นิทานเจ้าหญิงแต่งเอง

กระทู้คำถาม
ในงานเฉลิมฉลองการประสูติของเจ้าหญิงองค์หนึ่ง มีนางฟ้าหลายตนเสก โดยอวยพรแบบนิทาน ตนแรกเสกให้ สวัสดีค่ะน้องๆ นักอ่านนักเขียนเด็กดี^^ พี่หวานกลับมาอีกครั้งในคอลัมน์สาระวรรณกรรมพร้อมประวัตินางในวรรณคดีที่ทุกคนน่าจะอยากรู้จัก เพราะเธอคนนี้มีความหมายชื่อแปลว่านก เเต่ใครจะรู้ว่าชีวิตของเธอไม่นกนะคะ(เเค่เกือบนกเท่านั้นเอง) เรื่องวรรณคดีไทยอาจจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับใครหลายคน เเต่ถ้าเราลองอ่านให้ดีก็จะรู้ว่าเสน่ห์ในวรรณคดีไทยก็มีความตราตรึงใจเเละมองให้มันเป็นเรื่องสนุกได้ไม่แพ้นิยายหรือวรรณกรรมใหม่ๆ ในสมัยนี้เลยล่ะค่ะ



เรื่องของนางศกุนตลาเป็นวรรณคดีที่เเทรกอยู่ในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะอีกทีหนึ่ง อย่างที่หลายคนคงทราบกันดีว่าเรื่องมหาภารตะเป็นเรื่องยาวมากๆ เเละในเรื่องยาวนั้นก็ปรากฏเป็นเรื่องแทรกต่างๆ หลายเรื่อง ซึ่งเรื่องของนางศกุนตลาก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจมากๆ พี่หวานจึงหยิบประวัติของนางมาเล่าให้ฟังในวันนี้ค่ะ เพราะถึงสุดท้ายชีวิตนางจะไม่นกเหมือนชื่อเเต่กว่าจะได้มีความสุขก็เสียน้ำตาไปเยอะเหมือนกันนางศกุนตลาแท้จริงเป็นธิดาของพระฤาษีวิศามิตรเเละนางฟ้าเมนกา โดยก่อนหน้าที่พระฤาษีวิศามิตรจะบำเพ็ญตบะเป็นฤาษีจนมีพลังแก่กล้าเป็นที่หวาดกลัวต่อเทวดาทั้งหลาย พระอินทร์เล็งเห็นจึงส่งนางฟ้าเมนกามายั่วหวังทำลายตบะ เเละก็สำเร็จผล ทั้งคู่ได้รักกันเเละให้กำเนิดนางศกุนตลา เเต่ภายหลังแม่ของนางได้คลอดไว้แล้วกลับขึ้นไปบนสวรรค์ ทิ้งนางไว้บนโลกมนุษย์ ฝ่ายพระฤาษีวิศามิตรก็ทอดทิ้งนางไว้เช่นกัน จนกระทั่งเวลาต่อมาพระฤาษีกัณวะได้ผ่านมาพบจึงเก็บไปเลี้ยงเเต่เนื่องจากในวัยเด็กนางศกุนตลาได้รับการเลี้ยงดูจากฝูงนกในป่า พระฤาษีกัณวะจึงตัดสินใจตั้งชื่อให้ว่านางศกุนตลาที่แปลว่านก เเละเลี้ยงดูจนนางเติบโตมาเป็นหญิงสาวที่งดงามยากจะมีคนเทียบได้ ดังบทชมโฉมบรรยายฉากที่ท้าวทุษยันต์แอบมามองนางศกุนตลาที่มีการเปรียบเทียบความงามของนางตั้งเเต่หัวจรดเท้า ค่อยๆ ชมไปทีละส่วน ทำให้คนอ่านจินตนาการตามได้ง่ายว่าถึงเเม้จะเติบโตมาในป่าเเต่นางก็ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ดังบทชมโฉมนี้

     นี่ฤาบุตรีพระดาบส      งามหมดหาใครจะเปรียบได้
อนิจจาบิดาท่านแสร้งใช้      มารดต้นไม้พวนดิน
ดูผิวสินวลลอองอ่อน           มลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น
สองเนตรงามกว่ามฤคิน      นางนี้เปนปิ่นโลกา
งามโอษฐ์ดังใบไม้อ่อน      งามกรดังลายเลขา
งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า      งามยอ่งบุบผาเเบ่งบาน
ควรหรือมานุ่งคากรอง      ควรเเต่เครื่องทองไพศาล
ควรเเต่เปนยอดนงคราญ      ควรคู่ผู้ผ่านแผ่นผไท

