คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0EzJh15Vf5aoDDkfcPewJDJAXoU9gD7BarX9c8x1nQtAiuBg5oGPhGb2cfu666SHCl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 20 ก.ค. 2565)
รวม 140,891,107 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 20 กรกฎาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 63,576 โดส
เข็มที่ 1 : 5,504 ราย
เข็มที่ 2 : 13,121 ราย
เข็มที่ 3 : 44,951 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,073,508 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,362,672 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 30,454,927 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0HNg5ad71VB8i9Dh8g4ffJoFFaKWeg9UMwvKqP6FhcHyrhnmvj7RGCxDfXgZ7yZjml
สปสช.ร่วมกับ แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
กลุ่มอาการสีเขียว เช่น ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส เจ็บคอ ไอ/มีน้ำมูก มีผื่น ถ่ายเหลว ตาแดง เป็นต้น
เพื่อทำการดูแลผู้ป่วยฯ ผ่านบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
**รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น**
ขั้นตอนดังนี้
ผู้ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด
-อายุ 15-60 ปี
-น้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลกรัม หรือ BMI ไม่เกิน 30
-ไม่ตั้งครรภ์
-ไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง
-ไม่มีโรคประจำตัว รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แม้จะคุมอาการได้ก็ตาม
-ไม่ใช่กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์
-ไม่มีอาการของโรคโควิด-19 รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ
-ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ภาวะอ้วน
-กรณีคนพิการ รับดูแลคนพิการที่สามารถใช้การสื่อสารทางออนไลน์ได้ และไม่มีอัตราเสี่ยงต่อตัวผู้ป่วยเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7 หรือ Scan QR Cord สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @GDTT
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02RcU7KJowWaqWZ75MSs2oV4yDtPT7vUCVNwZntyUWNJNJCDrXbmtkruKWjT6HJfNhl
สธ. เผย AstraZeneca, Pfizer, Moderna มีประสิทธิผลใกล้เคียงกัน ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 และ 4 ป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจาก Omicron ได้
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน ม.ค. 65 พบว่า การฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna เป็นเข็มกระตุ้นที่ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสูตรไขว้ heterologous booster vaccination) จะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ Omicron ได้สูงถึง ร้อยละ 73 ร้อยละ 71 และร้อยละ 71 ตามลำดับ ซึ่งระดับประสิทธิผลนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ได้รับวัคซีนเพียง 3 เข็ม โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เข็มกระตุ้นที่ 4 ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิด mRNA หรือไวรัสเป็นตัวนำ มีประสิทธิผลไม่ต่างกันในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ Omicron ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม 608 รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02J7NgneJj3haTYkjHK6CeusxQLEB3NrCvp9u8duieKd1k4Vimoq2935RQJDKWW2b1l
น่าเป็นห่วง !! โพลเผย 60 % นักเรียนจับกลุ่มคุยไม่สวมหน้ากาก เสี่ยงแพร่โควิดในสถานศึกษา
สถานศึกษาทุกแห่ง ยึดมาตรการ 6-6-7 ลดแพร่เชื้อโควิด
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลอนามัยโพลได้สอบถามถึงการพบเห็นเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ในสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบพบเห็นนักเรียนจับกลุ่มคุยกันหรือเล่นกันโดยไม่สวมหน้ากาก ร้อยละ 60 รองลงมาคือพบเห็นนักเรียนทำกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ใกล้ชิดกันโดยไม่สวมหน้ากาก ร้อยละ 45 และพบเห็นนักเรียนกินอาหารใช้อุปกรณ์ เช่น แก้วน้ำร่วมกัน ร้อยละ 30.6 ทั้งนี้ ขอให้สถานศึกษาทุกแห่งยึดมาตรการ 6-6-7 ประกอบด้วย
