วันนี้ผมตั้งใจจะไปวัดศาลเจ้า จังหวัดปทุมธานี ที่นี่มีศาลเจ้าแปะโรงสีตั้งอยู่ด้วยเลยอยากจะไปไหว้ขอพรสักหน่อย
พอขับรถออกจากหมู่บ้านแถวสายไหม เหลือบดูนาฬิกาเป็นเวลา ๘ โมงกว่า พอถึงปากซอยก็ต้องตะลึงเพราะรถติดมาก ตอนนี้ดูเหมือนว่า กรุงเทพฯจะรถติดหนักเหมือนช่วงก่อนโควิด-๑๙ แล้ว ชีวิตเหมือนเดิมอีกครั้ง
ว่าแล้วก็แวะซื้อกาแฟที่ร้านอเมซอนแถวๆนั้นก่อน เพื่อรอให้รถติดซาลงหน่อย แต่ก็ยังนั่งทำงานผ่านโทรศัพท์ได้อยู่ดี
จนเวลาล่วงเลยมาเกือบ ๙ โมงเช้า คราวนี้การจราจรคล่องตัวมากขึ้นเลย ผมรีบขับรถบึ่งไปวัดศาลเจ้าทันที
ก่อนไปก็เปิด “อากู๋กูเกิ้ล” ดูหน่อยพบว่า วัดนี้หาที่จอดรถยาก เพราะคนไปกราบไหว้เซียนแปะโรงสีกันเยอะมาก ผมคิดในใจว่า ไม่เป็นไรลองเสี่ยงดวงดู วันนี้เป็นวันธรรมดา ไม่ใช่เสาร์-อาทิตย์ คงลุ้นหาที่จอดได้น่า
จากบ้านใช้เวลาวิ่งรถไม่ถึง ๓๐ นาทีก็มาถึงวัด เจอที่จอดรถก็เสียบเข้าทันที ดูแล้วรถยังไม่เยอะเท่าไหร่ รีบคว้ากล้องเลยใส่เลนส์ ๗๐-๒๐๐ ตัวเดียวก็น่าจะเอาอยู่น่า จากนั้นก็เดินตามป้ายจนเจอศาลเจ้าแปะโรงสี
รีบเลย ทะเล่อทะล่าไม่ทันได้ดูป้าย ถอดรองเท้าด้านหน้า กำลังทำการปรับหน้ากล้องอยู่ มีพี่สาวที่ดูแลศาลเจ้ามาคอยยืนประกบทันที ระหว่างนั้นผมก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอยกกล้องขึ้นเท่านั้น พี่แกก็ชี้ไปที่ป้ายว่า “ห้ามถ่ายรูปคะ” โอ๊ะ….แล้วผมถ่ายได้ตรงไหนครับ แกชี้มือไปบอกว่า ถ่ายได้ตรงบันไดทางเข้า…ผมเลยต้องเดินทางออกไปยืนถ่ายตรงบันไดที่มีรั้วราวเหล็กกั้นไว้ ระยะก็ไกลพอสมควร แต่ก็พอเข้าใจได้ครับ….
