🇹🇭💜มาลาริน💜🇹🇭6ส.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย2,381คน หาย2,209คน ตาย35คน/ถอดบทเรียนการจัดการยาโควิด/ตราดรอผลตรวจฝีดาษลิง


https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1019437

https://www.ryt9.com/s/iq01/3344868

เพี้ยนแคปเจอร์ถอดบทเรียนจัดการยา-เวชภัณฑ์ จาก "โควิด" ออกแบบเชิงระบบรับมือโรคใหม่ในอนาคต


การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพอย่างชัดเจน ทั้งนำเทคโนโลยีมาช่วยดูแลรักษาผู้ป่วย รับยาที่ร้านยาใกล้บ้านได้ โดยไม่ต้องเสียเวลารอรับยาที่ รพ.และยังได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรที่ร้านยาอย่างมีคุณภาพ การส่งยาทางไปรษณีย์ ฯลฯ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ของประเทศ

ด้านหนึ่งทำให้เห็นภาพของการเร่งสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยและพัฒนา การอนุมัติการใช้ยา/วัคซีนใหม่ในภาวะฉุกเฉิน การได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาและวัคซีนจากต่างประเทศ ตลอดจนการนำยาสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโควิด กรณีที่อาการไม่รุนแรง ทำให้เกิดการพัฒนาระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคู่ขนานไปด้วย โดยเฉพาะการจัดสรรยาและวัคซีนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภาพที่ปรากฏทำให้เห็นถึงระบบการจัดการ การบริหารยาและวัคซีนที่นำมาใช้สำหรับการรับมือโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลไกหนึ่งที่ทำให้เกิดการบริหารยาในภาวะฉุกเฉินได้ดี นั่นคืองานวิจัยที่ทันต่อสถานการณ์ และการออกแบบภาพอนาคตเพื่อประเมินทางออกที่ดีที่สุด จนส่งผลให้เกิดการวางแผนจัดการในระดับนโยบาย เพื่อนำข้อมูลที่ดีที่สุด ไปตัดสินใจเชิงนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ ทำให้เกิดการให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งการบริหารจัดการเรื่องการใช้ยา วัคซีน หรือการสำรองยา นับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวถึงประเด็นยาในสถานการณ์ฉุกเฉิน บนเวทีการประชุมวิชาการ 30 ปี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ว่า เรื่องการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ ในสภาวะฉุกเฉิน ถ้าเป็นในระดับโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ใช้นโยบาย 3 ขา โดยขาแรก เป็นเรื่องของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ขาที่สอง เน้นความมั่นคงทางสุขภาพ และขาที่สาม เป็นเรื่องของสุขภาวะชีวิตที่ยั่งยืน แต่ในสถานการณ์ความเป็นจริง ประเทศส่วนใหญ่มักต้องช่วยเหลือประชาชนของตนเองก่อน จนดูเหมือนเป็นการเอาตัวรอดกัน

อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการวิจัยในเรื่องวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิตวัคซีนและยาในประเทศไทย จำเป็นต้องมองเลยไปว่า เมื่อผ่านพ้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว วัคซีนที่เหลือจะบริหารจัดการอย่างไร หรือโรงงานผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เมื่อไม่ต้องทำการผลิตแล้วจะทำอย่างไร ผมเองเคยต่อสู้ในเรื่องนี้เมื่อปี 2007 กรณีการตั้งโรงงานผลิตวัคซีนที่ตำบลทับกวาง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นการขยายเฟส 3 เพื่อการผลิตวัคซีน มีการลงทุนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งต้องประเมินว่าคุ้มหรือไม่


ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวเสริมว่า องค์การเภสัชกรรมมีวิสัยทัศน์ในเรื่องความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ คือ ต้องมียาเพียงพอ ต้องมีเสรีภาพในการใช้ยา ต้องสามารถเข้าถึงยาได้ และมีความสามารถในการเบิกจ่าย เหตุผลดังกล่าวจึงต้องมีการสำรองยาไว้ แต่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ประสบปัญหา เพราะทั่วโลกมีการแย่งชิงทรัพยากร โดยเฉพาะวัตถุดิบในการผลิตยาหรือวัคซีน หากมีการระบาดครั้งหน้าขึ้นมาอีก ต้องนำบทเรียนต่างๆ มาสังเคราะห์และถอดออกมาเพื่อเป็นแผนรับมือร่วมกัน ซึ่งต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ประชาชน และเอกชน

