หนังเกาหลีญี่ปุ่นกำกับ Broker
ผลงานภาพยนตร์ลำดับที่ 20 ของ ผกก. โครีเอดะ
เป็นเหมือน Shoplifters เวอร์ชั่น Road Movie ที่ใช้นักแสดงชาวเกาหลี และถ่ายทำในประเทศเกาหลีใต้
หนังเรื่องนี้ตั้งคำถามถึงประเด็นคลาสสิคที่ว่า อะไรทำลายชีวิตมากกว่ากัน ระหว่าง "การทำแท้ง" (คร่าชีวิตมนุษย์ก่อนจะลืมตาดูโลก) กับ "การมีลูกทั้งที่ไม่พร้อม" (ซึ่งอาจทำให้เด็กเหมือนตกนรกทั้งเป็น)
เริ่มเรื่องด้วย "โซยอง" คุณแม่ยังสาวนำทารกน้อย "ดงซู" ไปทิ้งไว้ในกล่องรับเด็กทารกหน้าโบสถ์ โดยหารู้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะนำพาเธอและลูกน้อยเข้าไปพัวพันกับขบวนการค้ามนุษย์
เช่นเดียวกับผลงานเรื่องก่อน ๆ ตั้งแต่ Nobody Knows เสน่ห์ของหนังโครีเอดะ คือการนำดราม่าข้น ๆ มาถ่ายทอดด้วยมุมมองแบบมนุษยนิยม ต่างจาก fiction ทั่วไปที่มักจะตัดสินตัวละครแบบดำ-ขาว (อีนี่ทิ้งลูกจะต้องเป็นนางมารร้ายแน่ ๆ) หนังโครีเอดะจะค่อย ๆ พาเราไปสำรวจแง่มุมชีวิต บริบทสังคม และปูมหลังของตัวละคร ซึ่งต่างก็มีเหตุผลในการกระทำของตัวเอง และความบ้าบอของทั้ง Shoplifters หรือ Broker ก็คือ Moment สุดประทับใจมักจะปรากฏอยู่ในช่วงเวลาที่ครอบครัวคนแปลกหน้าใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายให้แก่กัน
ส่วนตัวให้คะแนน Shoplifters มากกว่าหน่อย ดูลงตัวและธรรมชาติกว่า ส่วน Broker เหมือนมันพยายามยัดหลายสิ่งเข้ามามากไปหน่อย และพยายามจบแบบสวย ๆ เลยแอบขาด ๆ เกิน ๆ ไปนิด
หาข้อมูลคร่าว ๆ ไอเดียในการทำหนัง Broker ของโครีเอดะ บังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2013 ตอนทำหนัง Like Father, Like Son เมื่อเขาค้นคว้าแล้วก็พบว่าระบบการรับลูกบุญธรรมของญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้นั้นเหมือนกันเป๊ะ ขณะที่ไอเดียเรื่อง Baby Box (กล่องรับเด็กทารก) นั้นในญี่ปุ่นมีอยู่จริงที่เดียว คือที่โรงพยาบาล Jikei ในเมืองคุมาโมโตะ แต่ที่ประเทศอื่น ๆ รวมถึงเกาหลีใต้นั้นมี Baby Box เยอะจนเป็นเรื่องปกติ (โบสถ์ Jusarang ที่มีการวาง Baby Box มาตั้งแต่ปี 2009 เคยมีทารกที่ถูกนำมาวางทิ้งไว้เกือบ 2,000 ราย)
โครีเอดะ ซึ่งเคยร่วมงานกับ แบดูนา ในหนัง Air Doll (2009) และได้พบปะกับ ซองกังโฮ และ คังดงวอน ตามเทศกาลหนังต่าง ๆ จึงได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน และชักชวนมาทำหนัง โดยพวกเขาเริ่มถ่ายทำโปรเจค Broker ในปี 2020
[CR] 'Broker' ผลงานหนังเกาหลีของโครีเอดะ
ผลงานภาพยนตร์ลำดับที่ 20 ของ ผกก. โครีเอดะ
เป็นเหมือน Shoplifters เวอร์ชั่น Road Movie ที่ใช้นักแสดงชาวเกาหลี และถ่ายทำในประเทศเกาหลีใต้
หนังเรื่องนี้ตั้งคำถามถึงประเด็นคลาสสิคที่ว่า อะไรทำลายชีวิตมากกว่ากัน ระหว่าง "การทำแท้ง" (คร่าชีวิตมนุษย์ก่อนจะลืมตาดูโลก) กับ "การมีลูกทั้งที่ไม่พร้อม" (ซึ่งอาจทำให้เด็กเหมือนตกนรกทั้งเป็น)
เริ่มเรื่องด้วย "โซยอง" คุณแม่ยังสาวนำทารกน้อย "ดงซู" ไปทิ้งไว้ในกล่องรับเด็กทารกหน้าโบสถ์ โดยหารู้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะนำพาเธอและลูกน้อยเข้าไปพัวพันกับขบวนการค้ามนุษย์
เช่นเดียวกับผลงานเรื่องก่อน ๆ ตั้งแต่ Nobody Knows เสน่ห์ของหนังโครีเอดะ คือการนำดราม่าข้น ๆ มาถ่ายทอดด้วยมุมมองแบบมนุษยนิยม ต่างจาก fiction ทั่วไปที่มักจะตัดสินตัวละครแบบดำ-ขาว (อีนี่ทิ้งลูกจะต้องเป็นนางมารร้ายแน่ ๆ) หนังโครีเอดะจะค่อย ๆ พาเราไปสำรวจแง่มุมชีวิต บริบทสังคม และปูมหลังของตัวละคร ซึ่งต่างก็มีเหตุผลในการกระทำของตัวเอง และความบ้าบอของทั้ง Shoplifters หรือ Broker ก็คือ Moment สุดประทับใจมักจะปรากฏอยู่ในช่วงเวลาที่ครอบครัวคนแปลกหน้าใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุข เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายให้แก่กัน
ส่วนตัวให้คะแนน Shoplifters มากกว่าหน่อย ดูลงตัวและธรรมชาติกว่า ส่วน Broker เหมือนมันพยายามยัดหลายสิ่งเข้ามามากไปหน่อย และพยายามจบแบบสวย ๆ เลยแอบขาด ๆ เกิน ๆ ไปนิด
หาข้อมูลคร่าว ๆ ไอเดียในการทำหนัง Broker ของโครีเอดะ บังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2013 ตอนทำหนัง Like Father, Like Son เมื่อเขาค้นคว้าแล้วก็พบว่าระบบการรับลูกบุญธรรมของญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้นั้นเหมือนกันเป๊ะ ขณะที่ไอเดียเรื่อง Baby Box (กล่องรับเด็กทารก) นั้นในญี่ปุ่นมีอยู่จริงที่เดียว คือที่โรงพยาบาล Jikei ในเมืองคุมาโมโตะ แต่ที่ประเทศอื่น ๆ รวมถึงเกาหลีใต้นั้นมี Baby Box เยอะจนเป็นเรื่องปกติ (โบสถ์ Jusarang ที่มีการวาง Baby Box มาตั้งแต่ปี 2009 เคยมีทารกที่ถูกนำมาวางทิ้งไว้เกือบ 2,000 ราย)
โครีเอดะ ซึ่งเคยร่วมงานกับ แบดูนา ในหนัง Air Doll (2009) และได้พบปะกับ ซองกังโฮ และ คังดงวอน ตามเทศกาลหนังต่าง ๆ จึงได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน และชักชวนมาทำหนัง โดยพวกเขาเริ่มถ่ายทำโปรเจค Broker ในปี 2020
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้