‘คดีกระสุนยาง’ ไปถึงไหนแล้ว? หลังครบปี หลายสื่อถูกยิงใส่
https://thematter.co/brief/180761/180761
ตลอดทั้งปี 2564 มีสื่อมวลชนนับสิบรายได้รับผลกระทบจากการใช้กระสุนยางของตำรวจ โดนยิงเข้าใส่จนบาดเจ็บระหว่างไปทำข่าวการชุมนุมสาธารณะ ทั้งๆ ที่ใส่ปลอกแขนสีขาวแสดงตัวว่าเป็นสื่อมวลชน และทางสมาคมวิชาชีพสื่อไปคุยกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ตั้งแต่ต้นปีว่า จะใช้สัญลักษณ์นี้เพื่อแยกระหว่างผู้ชุมนุม-สื่อมวลชน
ในการชุมนุมวันที่ 18 ก.ค.2564 ก็เป็นอีกวันที่มีสื่อมวลชนหลายรายถูกยิงกระสุนยางเข้าใส่ ทั้งๆ ที่ใส่ปลอกแขนแสดงตัว อาทิ ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN, ช่างภาพ The MATTER และช่างภาพมติชนทีวี โดย 2 รายแรกได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ต่อศาลแพ่ง ที่ศาลรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.3683/2564 พร้อมออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ตำรวจควบคุมการชุมนุมโดยระมัดระวังความปลอดภัยของสื่อ
ความคืบหน้าคดีนี้ ทางภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะทีมทนายความให้กับสื่อมวลชนระบุว่า ศาลแพ่งนัดไต่สวนพยาน รวมทั้งสิ้น 22 ปาก ในปี 2566
พยานฝ่ายโจทก์ 14 ปาก 3 นัด ระหว่างวันที่ 19-21 ก.ค.
พยานฝ่ายจำเลย 8 ปาก 2 นัด ระหว่างวันที่ 25-26 ก.ค.
หลังศาลแพ่งออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก็ทำให้การยิงกระสุนยางของตำรวจต่อสื่อมวลชนมีการระมัดระวังมากขึ้น ทีมโฆษก สตช.และผู้บริหาร บช.น.นัดพูดคุยกับตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อเพื่อหารือการทำข่าวระหว่างการชุมนุมสาธารณะ อย่างไรก็ตาม กลับมีการใช้วิธีอื่นๆ ในการสร้างอุปสรรคต่อการทำงานของสื่อ เช่น อ้างข้อตกลงบางอย่างที่ไม่มีอยู่จริง, อ้างเคอร์ฟิวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, อ้างว่าต้องมีบัตรกรมประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ทำให้องค์กรวิชาชีพสื่อต้องออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ตำรวจเคารพสิทธิเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน
ผู้สื่อข่าว The MATTER เคยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ยื่นขอตัวเลขกระสุนยาง แก๊สน้ำตา รวมถึงกำลังพลตำรวจที่ใช้ควบคุมการชุมนุมตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) สั่งให้ บช.น.ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้ร้องขอแล้ว และเราได้ทำหนังสือไปขอรับข้อมูลดังกล่าวจาก บช.น.เรียบร้อยแล้ว หากได้รับมาจะนำมาเปิดเผยต่อไป
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก
https://twitter.com/thematterco/status/1416730205473832960
https://thematter.co/brief/151329/151329
https://thematter.co/brief/176866/176866
https://tja.or.th/view/news/1337414
#Brief #TheMATTER
‘ราษฎร’ ตั้งเต็นท์จัดแคมป์ปิ้งหน้ารัฐสภา เชียร์ศึกซักฟอกถล่ม ‘ประยุทธ์’
https://www.dailynews.co.th/news/1265403/
กลุ่มราษฎรและเครือข่ายตั้งเต็นท์จัดกิจกรรม “แคมป์ปิ้งฟังสภาจับตาอภิปรายไม่ไว้วางใจประยุทธ์” ปักหลักอยู่ยาว 19-22 ก.ค. พร้อมประสานรถสุขาจาก กทม. ประจำพื้นที่ชุมนุม
เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ที่ลานประชาชน หน้าอาคารรัฐสภา สี่แยกเกียกกายผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มราษฎรและเครือข่าย ได้ตั้งเต็นท์จัดกิจกรรม “แ
คมป์ปิ้งฟังสภา จับตาอภิปรายไม่ไว้วางใจประยุทธ์” โดยมีการตั้งเต็นท์, ติดตั้งเครื่องเสียง, ตั้งโรงครัวประกอบอาหารเพื่อปักหลักชุมนุมติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค. นัดหมายชุมนุมตั้งแต่เวลา 17.00 น. พร้อมประสานรถสุขาจาก กทม. มาประจำพื้นที่ชุมนุม โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาคอยติดตามสถานการณ์
ทั้งนี้ เฟซบุ๊กราษฎร โพสต์ข้อความระบุถึงกิจกรรมของกลุ่มราษฎรและเครือข่าย ว่า จะเริ่มขึ้นในเวลา 17.00 น. โดยจะมีการต้อนรับประชาชนจากเครือข่ายต่างๆ และมีการแสดงดนตรีจาก เอ้ The Voice และ
น้ำ คีตาญชลี การสนทนาจับตาอภิปราย ไม่วางใจ… ในสภาเค้ามีประเด็นอะไรกัน และ RAD 8 บาร์ อภิปรายฯ’ การร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดย RAP Dictatorship.
