คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การเล่น Streaming เป็นการเล่นไฟล์เสียงหรือสื่อต่างๆเช่นวิดีโอแบบดิจิตอลผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์ค ปัจจุบันนี้มีรูปแบบการเล่นที่หลากหลายมาก การเล่นไฟล์เสียงมีทั้งเล่นจากใน Local เช่น เล่นจากเครื่องคอม, Server, Storage ต่างๆ อาทิเช่น NAS หรือจากผู้ให้บริการต่างๆในอินเตอร์เน็ต หรือบนคลาวด์ ตัวอย่างเช่น Spotify, Apple music, Youtube music, Joox, Tidal, Deezer, Soundcloud เยอะแยะมากมาย
ส่วนองค์ประกอบของระบบที่สำคัญจะประกอบไปด้วย
1. Player หรือ Network Player ซึ่งมันประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ในส่วนของฮาร์ดแวร์จะต้องมีส่วนประกอบที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ช่องต่อ LAN, WiFi หรือฮาร์ดแวร์เชื่อมต่อระบบ 4G, 5G เป็นต้น มีซีพียูหรือโปรเซสเซอร์ มี RAM, ROM หรือ Storage พูดง่ายๆก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมมันกลายเป็นมือถือ หรือฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่นอุปกรณ์ IoT ไปหมดแล้ว และในส่วนที่เป็นซอฟท์แวร์ OS, Application ต่างๆ เช่น IOS, Android, Window, Spotify, Youtube music, Tidal, Deezer
2. DAC หรือตัวแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นอนาล็อค ( Digital to Analog Converter ) ซึ่งเป็นการรับเอาสัญญาณดิจิตอลจากตัว Player มาทำการแปลงเป็นสัญญาณแบบอนาล็อค เพื่อส่งไปขยายสัญญาณต่อ
3. ตัวขยายสัญญาณ หรือ Amplifier ก็คือเครื่องขยายเสียงซึ่งก็มีรูปแบบต่างๆ เช่น Integrated amplifier, Pre-amplifier, Power amplifier หรือ Headphone amplifier ถ้าต้องการฟังจากหูฟัง
4. ลำโพงหรือหูฟัง ( Speaker or Headphone )
5. อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, WiFi Access point หรือเสาสัญญาณเครือข่ายของผู้ให้บริการ 4G, 5G
ซึ่งองค์ประกอบพวกนี้อาจจะสร้างเป็นแค่อุปกรณ์ตัวเดียว เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะแยกชิ้น โดยแบ่งเป็นอุปกรณ์ต่างๆดังที่กล่าวมา หรือบางตัวอาจจะรวมองค์ประกอบย่อยบางอย่างเข้าด้วยกัน เช่น ตัวเล่นสตรีมเมอร์ที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องเสียงที่มีอยู่ได้ บางคนมี iPhone ติดตั้ง Application ฟังเพลง เช่น Spotify หรือ Apple music ต่อกับหูฟัง ก็ถือว่าเป็นการเล่นสตรีมมิ่งได้แล้ว ในส่วนของ จขกท ก็ถือว่าเป็นการเล่นแบบแยกอุปกรณ์ หรือแยกชิ้น โดยใช้ TV หรือ iPhone เป็น Player และใช้ external DAC กับ amplifier เล่นกับลำโพงภายนอก ซึ่งถ้าเป็นการเล่นจากผู้ให้บริการอื่นๆ เช่น Youtube หรือ Apple music ก็ถือว่าเป็นการเล่นแบบ Streaming ได้เช่นกัน ( แต่ถ้าเล่นเพลงที่เก็บอยู่ในมือถือ อันนี้ไม่ถือว่าเป็นการเล่นแบบ Stream ) ดังนั้นลักษณะการเล่นแบบ จขกท ถือว่าเข้ารูปแบบการเล่น Streaming
