การ “ล้มละลาย” ของศรีลังกา เมียนมาร์ และลาว ที่อาจจะกำลังเกิดขึ้นนั้น เราควรมาทำความเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร

"ทำไมประเทศถึงล้มละลาย" โลกในมุมมองของ Value Investor บทความโดย : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนเน้นคุณค่า
........................................................................................................................................................................................
กวางขอตัดทอน เอามาเฉพาะใจความสำคัญนะคะ
.
.
.
ถ้าจะพูดแบบชาวบ้านก็คือ  เราใช้เงินเกินตัวมาก  อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2535 ถึงปี 2539 นั้น  เราสามารถอยู่ได้เพราะมีเงินทุนสุทธิที่เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นทุกปีเฉลี่ยปีละประมาณ 15.4 พันล้านดอลลาร์  ซึ่งทำให้ดุลชำระเงินเป็นบวกทุกปี เฉลี่ยปีละ 4.1 พันล้านเหรียญ  ซึ่งส่งผลให้เงินทุนสำรองของประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดในปี 2539 ที่ประมาณ 38.7 พันล้านเหรียญคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าถึง 7.3 เดือน  เรารู้สึกว่าประเทศไม่น่าจะล้มละลายได้ง่าย ว่าที่จริงในช่วงนั้นเราเป็น “ดารา” ของโลก  เป็น “เสือตัวที่ 5 ของเอเซีย”  
.
.
.
แต่สิ่งที่เราอาจจะลืมไปก็คือ  เงินที่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทยในช่วงนั้น  จำนวนมโหฬารเป็น “เงินกู้” สกุลดอลลาร์ที่เรียกว่า “BIBF” ที่มีดอกเบี้ยต่ำมากและเป็นเงินกู้ระยะสั้นที่เจ้าหนี้สามารถเรียกคืนได้ภายใน 1 ปี  ก็อย่างที่เรารู้หลังจากเหตุเกิดแล้วนั่นก็คือ  พอถึงปี 2540 ประเทศไทยก็แทบจะ “ล้มละลาย” เงินสำรอง 38.7 พันล้านดอลลาร์ที่มีอยู่นั้น  ถูกดึงออกไปโดยเฉพาะเพื่อใช้หนี้จำนวนกว่า 100 พันล้านเหรียญที่เจ้าหนี้เรียกร้องคืนและน่าจะรวมถึงนักลงทุนชาวต่างประเทศในตลาดหุ้นที่รีบขายหุ้นนำเงินออกไปก่อนที่เงินบาทที่ขายหุ้นได้จะมีค่าน้อยลงมาก  เงินสำรองช่วงก่อนที่จะ “ล้มละลาย” ถ้าผมจำไม่ผิดเหลือเพียงประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์  และถ้าไม่ใช่เพราะความช่วยเหลือจาก IMF เราก็คงล้มละลายไปแล้ว
.
.
.
สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับไทยก็คือ ดุลบัญชีทุนที่ติดลบมานาน อานิสงค์จากการที่เศรษฐกิจไทยโตช้าและความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงมากตั้งแต่ 10 ปีมาแล้ว ... เงินทุนชาวต่างชาติย้ายหรือถอนออกสุทธิจากประเทศไทยทุกปี เฉลี่ยปีละ 12.8 พันล้านเหรียญหรือปีละ 4-5 แสนล้านบาท ซึ่งนี่ก็รวมถึงเงินที่ต่างชาติขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยและทุนที่คนไทยนำออกไปลงทุนในต่างประเทศจำนวนมากด้วย  
.
.
.
นอกจากนั้น  ในช่วงเร็ว ๆ  นี้  ก็ยังมีประเด็นสำคัญในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยของไทยต่ำกว่าของอเมริกามาก  ***** ซึ่งถ้าไม่แก้ไข  เราก็อาจจะประสบกับการถอนเงินลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นเงินกู้เพิ่มขึ้น  และนั่นก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางการเงินได้  ผมก็ได้แต่หวังว่าผู้รับผิดชอบการดูแลเศรษฐกิจและการเงินของประเทศจะไม่ทำผิดอย่างที่เกิดขึ้นในปี 2540 อีก
.................................................................................................................................................................................................................
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ยากมากที่ไทยจะล้มละลาย
บาทไทยปลอดภัยสูงมาก
เรามีหนี้สกุลตปท.น้อยมาก

