ต้องบอกว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาทุกวัน เพื่อแก้ปัญหาของสังคม ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเรา และบางครั้งก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิตเรา ทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของเราให้ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด หรือแม้แต่เปลี่ยนการใช้ชีวิตของเราไปเลย
JobThai Tips กระทู้นี้จะพาไปอัปเดตภาพรวมเทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตอันใกล้นี้ และมีเทคโนโลยีไหนบ้างที่จะเหมาะกับสายงานไหน และจะสร้างโอกาสจากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไงบ้าง เราไปดูกันเลย
NFT ความหวังใหม่ของคนทำงานสายฟรีแลนซ์
นอกจากเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency ที่เป็นที่ยอมรับมาก และสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับตลาดเทคโนโลยีแล้ว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Non-Fungible Token หรือเรียกสั้น ๆ ว่า NFT ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้นึกภาพตามว่า Cryptocurrency คือ สกุลเงินดิจิทัล แต่ NFT นั้นเป็น สินทรัพย์ดิจิทัล นี่คือความแตกต่างอันดับแรก
NFT อธิบายง่าย ๆ ก็คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถตรวจสอบที่มาและสิทธิ์การเป็นเจ้าของได้ผ่านระบบ Blockchain ซึ่งก็เหมือนกับการซื้อผลงานภาพศิลปะของศิลปินเพื่อที่เราจะได้มีผลงานชิ้นนั้นมาไว้ในครอบครอง ต่างกันที่สินทรัพย์นั้นจับต้องไม่ได้ แต่ NFT เป็นการต่อยอดมาจากรากฐานที่สำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเกิดมาเพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม โปร่งใส และไม่ผูกขาดไว้กับสถาบันทางการเงินของกลุ่มทุนขนาดใหญ่หรือกลไกของรัฐ ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นนั่นเอง ในปัจจุบัน NFT นั้นมีมูลค่าค่อนข้างสูงเพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมักจะมีการผลิตขึ้นมาเพียงชิ้นเดียวในโลก ตลาดการประมูล NFT จึงมีความผันผวนสูง ไม่แพ้ตลาดซื้อ-ขาย Cryptocurrency แต่ต่างกันตรงที่ Crypto นั้นเป็นสกุลเงินชนิดหนึ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่า Crypto สกุลอื่น ๆ ได้ ทำให้คนนิยมลงทุนกันเพื่อเก็งกำไร แต่จุดเด่นของ NFT คือ คุณค่าของการเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถทำซ้ำได้ มูลค่าที่เกิดขึ้นจากการขายจึงเกิดขึ้นจากการต้องการถือครองสินทรัพย์ที่มีน้อยชิ้นในโลกนั่นเอง
ในอนาคต คนที่ทำงานสายฟรีแลนซ์ฝีมือดีจะมีทางเลือกในการทำงานมากขึ้น หากมีไอเดียที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครก็อาจจะหันมาสร้างผลงานในรูปแบบ NFT อย่างเต็มตัว โดยรูปแบบผลงานในปัจจุบัน นอกจากผลงานศิลปะแบบดิจิทัลที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว NFT ยังเป็นได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ไฟล์ภาพ เสียงและวิดีโอ ซึ่งหลายวงการทั้งวงการเพลง ภาพยนตร์ กีฬา ต่างก็ตื่นตัวกับกระแสนี้เช่นกัน รวมถึงไอเทมภายในเกมก็สามารถซื้อขายเป็น NFT ได้เช่นกัน อีกหน่อยเราคงได้เห็นผลงาน NFT ของคนไทยมากขึ้น จนมีชื่อเสียงในระดับโลกเลยก็ได้
Metaverse จุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตของมนุษย์ยุคใหม่ในโลกเสมือนจริง