แต่ จขกท คงคิดว่ารูปแบบการเล่น Streaming ที่เล่นอยู่มันเหมือนกับนักเล่นเครื่องเสียง หรือ พวกออดิโอไฟล์เค้าเล่นกันหรือเปล่า? คำตอบคือ รูปแบบเหมือนๆกัน แต่เครื่องเล่นไม่เหมือนกัน ที่ไม่เหมือนเพราะเครื่องที่นักเล่นเครื่องเสียงใช้กัน มันเป็นเครื่องที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการเล่นในรูปแบบนี้ โดยโฟกัสไปที่คุณภาพเสียงที่เหนือกว่าเครื่องในระดับอุปกรณ์ธรรมดา ถึงแม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์ดิจิตอลเหมือนกัน คนทั่วไปคิดว่าสัญญาณดิจิตอลมันมีแค่ 1 กับ 0 มันก็ไม่น่าจะต่างกันซิ แต่ความเป็นจริงคือคุณภาพเสียงต่างกันมาก ชนิดที่ใครๆก็ฟังออก
รูปแบบของเครื่องเสียงพวกนี้มีเยอะมาก ตัวอย่างเช่น
1. ลำโพงที่ใส่ฟังก์ชั่นการ Streaming เข้ามา เช่น ลำโพง Devialet Phantom หรือ ลำโพง Bluesound Pulse เป็นต้น
2. ในกรณีที่มีลำโพงอยู่แล้ว ที่เป็นแบบ Passive แค่อยากได้ Integrated Amplifier ที่มีฟังก์ชั่น Streaming เข้ามา โดยมากเครื่องระดับนี้มักรวมการรับบลูทูธเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่น
- เครื่องญี่ปุ่น เช่น Yamaha R-N803, Marantz PM7000N
- เครื่องยุโรป เช่น Cambridge audio EVO 75, Cambridge audio EVO 150, Bluesound Powernode, NAD C368 w/BluOS module, NAD C388 w/BluOS module, NAD M10, NAD M33
3. ในกรณีที่มีชุดเครื่องเสียง เช่น ลำโพง Amplifier อยู่แล้ว แค่อยากได้ตัว Music Streamer เข้ามาเสริม ยกตัวอย่างเช่น
- เครื่องราคาประหยัด เช่น Arylic S10 Pro+
- เครื่องที่คุ้มราคาเมื่อเทียบกับคุณภาพเสียง เช่น Bluesound Node ตัวนี้รองรับ Tidal connect และ MQA ถ้าเล่นสตรีมของ Tidal จะมีบางเพลงของค่ายนี้ จะสามารถสตรีมในระดับ Hi-Res คือ 24bit และส่วนใหญ่จะเข้ารหัส MQA ซึ่งจะขยายขนาดไฟล์ขึ้นมาอีกในระดับ Hi-Res ทำให้ได้รายละเอียดที่ระยิบระยับมาก
- เครื่องราคาค่อนข้างสูง เช่น Arcam ST-60, Naim ND5 XS2, Naim ND555, Naim NDX2, NAD C658, LINN Selekt DSM, Mytek Brooklyn Bridge
- เครื่องระดับไฮเอ็นด์ เช่น เครื่องของแบรนด์ dCS เช่น Network Bridge ซึ่งเป็นแค่ตัว Player ต้องมี DAC แยกชิ้นอีก ราคาไปว่ากันที่ระดับล้าน
- ตัว Player ระดับ Reference เช่นผลิตภัณฑ์ของ Roon เจ้าที่จะขายทั้ง Software และ Hardware ตัว Software ต้องซื้อเป็น License ราคาค่อนข้างสูง และยังมี Server ที่ชื่อ Nucleus ตัว UI ของเค้าดีมาก เสียงดีมากด้วย สามารถเชื่อมต่อได้กับผลิตภัณฑ์เจ้าอื่นๆได้มากมาย เจ้าที่เข้ากันได้กับ Roon มักจะพิมพ์ติดหน้าเครื่องว่า Roon Ready
เอาจริงๆยังมีของเกาหลีอีกหลายแบรนด์ในระดับไฮเอ็นด์ บางเจ้าแยกเครื่องหลายชิ้น แยกแม้กระทั่งตัว Clock ที่ใช้จ่ายสัญญาณนาฬิกา เพื่อซิงค์เข้ากับทั้งตัว Player ตัว DAC หรือแม้กระทั่ง Switch พวกนี้เล่นกันเกินจินตนาการจริงๆ ถ้า จขกท ฟังเสียงขนาด Hi-Res 24bit จาก Tidal ก็ถือว่าน่าลงทุนกับชุดแพงๆ หรือลองเริ่มจากตัว Streamer มาต่อกับชุดเครื่องเสียงเดิมก็น่าจะดี แนะนำตัว Bluesound Node ในระดับราคาไม่แพงก่อนครับ