ขึ้นอีกแล้ว! ผู้เลี้ยงไข่ไก่ปรับราคาเพิ่มแผงละ 6 บาท หรือฟองละ 10-20 สตางค์ต่อฟอง มีผลวันพรุ่งนี้ 20 ก.ค.
https://ch3plus.com/news/economy/morning/301677
เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย แจ้งประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร ระบุราคาแนะนำไข่ไก่คละ อยู่ที่ฟองละ 3.40 บาท เพิ่มขึ้น 10-20 สตางค์ต่อฟอง หรือ 6 บาทต่อแผง มีผลวันที่ 20 กรกฎาคม 2565
นาย
มาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ และยังเป็น ที่ปรึกษา ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งสาร์นผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ ถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศ และสมาชิกชมรม ว่า ปีนี้ทั้งปีคงลำบากมากเรื่องปิดบัญชีงบดุลกับงบกำไรขาดทุนของคนเลี้ยงไก่ไข่ เพราะตั้งแต่ต้นปีมามีแต่เรื่องการควบคุมต้นทุนไม่ได้เลย ทั้งเรื่องอาหารสัตว์ยังปรับขึ้นไม่รู้จบ ยังมีข่าวเขย่าขวัญเรื่องค่าแรงงานกับค่าไฟฟ้า จะบอกให้ใครไม่คิดเรื่องเหล่านี้ มีแต่ฆ่าตัวตายแน่นอน
หันมามองดูราคาไข่ไก่ ไหนจะราชการที่เกี่ยวข้องจ้องแต่จะเบรกไว้ไหนจะพ่อค้า (บางกลุ่ม) จะต่อต้าน แต่สิ่งที่มองดูคือ “ตลาด" มากกว่าตลาดไปได้ต้องไปถ้าไปไม่ได้นั่นสิมีปัญหา ฉะนั้นพวกเราคนเลี้ยงต้องช่วยกันปรับระบบการเลี้ยงให้ทันกับเหตุการณ์การปลดไก่ให้เสมำเสมอจะช่วยตัวเราและวงการนี้ได้ ผมขอย้ำว่าการเลี้ยงไก่ไข่ยังอยู่ในช่วงไม่ปกติ (วิกฤติ) อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ คนอื่นๆพาไป เราจะต้องกำหนดชีวิตเราเองบ้าง
“ปัจจุบันราคาดูดีเราอย่าประมาทเป็นอันขาดดูคราวที่แล้วมันมาแบบหลายคนตั้งตัวไม่ทัน ก่อนจบสัปดาห์ถัดไปคงมีการปรับขึ้นราคาอีกมากน้อยให้ตลาดกลไกเป็นคนกำหนดราคา ทัวร์ต่อต้านไม่ต้องลงที่ผมนะผมแค่เลียนแบบมาจาก กรมอุตุฯ เท่านั้นเอง”
JJNY : ‘คดีกระสุนยาง’ ไปถึงไหนแล้ว?│ไข่ไก่เพิ่มแผงละ 6 บ│‘ราษฎร’แคมป์ปิ้งหน้ารัฐสภา│วิษณุย้ำ "ตู่" 8ปีหมดสิทธิ์รีเทิร์น
https://thematter.co/brief/180761/180761
ตลอดทั้งปี 2564 มีสื่อมวลชนนับสิบรายได้รับผลกระทบจากการใช้กระสุนยางของตำรวจ โดนยิงเข้าใส่จนบาดเจ็บระหว่างไปทำข่าวการชุมนุมสาธารณะ ทั้งๆ ที่ใส่ปลอกแขนสีขาวแสดงตัวว่าเป็นสื่อมวลชน และทางสมาคมวิชาชีพสื่อไปคุยกับกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ตั้งแต่ต้นปีว่า จะใช้สัญลักษณ์นี้เพื่อแยกระหว่างผู้ชุมนุม-สื่อมวลชน
