'อัยการธนกฤต' ยกเคส 'เพกาซัส' เปิด กม. 8 ฉบับ ให้อำนาจ จนท.รัฐสอดแนม ชี้ 6 ฉบับ ต้องขอศาลก่อน
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3472941
‘อัยการธนกฤต’ ยกเคสสปายแวร์เพกาซัส เปิด กม. 8 ฉบับ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐสอดแนมข้อมูลมือถือ ชี้ 6 ฉบับ ต้องขอศาลก่อน ยกเว้น พ.ร.บ.ข่าวกรอง กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ล้วงได้โดยไม่ต้องขอศาล
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ดร.
ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ให้ความเห็นข้อกฎหมายผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่องกฎหมายให้อำนาจสอดแนมข้อมูลสมาร์ทโฟน ความว่า
ตามที่มีข่าวปรากฏตามสื่อมวลชนว่า มีการใช้ สปายแวร์ “เพกาซัส” ในการสอดแนมข้อมูลของบุคคลบางกลุ่มบางคน เช่น นักกิจกรรมทางการเมือง โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐได้ออกมาชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงนั้น
ในแง่ของกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้สปายแวร์เพกาซัส หรือเครื่องมืออื่นใดในการสอดแนมข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนของบุคคลใดจำเป็นจะต้องอาศัยกฎหมายเป็นฐานอำนาจในการดำเนินการด้วย
สำหรับกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนในปัจจุบันนี้มีจำนวนหลายฉบับ จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนคนไทยควรต้องทราบว่ามีกฎหมายใดบ้างที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งได้แก่กฎหมาย 8 ฉบับ ดังต่อไปนี้
1.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 มาตรา 17 พนักงานสอบสวนซึ่งได้รับอนุมัติจากอัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
2.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 30 พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลอาญาหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
3.พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 25 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหนังสือ มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
4.พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 11/5 เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นหนังสือ มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
5.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 46 พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมอบหมายเป็นหนังสือ มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลแพ่งเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
6.พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 18 และมาตรา 19 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
7.พระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 6 สำนักข่าวกรองแห่งชาติมีอำนาจใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องโทรคมนาคม หรือเทคโนโลยีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ โดยเป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติกำหนดโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองและตรวจสอบการใช้อำนาจจากศาล
8.พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11(5) เมื่อนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงแล้ว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองและตรวจสอบจากศาล
อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนทั้ง 8 ฉบับดังกล่าวข้างต้นนี้ กฎหมาย จำนวน 6 ฉบับ กำหนดให้ต้องมีคำสั่งอนุญาตจากศาลก่อน คงมีแต่กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติ และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งอนุญาตจากศาล
https://www.facebook.com/thanakrit.vorathanatchakul/posts/pfbid0YCNy4fraVKdm5kBpnpjnezQds2fqYhRFew3SaWKZ4HPBC8umd25pwZCo11c2gt26l
'จิราพร' หวั่นครม.ดันไทยเข้า CPTPP ทั้งที่ไม่มีความพร้อม ได้ไม่คุ้มเสีย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7181732
‘จิราพร’ หวั่นครม.ดันไทยเข้า CPTPP ทั้งที่ไม่มีความพร้อม ได้ไม่คุ้มเสียและเกิดปัญหายากเกินแก้ไขในอนาคต จะทำให้ไทยเสียเปรียบ
เมื่อวันที่ 26 ก.ค.65 น.ส.
จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณีมีกระแสข่าวคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เตรียมชงให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ว่า นับแต่วันที่กนศ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ให้คำมั่นสัญญากับภาคประชาสังคมว่า จะทำการศึกษาที่ชัดเจนครอบคลุมถึงมาตรการรองรับผลกระทบอย่างรอบคอบ และหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันก่อนตัดสินใจ จนวันนี้ผ่านมาเกือบ 1 ปี ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นรูปธรรม แต่กลับมีกระแสข่าวว่าเตรียมจะให้ไทยเข้าร่วม CPTPP ทั้งที่ยังขาดความพร้อมในหลายเรื่อง
น.ส.
