คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 18
ศรัทธา ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
อะไรคือสัมมาทิฏฐิ (ปัญญา)
http://ppantip.com/topic/33586481/comment25
ความยากมี ๔ ประการ คือ
https://ppantip.com/topic/37151846/comment4
๑. การได้เกิดเป็นมนุษย์
๒. การได้มีชีวิตอยู่จนทุกวันนี้
๓. การได้ฟังพระสัจธรรม
๔. การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า
จากหนังสือ พุทธธรรม หน้า ๑๖๒
https://ppantip.com/topic/30496477/comment3
๒) ลัทธิหรือความเห็นผิด ที่ต้องแยกจากหลักกรรม
มีลัทธิมิจฉาทิฏฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์อยู่ ๓ ลัทธิ ซึ่งต้องระวังไม่ให้เข้าใจสับสนกับหลักกรรม คือ :-
๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท
๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่ (theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท
๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท
ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ลัทธิเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆ กันมา ดำรงอยู่ในอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน (ปุพฺเพกตเหตุ)
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า (อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)
๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้น ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ (อเหตุอปจฺจย)
!
!
นอกจากนี้ พุทธพจน์ที่เคยยกมาอ้างข้างต้น ซึ่งย้ำความอันเดียวกัน ก็มีว่า
ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯ สมณพราหมณ์ เหล่าใด มีวาทะ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เวทนานั้นเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อน’ ฯลฯ เรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง
พุทธพจน์เหล่านี้ ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรมแต่ในแง่กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279
สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
อะไรคือสัมมาทิฏฐิ (ปัญญา)
http://ppantip.com/topic/33586481/comment25
ความยากมี ๔ ประการ คือ
https://ppantip.com/topic/37151846/comment4
๑. การได้เกิดเป็นมนุษย์
๒. การได้มีชีวิตอยู่จนทุกวันนี้
๓. การได้ฟังพระสัจธรรม
๔. การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า
จากหนังสือ พุทธธรรม หน้า ๑๖๒
https://ppantip.com/topic/30496477/comment3
๒) ลัทธิหรือความเห็นผิด ที่ต้องแยกจากหลักกรรม
มีลัทธิมิจฉาทิฏฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์อยู่ ๓ ลัทธิ ซึ่งต้องระวังไม่ให้เข้าใจสับสนกับหลักกรรม คือ :-
๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะกรรมเก่า (past-action determinism) เรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท
๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงเป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่ (theistic determinism) เรียกสั้นๆ ว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท
๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism) เรียกสั้นๆ ว่า อเหตุวาท
ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ลัทธิเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างการถือสืบๆ กันมา ดำรงอยู่ในอกิริยา (การไม่กระทำ) คือ
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน (ปุพฺเพกตเหตุ)
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า (อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)
๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้น ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ (อเหตุอปจฺจย)
!
!
นอกจากนี้ พุทธพจน์ที่เคยยกมาอ้างข้างต้น ซึ่งย้ำความอันเดียวกัน ก็มีว่า
ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯ สมณพราหมณ์ เหล่าใด มีวาทะ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เวทนานั้นเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อน’ ฯลฯ เรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง
พุทธพจน์เหล่านี้ ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรมแต่ในแง่กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว
แสดงความคิดเห็น
ชาวพุทธที่มักบอกว่าตนไม่เชื่อเรื่องของกฎแห่งกรรมหรือการเวียนว่ายตายเกิด ได้โปรด...อย่าได้เรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธอีกเลย
สรุปให้ฟังง่ายๆว่า เรื่องของกฎแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดนั้น พระพุทธเจ้าท่านทรงรับรองไว้ว่ามีจริงครับ
ผู้ที่สามารถเข้าถึงได้ ก็จะได้รู้ตามที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้นั่นแหละ ว่าเรื่องพวกนี้มันมีจริงๆ เป็นเรื่องจริง มีผู้ที่รู้ ผู้ที่เห็นตามพระศาสดาแล้วมากมายทั่วโลก แต่ท่านเหล่านั้นเขาไม่สามารถทำให้บุคคลอื่นๆสามารถเห็นตามท่านไปด้วยได้ ท่านจึงคงทำได้เพียงแค่ชี้ทาง, บอกทาง ว่าถ้าท่านอยากทราบความจริงเกี่ยวกับสองเรื่องนี้ จะต้องศึกษาและปฏิบัติตนอย่างไรบ้างเท่านั้นเอง
การเวียนว่ายตายเกิดนั้น อาจจะดูเหมือนเกินกว่าวิสัยที่ปุถุชนทั่วๆไปจะสามารถไปรู้เห็นได้ก็จริง แต่...