“อย่างไรก็ตาม การพึ่งพายาจากภายนอกเพื่อสำรองไว้ อาจไม่ใช่ทางออกเดียวที่มี เพราะประเทศไทยต้องมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองด้วย หากพัฒนาวัคซีนได้เอง ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้า จะช่วยลดงบประมาณในการจัดหายาจากต่างประเทศได้ ซึ่งในส่วนของยาฟาวิพิราเวียร์ที่นำเข้ามา เป็นยาสำเร็จรูปอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องสังเคราะห์ยาเองเผื่อไว้ด้วย”

ภญ.ศิริกุล กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาในช่วงโควิด-19 องค์การเภสัชกรรมมีการสำรองยาไว้ประมาณ 20 รายการ อาทิ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ และเวชภัณฑ์หลายรายการ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ในราคาที่ถูกแต่มีคุณภาพ ซึ่งบทเรียนต่างๆ ในครั้งนี้ เป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผนในระยะยาว ส่วนเรื่องสิทธิบัตรยา หากมีการระบาดใหญ่ มีผลกระทบในวงกว้าง รัฐบาลสามารถประกาศมาตรการซีแอลได้ทันที ซึ่งในอนาคตจะมีการปรับโครงสร้างใหม่ เพื่อให้สามารถตรวจสอบสิทธิบัตรได้รวดเร็วยิ่งขึ้น



ด้าน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในสถานการณ์วิกฤตที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 หากผู้ป่วยติดเชื้อแล้วมีอาการไม่รุนแรง กระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดการได้ดีและเหมาะสม ทั้งในเรื่องการกระจายยาและเวชภัณฑ์ที่ขาดแคลนในทุกกองทุนหลักประกันสุขภาพ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เริ่มมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น หากงบประมาณในกองทุนหลักประกันสุขภาพยังแยกกันจ่ายในการจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ เชื่อว่าน่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นจึงได้มีการหารือกันในทุกกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการจัดรวมศูนย์การเบิกจ่าย โดยนำหน่วยงานเบิกจ่ายมารวมกัน เพื่อลดความซับซ้อนในเรื่องมาตรการและกลไกทางการเงิน

นพ.จเด็จ กล่าวอีกว่า เรื่องการสื่อสารกับประชาชนซึ่งมีปัญหาในช่วงแรก เพราะแต่ละหน่วยงานดำเนินการในลักษณะต่างคนต่างทำ มีเบอร์สายด่วนที่หลากหลายมาก และประชาชนส่วนใหญ่ต้องการคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่มากกว่าข้อมูลจากระบบอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2564 สปสช. จึงตัดสินใจใช้เบอร์สายด่วนเพียงเบอร์เดียวคือ 1330 โดยรับอาสาสมัครจำนวน 200 คน มารับโทรศัพท์ โดยสามารถทำงานที่บ้านได้ ช่วยทำให้ประชาชนได้รับบริการยาและเวชภัณฑ์ที่เร็วขึ้นในสถานการณ์โควิด-19

“เรื่องการจัดส่งยา เมื่อถึงจุดวิกฤต ต้องอาศัยภาคประชาชนมาช่วย โดยสร้างความร่วมมือกับมูลนิธิต่างๆ เพราะทำงานเร็ว และมีการทำงานเชิงรุก โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัย กรณีน้ำท่วม ไฟไหม้เขาชำนาญอยู่แล้ว สปสช. จึงตัดสินใจดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยให้มูลนิธิจัดส่งยาให้ผู้ป่วย ซึ่งช่วยได้มากและมีความรวดเร็ว นอกจากนี้ยังร่วมกับธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดหาไรเดอร์เพื่อส่งยาให้กับผู้ป่วย ทำให้เห็นว่า เมื่อเกิดวิกฤต ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งที่สำคัญไม่น้อย คือการสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชน เนื่องจากทำให้สามารถดำเนินการในบางเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว” นพ.จเด็จ กล่าว



นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เรื่องโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ กลไกในการแก้ปัญหามีหลายเรื่อง เช่น ต้องมีการร่างระเบียบเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรื่องการจองวัคซีน การนำกฎหมายมาใช้ในการจัดหาวัคซีน ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องประสานกับองค์กรต่างๆ เพื่อวางแนวปฎิบัติที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน โดยเริ่มจากกลไกการตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อให้มีอำนาจในการออกประกาศ และอนุมัติเงินที่จะนำไปใช้จองวัคซีน รวมถึงมีการตั้งอนุกรรมการที่จะเข้าไปดูแลเรื่องวัคซีน และทำหน้าที่พิจารณาประเด็นต่างๆ อาทิ วัคซีนแต่ละประเภทมีคุณสมบัติดีอย่างไร เหมาะสมหรือไม่ เมื่อฉีดวัคซีนไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง รวมถึงเมื่อฉีดวัคซีนไปแล้ว จะต้องเว้นระยะเวลาห่างกันเท่าไหร่ เพื่อฉีดวัคซีนครั้งต่อไป ฯลฯ

“อย่างไรก็ตาม ผมอยากเสนอให้มีกองทุนร่วมกับภาคเอกชนเพื่อจัดซื้อวัคซีน หรือบริจาค เพราะเอกชนสามารถเข้าถึงผู้ผลิต หรือมีคอนเนคชั่นในต่างประเทศที่ดีกว่า รวมถึงเมื่อเกิดภาวะวิกฤต ภาครัฐสามารถใช้พระราชบัญญัติยาในภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถจัดซื้อได้ทันที” นพ.โสภณ กล่าว
ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช อุปนายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า ยาทั้งประเทศ เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ 70 % ผลิตเองในประเทศ 30 % มูลค่ารวมประมาณสองแสนกว่าล้านบาท ขณะที่องค์การเภสัชกรรมผลิตยาขายให้กับโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ประมาณ 65 % ในจำนวนนี้ 25 % ขายให้โรงพยาบาลเอกชน และ 15 % ขายให้กับร้านขายยา เมื่อเกิดภาวะวิกฤต ปัญหาคือไม่สามารถนำเข้ายาได้ ทุกประเทศมีความต้องการยา ดังนั้นจึงควรมีการจัดสรรแบ่งปันกันใหม่ ซึ่งอาจทำเป็นรูปแบบของคลังยากลางของประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยควรมีการกระจายส่วนแบ่งการผลิตและกำหนดราคายาเป็นราคาเดียวกันทั้งหมด เพราะต่อไปยาพวกนี้ก็จะเป็นยาสำรองของประเทศ จึงเห็นได้ว่า ในภาวะฉุกเฉินที่ผ่านมา ควรต้องมีการบริหารจัดการยาที่ดี เพื่อให้มียาที่จำเป็นพร้อมใช้ และสามารถกระจายให้ประชาชนใช้ได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง

https://mgronline.com/qol/detail/9650000074956

เพี้ยนปักหมุดสธ.ตราด เผยพบ นทท.เยอรมันต้องสงสัยเป็น "ฝีดาษลิง" รอผลตรวจ รพ.จุฬา 2 วัน



ว้นที่ 6 ส.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายว่า หลังจากนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ส่วนตัว เข้ามาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพตราดเมื่อเย็นวนี้ (5 ส.ค.65) หลังจากพบว่า มีอาการคล้ายติดเชื้อฝีดาษลิง ซึ่งหลังจากแพทย์และพยาบาลจะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อนักท่องเที่ยวรายนี้ได้หลบหนีออกมาจากโรงพยาบาล  ทำให้ต้องเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.เมืองตราดเข้ามาควบคุมตัวเพื่อดำเนินการตรวจหาเชื้อ  และปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์  ซึ่งสร้างความสงสัยและตื่นกลัวให้กับผู้รับสื่อระดับหนึ่ง 