ในการชุมนุมวันที่ 18 ก.ค.2564 ก็เป็นอีกวันที่มีสื่อมวลชนหลายรายถูกยิงกระสุนยางเข้าใส่ ทั้งๆ ที่ใส่ปลอกแขนแสดงตัว อาทิ ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN, ช่างภาพ The MATTER และช่างภาพมติชนทีวี โดย 2 รายแรกได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ต่อศาลแพ่ง ที่ศาลรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.3683/2564 พร้อมออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ตำรวจควบคุมการชุมนุมโดยระมัดระวังความปลอดภัยของสื่อ
ความคืบหน้าคดีนี้ ทางภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะทีมทนายความให้กับสื่อมวลชนระบุว่า ศาลแพ่งนัดไต่สวนพยาน รวมทั้งสิ้น 22 ปาก ในปี 2566
พยานฝ่ายโจทก์ 14 ปาก 3 นัด ระหว่างวันที่ 19-21 ก.ค.
พยานฝ่ายจำเลย 8 ปาก 2 นัด ระหว่างวันที่ 25-26 ก.ค.
หลังศาลแพ่งออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ก็ทำให้การยิงกระสุนยางของตำรวจต่อสื่อมวลชนมีการระมัดระวังมากขึ้น ทีมโฆษก สตช.และผู้บริหาร บช.น.นัดพูดคุยกับตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อเพื่อหารือการทำข่าวระหว่างการชุมนุมสาธารณะ อย่างไรก็ตาม กลับมีการใช้วิธีอื่นๆ ในการสร้างอุปสรรคต่อการทำงานของสื่อ เช่น อ้างข้อตกลงบางอย่างที่ไม่มีอยู่จริง, อ้างเคอร์ฟิวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, อ้างว่าต้องมีบัตรกรมประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ทำให้องค์กรวิชาชีพสื่อต้องออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ตำรวจเคารพสิทธิเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชน
ผู้สื่อข่าว The MATTER เคยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ยื่นขอตัวเลขกระสุนยาง แก๊สน้ำตา รวมถึงกำลังพลตำรวจที่ใช้ควบคุมการชุมนุมตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) สั่งให้ บช.น.ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้ร้องขอแล้ว และเราได้ทำหนังสือไปขอรับข้อมูลดังกล่าวจาก บช.น.เรียบร้อยแล้ว หากได้รับมาจะนำมาเปิดเผยต่อไป
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก
https://twitter.com/thematterco/status/1416730205473832960
https://thematter.co/brief/151329/151329
https://thematter.co/brief/176866/176866
https://tja.or.th/view/news/1337414
#Brief #TheMATTER
‘ราษฎร’ ตั้งเต็นท์จัดแคมป์ปิ้งหน้ารัฐสภา เชียร์ศึกซักฟอกถล่ม ‘ประยุทธ์’
https://www.dailynews.co.th/news/1265403/
กลุ่มราษฎรและเครือข่ายตั้งเต็นท์จัดกิจกรรม “แคมป์ปิ้งฟังสภาจับตาอภิปรายไม่ไว้วางใจประยุทธ์” ปักหลักอยู่ยาว 19-22 ก.ค. พร้อมประสานรถสุขาจาก กทม. ประจำพื้นที่ชุมนุม