ส่วนองค์ประกอบของระบบที่สำคัญจะประกอบไปด้วย
1. Player หรือ Network Player ซึ่งมันประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ในส่วนของฮาร์ดแวร์จะต้องมีส่วนประกอบที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ช่องต่อ LAN, WiFi หรือฮาร์ดแวร์เชื่อมต่อระบบ 4G, 5G เป็นต้น มีซีพียูหรือโปรเซสเซอร์ มี RAM, ROM หรือ Storage พูดง่ายๆก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง แต่ในปัจจุบันเครื่องคอมมันกลายเป็นมือถือ หรือฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่นอุปกรณ์ IoT ไปหมดแล้ว และในส่วนที่เป็นซอฟท์แวร์ OS, Application ต่างๆ เช่น IOS, Android, Window, Spotify, Youtube music, Tidal, Deezer
2. DAC หรือตัวแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นอนาล็อค ( Digital to Analog Converter ) ซึ่งเป็นการรับเอาสัญญาณดิจิตอลจากตัว Player มาทำการแปลงเป็นสัญญาณแบบอนาล็อค เพื่อส่งไปขยายสัญญาณต่อ
3. ตัวขยายสัญญาณ หรือ Amplifier ก็คือเครื่องขยายเสียงซึ่งก็มีรูปแบบต่างๆ เช่น Integrated amplifier, Pre-amplifier, Power amplifier หรือ Headphone amplifier ถ้าต้องการฟังจากหูฟัง
4. ลำโพงหรือหูฟัง ( Speaker or Headphone )
5. อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, WiFi Access point หรือเสาสัญญาณเครือข่ายของผู้ให้บริการ 4G, 5G
ซึ่งองค์ประกอบพวกนี้อาจจะสร้างเป็นแค่อุปกรณ์ตัวเดียว เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะแยกชิ้น โดยแบ่งเป็นอุปกรณ์ต่างๆดังที่กล่าวมา หรือบางตัวอาจจะรวมองค์ประกอบย่อยบางอย่างเข้าด้วยกัน เช่น ตัวเล่นสตรีมเมอร์ที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องเสียงที่มีอยู่ได้ บางคนมี iPhone ติดตั้ง Application ฟังเพลง เช่น Spotify หรือ Apple music ต่อกับหูฟัง ก็ถือว่าเป็นการเล่นสตรีมมิ่งได้แล้ว ในส่วนของ จขกท ก็ถือว่าเป็นการเล่นแบบแยกอุปกรณ์ หรือแยกชิ้น โดยใช้ TV หรือ iPhone เป็น Player และใช้ external DAC กับ amplifier เล่นกับลำโพงภายนอก ซึ่งถ้าเป็นการเล่นจากผู้ให้บริการอื่นๆ เช่น Youtube หรือ Apple music ก็ถือว่าเป็นการเล่นแบบ Streaming ได้เช่นกัน ( แต่ถ้าเล่นเพลงที่เก็บอยู่ในมือถือ อันนี้ไม่ถือว่าเป็นการเล่นแบบ Stream ) ดังนั้นลักษณะการเล่นแบบ จขกท ถือว่าเข้ารูปแบบการเล่น Streaming
แต่ จขกท คงคิดว่ารูปแบบการเล่น Streaming ที่เล่นอยู่มันเหมือนกับนักเล่นเครื่องเสียง หรือ พวกออดิโอไฟล์เค้าเล่นกันหรือเปล่า? คำตอบคือ รูปแบบเหมือนๆกัน แต่เครื่องเล่นไม่เหมือนกัน ที่ไม่เหมือนเพราะเครื่องที่นักเล่นเครื่องเสียงใช้กัน มันเป็นเครื่องที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการเล่นในรูปแบบนี้ โดยโฟกัสไปที่คุณภาพเสียงที่เหนือกว่าเครื่องในระดับอุปกรณ์ธรรมดา ถึงแม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์ดิจิตอลเหมือนกัน คนทั่วไปคิดว่าสัญญาณดิจิตอลมันมีแค่ 1 กับ 0 มันก็ไม่น่าจะต่างกันซิ แต่ความเป็นจริงคือคุณภาพเสียงต่างกันมาก ชนิดที่ใครๆก็ฟังออก