6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดแออัด ทำความสะอาด
6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง ใช้ช้อนส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้า-ออก สำรวจตรวจสอบ กักกันตนเอง
7 มาตรการเข้ม ได้แก่ 1) ประเมิน Thai Stop COVID Plus (TSC+) โดยมีการรายงานผลผ่าน MOE COVID 2) ทำกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Bubble) 3) จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและหลักโภชนาการ 4) อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน 5) แผนเผชิญเหตุ และมีการซักซ้อม (School Isolation) 6) ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้าน ไปโรงเรียน (Seal Route) และ 7) School Pass สำหรับนักเรียน ครู บุคลากรในสถานศึกษา
ที่มา กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02B5arq7mNMYQYUm9X6htFmPDq177af4o6ZaZ4P2vUGYrcY6YeF3cgSjw6aGJuzSrwl
5ร. วัยเรียน ต้องสวมหน้ากาก
● นั่งรถประจำทาง/รถ รับ-ส่งนักเรียน
● เรียงแถวเคารพธงชาติหรือรับอาหาร
● รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน
● อยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก
● นั่งเรียนในห้องเรียน/ห้องปรับอากาศ
ในช่วงนี้มีการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงเรียนค่อนข้างมาก นอกจากสวมใส่หน้ากากแล้ว ควรเว้นระยะห่าง และล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
ที่มา: กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0SQSqWcp7wqvYA6rnNhVhcsdgAerH7AyxCYn5rfb7zEbxA5cr52DYkN24vczcRxFcl
สธ. ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ BA.2.75 รายแรกที่ จ.ตรัง เป็นผู้ติดเชื้อชาวไทย อายุ 53 ปี หลังกลับจากการประชุมที่มีชาวต่างชาติร่วมด้วย ที่ จ.ภูเก็ต ย้ำ!! ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นลดความรุนแรงของโรคได้
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อเท็จจริงถึงกรณีประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ BA.2.75 ว่า ผู้ติดเชื้อเป็นชาวไทยอายุ 53 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดตรัง เดินทางไปประชุมที่ภูเก็ต ที่มีชาวต่างชาติร่วมประชุมด้วย จากนั้นมีอาการและได้ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ผลตรวจยืนยันด้วย RT-PCR พบติดเชื้อ โรงพยาบาลได้ส่งตัวอย่างมาตรวจสายพันธุ์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง เพื่อยืนยันสายพันธุ์ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบเป็น Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.2.75
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงนำส่งข้อมูลเพื่อเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 65 และ GISAID ได้ตรวจสอบและประกาศขึ้นระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 65 ทั้งนี้ ความเร็วในการแพร่เชื้อและความรุนแรงยังไม่มีข้อมูลที่มากพอจึงยังไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0oD7HZ8X5LqxHgkaADffZtEwp6dnj5hGJJEenPF5AtiRJtRLZUmRLUeUeMD48Sujml
Q&A คลายข้อสงสัย
Q : อาการเหมือนติดเชื้อโควิด แต่ตรวจ ATK แล้วไม่ขึ้น 2 ขีด ติดโควิด แล้วหรือยังนะ
A : ร่างกายอาจมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน หากรับไวรัสในปริมาณน้อยจะไม่มีอาการทันที
แนะนำให้ตรวจ ATK ซ้ำอีก 2-3 วันต่อมา
นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค กล่าวถึงสาเหตุที่หลายคนมีอาการเหมือนติดเชื้อโควิด 19 แต่ตรวจ ATK แล้วไม่ขึ้น 2 ขีดว่าบริบทของการตรวจ ATK วันนี้แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ช่วงที่ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน อาการของโรคที่ชัดเจนจะทำให้ตรวจพบด้วย ATK ได้ง่าย แต่เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนแล้ว หากติดเชื้อจะรับไวรัสในปริมาณเพียงน้อยนิด แต่จะมีอาการทันที เช่น ระคายคอ วิงเวียนศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว จนต้องตรวจ ATK เพราะมีอาการ แต่ปริมาณไวรัสยังมีไม่มากพอ จึงให้ผลเป็นลบ ทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็นโควิด 19 นอกจากตรวจซ้ำอีก 2-3 วันต่อมา จะพบว่าหลายคนขึ้น 2 ขีดแล้ว แนะให้ตรวจ ATK ในช่วงกักตัวหลังอาการหมดลง
