กลายเป็นตัวละครที่มีภาพยนตร์เดี่ยวเป็นเรื่องที่ 4 เข้าไปแล้ว สำหรับเทพเจ้าสายฟ้า "ธอร์" ซึ่งหากมองย้อนไปยังอเวนเจอร์กลุ่มแรก ก็เหลือแค่ธอร์เท่านั้นที่ยังคงโลดแล่นไปได้ต่อในจักรวาลซุปเปอร์ฮีโร่ที่นับวันจะยิ่งมีตัวละครใหม่ๆ ปรากฏขึ้นมาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ธอร์จึงเป็นเหมือนตัวละครอาวุโสที่ยังทำให้เราพอจะนึกถึงภาพจำเก่าๆ สมัยเมื่อกลุ่มอเวนเจอร์และจักรวาลซุปเปอร์ฮีโร่มาเวลยังเพิ่งตั้งไข่เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว
เมื่อสูญสิ้นศรัทธาแด่เหล่าองค์เทพ กอร์ เดอะ ก็อดบุชเชอร์ (Gorr the God Butcher รับบทโดย คริสเตียน เบล Christian Bale) จึงออกตามล่าสังหารเทพทุกองค์ในจักรวาล พร้อมด้วยดาบออลแบล็ค เดอะ เนรโครซอร์ด (All-Black the Necroverse) ที่มีพลังมหาศาลถึงขนาดเอาชนะสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างเซเลสเชียลได้ ธอร์ (รับบทโดย คริส เฮมส์เวิร์ธ Chris Hemsworth) ซึ่งในเวลานี้กำลังออกท่องอวกาศกับพวกการ์เดียน ออฟ เดอะกาแล็คซี่ (Guardian of the Galaxy) ได้ตกเป็นเป้าหมายต่อไปของกอร์ เพื่อจัดการกับภัยร้ายธอร์จึงต้องร่วมมือกับ เจน ฟอร์เตอร์ (รับบทโดย นาตาลี พอร์ตแมน Natalie Portman) อดีตคนรัก ที่ได้รับพลังจนกลายเป็นฮีโร่นามว่า ไมท์ตี้ ธอร์ (Mighty Thor) และสามารถครอบครองค้อนโยเนียร์ได้เช่นเดียวกับธอร์อีกด้วย
ดูเหมือนว่า ไทก้า ไวทิติ (Taika Waititi) จะดูคุ้นมือและช่ำชองมากขึ้นจากการที่ได้สานต่องานจากภาคก่อนหน้าอย่าง Thor: Ragnarok กับการสร้างภาพยนตร์เดี่ยวของธอร์ให้ออกมาในโทนของความตลก ดูมีชีวิตชีวา และมีกลิ่นอายของความย้อนยุคเข้าไปเพิ่มด้วย แต่ก็ไม่ทิ้งประเด็นหนักๆ ทั้งเรื่องของความเชื่อในพระเจ้า หรือกระทั่งประเด็นคนรักเก่าของธอร์อย่าง เจน ฟอสเตอร์ ที่ถูกนำมาใส่ได้อย่างมีนัยสำคัญจริงๆ
การเล่าเรื่องโดยมีเส้นเรื่องใหญ่เพียงเส้นเดียวนับว่าเสี่ยงที่จะทำให้หนังดูน่าเบื่อได้ง่ายๆ แต่ด้วยความเป็นไทก้า ไวทิติ เขาสามารถหยอดมุกเข้าไปได้ตลอดทั้งเรื่อง ทั้งมุกคำพูด การกระทำ หรือสิ่งของต่างๆ ฮาเล็กฮาใหญ่บ้างสลับกันไป แต่ที่แย่งซีนมากสุดคงหนีไม่พ้นเจ้าขวานสตอร์มเบรคเกอร์ (Stormbeaker) กับเจ้าแพะลากเรือสองตัว ที่(อย่างหลัง) ไทก้า ไวทิติ ให้สัมภาษณ์ว่า เขาใส่มาแบบไม่มีเหตุผล แต่ก็เป็นเจ้าแพะสองตัวนี่แหละที่เรียกเสียงฮาได้ดังมากสุดในเรื่อง ฮ่าๆ (ใครดูแล้วน่าจะเข้าใจ)