จิราพร กล่าวต่อว่า หากจะอ้างว่าเตรียมดันให้ไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP เพื่อขยายการค้าการลงทุน อาจเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะข้อเท็จจริงคือ ไทยมีความตกลงเสรีทางการค้า (FTA) กับสมาชิก CPTPP แล้วเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงเม็กซิโก ส่วนแคนาดากำลังจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา ดังนั้น ด้วยเหตุผลนี้การเข้าร่วมความตกลง CPTPP จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการขยายการค้าการลงทุนของไทยอย่างมีนัยะสำคัญแต่อย่างใด มีข้อสังเกตว่าหากไทยต้องการขยายการค้าการลงทุนกับประเทศใหม่ๆจริง ควรเร่งการเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ไทยได้ตลาดเพิ่มอีก 27 ประเทศ และ FTA กับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ซึ่งจะทำให้ไทยได้ตลาดใหม่เพิ่มขึ้นมา 5 ประเทศ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยมีแผนจะทำ FTA ด้วยแต่กลับล่าช้าเป็นอย่างมาก
“รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์มีภาพลักษณ์ที่ลุแก่อำนาจ และไม่โปร่งใสในการดำเนินการมาตลอด จึงไม่แปลกใจหากจะลักไก่ดันไทยเข้าร่วม CPTPP โดยอาศัยช่วงหลังวันหยุดยาว เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากประชาชน แต่การทำเช่นนี้ไม่ส่งผลดีใดๆ ต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน หากไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP โดยไร้การเตรียมความพร้อมที่เป็นรูปธรรมและศึกษาเชิงลึกอย่างรอบด้าน ขาดการหารือทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนทั้งหมดอย่างโปร่งใส จะทำให้ไทยเสียเปรียบ ได้ไม่คุ้มเสีย และเกิดปัญหายากเกินแก้ไขในอนาคต” น.ส.
จิราพร กล่าว
ส.อ.ท.ประกาศลดเป้าผลิตรถ โยนผ้าขาวปี 65 เหลือ 1.7 ล้านคัน
https://www.thairath.co.th/business/economics/2455173
นาย
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้ติดตามปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) และชิ้นส่วนรถยนต์ หลังส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทย ทำให้เป้าหมายการผลิตรถยนต์ปีนี้ลดลงจากที่ตั้งไว้ 1,800,000 คัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 800,000 คัน และส่งออก 1,000,000 คัน ซึ่งขณะนี้ กำลังพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อนประกาศตัวเลข ในเดือน ส.ค.นี้ คาดว่าตัวเลขการผลิตปีนี้อาจลดมาอยู่ที่ 1,700,000 คัน
“หลังจากที่กลุ่มยานยนต์ได้รับทราบตัวเลขการผลิตและการส่งออก 6 เดือนที่ผ่านมา ก็พอเห็นสัญญาณทำให้จะต้องไปดูรายละเอียดต่างๆ เพื่อทบทวนเป้าหมายการผลิตปีนี้ โดยเป้าหมายที่ลดลงมาจากการส่งออกที่คงไม่ถึง 1 ล้านคัน แต่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศอาจเกินเป้าหมายที่ 800,000 คัน หรืออาจเป็น 850,000 คัน แต่ก็ยังกังวลภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ขอดูให้ละเอียดอีกครั้ง ซึ่งเป้าหมายที่วางไว้ 1,800,000 คัน ก่อนหน้านี้ยังไม่มีปัจจัยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบต่อการขาดแคลนชิป เพราะยูเครนเป็นผู้ส่งออกก๊าซนีออน (Neon) บริสุทธิ์เกือบ 70% ให้กับทั่วโลก เพื่อแกะแบบแผงวงจรให้เป็นแผ่นซิลิกอนเวเฟอร์ เพื่อใช้ผลิตชิป และจีนล็อกดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ ทำให้การผลิตชิปหยุดลงอีกรอบหนึ่ง”.