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0rWt7m1qKZTNTESGps4QtyRnRvi18e8Jiq6YKTaACxuRoqMBxdAeHqKH1CQEpFeUWl
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0EzJh15Vf5aoDDkfcPewJDJAXoU9gD7BarX9c8x1nQtAiuBg5oGPhGb2cfu666SHCl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 20 ก.ค. 2565)
รวม 140,891,107 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 20 กรกฎาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 63,576 โดส
เข็มที่ 1 : 5,504 ราย
เข็มที่ 2 : 13,121 ราย
เข็มที่ 3 : 44,951 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,073,508 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,362,672 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 30,454,927 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0HNg5ad71VB8i9Dh8g4ffJoFFaKWeg9UMwvKqP6FhcHyrhnmvj7RGCxDfXgZ7yZjml
สปสช.ร่วมกับ แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
กลุ่มอาการสีเขียว เช่น ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส เจ็บคอ ไอ/มีน้ำมูก มีผื่น ถ่ายเหลว ตาแดง เป็นต้น
เพื่อทำการดูแลผู้ป่วยฯ ผ่านบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
**รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น**
ขั้นตอนดังนี้
ผู้ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด
-อายุ 15-60 ปี
-น้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลกรัม หรือ BMI ไม่เกิน 30
-ไม่ตั้งครรภ์
-ไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง
-ไม่มีโรคประจำตัว รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แม้จะคุมอาการได้ก็ตาม
-ไม่ใช่กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์
-ไม่มีอาการของโรคโควิด-19 รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ
-ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ภาวะอ้วน
-กรณีคนพิการ รับดูแลคนพิการที่สามารถใช้การสื่อสารทางออนไลน์ได้ และไม่มีอัตราเสี่ยงต่อตัวผู้ป่วยเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7 หรือ Scan QR Cord สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @GDTT
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02RcU7KJowWaqWZ75MSs2oV4yDtPT7vUCVNwZntyUWNJNJCDrXbmtkruKWjT6HJfNhl
สธ. เผย AstraZeneca, Pfizer, Moderna มีประสิทธิผลใกล้เคียงกัน ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 และ 4 ป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิตจาก Omicron ได้
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน ม.ค. 65 พบว่า การฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna เป็นเข็มกระตุ้นที่ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสูตรไขว้ heterologous booster vaccination) จะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ Omicron ได้สูงถึง ร้อยละ 73 ร้อยละ 71 และร้อยละ 71 ตามลำดับ ซึ่งระดับประสิทธิผลนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ได้รับวัคซีนเพียง 3 เข็ม โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เข็มกระตุ้นที่ 4 ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิด mRNA หรือไวรัสเป็นตัวนำ มีประสิทธิผลไม่ต่างกันในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์ Omicron ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม 608 รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้มากที่สุด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02J7NgneJj3haTYkjHK6CeusxQLEB3NrCvp9u8duieKd1k4Vimoq2935RQJDKWW2b1l