รูปแบบของเครื่องเสียงพวกนี้มีเยอะมาก ตัวอย่างเช่น
1. ลำโพงที่ใส่ฟังก์ชั่นการ Streaming เข้ามา เช่น ลำโพง Devialet Phantom หรือ ลำโพง Bluesound Pulse เป็นต้น
2. ในกรณีที่มีลำโพงอยู่แล้ว ที่เป็นแบบ Passive แค่อยากได้ Integrated Amplifier ที่มีฟังก์ชั่น Streaming เข้ามา โดยมากเครื่องระดับนี้มักรวมการรับบลูทูธเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่น
- เครื่องญี่ปุ่น เช่น Yamaha R-N803, Marantz PM7000N
- เครื่องยุโรป เช่น Cambridge audio EVO 75, Cambridge audio EVO 150, Bluesound Powernode, NAD C368 w/BluOS module, NAD C388 w/BluOS module, NAD M10, NAD M33
3. ในกรณีที่มีชุดเครื่องเสียง เช่น ลำโพง Amplifier อยู่แล้ว แค่อยากได้ตัว Music Streamer เข้ามาเสริม ยกตัวอย่างเช่น
- เครื่องราคาประหยัด เช่น Arylic S10 Pro+
- เครื่องที่คุ้มราคาเมื่อเทียบกับคุณภาพเสียง เช่น Bluesound Node ตัวนี้รองรับ Tidal connect และ MQA ถ้าเล่นสตรีมของ Tidal จะมีบางเพลงของค่ายนี้ จะสามารถสตรีมในระดับ Hi-Res คือ 24bit และส่วนใหญ่จะเข้ารหัส MQA ซึ่งจะขยายขนาดไฟล์ขึ้นมาอีกในระดับ Hi-Res ทำให้ได้รายละเอียดที่ระยิบระยับมาก
- เครื่องราคาค่อนข้างสูง เช่น Arcam ST-60, Naim ND5 XS2, Naim ND555, Naim NDX2, NAD C658, LINN Selekt DSM, Mytek Brooklyn Bridge
- เครื่องระดับไฮเอ็นด์ เช่น เครื่องของแบรนด์ dCS เช่น Network Bridge ซึ่งเป็นแค่ตัว Player ต้องมี DAC แยกชิ้นอีก ราคาไปว่ากันที่ระดับล้าน
- ตัว Player ระดับ Reference เช่นผลิตภัณฑ์ของ Roon เจ้าที่จะขายทั้ง Software และ Hardware ตัว Software ต้องซื้อเป็น License ราคาค่อนข้างสูง และยังมี Server ที่ชื่อ Nucleus ตัว UI ของเค้าดีมาก เสียงดีมากด้วย สามารถเชื่อมต่อได้กับผลิตภัณฑ์เจ้าอื่นๆได้มากมาย เจ้าที่เข้ากันได้กับ Roon มักจะพิมพ์ติดหน้าเครื่องว่า Roon Ready
เอาจริงๆยังมีของเกาหลีอีกหลายแบรนด์ในระดับไฮเอ็นด์ บางเจ้าแยกเครื่องหลายชิ้น แยกแม้กระทั่งตัว Clock ที่ใช้จ่ายสัญญาณนาฬิกา เพื่อซิงค์เข้ากับทั้งตัว Player ตัว DAC หรือแม้กระทั่ง Switch พวกนี้เล่นกันเกินจินตนาการจริงๆ ถ้า จขกท ฟังเสียงขนาด Hi-Res 24bit จาก Tidal ก็ถือว่าน่าลงทุนกับชุดแพงๆ หรือลองเริ่มจากตัว Streamer มาต่อกับชุดเครื่องเสียงเดิมก็น่าจะดี แนะนำตัว Bluesound Node ในระดับราคาไม่แพงก่อนครับ
แสดงความคิดเห็น
Audio Streaming ครับ
1. ผมใช้ทีวี TCL ที่เป็นระบบ android เวลาฟังเพลงก็เปิดแอพ youtube ในทีวี แล้วต่อสาย optical จากทีวีไปที่แอมป์ (มี dac ในตัว)
2. หรือใช้มือถือ iphone ต่อกับ docking station แล้วต่อสาย coaxial ไปที่แอมป์ (มี dac ในตัว)
ถ้าไม่ใช่การสตรีมแล้วต้องเป็นแบบไหนครับ ช่วยยกตัวอย่างให้หน่อยครับ อ้อ แล้วระบบที่ผมใช้อยู่มันต่างจากเครื่อง Streamer ยังไงครับ