อีกส่วนที่คิดว่าผู้กำกับตั้งใจใส่เข้ามาเรียกความฮาเบาๆ คือ พวกองค์ประกอบที่ดูเชยแล้วก็ออกไปทางลิเกหน่อยๆ เห็นชัดสุดคงเป็นการเลือกใช้เพลง Sweet Child O' Mine ที่โด่งดังในยุค 80-90 มาเป็นเพลงหลักของเรื่อง และบรรดาองค์ประกอบอย่างพวกชุดของตัวละครหลักในเรื่องที่ดูเหมือนจะย้อนยุคตามไปด้วย เช่น ชุดของธอร์ที่มีการเปลี่ยนดีไซน์ไปคล้ายกับในคอมมิคยุค 80-90 ที่ประกอบด้วยสีน้ำเงินเป็นหลัก (ต่างจากใน Endgame ที่เป็นสีดำ) ส่วนชุดของซูสนี่อย่างกับหลุดมาจากเซนต์ เซย์ย่า ฮ่าๆ ยังไม่พอสายฟ้าของซูสเองก็ดูเหมือนพร็อพราคาถูกตามร้านแฟนซีทั่วๆไป ขัดกับความยิ่งใหญ่ของประมุขแห่งทวยเทพแท้ๆ หนำซ้ำ ช่วงต้นเรื่องยังมีฉากละครเวทีเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของชาวแอสการ์ดจนมาถึงโลกมนุษย์ แต่ถูกแสดงออกมาในเชิงทีเล่นทีจริง ซึ่งก็ได้ทั้งทวนความจำแล้วก็เรียกเสียงฮาได้พอสมควร
ประเด็นที่สร้างมิติให้กับเนื้อเรื่องจนยกระดับธอร์ภาคนี้ขึ้นพ้นจากการเป็นภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่ที่ขายความตลกไปวันๆ คือ เรื่องของการตั้งคำถามถึงความเชื่อต่อพระเจ้า ซึ่งประเด็นนี้ได้ครอบงำตัวละครในเรื่อง เริ่มตั้งแต่ กอร์ ที่แรงศรัทธาของเขาต่อพระเจ้าไม่อาจจะช่วยลูกสาวของเขาไว้ได้ หนำซ้ำยังถูกพระเจ้าที่เขาเทิดทูนนักหนาถีบหัวส่งอย่างไม่ใยดี ความแค้นที่สั่งสมจนก่อเกิดเป็น กอร์ เดอะ ก็อดบุชเชอร์ ในเรื่องก็เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความสิ้นศรัทธาของเขากับเหล่าทวยเทพแล้ว
ทางด้านธอร์ ก็เหมือนกัน แม้เขาจะมีศักดิ์เป็นเทพแล้วก็ตาม แต่สำหรับธอร์แล้วในฐานะเทพที่ใช้สายฟ้าด้วยกัน เขาก็นับถือซูสเป็นเหมือนไอดอล เมื่อเกิดเหตุการณ์ในเรื่องขึ้น ธอร์ก็เปลี่ยนมุมมองของเขาต่อเทพด้วยเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่เจน ที่เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ โดยหนังโชว์ให้เราเห็นตั้งแต่แรกๆ เลยว่า เธอมีความศรัทธาในวิทยาศาสตร์และต่อสู้กับโรคร้ายด้วยวิทยาการตามเท่าที่มีในปัจจุบัน แต่ก็ไม่วายเป็นพลังของเทพที่ช่วยพยุงอาการป่วยของเธอซะงั้น
อีกประเด็นที่ถ้าไม่เล่าก็คงไม่ใช่ภาพยนตร์ธอร์แล้ว หนีไม่พ้นเรื่องพัฒนาการของเขานั่นแหละ จะบอกว่าตัวละครนี้เป็นตัวละครที่ฟันฝ่าอะไรมาหลายอย่างเลยตลอด 10 กว่าปีของจักรวาลนี้ ชอบตรงที่ในภาคนี้นำเอารักเก่าของธอร์มาเป็นตัวช่วยให้เขามูฟออนไปข้างหน้า มันทำให้ธอร์เป็นตัวละครที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้นกว่าเดิมมาก ถึงการยอมรับความสูญเสียและก้าวไปข้างหน้าซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เผชิญอยู่ร่ำไป ภาคนี้จึงเป็นเหมือนบทสรุปและจุดเริ่มต้นของตัวละครนี้ได้อย่างน่าสนใจ และคาดว่าภาคต่อไปจะเข้าสู่โหมดเข้มข้นแน่นอน