JJNY : 'อัยการธนกฤต'ยกเคส'เพกาซัส'│'จิราพร'หวั่นดันไทยเข้าCPTPP │ส.อ.ท.ลดเป้าผลิตรถ│ปธ.อาเซียนแถลง ‘สลดใจ-ตำหนิเมียนมา’
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3472941
‘อัยการธนกฤต’ ยกเคสสปายแวร์เพกาซัส เปิด กม. 8 ฉบับ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐสอดแนมข้อมูลมือถือ ชี้ 6 ฉบับ ต้องขอศาลก่อน ยกเว้น พ.ร.บ.ข่าวกรอง กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ล้วงได้โดยไม่ต้องขอศาล
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ให้ความเห็นข้อกฎหมายผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่องกฎหมายให้อำนาจสอดแนมข้อมูลสมาร์ทโฟน ความว่า
ตามที่มีข่าวปรากฏตามสื่อมวลชนว่า มีการใช้ สปายแวร์ “เพกาซัส” ในการสอดแนมข้อมูลของบุคคลบางกลุ่มบางคน เช่น นักกิจกรรมทางการเมือง โดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐได้ออกมาชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงนั้น
ในแง่ของกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้สปายแวร์เพกาซัส หรือเครื่องมืออื่นใดในการสอดแนมข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนของบุคคลใดจำเป็นจะต้องอาศัยกฎหมายเป็นฐานอำนาจในการดำเนินการด้วย
สำหรับกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนในปัจจุบันนี้มีจำนวนหลายฉบับ จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนคนไทยควรต้องทราบว่ามีกฎหมายใดบ้างที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งได้แก่กฎหมาย 8 ฉบับ ดังต่อไปนี้
1.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 มาตรา 17 พนักงานสอบสวนซึ่งได้รับอนุมัติจากอัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
2.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 30 พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลอาญาหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
3.พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 25 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหนังสือ มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
4.พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 11/5 เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นหนังสือ มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลอาญาเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
5.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 46 พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมอบหมายเป็นหนังสือ มีอำนาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลแพ่งเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
6.พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 18 และมาตรา 19 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตได้
7.พระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 6 สำนักข่าวกรองแห่งชาติมีอำนาจใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องโทรคมนาคม หรือเทคโนโลยีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ โดยเป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติกำหนดโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองและตรวจสอบการใช้อำนาจจากศาล
8.พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 11(5) เมื่อนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงแล้ว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองและตรวจสอบจากศาล
อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนทั้ง 8 ฉบับดังกล่าวข้างต้นนี้ กฎหมาย จำนวน 6 ฉบับ กำหนดให้ต้องมีคำสั่งอนุญาตจากศาลก่อน คงมีแต่กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติ และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งอนุญาตจากศาล
https://www.facebook.com/thanakrit.vorathanatchakul/posts/pfbid0YCNy4fraVKdm5kBpnpjnezQds2fqYhRFew3SaWKZ4HPBC8umd25pwZCo11c2gt26l
'จิราพร' หวั่นครม.ดันไทยเข้า CPTPP ทั้งที่ไม่มีความพร้อม ได้ไม่คุ้มเสีย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7181732
‘จิราพร’ หวั่นครม.ดันไทยเข้า CPTPP ทั้งที่ไม่มีความพร้อม ได้ไม่คุ้มเสียและเกิดปัญหายากเกินแก้ไขในอนาคต จะทำให้ไทยเสียเปรียบ