จากบทชมโฉมข้างต้นเป็นความคิดของท้าวทุษยันต์ที่แอบมองนางศกุนตลา นั่นเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท้าวทุษยันต์ตกหลุมรักนางศกุนตลา ท้าวทุษยันต์นั้นเป็นหนึ่งในสายต้นตระกูลกษัตริย์ผู้ครองกรุงหัสตินาปรุะ ตัดสินใจมาประพาสสัตว์กำลังตามล่ากวางมาถึงเขตอาศรมของฤาษีกัณวะ เเต่มีพระฤาษีท่านอื่นออกมาห้ามไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ทำให้ท้าวทุษยันต์ไม่ได้ยิ่งธนูใส่กวางตัวนั้น เเละได้มาเจอเเละเเอบมองนางศกุนตลาระหว่างที่อยู่กับพี่เลี้ยง จนตกตะลึงในความงามพรรณาโฉมนางออกมาอย่างบทชมโฉมข้างต้นนั่นเองค่ะหลังจากที่ได้เจอกับท้าวทุษยันต์ นางศกุนตลาที่อยู่ในป่ามาตลอดเพิ่งเจอชายหนุ่มมาเกี้ยวพาราสีอย่างนี้ก็เขินเป็นธรรมดา เเต่เพราะตนเป็นหญิงสาวเเละเป็นลูกของพระฤาษีไม่อยากเเสดงตนออกไปเกินงาม ในขณะที่ท้าวทุษยันต์นั้นตกหลุมรักนางศกุนตลาตั้งเเต่เเรกเห็นเลยค่ ะชมโฉมนางว่างดงามเกินกว่าจะมาอยู่ในป่า คู่ควรกับการเป็นนางเคียงกายของตนต่างหาก เเต่ครั้งเเรกที่เจอกันนั้นยังไม่ใช่จังหวะที่ถูกต้องนักท้าวทุษยันต์จึงกลับไปก่อนซึ่งฝ่ายนางศกุนตลาที่ก็มีใจให้มาตั้งเเต่ต้นก็เฝ้าคิดถึงจนพี่เลี้ยงร้อนใจเมื่อโชคชะตาของคนที่คู่กันเเล้วไม่เเคล้วกันทำให้ได้กลับมาใกล้ชิดอีกครั้ง พี่เลี้ยงทั้งสองเป็นคนอาสาไปสืบความให้เเน่ชัดว่าท้าวทุษยันต์คิดยังไงกับนางศกุนตลา ปรากฏว่าสองคนใจตรงกันเเละได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันเเต่ความโชคร้ายก็ยังไม่จบสิ้น เป็นอีกครั้งที่ต้องเเยกกันเพราะครั้งนี้ท้าวทุศยันต์มาล่าสัตว์ เเต่คราวหน้าพระองค์จะส่งคณะมารับนางเข้าไปเเต่งตั้งเป็นมเหสีอย่างสมเกียรติ โดยให้เเหวนเเทนใจเอาไว้ว่าจะกลับมารับตามสัญญาเเน่นอนอุปสรรคในความรักของนางศกุนตลากับท้าวทุษยันต์เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นเองค่ะ หลังจากท้าวทุษยันต์กลับไปยังกรุงหัสตินาปุระเเล้ว ฝ่ายนางศกุนตลาก็รอคอยอย่างมีความหวังแต่เพราะนี่เหมือนเป็นความรักครั้งเเรกพี่หวานก็พอจะเข้าใจอาการที่นางกินไม่ได้นอนไม่หลับจนตรอมใจ ซึ่งทั้หมดนำไปสู่เหตุการณ์เลวร้ายเมื่อฤาษีทุรวาสผู้มีาจาศักดิ์สิทธิ์เเละยังเป็นฤาษีที่มีอิทธิฤทธิ์ผ่านมาที่อาศรมเพื่อเยี่ยมฤาษีกัณวะ เเต่เรียกเท่าไหร่นางศกุนตลาก็ไม่ได้ยิน ก็เลยโมโกเเละสาปให้คนใดก็ตามที่นางศกุนตลาคิดถึงอยู่นั้นเป็นฝ่ายลืมนางจนหมดสิ้น ไม่ว่าใครทักเตือนอะไรก็ขอให้จำไม่ได้ พี่เลี้ยงทั้งสองที่ได้ยินคำสาปแช่งก็พากันตกใจเข้าไปขอโทษขอโพยต่อฤาษีทุรวาส อธิบายให้ฟังว่านางศกุนตลานั้นไม่ได้มีเจตนาที่จะเพิกเฉย เเต่เพราะนางป่วยใจจากพิษรักจึงไม่รู้ว่าฤาษีทุรวาสเดินทางมาถึงเเล้ว ฝ่ายฤาษีทุรวาสได้ยินดังนั้นก็เข้าใจเเต่คำพูดที่ลั่นวาจาไปเเล้วยกเลิกไม่ได้ จึงกล่าวต่อว่าเเต่ถ้าคนๆ นั้นได้เห็นแหวนซึ่งเป็นของเเทนใจจึงจะสามารถจำได้