ด้านนักแสดงสำหรับ คริส เฮมส์เวิร์ธ จะบอกว่าเขาก็แสดงเป็นธอร์ในแบบของตัวเองได้ตามมาตรฐานเหมือนที่ผ่านๆ มา ทั้งความทะเล้น ความตลก ความหล่อเท่ห์ ก็ยังคงอยู่ครบถ้วน ซึ่งทำให้คนที่มาใหม่อย่าง คริสเตียน เบล ในบท กอร์ เดอะ ก็อดบุชเชอร์ ถูกพูดถึงเป็นพิเศษ เพราะเอาเข้าจริงๆ ตัวละครนี้มีบทค่อนข้างน้อยแล้วก็แบนเอาเรื่อง แต่ทั้งนี้ต้องชื่นชม คริสเตียน เบล ที่งัดพลังการแสดงมาสู้กับความแบนของตัวละครและความตลกของเรื่องได้ ใช้คำว่า "พองาม" คือไม่ได้มากจนเศร้าหยดย้อย แต่ก็ไม่ได้น้อยจนไม่มีคนเสียใจ
บท ไมตี้ ธอร์ ของนาตาลี พอร์ตแมน แม้จะไม่ได้โชว์ทักษะการแสดงมากเท่า คริสเตียน เบล แต่ออร่าของเธอก็ทำให้เราเชื่อได้สนิทใจว่า นี่คือสตรีผู้ถูกค้อนโยเนียร์ (Mjolnir) เลือกและยืนข้างๆ ธอร์ได้อย่างสง่า ส่วนตัวละครที่โผล่มาแย่งซีน(นอกจากขวานกับแพะ) อีกคนก็ไม่ใช่ใครที่ไหน รัสเซล โครว์ (Russell Crowe) ในบทซูส นั่นเอง แม้จะเป็นรุ่นใหญ่แต่ก็มาเล่นบทติ๊งต๊องได้ขัดกับทั้งความเป็นซูสและผลงานก่อนหน้าที่เคยรับบทเป็นชายโรคจิตตามราวีหญิงสาวที่บีบแต่ใส่ในเรื่อง Unhinged ซะเหลือเกิน
ข้อเสียที่เห็นชัดเลย ด้วยความที่ไทก้า ไวทิติ ตั้งใจสร้างธอร์ภาคนี้ให้ออกมาในแนวตลก ทำให้ประเด็นหนักๆ เรื่องศรัทธาต่อพระเจ้าในเรื่องถูกลดทอนความจริงจังลงไปพอสมควรเหมือนกัน แม้ว่าตัวหนังจะพยายามหักลำเข้าสู่โหมดจริงจังในตอนท้ายเรื่องแต่ก็ไม่อาจจะทำให้อินได้มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะในส่วนของฉากแอคชั่นที่ก็ถูกลดทอนความรุนแรงและความเร้าใจจนไม่ค่อยตื่นเต้น แม้แต่มิติมืดที่มีการดีไซน์ออกมาค่อนข้างน่าสนใจ แต่ก็ไม่มีประโยชน์ในเชิงของการต่อสู้สักเท่าไหร่ ทั้งๆ ที่น่าจะเป็นสถานที่ที่กอร์ได้เปรียบและทำให้ธอร์ตกที่นั่งลำบากจนคนดูเอาใจช่วย แต่น่าเสียดายที่ความรู้สึกเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น นึกแล้วก็เสียดายคาแรคเตอร์ของกอร์ที่ปูทางมาอย่างยิ่งใหญ่ ดำมืด และน่าเกรงขาม แต่พอเข้าจริงๆ บทบาทของเขาก็ไม่ได้เป็นไปตามคำกล่าวอ้างสักเท่าไหร่
