สวธ.จัดนิทรรศการการส่งเสริมและพัฒนาผ้าไทยสู่สากล
เผยแพร่องค์ความรู้ Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023
ให้เครือข่ายวัฒนธรรม ๒๕ จังหวัด ภาคกลาง ณ จังหวัดชลบุรี
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาสตรีภาคกลาง (กพสภ.) ภาคกลาง และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้จัดงานแสดงนิทรรศการ โครงการจัดแสดงผลงานองค์ความรู้การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล ภายใต้งานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการพัฒนาสตรีภาค (กพสภ.) ภาคกลาง และแสดงผลงานการส่งเสริมผ้าไทยท้องถิ่น ๒๕ จังหวัด ระหว่างวันที่ ๔ – ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมแสนสุข โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางสุกุมล คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมชมนิทรรศการ
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า “กรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้ความสำคัญในการนำแนวคิดที่เป็นสากล ซึ่งหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๒ (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023) นี้ เต็มไปด้วยองค์ความรู้ของการเลือกสีที่บ่งบอกความเป็นตัวตนแต่ละบุคคล การใช้เทคนิค วิธีการที่มีในชุมชนท้องถิ่นมาผสมผสานกับความรู้ที่ทันสมัย พัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนได้ออกมาเป็นชุดเครื่องแต่งกายต้นแบบที่ขานรับกับแนวโน้มอุตสาหกรรมแฟชั่นในอนาคตอย่างลงตัว อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดภาพลักษณ์ ที่มีความทันสมัยให้แก่วงการผ้าไทย รวมไปถึงยังสร้างรายได้ให้เกิดแก่ชุมชน กลุ่มที่ทอผ้า และผู้ประกอบการด้านผ้าไทยอีกด้วย” โดยมุ่งหวังสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นิสิต นักศึกษา ให้นำแนวคิดที่เป็นสากลมาพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาผ้าไทย ร่วมส่งเสริมพลังทางวัฒนธรรม Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล กระตุ้นความนิยมการสวมใส่ผ้าไทยในทุกระดับ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นและประเทศ
การดำเนินโครงการจัดแสดงผลงานองค์ความรู้การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล สัญจร นี้ ประกอบด้วย ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี อุดรธานี และยะลา ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๒ (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023) ในรูปแบบนิทรรศการ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ซึ่งมีเนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย ประเภทเนื้อผ้า การออกแบบลวดลาย การเลือกสี เทรนด์และแนวโน้มความเป็นไปในอนาคตของอุตสาหกรรมแฟชั่น
รวมไปถึงการจัดแสดงชุดเครื่องแต่งกายต้นแบบ ทั้ง ๖ กลุ่มโทนสี ประกอบด้วย
๑) กลุ่มโทนสีม่วงแดงไล่ไปถึงชมพู RIPE AND MATURITY สุกงอมพร้อมพรั่ง
๒) กลุ่มโทนสีน้ำเงินปนฟ้า PROFOUNDNESS MILD สุขุมนุ่มลึก
๓) กลุ่มโทนสีน้ำตาลอิฐ HEAVEN ON EARTH ความมหัศจรรย์จากผืนดิน
๔) กลุ่มโทนสีเหลือง NURTURER OF WISDOM ผู้โอบอุ้มภูมิปัญญา
๕) กลุ่มโทนสีเขียว A HUMBLE JOURNEY การเดินทางแห่งประสบการณ์
๖) กลุ่มโทนสีขาวมุก-เทา AN ALTERNATIVE PERSUATION อิสระในการค้นพบตัวเอง
ภายในงานนิทรรศการที่จังหวัดชลบุรี นอกจากจะได้ทิศทางองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย ฯ แล้ว ยังได้รับความรู้จากการบรรยายในหัวข้อ
“สืบสานศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยวิทยากรจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และการบรรยาย