กดชัตเตอร์เก็บภาพท่านเซียนแปะโรงสีได้พอสมควรแล้ว ก็เก็บกล้อง ปิดฝาเลนส์ แล้วเดินไปนั่งคุกเข่าหน้าท่านเซียนแปะโรงสี ท่องคาถาตามที่มีป้ายบอก แล้วก็ขอพร….(ไม่บอกหรอกว่าขออะไร ๕๕๕)
เซียนแปะโรงสี มีนามเดิมว่า นายกิมเคย แซ่โง้ว เป็นชาวจีน เกิดที่ตำบลเท้งไฮ้ เมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๔๑ เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเมื่ออายุได้ประมาณ 10 ขวบเข้ามาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและค้าขายข้าวเปลือก เมื่อตั้งตัวได้จึงร่วมหุ้นก่อตั้งโรงสีข้าวบริเวณปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันคือตำบลบางเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ต่อมาท่านได้ตั้งกิจการโรงสีของตนเองบริเวณปากคลองเชียงราก ใกล้กับวัดศาลเจ้านี่เอง และเมื่อได้รับสัญชาติไทยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นนายนที ทองศิริ
เซียนแปะโรงสีท่านให้ความสำคัญต่อวัดศาลเจ้าแห่งนี้มาก ได้ทำการบูรณะซ่อมแซม และจัดการพิธีกรรมต่าง ๆ ในงานสำคัญของศาลเจ้าตั้งแต่ยังเป็นเพียงอาคารไม้เก่า ๆ ว่ากันว่าในหลายครั้งท่านได้แสดงปาฏิหารย์ในพิธีกรรมต่าง ๆ จนเป็นที่เชื่อกันว่าท่านเป็นบุคคลที่ "มีองค์" คือองค์ "ทีกง" ประทับในตน ส่วนผ้ายันต์ ฟ้าประทานพรประจำตัวท่านนั้นเรียกว่า "เทียน กัว สื่อ ฮก" แปลได้ว่า เหล่าทวยเทพบนสวรรค์ชั้นฟ้าประทานพรให้มีโชคลาภความสุข นอกจากนี้ท่านเป็นผู้มีเมตตาชอบช่วยเหลือและให้คำปรึกษาด้านความเชื่อจีน จึงทำให้มีผู้ศรัทธาทั่วไป ท่านเสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2526 ด้วยวัย 85 ปี (ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
ใครที่อยากให้ธุรกิจ การงานเจริญรุ่งเรือง ก็ต้องมาไหว้ขอพรที่ศาลเจ้าแปะโรงสีแห่งนี้แหละครับ
เมื่อกล่าวถึงศาลเจ้าแปะโรงสีแล้ว ก็ต้องกล่าวถึงวัดศาลเจ้าด้วย โดยวัดแห่งนี้มีประวัติการสร้างวัดมีคำบอกเล่าแตกต่างกันไป บ้างว่าสร้างเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๓๓๐ เนื่องจากตั้งอยู่ปากคลองศาลเจ้า จึงตั้งชื่อวัดตามทำเลที่ตั้ง ผู้สร้างเป็นชาวรามัญที่อพยพหลบหนีภัยสงครามจากพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า สร้างเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าน้อยมหาพรหม บุตรเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ เป็นผู้มีวิชาไสยศาสตร์แก่กล้า ได้ล่องแพมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนมาถึงวัดมะขามในและได้พบกับพระภิกษุเชื้อสายรามัญ นามว่า พระอาจารย์รุ ทั้งสองได้ทดสอบวิชากัน เจ้าน้อยมหาพรหมเกิดความเคารพเลื่อมใสในวิทยาคมของพระอาจารย์รุ จึงขอสร้างวัดและศาลขึ้น แล้วตั้งชื่อว่าวัดศาลเจ้า มีที่มาของชื่อจากศาลที่เจ้าน้อยมหาพรหมสร้างขึ้น (ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
ภายในวัดศาลเจ้า ยังมีพระพุทธรัตนมหาพรหม พระประธานประจำอุโบสถ อายุถึง ๒๓๒ ปีทีเดียว ชาวพุทธไปกราบไหว้กันได้ครับ