คงไม่มีใครไม่รู้จัก Social Media ชื่อดังอย่าง Facebook ที่มีแนวคิดแรกเริ่มมาจากการทำหนังสือรุ่นออนไลน์ที่ทำให้คนได้พบปะและเชื่อมต่อกัน แต่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไม่เคยหยุดอยู่กับที่ และเขามองเห็นว่าสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้ไปได้ไกลว่านั้น จนเมื่อปลายปี 2021 เขาได้ประกาศสร้างจักรวาลเสมือนจริง หรือที่รู้จักกันในชื่อ Metaverse และถึงกับเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อให้รับกับการเติบโตขององค์กรที่กำลังก้าวสู่อนาคต
ความน่าสนใจของ Metaverse คือ วิสัยทัศน์ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ที่อยากผลักดันให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของเขาได้เข้าถึงประสบการณ์ของโลกเสมือนจริงได้ลึกล้ำยิ่งขึ้น ถ้าอธิบายง่าย ๆ ก็คือการใช้งาน Facebook ที่มีฉากเหมือนเราหลุดไปอยู่ในโลกดิจิทัล แบบหนังเรื่อง Ready Player One แต่วันนี้มันกำลังจะใกล้ความเป็นจริงแล้วภายระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ก่อนหน้านี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เริ่มลงทุนในเทคโนโลยี VR และ AR โดยซื้อกิจการของ Oculus Rift บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ VR ในปี 2014 ซึ่งในตอนนั้นทุกคนต่างก็คิดแค่ว่าเขาอยากลงทุนในอุตสาหกรรมเกม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทในด้านใหม่ ๆ เท่านั้น ใครจะรู้ว่าเขาทำเพราะมีแผนจะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเป็น Ecosystem รองรับการสร้าง Metaverse ด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเองซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัทอยู่แล้ว บวกกับความเชี่ยวชาญในการผลิตฮาร์ดแวร์ VR ของบริษัทที่ซื้อมา จึงทำให้ Meta มีความพร้อมในการพัฒนาโลกเสมือนจริงนี้ นอกจากนั้น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยังคิดเผื่อไว้แล้วว่า การจะทำให้ Metaverse เข้าถึงได้ง่าย ต้องปรับการใช้งานของแว่นตา VR ที่ปัจจุบันมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก เป็นแว่นตาขนาดเล็กเท่ากับแว่นสายตาทั่วไป รวมไปถึงการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้มีราคาถูก คนทั่วไปสามารถจับต้องได้
เมื่อ Metaverse เปิดให้ใช้งานเราคงจะมีตัว Avatar แทนตัว ในรูปแบบ 3 มิติ และปรับแต่งให้เป็นตัวเองได้ตามใจ ที่สำคัญคือ เราสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวในโลกดิจิทัล เช่น มีบ้านที่ตกแต่งได้ เปิดให้เพื่อนเข้ามาพูดคุยสังสรรค์กันได้ หรือแม้แต่การทำเรื่องจริงจัง อย่างการประชุมงานในโลกเสมือนจริง
เรื่องของ Metaverse อาจจะยังเป็นเรื่องไกลตัวและต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกสักระยะกว่าคนทั่วไปจะสามารถใช้งานได้จริง แต่ถ้าหากมองในพฤติกรรมของเราในปัจจุบันที่แทบจะใช้ชีวิตติดอยู่กับ Social Media อยู่ตลอดเวลา ใครจะไปรู้ ในอนาคตเราอาจจะได้สมัครงานและสัมภาษณ์งานผ่าน Metaverse ก็เป็นได้
ระบบของ AI ฉลาดมากขึ้นและแทรกตัวอยู่ในทุกที่ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หลายคนคงน่าจะเคยได้ยินข่าวเรื่อง Artificial Intelligence หรือ AI เอาชนะคนจริง ๆ ที่เป็นแชมป์โลกในการแข่งขันหมากรุกได้ นี่เป็นอีกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี AI นั้นพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด และมีทีท่าว่าจะทำงานได้ซับซ้อนมากขึ้น จนในอนาคตอาจจะมีความฉลาดกว่ามนุษย์อีกหลายเท่า ยังไงก็ตามถ้ามองในระดับการประยุกต์ใช้ AI กับชีวิตประจำวัน เราจะเห็น AI อยู่ตามอุปกรณ์ต่าง