ล่าสุด รายงานจากโรงพยาบาลกรุงเทพตราด แจ้งว่า  นักท่องเที่ยวรายนี้เป็นชาวเยอรมันที่เดินทางมาจากอำเภอเกาะช้างเพื่อเข้าตรวจรักษาอาการของตัวเองที่มีอาการคล้ายโรคฝีดาษลิง  แต่ผลการตรวจยังไม่ยืนยันว่านักท่องเที่ยวรายนี้ ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงประการใด เนื่องจากเป็นเพียงขั้นสงสัยตามอาการที่พบเท่านั้น  ส่วนจะเข้าข่าย ติดเชื้อฝีดาษลิงหรือไม่นั้นต้องรอผลการตรวจจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯในอีก 2-3 วัน ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันรายนี้จะถูกส่งตัวมาทำการรักษาและกักตัวที่โรงพยาบาลตราดต่อไป ตามขั้นตอน ซึ่งโรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่ติดต่อกันยาก จึงไม่น่ากังวล นอกจากผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเท่านั้น

ด้านนายแพทย์วินัย บรรจงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตราด เปิดเผยว่า นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันรายนี่ ทางโรงพยาบาลตราดจะรับตัวมาทำการรักษาและกักตัวที่ห้องกักกันโรคในเวลา 12.00  น. เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันต้องการย้ายมาทำการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่าย หากทำการรักษาหรือกักตัวที่โรงพยาบาลเอกชน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันรายนี้  ยังอยู่ในข่ายสงสัยเนื่องจากต้องรอผลการตรวจเชื้อจากโรงพยาบาลจุฬาว่ามีอาการตามที่เข้ามารักษาหรือไม่ ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวชาวเยอรมันรายนี้ไม่ยอมให้มีการเจาะเลือด หรือกระทำการใดๆ  และหลบหนีออกทำให้ทางโรงพยาบาลต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาควบคุมตาม พรบ.ควบคุมโรค  ซึ่งให้อำนาจทางเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเรื่องนี้ ทั้งนี้ โรงพยาบาลตราด มีความพร้อมในเรื่องของการดำเนินการกักตัว  และควบคุมโรคไม่ให้มีการแพร่ระบาดในวงกว้างต่อไป

ล่าสุด ผู้ว่าราชการจ.ตราดที่ได้รับการรายงานจากทางสาธารณสุขจ.ตราด ได้สั่งการให้มีการตรวจสอบการเดินทางมา การเข้าพักในโรงแรม และการสัมผัสใกล้ชิดของผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไปหากพบว่า นักท่องเที่ยวเยอรมันรายนี้ป่วยเป็นโรคฝีดาษจะสามารถควบคุมโรคได้

https://siamrath.co.th/n/371476

  ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid037MuJTZhS2L47z3AvfvtVrh75bEpB7qvv4RbbYYXrmcW8Ka1mqg1eR7x4TH8Vozdql


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 5 ส.ค. 2565)
รวม 141,814,894 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 5 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 52,095 โดส

เข็มที่ 1 : 5,444 ราย
เข็มที่ 2 : 10,303 ราย
เข็มที่ 3 : 36,348 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,157,386 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,535,476 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,122,032 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid08sVTqnS7HBqPCF4cEuN1sqzcGbf1MdmPQKo7RTG49T8kQgAYwjUCZgijLsVL9yKql


ค้นหาหน่วยบริการออกใบรับรองสุขภาพดิจิทัลบนหมอพร้อม ได้แล้ววันนี้
รองรับการออกใบรับรองสุขภาพดิจิทัล อาทิ
• ใบรับรองแพทย์สำหรับตรวจสุขภาพ
• ใบแสดงความเห็นแพทย์
• ใบรับรองแพทย์สำหรับใบอนุญาตขับรถ
• ใบรับรองแพทย์กรณีผู้ติดเชื้อโควิด 19
• ใบรับรองการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วย ATK และ RT-PCR
ค้นหาหน่วยบริการที่เข้าร่วมได้ที่ https://stationmap.moph.go.th/station/map
หน่วยบริการที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ https://mohpromt.moph.go.th/mpc/mp-pf/mophcertificate/