สรุป Thor: Love and Thunder เป็นภาพยนตร์ที่มาสร้างอารมณ์ต่อเนื่องให้กับจักรวาลMCU และให้ความบันเทิงได้พอหอมปากหอมคอ แม้ว่าจะไม่ได้ทำหน้าที่ยิ่งใหญ่อย่างการเปิดมัลติเวิร์สอย่างใน Doctor Stange แต่ก็เป็นภาคที่สร้างมิติให้กับตัวละครเทพสายฟ้าและนำพาตัวละครนี้ไปต่อได้อีกนานเลยทีเดียว
ฝากเพจด้วยครับ
Story Decoder
[รีวิว] Thor: Love and Thunder: ภาพยนตร์ภาคต่อของธอร์ที่เน้นขายขำนำหน้าความจริงจังจนดูเหมือนติดเล่นจนเกินไป
เมื่อสูญสิ้นศรัทธาแด่เหล่าองค์เทพ กอร์ เดอะ ก็อดบุชเชอร์ (Gorr the God Butcher รับบทโดย คริสเตียน เบล Christian Bale) จึงออกตามล่าสังหารเทพทุกองค์ในจักรวาล พร้อมด้วยดาบออลแบล็ค เดอะ เนรโครซอร์ด (All-Black the Necroverse) ที่มีพลังมหาศาลถึงขนาดเอาชนะสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างเซเลสเชียลได้ ธอร์ (รับบทโดย คริส เฮมส์เวิร์ธ Chris Hemsworth) ซึ่งในเวลานี้กำลังออกท่องอวกาศกับพวกการ์เดียน ออฟ เดอะกาแล็คซี่ (Guardian of the Galaxy) ได้ตกเป็นเป้าหมายต่อไปของกอร์ เพื่อจัดการกับภัยร้ายธอร์จึงต้องร่วมมือกับ เจน ฟอร์เตอร์ (รับบทโดย นาตาลี พอร์ตแมน Natalie Portman) อดีตคนรัก ที่ได้รับพลังจนกลายเป็นฮีโร่นามว่า ไมท์ตี้ ธอร์ (Mighty Thor) และสามารถครอบครองค้อนโยเนียร์ได้เช่นเดียวกับธอร์อีกด้วย
ดูเหมือนว่า ไทก้า ไวทิติ (Taika Waititi) จะดูคุ้นมือและช่ำชองมากขึ้นจากการที่ได้สานต่องานจากภาคก่อนหน้าอย่าง Thor: Ragnarok กับการสร้างภาพยนตร์เดี่ยวของธอร์ให้ออกมาในโทนของความตลก ดูมีชีวิตชีวา และมีกลิ่นอายของความย้อนยุคเข้าไปเพิ่มด้วย แต่ก็ไม่ทิ้งประเด็นหนักๆ ทั้งเรื่องของความเชื่อในพระเจ้า หรือกระทั่งประเด็นคนรักเก่าของธอร์อย่าง เจน ฟอสเตอร์ ที่ถูกนำมาใส่ได้อย่างมีนัยสำคัญจริงๆ
การเล่าเรื่องโดยมีเส้นเรื่องใหญ่เพียงเส้นเดียวนับว่าเสี่ยงที่จะทำให้หนังดูน่าเบื่อได้ง่ายๆ แต่ด้วยความเป็นไทก้า ไวทิติ เขาสามารถหยอดมุกเข้าไปได้ตลอดทั้งเรื่อง ทั้งมุกคำพูด การกระทำ หรือสิ่งของต่างๆ ฮาเล็กฮาใหญ่บ้างสลับกันไป แต่ที่แย่งซีนมากสุดคงหนีไม่พ้นเจ้าขวานสตอร์มเบรคเกอร์ (Stormbeaker) กับเจ้าแพะลากเรือสองตัว ที่(อย่างหลัง) ไทก้า ไวทิติ ให้สัมภาษณ์ว่า เขาใส่มาแบบไม่มีเหตุผล แต่ก็เป็นเจ้าแพะสองตัวนี่แหละที่เรียกเสียงฮาได้ดังมากสุดในเรื่อง ฮ่าๆ (ใครดูแล้วน่าจะเข้าใจ)