ๆ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ทำงานได้ตามการสั่งการของมนุษย์ ถ้ารวมการประมวลผลของ AI เข้าไปด้วยแล้ว มันจะเรียนรู้การทำงานผ่านข้อมูลพฤติกรรมการผู้ใช้ เช่น ในยุคแรก ๆ ก็คือตัวประมวลผลของโทรศัพท์มือถือ ที่เพียงแค่เปิดกล้องถ่ายภาพขึ้นมา AI ก็จะประเมินว่าภาพนี้เป็นภาพอาหาร หรือคน และปรับเปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพให้โดยอัตโนมัติ จนปัจจุบันที่เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดก็มี AI เป็นส่วนสั่งการการประมวลผลในการทำงาน ตัวอย่างหนึ่งที่โดดเด่นสุด ๆ คือ AI ของ Tesla ที่ทำให้เทคโนโลยีรถไร้คนขับของ Tesla สามารถเกิดขึ้นจริงได้ โดยอาศัยการคำนวณของ AI ในการสั่งให้รถวิ่งและควบคุมทิศทางในรถอยู่ในเลนของตัวเอง โดยจะทำงานร่วมกันกับระบบสัญญาณไฟจราจร ระบบเซ็นเซอร์รอบตัวรถที่จับทิศทางของรถคันอื่น ๆ บนท้องถนน และข้อมูลโครงสร้างเส้นทางการจราจร เป็นต้น ทำให้รถสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเองเสมือนกับเราเป็นผู้ขับอยู่ แม้ระบบจะยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นเมื่อสัก 20 ปีก่อน เรื่องนี้คงเป็นแค่ฉากในหนัง
บทสรุปสำหรับเทคโนโลยี AI ก็คือ อีกไม่นานเทคโนโลยีนี้จะมีความแม่นยำในการทำงานมากขึ้น สามารถทำตามหน้าที่คาดการณ์พฤติกรรมของผู้งานใช้ได้แม่นยำ และกลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาแน่นอน
Automation และ Robotics รวมถึง Digitalization มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีในการใช้ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) ในสายการผลิตของโรงงาน และการใช้หุ่นยนต์ (Robotics) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิตของโลกสมัยใหม่มานานแล้ว โดยวัตถุประสงค์ของระบบดังกล่าว คือการสนับสนุนการทำงานของแรงงานมนุษย์ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และลดต้นทุนการผลิต ยิ่งในปัจจุบัน ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติได้ถูกประสานเข้ากับการทำงานของเทคโนโลยี AI ผลลัพธ์ของเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและประกอบไปด้วยหลายเทคโนโลยีย่อยจึงทำให้เครื่องจักรสามารถทำหน้าที่ได้หลากหลายมากขึ้น สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือมันสามารถทำงานได้ดีกว่า และมีข้อผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์
เมื่อพูดถึงฮาร์ดแวร์ไปแล้ว ก็คงต้องพูดถึงซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องไม่แพ้กัน ประกอบกับเทรนด์ธุรกิจของโลกที่ต้องการยกระดับกระบวนการทำงานด้วยกระบวนการ Digitalization อาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ เปลี่ยนจากการทำงานบนกระดาษมาเป็นการบันทึกข้อมูลในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลที่เครื่องคอมพิวเตอร์นำไปใช้งานต่อได้ทันที ทำให้คนเราทำงานให้สำเร็จได้ด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าเดิมเมื่อเทียบกับอดีต เช่น ในงานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่างงานสถาปนิก เขียนแบบ ออกแบบอาคาร การตกแต่งภายใน หรือ การวาดการ์ตูน Animation ทุกวันนี้ก็เป็นการเขียนด้วยซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ดิจิทัลเกือบหมดแล้ว หรือแม้แต่ในการทำงานของพนักงานออฟฟิศทั่วไป ก็มีการใช้ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP กันอย่างอย่างแพร่หลาย เพื่อการวางแผนการจัดการทรัพยากรองค์รวม ทำให้แต่ละแผนกทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบผ่านซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลผ่านเซิฟเวอร์คลาวด์ หรือ ฮาร์ดแวร์ของบริษัท
