือง ละครชาวบ้าน /ตลาดผู้ชาย / ซีรีส์กลุ่มอายุ…คนเขียนบทส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์ ทำงานทุกช่อง ต้องปรับตัวมากๆ และเร็วๆ เพราะ นโยบายก็อาจเปลี่ยนไปเป็นรายเดือน ทางแก้คือ อัตตาน้อยๆ ถามเยอะๆ คุยเยอะๆเข้าไว้
18.ทีมงานละคร ทุกสถานี ทุกค่าย พร้อมกลายร่างเป็น ซีรีส์ถ้าสังคมต้องการ
พร้อมไปสู้อยู่ใน platform ทั้งเอเซีย ทั้งโลก พร้อมๆๆๆ ทุกอย่าง ใจโคตรสู้
19.จำนวน ep ของซีรีส์หรือละคร ทั้งโลก มีแนวโน้มลดลงทุกที ตัวเลขปีนี้ 16 ep ยังมากไป ละครไทยสายเมนสตรีม คงค่อยๆลด
20.ซีรีส์วาย มีบุคลิกเฉพาะตัวมากๆ เป็น niche / ผูกพันกับ ไอดอลนิยม คนดูคนทำ อย่าไปใช้หลักคิดแบบแมส ที่ตนคุ้นเคย เพราะหลายครั้งมันกลับด้านกัน
21.ไทยคือ เมืองหลวงซีรีส์วายโลก เฉิดฉายมาก ผลิตกันเป็นร้อยเรื่องต่อปี เป้าหมายต่อไปสายวาย คือพัฒนาการเล่าเรื่องให้แหลมคม ลึกซึ้งขึ้น และมี genre หลากหลายขึ้น
อย่าเรียกคนเขียนบท ว่าคน เพราะคนทำเพื่อตัวเอง แต่คนเขียนบท ทำเพื่อสังคม
คนเขียนบทละครทุกท่าน มีจุดมุ่งหวังที่อยากจะพัฒนาละครไทย แต่มันต้องอยู่ในกรอบของผู้จัด ของสถานี หรือผู้กำกับ ดังนั้น จะมาว่าคนเขียนบทอย่างเดียวมิได้ วอนคนดูทุกท่านให้การสนับสนุนละครไทย ไม่สังเกตุหรือว่าละครแนวแมส กระแสและเรตติ้งจะแรงมาก แต่พอลองแหวกแนว กลับแป๊กสนิท มันก็ขึ้นอยู่กับคุณผู้ชมด้วยว่าพร้อมที่จะสนับสนุนแค่ไหน.....