เมื่อวันที่ 26 ก.ค.65 น.ส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด และกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณีมีกระแสข่าวคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เตรียมชงให้คณะรัฐมนตรี เห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ว่า นับแต่วันที่กนศ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ให้คำมั่นสัญญากับภาคประชาสังคมว่า จะทำการศึกษาที่ชัดเจนครอบคลุมถึงมาตรการรองรับผลกระทบอย่างรอบคอบ และหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันก่อนตัดสินใจ จนวันนี้ผ่านมาเกือบ 1 ปี ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นรูปธรรม แต่กลับมีกระแสข่าวว่าเตรียมจะให้ไทยเข้าร่วม CPTPP ทั้งที่ยังขาดความพร้อมในหลายเรื่อง
น.ส.จิราพร กล่าวต่อว่า หากจะอ้างว่าเตรียมดันให้ไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP เพื่อขยายการค้าการลงทุน อาจเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะข้อเท็จจริงคือ ไทยมีความตกลงเสรีทางการค้า (FTA) กับสมาชิก CPTPP แล้วเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงเม็กซิโก ส่วนแคนาดากำลังจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา ดังนั้น ด้วยเหตุผลนี้การเข้าร่วมความตกลง CPTPP จึงไม่เกิดประโยชน์ต่อการขยายการค้าการลงทุนของไทยอย่างมีนัยะสำคัญแต่อย่างใด มีข้อสังเกตว่าหากไทยต้องการขยายการค้าการลงทุนกับประเทศใหม่ๆจริง ควรเร่งการเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ไทยได้ตลาดเพิ่มอีก 27 ประเทศ และ FTA กับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ซึ่งจะทำให้ไทยได้ตลาดใหม่เพิ่มขึ้นมา 5 ประเทศ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยมีแผนจะทำ FTA ด้วยแต่กลับล่าช้าเป็นอย่างมาก
“รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์มีภาพลักษณ์ที่ลุแก่อำนาจ และไม่โปร่งใสในการดำเนินการมาตลอด จึงไม่แปลกใจหากจะลักไก่ดันไทยเข้าร่วม CPTPP โดยอาศัยช่วงหลังวันหยุดยาว เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากประชาชน แต่การทำเช่นนี้ไม่ส่งผลดีใดๆ ต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน หากไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP โดยไร้การเตรียมความพร้อมที่เป็นรูปธรรมและศึกษาเชิงลึกอย่างรอบด้าน ขาดการหารือทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนทั้งหมดอย่างโปร่งใส จะทำให้ไทยเสียเปรียบ ได้ไม่คุ้มเสีย และเกิดปัญหายากเกินแก้ไขในอนาคต” น.ส.จิราพร กล่าว
ส.อ.ท.ประกาศลดเป้าผลิตรถ โยนผ้าขาวปี 65 เหลือ 1.7 ล้านคัน
https://www.thairath.co.th/business/economics/2455173
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้ติดตามปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) และชิ้นส่วนรถยนต์ หลังส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทย ทำให้เป้าหมายการผลิตรถยนต์ปีนี้ลดลงจากที่ตั้งไว้ 1,800,000 คัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 800,000 คัน และส่งออก 1,000,000 คัน ซึ่งขณะนี้ กำลังพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อนประกาศตัวเลข ในเดือน ส.ค.นี้ คาดว่าตัวเลขการผลิตปีนี้อาจลดมาอยู่ที่ 1,700,000 คัน
“หลังจากที่กลุ่มยานยนต์ได้รับทราบตัวเลขการผลิตและการส่งออก 6 เดือนที่ผ่านมา ก็พอเห็นสัญญาณทำให้จะต้องไปดูรายละเอียดต่างๆ เพื่อทบทวนเป้าหมายการผลิตปีนี้ โดยเป้าหมายที่ลดลงมาจากการส่งออกที่คงไม่ถึง 1 ล้านคัน แต่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศอาจเกินเป้าหมายที่ 800,000 คัน หรืออาจเป็น 850,000 คัน แต่ก็ยังกังวลภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ขอดูให้ละเอียดอีกครั้ง ซึ่งเป้าหมายที่วางไว้ 1,800,000 คัน ก่อนหน้านี้ยังไม่มีปัจจัยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบต่อการขาดแคลนชิป เพราะยูเครนเป็นผู้ส่งออกก๊าซนีออน (Neon) บริสุทธิ์เกือบ 70% ให้กับทั่วโลก เพื่อแกะแบบแผงวงจรให้เป็นแผ่นซิลิกอนเวเฟอร์ เพื่อใช้ผลิตชิป และจีนล็อกดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ ทำให้การผลิตชิปหยุดลงอีกรอบหนึ่ง”.