จริงอยู่ที่ในอนาคตแรงงานคนอาจถูกทดแทนด้วยแรงงานเครื่องจักรอัตโนมัติที่ฉลาดและทำงานได้หลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี คือ การพัฒนาตนเอง หากยังต้องการทำงานในสายอุตสาหกรรมการผลิต โดยการเปลี่ยนจากแรงงานฝีมือไปเป็นการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจักร
เมื่อโลกหมุนเร็ว คนทำงานอย่างเราก็ต้องยิ่งก้าวตามให้ทัน ถ้ามัวแต่ชะล่าใจ ไม่เตรียมพร้อมล่วงหน้า เพราะคิดว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นเรื่องของอนาคต เราอาจจะพลาดโอกาสครั้งสำคัญของโลกการทำงานสมัยใหม่ที่ต้องอาศัยมากกว่าความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการประสบความสำเร็จเหมือนแต่ก่อน เห็นได้จากการที่ธุรกิจทุกอุตสาหกรรมต่างก็ต้องปรับตัวจากผลกระทบของการระบาดของ Covid-19 โดยการพึ่งพาเทคโนโลยีที่สูงขึ้นเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่ายุคก่อน และอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤต และเมื่อเราค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานจนคุ้นชินกับเทคโนโลยีในปัจจุบันแล้ว ย่อมจะต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสร้างการเปลี่ยนในกระบวนการทำงานของโลกอนาคตอันใกล้อีกอย่างแน่นอน
สุดท้าย การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญในทุก ๆ วันของการทำงาน การเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้เรารู้เท่าทันเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์ของมันได้อย่างเต็มที่ และอาจสร้างความได้เปรียบในการทำงานให้กับเราได้อย่างคาดไม่ถึง ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตัดสินใจว่าจะยอมให้โลกเปลี่ยนเราหรือ เลือกที่จะเป็นเราที่เปลี่ยนโลก
เทรนด์เทคโนโลยีที่คนทำงานต้องตามให้ทัน
JobThai Tips กระทู้นี้จะพาไปอัปเดตภาพรวมเทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตอันใกล้นี้ และมีเทคโนโลยีไหนบ้างที่จะเหมาะกับสายงานไหน และจะสร้างโอกาสจากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ยังไงบ้าง เราไปดูกันเลย
NFT ความหวังใหม่ของคนทำงานสายฟรีแลนซ์
นอกจากเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency ที่เป็นที่ยอมรับมาก และสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับตลาดเทคโนโลยีแล้ว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Non-Fungible Token หรือเรียกสั้น ๆ ว่า NFT ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้นึกภาพตามว่า Cryptocurrency คือ สกุลเงินดิจิทัล แต่ NFT นั้นเป็น สินทรัพย์ดิจิทัล นี่คือความแตกต่างอันดับแรก
NFT อธิบายง่าย ๆ ก็คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถตรวจสอบที่มาและสิทธิ์การเป็นเจ้าของได้ผ่านระบบ Blockchain ซึ่งก็เหมือนกับการซื้อผลงานภาพศิลปะของศิลปินเพื่อที่เราจะได้มีผลงานชิ้นนั้นมาไว้ในครอบครอง ต่างกันที่สินทรัพย์นั้นจับต้องไม่ได้ แต่ NFT เป็นการต่อยอดมาจากรากฐานที่สำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเกิดมาเพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม โปร่งใส และไม่ผูกขาดไว้กับสถาบันทางการเงินของกลุ่มทุนขนาดใหญ่หรือกลไกของรัฐ ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นนั่นเอง ในปัจจุบัน NFT