น่าเป็นห่วง !! โพลเผย 60 % นักเรียนจับกลุ่มคุยไม่สวมหน้ากาก เสี่ยงแพร่โควิดในสถานศึกษา
สถานศึกษาทุกแห่ง ยึดมาตรการ 6-6-7 ลดแพร่เชื้อโควิด
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากข้อมูลอนามัยโพลได้สอบถามถึงการพบเห็นเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ในสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบพบเห็นนักเรียนจับกลุ่มคุยกันหรือเล่นกันโดยไม่สวมหน้ากาก ร้อยละ 60 รองลงมาคือพบเห็นนักเรียนทำกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ใกล้ชิดกันโดยไม่สวมหน้ากาก ร้อยละ 45 และพบเห็นนักเรียนกินอาหารใช้อุปกรณ์ เช่น แก้วน้ำร่วมกัน ร้อยละ 30.6 ทั้งนี้ ขอให้สถานศึกษาทุกแห่งยึดมาตรการ 6-6-7 ประกอบด้วย
6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดแออัด ทำความสะอาด
6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง ใช้ช้อนส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้า-ออก สำรวจตรวจสอบ กักกันตนเอง
7 มาตรการเข้ม ได้แก่ 1) ประเมิน Thai Stop COVID Plus (TSC+) โดยมีการรายงานผลผ่าน MOE COVID 2) ทำกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Bubble) 3) จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและหลักโภชนาการ 4) อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน 5) แผนเผชิญเหตุ และมีการซักซ้อม (School Isolation) 6) ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้าน ไปโรงเรียน (Seal Route) และ 7) School Pass สำหรับนักเรียน ครู บุคลากรในสถานศึกษา
ที่มา กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02B5arq7mNMYQYUm9X6htFmPDq177af4o6ZaZ4P2vUGYrcY6YeF3cgSjw6aGJuzSrwl
5ร. วัยเรียน ต้องสวมหน้ากาก
● นั่งรถประจำทาง/รถ รับ-ส่งนักเรียน
● เรียงแถวเคารพธงชาติหรือรับอาหาร
● รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน
● อยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก
● นั่งเรียนในห้องเรียน/ห้องปรับอากาศ
ในช่วงนี้มีการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงเรียนค่อนข้างมาก นอกจากสวมใส่หน้ากากแล้ว ควรเว้นระยะห่าง และล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
ที่มา: กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0SQSqWcp7wqvYA6rnNhVhcsdgAerH7AyxCYn5rfb7zEbxA5cr52DYkN24vczcRxFcl
สธ. ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ BA.2.75 รายแรกที่ จ.ตรัง เป็นผู้ติดเชื้อชาวไทย อายุ 53 ปี หลังกลับจากการประชุมที่มีชาวต่างชาติร่วมด้วย ที่ จ.ภูเก็ต ย้ำ!! ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นลดความรุนแรงของโรคได้
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อเท็จจริงถึงกรณีประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ BA.2.75 ว่า ผู้ติดเชื้อเป็นชาวไทยอายุ 53 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดตรัง เดินทางไปประชุมที่ภูเก็ต ที่มีชาวต่างชาติร่วมประชุมด้วย จากนั้นมีอาการและได้ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ผลตรวจยืนยันด้วย RT-PCR พบติดเชื้อ โรงพยาบาลได้ส่งตัวอย่างมาตรวจสายพันธุ์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง เพื่อยืนยันสายพันธุ์ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบเป็น Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.2.75
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงนำส่งข้อมูลเพื่อเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 65 และ GISAID ได้ตรวจสอบและประกาศขึ้นระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 65 ทั้งนี้ ความเร็วในการแพร่เชื้อและความรุนแรงยังไม่มีข้อมูลที่มากพอจึงยังไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0oD7HZ8X5LqxHgkaADffZtEwp6dnj5hGJJEenPF5AtiRJtRLZUmRLUeUeMD48Sujml
Q&A คลายข้อสงสัย
Q : อาการเหมือนติดเชื้อโควิด แต่ตรวจ ATK แล้วไม่ขึ้น 2 ขีด ติดโควิด แล้วหรือยังนะ
