ทำไมสายการบินเลื่อน flight เราได้โดยไม่ต้องชดเชยให้เรา แต่พอเราเลื่อน flight เองกลับต้องเสียตังค์ให้สายการบิน ???

กระทู้คำถาม
องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทำอะไรอยู่ ? 
คนอื่นๆเห็นว่าไงครับ เหมือนผู้บริโภคเสียเปรียบเลยนะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 18
เราเข้าใจประเด็นของจขกท. นะ

คือตอนนี้เราโดนเลื่อนไฟลท์ 2 รอบทั้งขาไปขากลับ
รอบแรกพนักงานสไตรท์ รอบสองไม่รู้ ช่างมัน
รู้แต่เสียค่าโรงแรมฟรี เที่ยวละ 2 คืน ทั้งสองรอบเลย

เราว่าใคร ๆ ก็รู้ รวมถึงจขกท. ว่าสายการบิน
เค้าก็ชดเชยเที่ยวบินต่อไปให้ แต่เราไม่ได้อะไรไง
เผลอ ๆ มีเสีย (ค่าที่พัก ค่าเสียหายอื่นๆ)
แต่ทีเวลาเราจะเลื่อน (เลื่อนนะ ไม่ใช่ยกเลิก)
ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม

ส่วนประเด็นที่ว่าก็กฎมันเป็นแบบนี้ไง
คุณไปยอมรับเอง อันนี้จขกท. เค้าก็รู้ ไมต้องมีใครมาบอก
เค้าถึงได้มาคุยในนี้ไง ว่าทำไมรัฐถึงปล่อยให้สายการบิน
ออกกฎเข้าข้างตัวเอง ทำไมไม่คุ้มครองคนซื้อให้แฟร์ ๆ
ทั้งคู่

เพราะการที่คนยอมรับตอนจอง  ไม่ใช่เพราะโอเค
แต่เพราะไม่มีทางเลือก
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 33
คนในพันทิป(บางคน)
เป็นขี้ข้านายทุนจนชิน
และคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันถูกและดีอยู่แล้วทั้งที่จริงๆแล้วคนหมู่มากโดนเอาเปรียบ
ความคิดเห็นที่ 26
เราว่า สายการบินเค้าออกกฏมาแฟร์มากแล้วนะ  อย่าลืมว่าสายการบินมันเป็นบริษัทที่เข้ามาบริการเพื่อทำกำไร  เรื่องราคาถูกหรือแพงกับการบริการ มันเลยมีความเกี่ยวข้องด้วย ตรงนี้ชัดเจนอยู่นะ

อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนเลยว่า การบินทุกครั้ง สายการบินทุกสายจะพยายามบินให้ได้ตรงเวลาที่สุด เพราะมันคือ cost ที่เค้าทำกำไรได้สูงสุดแล้ว  กรณีถ้าเลื่อนเนี้ย สายการบินเค้าเสียหายนะ   มีค่า cost แฝงต่างๆมากมาย ที่รู้อย่างนึงคือ ยิ่ง delay สายการบินก็ยิ่งต้องจ่ายค่าจอง  gate แพงขึ้น ยิ่งมีการยกเลิก สายการบินต้องรับ cost การโยกผู้โดยสารไปยังสายการบินอื่น หรือเที่ยวบินอื่นๆ (ซึ่งไม่ใช่ราคาที่เราซื้อตอนแรกแน่ๆ)  + ยังมี cost แฝงอื่นๆอีก ต้องบอกว่าไม่มีสายการบินไหนอยากยกเลิกหรือ deplay หรอกค่ะ  มันมีผลกระทบกับธุรกิจเค้าทั้งนั้น