นั้นมีมูลค่าค่อนข้างสูงเพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมักจะมีการผลิตขึ้นมาเพียงชิ้นเดียวในโลก ตลาดการประมูล NFT จึงมีความผันผวนสูง ไม่แพ้ตลาดซื้อ-ขาย Cryptocurrency แต่ต่างกันตรงที่ Crypto นั้นเป็นสกุลเงินชนิดหนึ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่า Crypto สกุลอื่น ๆ ได้ ทำให้คนนิยมลงทุนกันเพื่อเก็งกำไร แต่จุดเด่นของ NFT คือ คุณค่าของการเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถทำซ้ำได้ มูลค่าที่เกิดขึ้นจากการขายจึงเกิดขึ้นจากการต้องการถือครองสินทรัพย์ที่มีน้อยชิ้นในโลกนั่นเอง
ในอนาคต คนที่ทำงานสายฟรีแลนซ์ฝีมือดีจะมีทางเลือกในการทำงานมากขึ้น หากมีไอเดียที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครก็อาจจะหันมาสร้างผลงานในรูปแบบ NFT อย่างเต็มตัว โดยรูปแบบผลงานในปัจจุบัน นอกจากผลงานศิลปะแบบดิจิทัลที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว NFT ยังเป็นได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ไฟล์ภาพ เสียงและวิดีโอ ซึ่งหลายวงการทั้งวงการเพลง ภาพยนตร์ กีฬา ต่างก็ตื่นตัวกับกระแสนี้เช่นกัน รวมถึงไอเทมภายในเกมก็สามารถซื้อขายเป็น NFT ได้เช่นกัน อีกหน่อยเราคงได้เห็นผลงาน NFT ของคนไทยมากขึ้น จนมีชื่อเสียงในระดับโลกเลยก็ได้
Metaverse จุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตของมนุษย์ยุคใหม่ในโลกเสมือนจริง
คงไม่มีใครไม่รู้จัก Social Media ชื่อดังอย่าง Facebook ที่มีแนวคิดแรกเริ่มมาจากการทำหนังสือรุ่นออนไลน์ที่ทำให้คนได้พบปะและเชื่อมต่อกัน แต่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไม่เคยหยุดอยู่กับที่ และเขามองเห็นว่าสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้ไปได้ไกลว่านั้น จนเมื่อปลายปี 2021 เขาได้ประกาศสร้างจักรวาลเสมือนจริง หรือที่รู้จักกันในชื่อ Metaverse และถึงกับเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อให้รับกับการเติบโตขององค์กรที่กำลังก้าวสู่อนาคต
ความน่าสนใจของ Metaverse คือ วิสัยทัศน์ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ที่อยากผลักดันให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของเขาได้เข้าถึงประสบการณ์ของโลกเสมือนจริงได้ลึกล้ำยิ่งขึ้น ถ้าอธิบายง่าย ๆ ก็คือการใช้งาน Facebook ที่มีฉากเหมือนเราหลุดไปอยู่ในโลกดิจิทัล แบบหนังเรื่อง Ready Player One แต่วันนี้มันกำลังจะใกล้ความเป็นจริงแล้วภายระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ก่อนหน้านี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เริ่มลงทุนในเทคโนโลยี VR และ AR โดยซื้อกิจการของ Oculus Rift บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ VR ในปี 2014 ซึ่งในตอนนั้นทุกคนต่างก็คิดแค่ว่าเขาอยากลงทุนในอุตสาหกรรมเกม เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทในด้านใหม่ ๆ เท่านั้น ใครจะรู้ว่าเขาทำเพราะมีแผนจะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเป็น Ecosystem รองรับการสร้าง Metaverse ด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเองซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัทอยู่แล้ว บวกกับความเชี่ยวชาญในการผลิตฮาร์ดแวร์ VR ของบริษัทที่ซื้อมา จึงทำให้ Meta มีความพร้อมในการพัฒนาโลกเสมือนจริงนี้ นอกจากนั้น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยังคิดเผื่อไว้แล้วว่า การจะทำให้ Metaverse เข้าถึงได้ง่าย ต้องปรับการใช้งานของแว่นตา VR ที่ปัจจุบันมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก เป็นแว่นตาขนาดเล็กเท่ากับแว่นสายตาทั่วไป รวมไปถึงการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้มีราคาถูก คนทั่วไปสามารถจับต้องได้