A : ร่างกายอาจมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน หากรับไวรัสในปริมาณน้อยจะไม่มีอาการทันที
แนะนำให้ตรวจ ATK ซ้ำอีก 2-3 วันต่อมา
นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค กล่าวถึงสาเหตุที่หลายคนมีอาการเหมือนติดเชื้อโควิด 19 แต่ตรวจ ATK แล้วไม่ขึ้น 2 ขีดว่าบริบทของการตรวจ ATK วันนี้แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ช่วงที่ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน อาการของโรคที่ชัดเจนจะทำให้ตรวจพบด้วย ATK ได้ง่าย แต่เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนแล้ว หากติดเชื้อจะรับไวรัสในปริมาณเพียงน้อยนิด แต่จะมีอาการทันที เช่น ระคายคอ วิงเวียนศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว จนต้องตรวจ ATK เพราะมีอาการ แต่ปริมาณไวรัสยังมีไม่มากพอ จึงให้ผลเป็นลบ ทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็นโควิด 19 นอกจากตรวจซ้ำอีก 2-3 วันต่อมา จะพบว่าหลายคนขึ้น 2 ขีดแล้ว แนะให้ตรวจ ATK ในช่วงกักตัวหลังอาการหมดลง
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0rWt7m1qKZTNTESGps4QtyRnRvi18e8Jiq6YKTaACxuRoqMBxdAeHqKH1CQEpFeUWl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭 21ก.ค.โควิดไทยอันดับ27โลก/ป่วย2,607คน หายป่วย2,318คน เสียชีวิต23คน/เผยอาการBA.2.75/พบฝีดาษวานรในไทย
https://www.bangkokbiznews.com/social/1016502
https://www.bangkokbiznews.com/social/1016557
กรมวิทย์เผยอาการ ผู้ติดโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 ในไทย
เมื่อวันที่ 21 ก.ค. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีมีการตรวจพบผู้ติดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ที่ จังหวัดตรัง ว่า เป็นการตรวจตามระบบเฝ้าระวังป้องกันสายพันธุ์ตามปกติของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีนี้ ไม่ได้พบว่ามีความผิดปกติ แต่เป็นรอบการสุ่มตรวจสายพันธุ์ตามปกติ โดยทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อตรวจเบื้องต้นแล้วพบว่าไม่เข้ากับสายพันธุ์ BA.4 หรือ BA.5 ที่มีในไทยจึงต้องส่งถอดพันธุกรรมทั้งตัว ก็พบว่าเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 จึงได้รายงานไปยังกรมควบคุมโรค เพื่อทำการสอบสวนโรค พร้อมทั้งรายงานไปยังฐานข้อมูล GISAID เพราะสายพันธุ์ดังกล่าว ทางองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่ต้องจับตาดู (VOC-LUM) ส่วนอาการของผู้ติดโควิดสายพันธุ์ BA.2.75 ที่จังหวัดตรัง 1 รายนั้น ยังไม่มีอาการที่แตกต่างไปจากสายพันธุ์อื่นๆ
“BA.2.75 มีความแตกต่างจากสายพันธุ์ BA.4 หรือ BA.5 หรือมีแนวโน้มจะมาทดแทนหรือไม่ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดมากนัก เพราะในประเทศอินเดีย ซึ่งมีการระบาดของสายพันธุ์ BA.2.75 จำนวนมากนั้น เป็นเพราะที่อินเดียไม่มี สายพันธุ์ BA.4 หรือ BA.5 มากนักจึงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ BA.2.75 ระบาดมากก็ได้ อย่างไรก็ตาม ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอีกสักระยะ และระยะนี้จึงขอความร่วมมือประชาชนให้ไปรับวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้ออาการรุนแรง ลดความเสี่ยงการเสียชีวิต”นพ.ศุภกิจ กล่าว
ด้าน นพ.ชัยรัตน์ ลำโป นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง(นพ.สสจ.ตรัง) กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อรายดังกล่าว ตรวจพบ และเข้าสู่กระบวนการรักษาตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.2565 โดยในวันที่ตรวจเจอการติดเชื้อด้วย ATK ไม่มีอาการมาก เจ็บคอ ไอ ไม่มีปอดอักเสบ ตรวจสอบประวัติพบว่ามีโรคประจำตัวคือ โรคภูมิแพ้ โรคอ้วน ได้รับยารักษาตามอาการ มีประวัติการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 3 เข็ม อาการที่ปรากฏเป็นอยู่ 2-3 วันก็หาย แต่ก็ให้ดูแลตัวเองที่บ้านจนครบกำหนดตามเกณฑ์ ทั้งนี้คิดว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้ไม่มีอาการรุนแรง ส่วนเรื่องการสอบสวนโรคนั้น คนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ทั้งหมด 4 ราย ไม่มีใครติดเชื้อแต่อย่างใด ดังนั้นชาวตรังไม่ต้องกังวล
สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่ จังหวัดตรัง มีรายงานเข้าระบบวันละ1-2 ราย ไม่มาก สำหรับยารักษาโรคในพื้นที่ซึ่งมีอยู่หลายตัว บางตัวอาจจะพร่องไปบ้าง แต่ระบบบริหารจัดการภายในจังหวัด และระบบการขนส่งทำให้สามารถบริหารจัดการยาในพื้นที่ได้ แต่สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ เรื่องของการฉีดวัคซีนคือ สิ่งสำคัญมากที่ช่วยลดความรุนแรงของโรคหากติดเชื้อ ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้การฉีดวัคซีนในพื้นที่ตรังเข็ม 1 เข็ม 2 ถือว่าดีมาก ครอบคลุมประมาณ 80% แต่เข็มกระตุ้นเข็ม 3 เข็ม 4 ยังน้อย ซึ่งภาพรวมของประเทศมีการฉีดเข็มกระตุ้นราวๆ 40-50% แต่ในพื้นที่ตรังมีความครอบคลุมวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 21-22% เท่านั้น ที่น่าห่วงคือ กลุ่มเสี่ยง 608 ที่ฉีดเข็มกระตุ้นน้อย ครอบคลุมเพียง 16% เท่านั้น
“มาตรการกระตุ้นการฉีดวัคซีนในพื้นที่ โดยมอบ อสม.เคาะประตูบ้านชวนคนมาฉีด แต่ก็ยังกระตุ้นได้ไม่มาก ตอนนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดตรังมีนโยบายให้รณรงค์ เชิญชวนในคลินิกเฉพาะกลุ่มโรค ส่วนในกลุ่มผู้สูงอายุก็ได้ประสานไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.)และท้องถิ่น ซึ่งดูแลสวัสดิการด้านอื่นๆ และมีข้อมูลผู้สูงอายุอยู่ ขอให้รณรงค์เชิญชวนผู้สูงอายุมาฉีดวัคซีน และประสานไปยังสถานศึกษา และอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อให้สำรวจและจัดทำแผนการฉีดวัคซีนเข้ามาซึ่งทางเราพร้อมสนับสนุนวัคซีนซึ่งมีทุกชนิด และจัดส่งบุคลากรการแพทย์ไปฉีดวัคซีนให้” นพ.ชัยรัตน์ กล่าว
https://www.bangkokbiznews.com/social/1016627
ไทยพบผู้ป่วยโรค‘ฝีดาษวานร’รายแรกที่‘ภูเก็ต’ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก สธ.ยันพร้อมรับมือ ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค คัดกรองและคัดแยกผู้ป่วยได้เร็ว
21 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร จึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) กองระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่า....เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค
เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC) และต่อมายืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 ก.ค. 65 และทีมสอบสวนควบคุมโรครวบรวมข้อมูลการสอบสวนทั้งข้อมูลอาการทางคลินิก ข้อมูลระบาดวิทยา และข้อมูลห้องปฏิบัติการเข้าพิจารณาในคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตเพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมพร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อไปว่า องค์การอนามัยโรค (WHO) ไม่ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตามที่ได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มงวด โดยกรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมาเคยคัดกรองและส่งตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคจำนวน 19 รายซึ่งผลตรวจพบว่าไม่เป็นฝีดาษวานร
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังผู้ป่วยฝีดาษวานร ที่คลินิกนิรนาม คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนังและโรงพยาบาล ยังมีการตรวจคัดกรองและรายงานโรคตามนิยามผู้ป่วยสงสัยทุกราย โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งแพร่โรคได้จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษวานร เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ส่วนสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ค. 65) จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 12,608 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 66 ประเทศ ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สเปน 2,835 ราย เยอรมัน 1,859 ราย สหรัฐอเมริกา 1,813 ราย อังกฤษ 1,778 ราย และฝรั่งเศส 908 ราย
https://www.naewna.com/local/668321
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