ใกล้กันกับวัดศาลเจ้า ยังมีวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง คือวัดมะขาม สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๐ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย สันนิษฐานว่าสถานที่สร้างน่าจะมีต้นมะขามอยู่มาก บ้างก็่ว่าเป็นชื่อบ้านเดิมมาจากเมืองมอญ จึงได้ชื่อว่า "วัดมะขาม" ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากแม่น้ำที่ขุดลัดผ่านมีขนาดกว้างขึ้น แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมตื้นเขิน จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่หันหน้าสู่แม่น้ำสายใหม่ ทำให้มีวัดมะขามสองวัด เรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะขามนอก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัดมะขามเหนือ ส่วนวัดมะขามเดิมเรียกว่า วัดมะขามใน ต่อมาในสมัยพระครูปทุมสารธรรม (วงศ์) วัดมะขามในซึ่งเป็นวัดเดิมได้ร้างลง และชำรุดผุพังเกินกำลังที่จะบูรณะขึ้นมาใหม่ได้ จึงได้ยุบรวมกันเป็นวัดเดียวและตัดคำว่า "เหนือ" ออกไป เป็น "วัดมะขาม" ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ (ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
หลังจากไหว้ขอพรเซียนแปะโรงสีแล้ว ก่อนกลับบ้านอย่าลืมซื้อขอฝากกันด้วยนะครับ เพราะภายในบริเวณวัด มีตลาดริมน้ำวัดศาลเจ้าตั้งอยู่ด้วย มีของกินมากมาย แต่ที่ขึ้นหน้าขึ้นตา (ไม่ใช่ฝ้าหรือสิวนะครับ) ก็คือ กุ้ยช่ายเจ๊มล เจ้านี้อร่อยที่สุดแล้ว (ไม่ได้ค่าโฆษณาด้วยนะ) ผมกวาดมา ๓ กล่องกลับไปฝากญาติพี่น้อง กินแล้วก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย
กุ้ยช่ายเจ๊มลนี้ ผมเคยกินครั้งแรกเมื่อ ๓ ปีก่อน สมัยที่เคยทำงานในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่สาขาตั้งอยู่ใกล้กับตลาดริมน้ำวัดศาลเจ้า แม่บ้านธนาคารแกซื้อมาฝากผม บอกว่าอร่อยมาก แกบอกว่า “ป้าต้องเข้าคิวซื้อเลยนะ เพราะคนเยอะมาก” ผมลองกินดูก็อร่อยดังว่าจริงๆ
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมซื้อกลับบ้านในวันนั้นก็คือ น้ำพริกมะขาม เพราะในกรุงเทพฯหาซื้อน้ำพริกมะขามกินยากมาก น้ำพริกนี้ต่างกับน้ำพริกประเภทอื่นที่เมื่อตำเสร็จแล้วก็กินได้เลย แต่น้ำพริกมะขาม ต้องนำลงไปผัดในกระทะด้วยจึงจะหอมและอร่อยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านจะจบครับ
เรื่อง-ภาพ โดยนายสามเหลี่ยม
ไหว้ขอพรศาลเจ้าแปะโรงสีแล้ว อย่าลืมซื้อกุ้ยช่ายเจ้าอร่อยกลับบ้านด้วยครับ (ไหว้ศาลเจ้า ep3)
พอขับรถออกจากหมู่บ้านแถวสายไหม เหลือบดูนาฬิกาเป็นเวลา ๘ โมงกว่า พอถึงปากซอยก็ต้องตะลึงเพราะรถติดมาก ตอนนี้ดูเหมือนว่า กรุงเทพฯจะรถติดหนักเหมือนช่วงก่อนโควิด-๑๙ แล้ว ชีวิตเหมือนเดิมอีกครั้ง
ว่าแล้วก็แวะซื้อกาแฟที่ร้านอเมซอนแถวๆนั้นก่อน เพื่อรอให้รถติดซาลงหน่อย แต่ก็ยังนั่งทำงานผ่านโทรศัพท์ได้อยู่ดี
จนเวลาล่วงเลยมาเกือบ ๙ โมงเช้า คราวนี้การจราจรคล่องตัวมากขึ้นเลย ผมรีบขับรถบึ่งไปวัดศาลเจ้าทันที
ก่อนไปก็เปิด “อากู๋กูเกิ้ล” ดูหน่อยพบว่า วัดนี้หาที่จอดรถยาก เพราะคนไปกราบไหว้เซียนแปะโรงสีกันเยอะมาก ผมคิดในใจว่า ไม่เป็นไรลองเสี่ยงดวงดู วันนี้เป็นวันธรรมดา ไม่ใช่เสาร์-อาทิตย์ คงลุ้นหาที่จอดได้น่า
จากบ้านใช้เวลาวิ่งรถไม่ถึง ๓๐ นาทีก็มาถึงวัด เจอที่จอดรถก็เสียบเข้าทันที ดูแล้วรถยังไม่เยอะเท่าไหร่ รีบคว้ากล้องเลยใส่เลนส์ ๗๐-๒๐๐ ตัวเดียวก็น่าจะเอาอยู่น่า จากนั้นก็เดินตามป้ายจนเจอศาลเจ้าแปะโรงสี
รีบเลย ทะเล่อทะล่าไม่ทันได้ดูป้าย ถอดรองเท้าด้านหน้า กำลังทำการปรับหน้ากล้องอยู่ มีพี่สาวที่ดูแลศาลเจ้ามาคอยยืนประกบทันที ระหว่างนั้นผมก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอยกกล้องขึ้นเท่านั้น พี่แกก็ชี้ไปที่ป้ายว่า “ห้ามถ่ายรูปคะ” โอ๊ะ….แล้วผมถ่ายได้ตรงไหนครับ แกชี้มือไปบอกว่า ถ่ายได้ตรงบันไดทางเข้า…ผมเลยต้องเดินทางออกไปยืนถ่ายตรงบันไดที่มีรั้วราวเหล็กกั้นไว้ ระยะก็ไกลพอสมควร แต่ก็พอเข้าใจได้ครับ….