เมื่อ Metaverse เปิดให้ใช้งานเราคงจะมีตัว Avatar แทนตัว ในรูปแบบ 3 มิติ และปรับแต่งให้เป็นตัวเองได้ตามใจ ที่สำคัญคือ เราสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวในโลกดิจิทัล เช่น มีบ้านที่ตกแต่งได้ เปิดให้เพื่อนเข้ามาพูดคุยสังสรรค์กันได้ หรือแม้แต่การทำเรื่องจริงจัง อย่างการประชุมงานในโลกเสมือนจริง
เรื่องของ Metaverse อาจจะยังเป็นเรื่องไกลตัวและต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกสักระยะกว่าคนทั่วไปจะสามารถใช้งานได้จริง แต่ถ้าหากมองในพฤติกรรมของเราในปัจจุบันที่แทบจะใช้ชีวิตติดอยู่กับ Social Media อยู่ตลอดเวลา ใครจะไปรู้ ในอนาคตเราอาจจะได้สมัครงานและสัมภาษณ์งานผ่าน Metaverse ก็เป็นได้
ระบบของ AI ฉลาดมากขึ้นและแทรกตัวอยู่ในทุกที่ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หลายคนคงน่าจะเคยได้ยินข่าวเรื่อง Artificial Intelligence หรือ AI เอาชนะคนจริง ๆ ที่เป็นแชมป์โลกในการแข่งขันหมากรุกได้ นี่เป็นอีกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี AI นั้นพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด และมีทีท่าว่าจะทำงานได้ซับซ้อนมากขึ้น จนในอนาคตอาจจะมีความฉลาดกว่ามนุษย์อีกหลายเท่า ยังไงก็ตามถ้ามองในระดับการประยุกต์ใช้ AI กับชีวิตประจำวัน เราจะเห็น AI อยู่ตามอุปกรณ์ต่าง ๆ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ทำงานได้ตามการสั่งการของมนุษย์ ถ้ารวมการประมวลผลของ AI เข้าไปด้วยแล้ว มันจะเรียนรู้การทำงานผ่านข้อมูลพฤติกรรมการผู้ใช้ เช่น ในยุคแรก ๆ ก็คือตัวประมวลผลของโทรศัพท์มือถือ ที่เพียงแค่เปิดกล้องถ่ายภาพขึ้นมา AI ก็จะประเมินว่าภาพนี้เป็นภาพอาหาร หรือคน และปรับเปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพให้โดยอัตโนมัติ จนปัจจุบันที่เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดก็มี AI เป็นส่วนสั่งการการประมวลผลในการทำงาน ตัวอย่างหนึ่งที่โดดเด่นสุด ๆ คือ AI ของ Tesla ที่ทำให้เทคโนโลยีรถไร้คนขับของ Tesla สามารถเกิดขึ้นจริงได้ โดยอาศัยการคำนวณของ AI ในการสั่งให้รถวิ่งและควบคุมทิศทางในรถอยู่ในเลนของตัวเอง โดยจะทำงานร่วมกันกับระบบสัญญาณไฟจราจร ระบบเซ็นเซอร์รอบตัวรถที่จับทิศทางของรถคันอื่น ๆ บนท้องถนน และข้อมูลโครงสร้างเส้นทางการจราจร เป็นต้น ทำให้รถสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเองเสมือนกับเราเป็นผู้ขับอยู่ แม้ระบบจะยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นเมื่อสัก 20 ปีก่อน เรื่องนี้คงเป็นแค่ฉากในหนัง
บทสรุปสำหรับเทคโนโลยี AI ก็คือ อีกไม่นานเทคโนโลยีนี้จะมีความแม่นยำในการทำงานมากขึ้น สามารถทำตามหน้าที่คาดการณ์พฤติกรรมของผู้งานใช้ได้แม่นยำ และกลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาแน่นอน
Automation และ Robotics รวมถึง Digitalization มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีในการใช้ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) ในสายการผลิตของโรงงาน และการใช้หุ่นยนต์ (Robotics) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิตของโลกสมัยใหม่มานานแล้ว โดยวัตถุประสงค์ของระบบดังกล่าว คือการสนับสนุนการทำงานของแรงงานมนุษย์ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และลดต้นทุนการผลิต ยิ่งในปัจจุบัน ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติได้ถูกประสานเข้ากับการทำงานของเทคโนโลยี AI ผลลัพธ์ของเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและประกอบไปด้วยหลายเทคโนโลยีย่อยจึงทำให้เครื่องจักรสามารถทำหน้าที่ได้หลากหลายมากขึ้น สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือมันสามารถทำงานได้ดีกว่า และมีข้อผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์