“สร้างเศรษฐกิจด้วยผลผลิตจากผ้าไทยท้องถิ่น” โดยผู้ทรงคุณวุฒิกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ และชมการผลิตผีเสื้อจากผ้าท้องถิ่น ๒๕ จังหวัด เฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ การแสดงนิทรรศการส่งเสริมผ้าท้องถิ่นไทย ๒๕ จังหวัด ซุ้มร้านส่งเสริมผ้าไทยท้องถิ่น “ผ้าไทยใส่ให้สนุกได้ทุกวัย สร้างรายได้ สร้างความสุข” ซุ้มร้านแสดงผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพ รวมถึงสินค้า OTOP ของ ๒๕ จังหวัดภาคกลาง
จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปในจังหวัดใกล้เคียง เข้าชมนิทรรศการและอุดหนุนผ้าไทย ในโครงการจัดแสดงผลงานองค์ความรู้การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากลสัญจร โดยครั้งที่ ๒ กำหนดระหว่างวันที่ ๑ – ๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา จังหวัดยะลา และครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ทาง แฟนเพจ
www.facebook.com/DCP.culture หรือ Line @ วัฒนธรรม
นิทรรศการการส่งเสริมและพัฒนาผ้าไทยสู่สากล Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า “กรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้ความสำคัญในการนำแนวคิดที่เป็นสากล ซึ่งหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๒ (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023) นี้ เต็มไปด้วยองค์ความรู้ของการเลือกสีที่บ่งบอกความเป็นตัวตนแต่ละบุคคล การใช้เทคนิค วิธีการที่มีในชุมชนท้องถิ่นมาผสมผสานกับความรู้ที่ทันสมัย พัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนได้ออกมาเป็นชุดเครื่องแต่งกายต้นแบบที่ขานรับกับแนวโน้มอุตสาหกรรมแฟชั่นในอนาคตอย่างลงตัว อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดภาพลักษณ์ ที่มีความทันสมัยให้แก่วงการผ้าไทย รวมไปถึงยังสร้างรายได้ให้เกิดแก่ชุมชน กลุ่มที่ทอผ้า และผู้ประกอบการด้านผ้าไทยอีกด้วย” โดยมุ่งหวังสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นิสิต นักศึกษา ให้นำแนวคิดที่เป็นสากลมาพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาผ้าไทย ร่วมส่งเสริมพลังทางวัฒนธรรม Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล กระตุ้นความนิยมการสวมใส่ผ้าไทยในทุกระดับ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นและประเทศ
การดำเนินโครงการจัดแสดงผลงานองค์ความรู้การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล สัญจร นี้ ประกอบด้วย ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี อุดรธานี และยะลา ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย เล่มที่ ๒ (Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023) ในรูปแบบนิทรรศการ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ซึ่งมีเนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย ประเภทเนื้อผ้า การออกแบบลวดลาย การเลือกสี เทรนด์และแนวโน้มความเป็นไปในอนาคตของอุตสาหกรรมแฟชั่น
รวมไปถึงการจัดแสดงชุดเครื่องแต่งกายต้นแบบ ทั้ง ๖ กลุ่มโทนสี ประกอบด้วย
๑) กลุ่มโทนสีม่วงแดงไล่ไปถึงชมพู RIPE AND MATURITY สุกงอมพร้อมพรั่ง
๒) กลุ่มโทนสีน้ำเงินปนฟ้า PROFOUNDNESS MILD สุขุมนุ่มลึก
๓) กลุ่มโทนสีน้ำตาลอิฐ HEAVEN ON EARTH ความมหัศจรรย์จากผืนดิน
๔) กลุ่มโทนสีเหลือง NURTURER OF WISDOM ผู้โอบอุ้มภูมิปัญญา
๕) กลุ่มโทนสีเขียว A HUMBLE JOURNEY การเดินทางแห่งประสบการณ์
๖) กลุ่มโทนสีขาวมุก-เทา AN ALTERNATIVE PERSUATION อิสระในการค้นพบตัวเอง
จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปในจังหวัดใกล้เคียง เข้าชมนิทรรศการและอุดหนุนผ้าไทย ในโครงการจัดแสดงผลงานองค์ความรู้การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากลสัญจร โดยครั้งที่ ๒ กำหนดระหว่างวันที่ ๑ – ๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา จังหวัดยะลา และครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ทาง แฟนเพจ www.facebook.com/DCP.culture หรือ Line @ วัฒนธรรม