อีกส่วนที่คิดว่าผู้กำกับตั้งใจใส่เข้ามาเรียกความฮาเบาๆ คือ พวกองค์ประกอบที่ดูเชยแล้วก็ออกไปทางลิเกหน่อยๆ เห็นชัดสุดคงเป็นการเลือกใช้เพลง Sweet Child O' Mine ที่โด่งดังในยุค 80-90 มาเป็นเพลงหลักของเรื่อง และบรรดาองค์ประกอบอย่างพวกชุดของตัวละครหลักในเรื่องที่ดูเหมือนจะย้อนยุคตามไปด้วย เช่น ชุดของธอร์ที่มีการเปลี่ยนดีไซน์ไปคล้ายกับในคอมมิคยุค 80-90 ที่ประกอบด้วยสีน้ำเงินเป็นหลัก (ต่างจากใน Endgame ที่เป็นสีดำ) ส่วนชุดของซูสนี่อย่างกับหลุดมาจากเซนต์ เซย์ย่า ฮ่าๆ ยังไม่พอสายฟ้าของซูสเองก็ดูเหมือนพร็อพราคาถูกตามร้านแฟนซีทั่วๆไป ขัดกับความยิ่งใหญ่ของประมุขแห่งทวยเทพแท้ๆ หนำซ้ำ ช่วงต้นเรื่องยังมีฉากละครเวทีเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของชาวแอสการ์ดจนมาถึงโลกมนุษย์ แต่ถูกแสดงออกมาในเชิงทีเล่นทีจริง ซึ่งก็ได้ทั้งทวนความจำแล้วก็เรียกเสียงฮาได้พอสมควร
ประเด็นที่สร้างมิติให้กับเนื้อเรื่องจนยกระดับธอร์ภาคนี้ขึ้นพ้นจากการเป็นภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่ที่ขายความตลกไปวันๆ คือ เรื่องของการตั้งคำถามถึงความเชื่อต่อพระเจ้า ซึ่งประเด็นนี้ได้ครอบงำตัวละครในเรื่อง เริ่มตั้งแต่ กอร์ ที่แรงศรัทธาของเขาต่อพระเจ้าไม่อาจจะช่วยลูกสาวของเขาไว้ได้ หนำซ้ำยังถูกพระเจ้าที่เขาเทิดทูนนักหนาถีบหัวส่งอย่างไม่ใยดี ความแค้นที่สั่งสมจนก่อเกิดเป็น กอร์ เดอะ ก็อดบุชเชอร์ ในเรื่องก็เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความสิ้นศรัทธาของเขากับเหล่าทวยเทพแล้ว
ทางด้านธอร์ ก็เหมือนกัน แม้เขาจะมีศักดิ์เป็นเทพแล้วก็ตาม แต่สำหรับธอร์แล้วในฐานะเทพที่ใช้สายฟ้าด้วยกัน เขาก็นับถือซูสเป็นเหมือนไอดอล เมื่อเกิดเหตุการณ์ในเรื่องขึ้น ธอร์ก็เปลี่ยนมุมมองของเขาต่อเทพด้วยเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่เจน ที่เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ โดยหนังโชว์ให้เราเห็นตั้งแต่แรกๆ เลยว่า เธอมีความศรัทธาในวิทยาศาสตร์และต่อสู้กับโรคร้ายด้วยวิทยาการตามเท่าที่มีในปัจจุบัน แต่ก็ไม่วายเป็นพลังของเทพที่ช่วยพยุงอาการป่วยของเธอซะงั้น
อีกประเด็นที่ถ้าไม่เล่าก็คงไม่ใช่ภาพยนตร์ธอร์แล้ว หนีไม่พ้นเรื่องพัฒนาการของเขานั่นแหละ จะบอกว่าตัวละครนี้เป็นตัวละครที่ฟันฝ่าอะไรมาหลายอย่างเลยตลอด 10 กว่าปีของจักรวาลนี้ ชอบตรงที่ในภาคนี้นำเอารักเก่าของธอร์มาเป็นตัวช่วยให้เขามูฟออนไปข้างหน้า มันทำให้ธอร์เป็นตัวละครที่มีความเป็นมนุษย์มากขึ้นกว่าเดิมมาก ถึงการยอมรับความสูญเสียและก้าวไปข้างหน้าซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เผชิญอยู่ร่ำไป ภาคนี้จึงเป็นเหมือนบทสรุปและจุดเริ่มต้นของตัวละครนี้ได้อย่างน่าสนใจ และคาดว่าภาคต่อไปจะเข้าสู่โหมดเข้มข้นแน่นอน