หลังจากพระฤาษีกัณวะกลับมาทราบเรื่องราวทั้งหมดก็ตัดสินใจส่งนางศกุนตลากลับไปหาท้าวทุษยันต์ที่กรุงหัสตินาปุระ ความโชคร้ายยังไม่สิ้นสุดเพราะนางทำแหวนหล่นในน้ำ ทำให้ไม่มีหลักฐานไปเเสดงตัวเเละท้าวทุษยันต์ก็จำนางไม่ได้ตามคำสาปของฤาษีทุรวาส ทั้งขับไล่นางศกุนตลาออกไปจากเมืองเเละไม่ไยดี จนนางช้ำใจยอมกลับออกไปทั้งที่ตอนนั้นนางกำลังตั้งภรรภ์อยู่ด้วย ต่อมามีชาวประมงที่จับปลาได้หลังจากผ่าท้องปลาเจอแหวนจึงนำกลับมาถวายต่อท้าวทุษยันต์ เมื่อท้าวทุษยันต์ไ พระอินทร์จึงเข้ามาช่วยเหลือโดยการส่งมาตุลีลงไปรับท้าวทุษยันต์ให้มาปราบอสูรจนสำเร็จ เเละผลงานครั้งนั้นทำให้พระกศปพึงพอใจมากจะตกรางวัลให้เป็นสตรีนางหนึ่งซึ่งก็คือนางศกุนตลาที่กลับมาพบท้าวทุษยันต์พร้อมโอรสหนึ่งองค์ชื่อว่าพระภรต ซึ่งจะโยงเข้าสู่เรื่องราวมหาภารตะเป็นลำดับต่อไปจากที่เคยศึกษามาพี่หวานคิดว่าเรื่องนางศกุนตลา เป็นเหมือนจุดกำเนิด เป็นการปูเรื่องเริ่มต้นทำให้เข้าใจลำดับวงศาคณาญาติของตัวละครในเรื่องมหาภารตะได้ ส่วนข้อคิดจากเรื่องนี้ก็เป็นวรรณคดีไทยอีกเรื่องที่ถ่ายทอดให้เห็น 'พิษรัก' และการยึดมั่นในรักจนนำมาซึ่งความเดือนร้อนต่างๆ เรื่องศกุนตลาเป็นผลงานพระราชนิพนธ์ที่รัชกาลที่ 6 ดัดแปลงมาจากเค้าเรื่องเดิม ในลักษณะของบทละครที่จะมีการแบ่งองก์ต่างๆ ในการเล่าเรื่อง ซึ่งพี่หวานคิดว่าผลงานของพระองค์ท่านล่วนมีเสน่ห์ในการเล่าให้เห็นภาพจริงค่ะ อย่างที่น้องๆ อ่านไปข้างต้นจะเห็นว่านางศกุนตลานั้นตกหลุมรักท้าวทุษยันต์จนไม่เป็นอันทำอะไร ใครมาเรียกก็ไม่ได้ยิน จนทำให้ฤาษีทุรวาสโมโห ก็เหมือนกับชีวิตคนเรา การมีความรักเป็นเเรงผลักดันเป็นเรื่องที่ดีค่ะ เเต่ถ้าเกิดเราปล่อยให้ความรักอย่างไม่พอดีมานำทางชีวิต ความรักนั้นก็จะพังชีวิตเราได้เช่นกัน ดังเหตุการณ์ในเรื่องที่นางศกุนตลาเป็นลูกที่ฤาษีเก็บมาเลี้ยงยิ่งรู้ดีว่าควรปฏิบัติตัวปรนนิบัติต่อฤาษีอย่างไร เป็นไปไม่ได้ที่นางจะลืมข้อปฏิบัติตนในข้อนี้ไป เพราะนางได้รับการยอมรับว่าเป็นลูกที่ดีและไม่เคยบกพร้องในหน้าที่มาโดยตลอด แต่เมื่อเริ่มรู้สึกตกอยู่ในห้วงความรักต่อท้าวทุษยันต์กลับทำให้ลืมหน้าที่ของตนไป นั่นจึงเป็นอีกข้อคิดสำคัญที่วรรณคดีเรื่องนี้กำลังจะสอนให้เรารู้ว่า การมีความรักอย่างพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไปนั้นจะเป็นผลดีต่อตัวเราที่สุดค่ะ



จริงๆ เเล้วถ้ามองว่าวรรณคดีไทยเป็นนิยายสักเรื่องพี่หวานคิดว่าประเภทของวรรณคดีที่มีคนเขียนเยอะที่สุดก็คือนิยายรักนี่แหละค่ะ เเถมหลายๆ เรื่องยังเป็นนิยายรักที่ชอบมีตอนจบเเบบเศร้าๆ ซะด้วย อย่างเรื่องชีวิตของนางศกุนตลาก็เช่นกัน สำหรับบทความหน้าพี่หวานจะมีเรื่องราวของใครในวรรณคดีเรื่องไหนมาเล่าให้ฟังอีกต้องติดตามให้ดีนะคะ พบกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^___^
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่