ถ้าเราล้มจริง เราจะเป็นประเทศท้ายๆ
สาเหตุก็มาจากต้องขึ้นดอกตามพี่กันเนี่ยแหละ มันจะไปกระทบหนี้ครัวเรือนที่มีความเปราะบางสูง
ทางที่ดีขึ้นให้ช้าที่สุด หน่วงๆเอาไว้
พอเงินไหลออกจากดอลล่าร์ไปหาสินทรัพย์เสี่ยง
เดี๋ยวบาทก็แข็งเอง จากอิทธิพลของดอลล่าร์อ่อน

อย่าไปกลัวว่า บาทจะพังเหมือนลาว เหมือนเมียนมา
เวียดนามยังมีโอกาสพังมากกว่าเราอีกฮะ
เพราะมีหนี้สกุลตปท.สูงกว่าเรา

หลังจากนี้ เราก็น่าจะขาดดุลน้อยลงเรื่อยๆถ้ากทท.เร่ิมฟื้นตัว
https://www.bangkokbiznews.com/business/966289

ต้องขอบคุณตยก.ที่ทำให้เราเจ็บแล้วจำ
เมื่องั้นถ้าหนี้ตปท.มากๆ เจอโควิด รายได้ท่องเที่ยวหาย แถมหนี้ครัวเรือนบาน โตต่ำ
ป่านี้พี่ไทยคงนอน icu ตามเมียนมา ลาวไปติดๆละฮะ
ความคิดเห็นที่ 6
บริบทของไทยกับศรีลังกาต่างกันมากครับ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ ให้ดูสมการเศรษฐศาสตร์มหภาคจะเข้าใจมากขึ้น

Y (GDP) = G + I + C + (X-M)

เหมือนตอบคำถามวิชาเศรษฐศาสตร์แบบเด็กวิศวะนิดนึงนะครับ เริ่มต้นจาก G คือ การลงทุนจากภาครัฐ จะเห็นได้เลยว่า ศรีลังกา พม่า และลาว จะเน้นการสร้าง GDP จากการลงทุนในโครงการ Infrastructure เพื่อขับเคลื่อนประเทศมากมาย เพื่อให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งรัฐก็หาเงินมาจากการกู้นี่ล่ะ คือ ที่มาของความล่มสลายที่เกิดขึ้น

ส่วน I คือ การลงทุนของภคเอกชน เช่นเดียวกัน ไปดูศรีลังกา พม่า และลาว แทบไม่มีการลงทุนจากบริษัทเอกชนอะไรมากมายเลย บริษัทระดับใหญ่ๆน้อยมาก กลับมามองที่ไทย บริษัทเอกชนใหญ่เยอะมาก เช่น PTT SCG SCB KBANK CPF CPN Thaibev ..... จึงไม่แปลกหรอกที่ตรงส่วนนี้ภาคเอกชนไทยแข่งแกร่งมาก ถึงแม้ว่าภาครัฐจะกากก็ตาม ก็อยู่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้

ส่วน C คือ การบริโภคภายในประเทศ อันนี้ผมชอบมาก เห็นมีคนเปรียบเทียบว่า ทำไมบังคลาเทศที่ดูยากจน แต่ทำไมไม่สะเทือน คำตอบ คือประเทศนี้ประชากรเยอะมาก เน้นภาคเกษตรและบริโภคภายในประเทศสูงมาก มันก็ขับเคลื่อนไปได้เองแบบงงๆ แต่ก็คงไม่ได้แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่มากนัก ท่องเที่ยวก็ไม่ได้พึ่งพิงอยู่แล้ว เจอโควิดก็ไม่กระทบ

และ X-M คือ ส่งออกหักด้วยนำเข้า อันนี้ไทยเคยเจ็บมาล่ะ พึ่งพิงการส่งออกมากเกินไป ดีที่ปรับสัดส่วนมาได้เยอะแล้ว ตรงส่วนนี้ผมว่าศรีลังกา พม่า และลาว ไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไร

ลองอ่านทำความเข้าใจกันดูครับ อย่าไปฟังนักการเมืองพูดกันเยอะ แต่งเติมข้อมูลกันมั่วครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่