ด้านนักแสดงสำหรับ คริส เฮมส์เวิร์ธ จะบอกว่าเขาก็แสดงเป็นธอร์ในแบบของตัวเองได้ตามมาตรฐานเหมือนที่ผ่านๆ มา ทั้งความทะเล้น ความตลก ความหล่อเท่ห์ ก็ยังคงอยู่ครบถ้วน ซึ่งทำให้คนที่มาใหม่อย่าง คริสเตียน เบล ในบท กอร์ เดอะ ก็อดบุชเชอร์ ถูกพูดถึงเป็นพิเศษ เพราะเอาเข้าจริงๆ ตัวละครนี้มีบทค่อนข้างน้อยแล้วก็แบนเอาเรื่อง แต่ทั้งนี้ต้องชื่นชม คริสเตียน เบล ที่งัดพลังการแสดงมาสู้กับความแบนของตัวละครและความตลกของเรื่องได้ ใช้คำว่า "พองาม" คือไม่ได้มากจนเศร้าหยดย้อย แต่ก็ไม่ได้น้อยจนไม่มีคนเสียใจ
บท ไมตี้ ธอร์ ของนาตาลี พอร์ตแมน แม้จะไม่ได้โชว์ทักษะการแสดงมากเท่า คริสเตียน เบล แต่ออร่าของเธอก็ทำให้เราเชื่อได้สนิทใจว่า นี่คือสตรีผู้ถูกค้อนโยเนียร์ (Mjolnir) เลือกและยืนข้างๆ ธอร์ได้อย่างสง่า ส่วนตัวละครที่โผล่มาแย่งซีน(นอกจากขวานกับแพะ) อีกคนก็ไม่ใช่ใครที่ไหน รัสเซล โครว์ (Russell Crowe) ในบทซูส นั่นเอง แม้จะเป็นรุ่นใหญ่แต่ก็มาเล่นบทติ๊งต๊องได้ขัดกับทั้งความเป็นซูสและผลงานก่อนหน้าที่เคยรับบทเป็นชายโรคจิตตามราวีหญิงสาวที่บีบแต่ใส่ในเรื่อง Unhinged ซะเหลือเกิน
ข้อเสียที่เห็นชัดเลย ด้วยความที่ไทก้า ไวทิติ ตั้งใจสร้างธอร์ภาคนี้ให้ออกมาในแนวตลก ทำให้ประเด็นหนักๆ เรื่องศรัทธาต่อพระเจ้าในเรื่องถูกลดทอนความจริงจังลงไปพอสมควรเหมือนกัน แม้ว่าตัวหนังจะพยายามหักลำเข้าสู่โหมดจริงจังในตอนท้ายเรื่องแต่ก็ไม่อาจจะทำให้อินได้มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะในส่วนของฉากแอคชั่นที่ก็ถูกลดทอนความรุนแรงและความเร้าใจจนไม่ค่อยตื่นเต้น แม้แต่มิติมืดที่มีการดีไซน์ออกมาค่อนข้างน่าสนใจ แต่ก็ไม่มีประโยชน์ในเชิงของการต่อสู้สักเท่าไหร่ ทั้งๆ ที่น่าจะเป็นสถานที่ที่กอร์ได้เปรียบและทำให้ธอร์ตกที่นั่งลำบากจนคนดูเอาใจช่วย แต่น่าเสียดายที่ความรู้สึกเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น นึกแล้วก็เสียดายคาแรคเตอร์ของกอร์ที่ปูทางมาอย่างยิ่งใหญ่ ดำมืด และน่าเกรงขาม แต่พอเข้าจริงๆ บทบาทของเขาก็ไม่ได้เป็นไปตามคำกล่าวอ้างสักเท่าไหร่
สรุป Thor: Love and Thunder เป็นภาพยนตร์ที่มาสร้างอารมณ์ต่อเนื่องให้กับจักรวาลMCU และให้ความบันเทิงได้พอหอมปากหอมคอ แม้ว่าจะไม่ได้ทำหน้าที่ยิ่งใหญ่อย่างการเปิดมัลติเวิร์สอย่างใน Doctor Stange แต่ก็เป็นภาคที่สร้างมิติให้กับตัวละครเทพสายฟ้าและนำพาตัวละครนี้ไปต่อได้อีกนานเลยทีเดียว
ฝากเพจด้วยครับ Story Decoder