กดชัตเตอร์เก็บภาพท่านเซียนแปะโรงสีได้พอสมควรแล้ว ก็เก็บกล้อง ปิดฝาเลนส์ แล้วเดินไปนั่งคุกเข่าหน้าท่านเซียนแปะโรงสี ท่องคาถาตามที่มีป้ายบอก แล้วก็ขอพร….(ไม่บอกหรอกว่าขออะไร ๕๕๕)
เซียนแปะโรงสี มีนามเดิมว่า นายกิมเคย แซ่โง้ว เป็นชาวจีน เกิดที่ตำบลเท้งไฮ้ เมื่อราวปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๔๑ เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเมื่ออายุได้ประมาณ 10 ขวบเข้ามาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและค้าขายข้าวเปลือก เมื่อตั้งตัวได้จึงร่วมหุ้นก่อตั้งโรงสีข้าวบริเวณปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันคือตำบลบางเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ต่อมาท่านได้ตั้งกิจการโรงสีของตนเองบริเวณปากคลองเชียงราก ใกล้กับวัดศาลเจ้านี่เอง และเมื่อได้รับสัญชาติไทยจึงเปลี่ยนชื่อเป็นนายนที ทองศิริ
เซียนแปะโรงสีท่านให้ความสำคัญต่อวัดศาลเจ้าแห่งนี้มาก ได้ทำการบูรณะซ่อมแซม และจัดการพิธีกรรมต่าง ๆ ในงานสำคัญของศาลเจ้าตั้งแต่ยังเป็นเพียงอาคารไม้เก่า ๆ ว่ากันว่าในหลายครั้งท่านได้แสดงปาฏิหารย์ในพิธีกรรมต่าง ๆ จนเป็นที่เชื่อกันว่าท่านเป็นบุคคลที่ "มีองค์" คือองค์ "ทีกง" ประทับในตน ส่วนผ้ายันต์ ฟ้าประทานพรประจำตัวท่านนั้นเรียกว่า "เทียน กัว สื่อ ฮก" แปลได้ว่า เหล่าทวยเทพบนสวรรค์ชั้นฟ้าประทานพรให้มีโชคลาภความสุข นอกจากนี้ท่านเป็นผู้มีเมตตาชอบช่วยเหลือและให้คำปรึกษาด้านความเชื่อจีน จึงทำให้มีผู้ศรัทธาทั่วไป ท่านเสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2526 ด้วยวัย 85 ปี (ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
ใครที่อยากให้ธุรกิจ การงานเจริญรุ่งเรือง ก็ต้องมาไหว้ขอพรที่ศาลเจ้าแปะโรงสีแห่งนี้แหละครับ
เมื่อกล่าวถึงศาลเจ้าแปะโรงสีแล้ว ก็ต้องกล่าวถึงวัดศาลเจ้าด้วย โดยวัดแห่งนี้มีประวัติการสร้างวัดมีคำบอกเล่าแตกต่างกันไป บ้างว่าสร้างเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๓๓๐ เนื่องจากตั้งอยู่ปากคลองศาลเจ้า จึงตั้งชื่อวัดตามทำเลที่ตั้ง ผู้สร้างเป็นชาวรามัญที่อพยพหลบหนีภัยสงครามจากพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า สร้างเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าน้อยมหาพรหม บุตรเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ เป็นผู้มีวิชาไสยศาสตร์แก่กล้า ได้ล่องแพมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาจนมาถึงวัดมะขามในและได้พบกับพระภิกษุเชื้อสายรามัญ นามว่า พระอาจารย์รุ ทั้งสองได้ทดสอบวิชากัน เจ้าน้อยมหาพรหมเกิดความเคารพเลื่อมใสในวิทยาคมของพระอาจารย์รุ จึงขอสร้างวัดและศาลขึ้น แล้วตั้งชื่อว่าวัดศาลเจ้า มีที่มาของชื่อจากศาลที่เจ้าน้อยมหาพรหมสร้างขึ้น (ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