หากลองศึกษาเรื่องราวในพุทธประวัติ แล้วเก็บมาคิด เอามาไตร่ตรองดู เผลอๆอาจจะเกิดแสงสว่างในปัญญาเกิดพรึ่บขึ้นได้นะครับ ก็แบบเดียวกันกับพระสารีบุตรนั่นไง
พระสารีบุตรจู่ๆเกิดมีความเลื่อมใสในกิริยาของท่านอัสชิ เลยเรียนถามท่านอัสชิไป ว่าศาสดาของท่านได้กล่าวสอนท่านไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ท่านอัสชิท่านรู้โดยอภิญญาญาณว่า บุรุษผู้ที่ท่านกำลังจะสนทนสด้วยนี้ เป็นผู้มีปัญญามาก
การที่จะต้องมาตอบอะไรแบบยืดยาวกับบุคคลแบบจึงไม่จำเป็น ท่านจึงได้กล่าวตอบแบบสั้นๆ แต่ได้ใจความว่า "สรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ"
ได้ยินคำตอบจากปากท่านอัสชิเพียงเท่านี้ แต่ถึงกับทำให้พระสารีบุตรถึงกับอึ้ง ได้ดวงตาเห็นธรรมตรงนั้นทันที
เอ...แล้วการที่ศาสดาท่านทรงบอกกับพวกเราว่า "สรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ" มันไปเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดล่ะ?
ก็ลองคิดง่ายๆครับว่า เมื่อสรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ นั่นก็หมายความว่า....ไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้เอง แบบลอยๆ แต่ต้องมีเหตุให้เกิด จึงเกิดขึ้น
การเกิดของคนเราก็เช่นกัน จู่ๆจะมาโผล่เกิดขึ้นเองในชาตินี้แบบลอยๆ โดยไม่ได้มาจากชาติที่แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้
ส่วนเรื่องของกฎแห่งกรรม
หากท่านใดมีสติ มีปัญญาเพียงพอ หัดนำเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของท่านเอง รวมทั้งเรื่องราวในชีวิตของคนที่ท่านรู้จัก สนิทสนมคุ้นเคย มาพิจารณาใคร่ครวญดูให้แยบคายละก็ ท่านจะเห็นความจริงตามนั้นเลยครับว่า เรื่องนี้มันมีจริงๆ ทำแบบไหน ก็ได้รับผลลัพธ์แบบนั้นจริงๆ
ผมยกตัวอย่าง...
+ เด็กที่ตั้งใจเรียน มีครูคนไหนเกลียดบ้าง?
+ เด็กที่ตั้งใจเรียน มีสักกี่คนกัน ที่เรียนตกๆหล่นๆตลอด?
+ + เด็กที่ตั้งใจเรียน แต่หัวไม่ดี ผลสอบออกมาสอบตก คิดว่าครูยินดีและเต็มใจที่จะช่วยเด็กคนนี้ให้สอบผ่านไหม?
ตัวอย่างที่ผมยกมาให้ดูดังกล่าว มันเป็นเรื่องระดับสามัญวิสัย ที่คนทั่วๆไปก็เข้าใจได้
แต่อันที่จริงแล้ว เรื่องของกฎแห่งกรรม มันยังมีอีกส่วนที่อยู่นอกเหนือสามัญวิสัยอยู่นะ กล่าวคือ เป็นเรื่องที่เกินกว่าวิสัยที่ปุถุชนทั่วๆไปจะสามารถไปรู้เห็นได้ เพราะมันไปเกี่ยวข้องกับการให้ผลในลักษณะข้ามชาติ