คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ข้อ 2. คือ ผลการรับรองคุณวุฒิครับ
โดยการรับราชการประเทศไทย จะใช้ผลการรับรองคุณวุฒิจาก ก.พ. เป็นหลัก
(ก.พ. คือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
วิธีการดูว่าวุฒิของเรา สมัครสอบตำแหน่งไหนได้บ้าง
ก่อนอื่นให้ดูผลการรับรองคุณวุฒิ ตามลิงค์นี้ก่อน
https://accreditation.ocsc.go.th/index.php/search/curriculum
โดยดูว่าได้ผลการรับรองเป็น "สาขา" และ "ทาง" อะไร
(ไม่ใช่แค่ดูว่ารับรองหรือไม่รับรองเฉย ๆ นะครับ)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
เราจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกวิศวกรรมโยธา
ได้รับผลการรับรองเป็น คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ สาขาหลักในการศึกษา เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ วิชาเอกที่เรียน เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางชีววิทยา เป็นต้น
พอทราบแล้วว่าผลการรับรองได้ สาขาอะไร ทางอะไร ก็ให้จำไว้เลย สามารถใช้ได้กับการสอบในอนาคตได้อีก
โดยไม่ต้องไปดู ชื่อสาขาวิชาจากมหาวิทยาลัยที่คุณเรียนจบมานะ
เพราะผลการรับรอง กับ ชื่อสาขาที่คุณเรียน บางครั้งอาจไม่ตรงกันก็ได้
จากนั้นก็ให้มาดูประกาศรับสมัคร
ซึ่งประกาศฯ จะกำหนด สาขา และ ทาง ตามผลการรับรองคุณวุฒิจาก ก.พ. ที่มีสิทธิสมัครไว้
คุณก็ยึดตามนั้น
- ถ้าประกาศรับสมัคร กำหนดแค่ สาขาวิชา ก็แปลว่าสาขาวิชาต้องตรง แต่ทางจะเป็นอะไรก็ได้
- ถ้าประกาศรับสมัคร กำหนดแค่ ทาง ก็แปลว่าทางต้องตรง แต่สาขาวิชาจะเป็นอะไรก็ได้
- ถ้าประกาศรับสมัคร กำหนดทั้ง สาขาวิชา และ ทาง ก็แปลว่าทั้งสาขาวิชาและทางต้องตรงทั้งคู่
โดยงานราชการ จะมีตำแหน่งที่
1. รับทุกสาขา แบบนี้จบสาขาอะไรมาก็สมัครได้
2. รับหลายสาขา แต่ไม่ทุกสาขา แบบนี้ต้องดูว่ารับสาขาใด ทางใด ถ้าตรงก็สมัครได้
3. รับสาขาเดียว เช่น นิติกร รับเฉพาะผู้จบ นิติศาสตร์ เท่านั้น
โดยการรับราชการประเทศไทย จะใช้ผลการรับรองคุณวุฒิจาก ก.พ. เป็นหลัก
(ก.พ. คือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
วิธีการดูว่าวุฒิของเรา สมัครสอบตำแหน่งไหนได้บ้าง
ก่อนอื่นให้ดูผลการรับรองคุณวุฒิ ตามลิงค์นี้ก่อน
https://accreditation.ocsc.go.th/index.php/search/curriculum
โดยดูว่าได้ผลการรับรองเป็น "สาขา" และ "ทาง" อะไร
(ไม่ใช่แค่ดูว่ารับรองหรือไม่รับรองเฉย ๆ นะครับ)
ทาง ก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น “สาขา” และ “ทาง” เช่น
เราจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกวิศวกรรมโยธา
ได้รับผลการรับรองเป็น คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง"วิศวกรรมโยธา"
“สาขา” คือ สาขาหลักในการศึกษา เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เป็นต้น
“ทาง” คือ วิชาเอกที่เรียน เช่น ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมชลประทาน ทางบริหารรัฐกิจ ทางชีววิทยา เป็นต้น
พอทราบแล้วว่าผลการรับรองได้ สาขาอะไร ทางอะไร ก็ให้จำไว้เลย สามารถใช้ได้กับการสอบในอนาคตได้อีก
โดยไม่ต้องไปดู ชื่อสาขาวิชาจากมหาวิทยาลัยที่คุณเรียนจบมานะ
เพราะผลการรับรอง กับ ชื่อสาขาที่คุณเรียน บางครั้งอาจไม่ตรงกันก็ได้
จากนั้นก็ให้มาดูประกาศรับสมัคร
ซึ่งประกาศฯ จะกำหนด สาขา และ ทาง ตามผลการรับรองคุณวุฒิจาก ก.พ. ที่มีสิทธิสมัครไว้
คุณก็ยึดตามนั้น
- ถ้าประกาศรับสมัคร กำหนดแค่ สาขาวิชา ก็แปลว่าสาขาวิชาต้องตรง แต่ทางจะเป็นอะไรก็ได้
- ถ้าประกาศรับสมัคร กำหนดแค่ ทาง ก็แปลว่าทางต้องตรง แต่สาขาวิชาจะเป็นอะไรก็ได้
- ถ้าประกาศรับสมัคร กำหนดทั้ง สาขาวิชา และ ทาง ก็แปลว่าทั้งสาขาวิชาและทางต้องตรงทั้งคู่
โดยงานราชการ จะมีตำแหน่งที่
1. รับทุกสาขา แบบนี้จบสาขาอะไรมาก็สมัครได้
2. รับหลายสาขา แต่ไม่ทุกสาขา แบบนี้ต้องดูว่ารับสาขาใด ทางใด ถ้าตรงก็สมัครได้
3. รับสาขาเดียว เช่น นิติกร รับเฉพาะผู้จบ นิติศาสตร์ เท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
ช่วยตรวจสอบให้หน่อยค่ะว่าคุณสมบัติเราตรงตามที่หน่วยงานต้องการหรือไม่