ที่มา : หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02tXRBKDJuAcMpnLnaC5uBKoMcdjeHwrte98gaCKNWnqTWmrnQfPXoXBXY7der96sCl


อย. แนะประชาชน รับยารักษาโควิดตามช่องทางที่ถูกกฎหมาย
เพื่อความปลอดภัยอย่าซื้อผ่านออนไลน์
พบการกระทำผิดแจ้งได้ที่สายด่วน 1556

นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากที่มีกระแสข่าวเรื่องยาเถื่อนคือยาจริง ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด เลือกซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพ และอาจได้รับอันตรายจากยาปลอม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงขอเน้นย้ำให้ประชาชนรับยาจากช่องทางที่ถูกกฎหมาย ซึ่งผ่านการนำเข้าหรือผลิตจากผู้รับอนุญาตด้านยาเท่านั้น การซื้อยาจากแหล่งที่ไม่รู้ที่มาที่ไป หรือผู้ขายที่ไม่ใช่ผู้รับอนุญาตด้านยา ผู้ป่วยอาจได้รับยาที่ผลิตจากโรงงานที่ไม่มีมาตรฐานการผลิตยาที่ดี (Good Manufacturing Practice ; GMP) รวมทั้งอาจได้รับยาปลอมหรือยาที่ไม่มีคุณภาพ นอกจากจะเสียเงินโดยใช่เหตุแล้ว อาจเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 เช่นกัน การรับยาผ่านช่องทางที่ถูกกฎหมายจะมีระบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาระหว่างผู้ได้รับอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาและแพทย์ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความรุนแรง หรือป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงให้กับผู้ป่วยที่รับยาได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน อย. ได้อนุมัติทะเบียนตำรับยากลุ่มที่ใช้รักษาโรคโควิด-19 ให้แก่ผู้รับอนุญาตจำนวนหลายราย ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นบริษัทเอกชน ได้แก่ ยาโมลนูพิราเวียร์ จำนวน 3 ทะเบียน ยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 3 ทะเบียน ยาเรมเดซิเวียร์ จำนวน 5 ทะเบียน โดยได้มีการกระจายยาไปสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน อย. จึงไม่เคยปิดกั้นหรือผูกขาดการนำเข้าแต่อย่างใด

ที่มา : FDA Thai สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02ik55eMTiHgaqJFSFEAo62uWw6bY4hvn4QAMRqKyPe92NeM3VMuPRLp747hLns6dfl


สิทธิข้าราชการติดโควิด รับบริการ Telemedicine กับ 3 แอปผ่านความร่วมมือกับ สปสช.ได้แล้ววันนี้
• แอปพลิเคชั่น Good Doctor Technology
• แอปพลิเคชั่น MorDee (หมอดี)
• แอปพลิเคชั่น คลิกนิก (Clicknic)

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0274RtgMqev3sHry2HPaxKKhQt9zs4PeQwNXdakNv8YJCeRYcJCVkqtQFzyxZUkNwVl


กทม. ให้บริการคลินิก Long COVID แบบ One Stop Service ผู้หายป่วยโควิดมีอาการผิดปกติ
ผ่านศูนย์ BFC ทั้ง 9 แห่ง หรือบริการผ่าน App “หมอ กทม.”

นายแพทย์สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เปิดเผยว่า เนื่องจากแต่ละคนตอบสนองต่อเชื้อโควิดแตกต่างกัน อีกทั้ง ปัญหาด้านการหายใจ เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่งในภาวะลองโควิด โดยอาจมีการเกิดแผลเป็น พังผืดในเนื้อปอด ได้กว่าครึ่งของกลุ่มที่มีอาการมากหรือมีโรคประจำตัวอยู่ก่อน หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่เร็ว และได้รับการรักษาที่เหมาะสม สามารถทำให้อาการดังกล่าวหายไปและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้น จึงเปิดคลินิก Long COVID ในโรงพยาบาลสังกัดทั้ง 9 แห่ง ดังนี้

• ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. ณ ARI Clinic โรงพยาบาลตากสิน
• ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
และคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลสิรินธร
• ทุกวันพุธ เวลา 09.00-12.00 น. ณ อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ชั้น 2 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
เวลา 13.00-16.00 น. ณ ARI Clinic โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
• ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ณ คลินิกประกันสุขภาพ โรงพยาบาลกลาง, คลินิกอายุรกรรม
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ และคลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
เพื่อรองรับผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่พ้นระยะเฉียบพลัน แต่ยังคงมีอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย อ่อนแรง ไอ เจ็บแน่นหน้าอก และอ่อนเพลียเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยโควิดที่ได้รับการรักษาจนไม่พบเชื้อส่วนหนึ่ง ยังคงรู้สึกว่าร่างกายยังผิดปกติโดยอาการเรื้อรังที่หลงเหลืออยู่นี้ เรียกว่า ลองโควิด ("Long COVID-19" หรือ "Post COVID-19 Syndrome") ซึ่งจะครอบคลุมการให้คําปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ อาทิ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา เป็นต้น รวมถึงการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (ในกรณีจําเป็น)
เบื้องต้นได้วางรูปแบบบริการผู้ป่วยนอก โดยนัดหมายการรับบริการผ่าน BFC ของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ Telemedicine ในแอปพลิเคชั่น “หมอ กทม.” เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิของผู้ป่วยได้

ที่มา : สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0TUhtiYiyRm321hyXVDzYNmge1HjcCW7LVyrVnhrs8VcWRtYbMbsYo9q12eT8Xvyhl


สธ. เตรียมพัฒนาระบบสาธารณสุขรองรับนักท่องเที่ยว
สร้างความเชื่อมั่นระบบสาธารณสุขไทย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายในการทำงาน คือ “ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง” โดยมุ่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในประเทศ ทั้งระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง, ส่งเสริมเศรษฐกิจสุขภาพ ด้วยการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร, การยกระดับสมุนไพรและภูมิปัญญาไทยและกัญชาทางการแพทย์, การส่งเสริมสุขภาพดีวิถีใหม่, การจัดการโรคโควิด 19 เป็นต้น ซึ่งกรมการแพทย์ ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับภารกิจหลัก คือ การพัฒนาวิชาการและบริการทางการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐาน อย่างเสมอภาค และสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ ความร่วมมือของทุกหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และความทุ่มเทของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลสุขภาพประชาชนในสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมาช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่าระบบการสาธารณสุขของไทยดีเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก และประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคระบาดอย่างเต็มที่ สร้างแรงจูงใจให้กับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจเดินทางเข้ามาเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ปัจจุบันมีประมาณ 70% ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาก่อนช่วงสถานการณ์โควิด 19 ซึ่งได้กำชับให้หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมที่จะก้าวพ้นสถานการณ์โรคระบาดต่าง ๆ ทั้งด้านบริการสาธารณสุข สร้างความเข้าใจ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวมากขึ้น เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยว การลงทุน และขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่อไป

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0BZmgdoTbmreoHY9An8pmEwCsZP4zKkuFSKwL1TkHyZH6paWhhCwuHvmN7EezQfkPl


แจ้งข่าวสำหรับ ปชช. ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ขณะนี้ ประเทศเกาหลีใต้ คอซอวอ บาห์เรน มาดากัสการ์ และเอกวาดอร์ เข้าร่วมในระบบ EU DCC แล้ว

โดย ปชช. สามารถใช้งานได้ที่เมนู Digital Health Pass บนหมอพร้อม LINE OA และ Application เพื่อแสดงสถานะเกี่ยวกับโควิด-19 ก่อนการเดินทางเข้าประเทศ/ดินแดน หรือก่อนเข้าใช้บริการ/ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศ/ดินแดน ที่เข้าร่วมกว่า 72 ประเทศ/ดินแดน
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid07WkWqfGbvX9DAvK3kPQw9bq97RNBcSqTKUv5f6vKzW8X9TxEUTZCEPTKD8kr2uJcl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่