เมื่อวันที่ 19 ก.ค. ที่ลานประชาชน หน้าอาคารรัฐสภา สี่แยกเกียกกายผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มราษฎรและเครือข่าย ได้ตั้งเต็นท์จัดกิจกรรม “แคมป์ปิ้งฟังสภา จับตาอภิปรายไม่ไว้วางใจประยุทธ์” โดยมีการตั้งเต็นท์, ติดตั้งเครื่องเสียง, ตั้งโรงครัวประกอบอาหารเพื่อปักหลักชุมนุมติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลระหว่างวันที่ 19-22 ก.ค. นัดหมายชุมนุมตั้งแต่เวลา 17.00 น. พร้อมประสานรถสุขาจาก กทม. มาประจำพื้นที่ชุมนุม โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาคอยติดตามสถานการณ์
ทั้งนี้ เฟซบุ๊กราษฎร โพสต์ข้อความระบุถึงกิจกรรมของกลุ่มราษฎรและเครือข่าย ว่า จะเริ่มขึ้นในเวลา 17.00 น. โดยจะมีการต้อนรับประชาชนจากเครือข่ายต่างๆ และมีการแสดงดนตรีจาก เอ้ The Voice และ น้ำ คีตาญชลี การสนทนาจับตาอภิปราย ไม่วางใจ… ในสภาเค้ามีประเด็นอะไรกัน และ RAD 8 บาร์ อภิปรายฯ’ การร่วมอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดย RAP Dictatorship.
ขึ้นอีกแล้ว! ผู้เลี้ยงไข่ไก่ปรับราคาเพิ่มแผงละ 6 บาท หรือฟองละ 10-20 สตางค์ต่อฟอง มีผลวันพรุ่งนี้ 20 ก.ค.
https://ch3plus.com/news/economy/morning/301677
เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย แจ้งประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร ระบุราคาแนะนำไข่ไก่คละ อยู่ที่ฟองละ 3.40 บาท เพิ่มขึ้น 10-20 สตางค์ต่อฟอง หรือ 6 บาทต่อแผง มีผลวันที่ 20 กรกฎาคม 2565
นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ และยังเป็น ที่ปรึกษา ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งสาร์นผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ ถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศ และสมาชิกชมรม ว่า ปีนี้ทั้งปีคงลำบากมากเรื่องปิดบัญชีงบดุลกับงบกำไรขาดทุนของคนเลี้ยงไก่ไข่ เพราะตั้งแต่ต้นปีมามีแต่เรื่องการควบคุมต้นทุนไม่ได้เลย ทั้งเรื่องอาหารสัตว์ยังปรับขึ้นไม่รู้จบ ยังมีข่าวเขย่าขวัญเรื่องค่าแรงงานกับค่าไฟฟ้า จะบอกให้ใครไม่คิดเรื่องเหล่านี้ มีแต่ฆ่าตัวตายแน่นอน
หันมามองดูราคาไข่ไก่ ไหนจะราชการที่เกี่ยวข้องจ้องแต่จะเบรกไว้ไหนจะพ่อค้า (บางกลุ่ม) จะต่อต้าน แต่สิ่งที่มองดูคือ “ตลาด" มากกว่าตลาดไปได้ต้องไปถ้าไปไม่ได้นั่นสิมีปัญหา ฉะนั้นพวกเราคนเลี้ยงต้องช่วยกันปรับระบบการเลี้ยงให้ทันกับเหตุการณ์การปลดไก่ให้เสมำเสมอจะช่วยตัวเราและวงการนี้ได้ ผมขอย้ำว่าการเลี้ยงไก่ไข่ยังอยู่ในช่วงไม่ปกติ (วิกฤติ) อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ คนอื่นๆพาไป เราจะต้องกำหนดชีวิตเราเองบ้าง
“ปัจจุบันราคาดูดีเราอย่าประมาทเป็นอันขาดดูคราวที่แล้วมันมาแบบหลายคนตั้งตัวไม่ทัน ก่อนจบสัปดาห์ถัดไปคงมีการปรับขึ้นราคาอีกมากน้อยให้ตลาดกลไกเป็นคนกำหนดราคา ทัวร์ต่อต้านไม่ต้องลงที่ผมนะผมแค่เลียนแบบมาจาก กรมอุตุฯ เท่านั้นเอง”