เราตั้งคำถามนี้เพราะอยากวางแผนชีวิต เราเพิ่งจะมาเริ่มเรียนนิติศาสตร์ตอนอายุมากแล้ว และเราคิดว่าหลังจากเรียนจบ เราอยากทำงานเป็นผู้พิพากษา หรืออัยการ (ตอนนี้คิดแบบนี้ พอเรียนจบจริงๆอาจเปลี่ยนใจก็ได้) เราคิดว่าพอเราเรียนจบแล้ว คงไม่ได้เริ่มทำงานตำแหน่งผู้พิพากษาหรืออัยการทันที เพราะต้องสอบเนติ ต้องเก็บประสบการณ์ทำงาน เราอาจต้องเริ่มจากการทำงานตำแหน่งอื่นก่อน เช่น นิติกร ที่ปรึกษาทางกฎหมาย
เราจึงมาคิดเรื่องสถานที่ฝึกงาน และสถานที่ทำงานหลังเรียนจบ ที่จะช่วยส่งเสริมเราให้ไปถึงจุดของผู้พิพากษาได้ เราไม่ค่อยรู้จักหน่วยงานด้านกฎหมายสักเท่าไหร่ แต่รู้ว่ามีเยอะ ที่เราอยากรู้จริงๆคือ เราควรฝึกงานและสอบราชการทำงานในศาลหรือไม่ (แอบเจ็บปวด เพราะถ้ารับราชการ เราก็ต้องกลับไปรับเงินเดือนน้อยนิด ตอนนี้เราไม่ได้รับราชการ แต่ทำงานอื่นที่ได้เงินเดือนแซงไปแล้ว) หรือเราสามารถทำงานหน่วยงานเอกชนแล้วค่อยไปสอบตำแหน่งผู้พิพากษาตอนมีเปิดรับสมัครก็ได้ การทำงานเก็บประสบการณ์ในศาลกับไม่ใช่ศาล มีข้อแตกต่างหรือข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันหรือไม่ อย่างไร
และถ้าสมมติเราไปฝึกงาน/ทำงานในสำนักงานทนายความ จะมีประโยชน์ต่อการไปเป็นผู้พิพากษาไหม หรือเป็นงานคนละด้านกัน เราควรทำงานด้านที่เกี่ยวข้องกับสายผู้พิพากษามากกว่า? ขอคำแนะนำด้วย
ถ้าอยากเป็นผู้พิพากษา ควรฝึกงานและทำงานที่ไหนดี
เราจึงมาคิดเรื่องสถานที่ฝึกงาน และสถานที่ทำงานหลังเรียนจบ ที่จะช่วยส่งเสริมเราให้ไปถึงจุดของผู้พิพากษาได้ เราไม่ค่อยรู้จักหน่วยงานด้านกฎหมายสักเท่าไหร่ แต่รู้ว่ามีเยอะ ที่เราอยากรู้จริงๆคือ เราควรฝึกงานและสอบราชการทำงานในศาลหรือไม่ (แอบเจ็บปวด เพราะถ้ารับราชการ เราก็ต้องกลับไปรับเงินเดือนน้อยนิด ตอนนี้เราไม่ได้รับราชการ แต่ทำงานอื่นที่ได้เงินเดือนแซงไปแล้ว) หรือเราสามารถทำงานหน่วยงานเอกชนแล้วค่อยไปสอบตำแหน่งผู้พิพากษาตอนมีเปิดรับสมัครก็ได้ การทำงานเก็บประสบการณ์ในศาลกับไม่ใช่ศาล มีข้อแตกต่างหรือข้อได้เปรียบเสียเปรียบกันหรือไม่ อย่างไร
และถ้าสมมติเราไปฝึกงาน/ทำงานในสำนักงานทนายความ จะมีประโยชน์ต่อการไปเป็นผู้พิพากษาไหม หรือเป็นงานคนละด้านกัน เราควรทำงานด้านที่เกี่ยวข้องกับสายผู้พิพากษามากกว่า? ขอคำแนะนำด้วย