ภายในวัดศาลเจ้า ยังมีพระพุทธรัตนมหาพรหม พระประธานประจำอุโบสถ อายุถึง ๒๓๒ ปีทีเดียว ชาวพุทธไปกราบไหว้กันได้ครับ
ใกล้กันกับวัดศาลเจ้า ยังมีวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง คือวัดมะขาม สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๑๗๐ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย สันนิษฐานว่าสถานที่สร้างน่าจะมีต้นมะขามอยู่มาก บ้างก็่ว่าเป็นชื่อบ้านเดิมมาจากเมืองมอญ จึงได้ชื่อว่า "วัดมะขาม" ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากแม่น้ำที่ขุดลัดผ่านมีขนาดกว้างขึ้น แม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมตื้นเขิน จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่หันหน้าสู่แม่น้ำสายใหม่ ทำให้มีวัดมะขามสองวัด เรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะขามนอก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัดมะขามเหนือ ส่วนวัดมะขามเดิมเรียกว่า วัดมะขามใน ต่อมาในสมัยพระครูปทุมสารธรรม (วงศ์) วัดมะขามในซึ่งเป็นวัดเดิมได้ร้างลง และชำรุดผุพังเกินกำลังที่จะบูรณะขึ้นมาใหม่ได้ จึงได้ยุบรวมกันเป็นวัดเดียวและตัดคำว่า "เหนือ" ออกไป เป็น "วัดมะขาม" ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ (ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
หลังจากไหว้ขอพรเซียนแปะโรงสีแล้ว ก่อนกลับบ้านอย่าลืมซื้อขอฝากกันด้วยนะครับ เพราะภายในบริเวณวัด มีตลาดริมน้ำวัดศาลเจ้าตั้งอยู่ด้วย มีของกินมากมาย แต่ที่ขึ้นหน้าขึ้นตา (ไม่ใช่ฝ้าหรือสิวนะครับ) ก็คือ กุ้ยช่ายเจ๊มล เจ้านี้อร่อยที่สุดแล้ว (ไม่ได้ค่าโฆษณาด้วยนะ) ผมกวาดมา ๓ กล่องกลับไปฝากญาติพี่น้อง กินแล้วก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย
กุ้ยช่ายเจ๊มลนี้ ผมเคยกินครั้งแรกเมื่อ ๓ ปีก่อน สมัยที่เคยทำงานในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่สาขาตั้งอยู่ใกล้กับตลาดริมน้ำวัดศาลเจ้า แม่บ้านธนาคารแกซื้อมาฝากผม บอกว่าอร่อยมาก แกบอกว่า “ป้าต้องเข้าคิวซื้อเลยนะ เพราะคนเยอะมาก” ผมลองกินดูก็อร่อยดังว่าจริงๆ
อีกสิ่งหนึ่งที่ผมซื้อกลับบ้านในวันนั้นก็คือ น้ำพริกมะขาม เพราะในกรุงเทพฯหาซื้อน้ำพริกมะขามกินยากมาก น้ำพริกนี้ต่างกับน้ำพริกประเภทอื่นที่เมื่อตำเสร็จแล้วก็กินได้เลย แต่น้ำพริกมะขาม ต้องนำลงไปผัดในกระทะด้วยจึงจะหอมและอร่อยครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านจะจบครับ
เรื่อง-ภาพ โดยนายสามเหลี่ยม