แต่การ delay หรือยกเลิก บางทีมันเป็นเรื่องสุดวิสัยไง หลักๆก็เรื่องความปลอดภัย พายุเข้า ฟ้าปิด บางทีสายการบินก่อนหน้าดันทำไม่ตรงเวลา มันก็ทำให้สายการบินอื่นเลื่อนๆๆไปอีก  ก็ delay กันเป็นทอดๆ   ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของสายการบินหลังๆเลยอันนี้ก็ต้องยกเว้นให้เค้านะ

เพราะงั้น ถามว่าแล้วเค้าจะจัดการยังไงให้บินได้ด้วย และยังทำกำไรได้ด้วย มันก็เลยออกมาในรูปแบบราคาตั๋ว ที่แตกต่างกันนี่ไง ยิ่งราคาถูก ก็แปลว่า ลูกค้าจะได้บริการพื้นฐานแน่ๆ คือ "ได้บินไปถึงปลายทางอย่างปลอดภัย" (บริการหลักๆเค้ามีแค่นี้) แต่ไม่ได้การันตีว่า จะบินได้ตรงเวลา เพราะสาเหตุด้านบนเค้าควบคุมไม่ได้  เพราะงั้น ตั๋วราคาถูก มันก็เหมาะกับคนที่ บินวันนั้นได้ก็ดี แต่ถ้าบินวันอื่น เขาก็มีผลกระทบไม่มากนัก เช่น อาจจะพักที่พักบ้านญาติ หรือที่พักที่สามารถเลื่อนได้  หรือพวกที่แม้แต่ยังไม่ได้จองที่พัก ก็ได้ ราคานี้ก็จะเหมาะกับคนกลุ่มนี้

ในขณะที่ลูกค้าอีกกลุ่ม อาจจะรับความเสี่ยงตรงนี้ไม่ได้  ทางสายการบิน ก็เลยมีราคาที่ 2 ออกมา คือ เป็นราคา "ประกัน" คือเกิดเหตุอะไรขึ้นมา สายการบินก็ยอมรับความเสียหายและยินดีจะชดเชยให้กับลูกค้าเพิ่มเติมให้  ตามเงื่อนไขของราคาส่วนต่างนี่  

และมันก็มีราคาที่ 3 4 5  สุดแล้วแต่ สายการบินจะออกราคามา เพื่อตอบโจทย์ผู้ซื้อที่หลากหลายไง    

และถ้าคุณเป็นห่วงเรื่องผลกระทบกรณีเลื่อนสายการเบิน คุณต้องเลือกซื้อให้ถูกราคา ถูกเงื่อนไข ไม่ใช่ซื้อราคาถูกสุด แล้วจะเอาบริการที่คุ้มครองเพิ่มขึ้น เราว่ามันก็ไม่ใช่ไง อ้างแบบนี้มันเข้าข้างตัวเองอ่ะ  เราต้องลองสวมหมวกของผู้ให้บริการด้วย  ถ้าเค้าทำราคาถูกสุดแล้วคุ้มครองทุกเหตุสุดวิสัย เค้าต้องจ่ายค่า cost มหาศาลเลยนะ  สุดท้ายเค้าก็จะเจ๊ง แล้วก็บินไม่ได้  แล้วเค้าจะมาให้บริการทำไมใช่ป่ะ มันเลยเป็นเรื่องของการบริหารให้ลงตัวระหว่างสองฝั่งมากกว่า

มันก็เลยเป็นข้อสรุปว่า สายการบินทำถูกแล้วที่มีราคาถูกสุด ราคาแพงขึ้นมา และแพงขึ้นเรื่อยๆ  เพื่อตอบสนองความหลากหลายของผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็ต้องเลือกซื้อของให้ถูกตามความต้องการของตัวเองด้วยค่ะ  เราจึงว่ามันแฟร์กันทั้งสองฝ่ายแล้ว
ความคิดเห็นที่ 8
องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทำอะไรอยู่ ?
ก็ดูตามกฏของการบินพลเรือนนี้
ความคิดเห็นที่ 13
เพราะระบบทุนนิยม + คุ้มครองผู้บริโภค อ่อนแอครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่