เมื่อพูดถึงฮาร์ดแวร์ไปแล้ว ก็คงต้องพูดถึงซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องไม่แพ้กัน ประกอบกับเทรนด์ธุรกิจของโลกที่ต้องการยกระดับกระบวนการทำงานด้วยกระบวนการ Digitalization อาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ เปลี่ยนจากการทำงานบนกระดาษมาเป็นการบันทึกข้อมูลในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลที่เครื่องคอมพิวเตอร์นำไปใช้งานต่อได้ทันที ทำให้คนเราทำงานให้สำเร็จได้ด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าเดิมเมื่อเทียบกับอดีต เช่น ในงานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่างงานสถาปนิก เขียนแบบ ออกแบบอาคาร การตกแต่งภายใน หรือ การวาดการ์ตูน Animation ทุกวันนี้ก็เป็นการเขียนด้วยซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ดิจิทัลเกือบหมดแล้ว หรือแม้แต่ในการทำงานของพนักงานออฟฟิศทั่วไป ก็มีการใช้ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP กันอย่างอย่างแพร่หลาย เพื่อการวางแผนการจัดการทรัพยากรองค์รวม ทำให้แต่ละแผนกทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบผ่านซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลผ่านเซิฟเวอร์คลาวด์ หรือ ฮาร์ดแวร์ของบริษัท
จริงอยู่ที่ในอนาคตแรงงานคนอาจถูกทดแทนด้วยแรงงานเครื่องจักรอัตโนมัติที่ฉลาดและทำงานได้หลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี คือ การพัฒนาตนเอง หากยังต้องการทำงานในสายอุตสาหกรรมการผลิต โดยการเปลี่ยนจากแรงงานฝีมือไปเป็นการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องจักร
เมื่อโลกหมุนเร็ว คนทำงานอย่างเราก็ต้องยิ่งก้าวตามให้ทัน ถ้ามัวแต่ชะล่าใจ ไม่เตรียมพร้อมล่วงหน้า เพราะคิดว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นเรื่องของอนาคต เราอาจจะพลาดโอกาสครั้งสำคัญของโลกการทำงานสมัยใหม่ที่ต้องอาศัยมากกว่าความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการประสบความสำเร็จเหมือนแต่ก่อน เห็นได้จากการที่ธุรกิจทุกอุตสาหกรรมต่างก็ต้องปรับตัวจากผลกระทบของการระบาดของ Covid-19 โดยการพึ่งพาเทคโนโลยีที่สูงขึ้นเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่ายุคก่อน และอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤต และเมื่อเราค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานจนคุ้นชินกับเทคโนโลยีในปัจจุบันแล้ว ย่อมจะต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสร้างการเปลี่ยนในกระบวนการทำงานของโลกอนาคตอันใกล้อีกอย่างแน่นอน
สุดท้าย การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญในทุก ๆ วันของการทำงาน การเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้เรารู้เท่าทันเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์ของมันได้อย่างเต็มที่ และอาจสร้างความได้เปรียบในการทำงานให้กับเราได้อย่างคาดไม่ถึง ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตัดสินใจว่าจะยอมให้โลกเปลี่ยนเราหรือ เลือกที่จะเป็นเราที่เปลี่ยนโลก