[CR] Canon Canonet QL17 Gen II กล้องครูของผม



    นี่คือกล้องที่สอนให้ผมรู้เรื่องการถ่ายภาพอย่างแท้จริง นี่คือ Canon Canonet QL17 Gen II

    ไหน ๆ ก็รีวิวเจ้ามีเดียมฟอร์แมท Ricohflex Model 7 ไปแล้ว ก็ขอพูดถึงกล้องที่เป็นตัวเบิกทางให้ผมมาแนวนี้อย่างเต็มตัวซะหน่อย ย้อนกลับไป (ย้อนอีกแล้ว) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตอนนั้นเป็นเช้าวันที่อากาศค่อนข้างเย็นจากลมหนาวระลอกสุดท้ายของปี ซึ่งไม่ต้องห่วงครับ ที่บางเลนเย็นจนหนาว มีอยู่จุดเดียวที่ร้อน คือหัวผมเอง อิ_อิ เจ้ากล้องคู่มือในตอนนั้น Fujifilm X30 รวนครับ อยู่ดี ๆ มันก็ติด ๆ ดับ ๆ ปิดกล้องอยู่เด้งเข้าดูอัลบัมซะงั้น ถึงขั้นที่ว่าถ่ายแทบไม่ได้ ต้องถอดแบตเตอรี่ออก ไม่งั้นกล้องก็จะมีอาการแบบที่ว่าจนแบตหมดเอง คือแบบ อากาศเย็นจนหนาว หมอกลงจัดยังกับไซเรนฮิล เป็นบรรยากาศแบบที่ไม่ได้มีบ่อย ๆ ไม่รู้จะได้เจออีกเมื่อไหร่ แต่กล้องคู่มือดั้นพยศ จะไม่ให้เซ็งขั้นสุดได้ยังไงล่ะครับเพราะเจ้าเอ็กส์ 30 มันกำลังรวนจากความชื้นของหมอก เลือดขึ้นหน้า ตอนนั้นคิดได้ว่ากล้องฟิล์มมันคงไม่รวนเพราะความชื้นหมอกใช่ไหม ตกสายวันนั้นผมบึ่งไปเมกะพลาซ่า โดยมีโจทย์คือกล้องเรนจ์ไฟน์เดอร์ราครไม่เกิน 5,000 บาท ต้องไม่ซับซ้อนจนเกินไป ใส่ฟิล์มง่าย ไม่ใหญ่เทอะทะ และบวกกับผมเองก็ค่อยข้างเป็นแฟนคลับขณะแคนนอน เพราะกล้องที่เคยใช้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ก็เป็นกล้องแคนนอน หวยจึงออกมาเป็นเจ้านี่ Canon Canonet QL17 Gen II 

    แต่ก่อนจะไปดูวิธีการใช้งานกับตัวอย่างภาพ เรามาดูความเป็นมาของเจ้านี่กันหน่อยดีกว่า



    กล้องตระกูล Canonet ถือกำเหนิดในช่วงยุค 60 เป็นกล้องที่อยู่ในคลาสเดียวกันกับเจ้าไลก้าคนจน Yashica Electro 35 ในตอนนั้นเทคโนโลยีช่องมองแบบกระจกสะท้อนหรือ SLR (Single Len Reflex) เกิดขึ้นมาแล้ว ในขณะที่กล้องแบบช่องมองมีกลไกช่วยหาระยะหรือเรนจ์ไฟน์เดอร์ (Rangefinder) ก็เริ่มมาสุดทาง เพราะงั้นกล้องเรนจ์ไฟน์เดอร์ฟิกส์เลนซ์ค่ายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ในยุคนั้นจึงมีสเป็คค่อนข้างใกล้เคียงกัน คือมีเครื่องวัดแสง มีระยะใกล้สุดอยู่ที่เกือบ 1 เมตร และขนาดก็ค่อนข้างใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งเจ้า Canonet ตัวแรกนี่ขนาดกล้องพอกันกับ Electro 35 ค่อนข้างใหญ่และหนักนะถ้าถามส่วนตัวผม



    กระทั่งเข้าสู่ช่วงยุค 70 ค่ายญี่ปุ่นก็เริ่มทำกล้องฮาฟเฟลมกัน โดยอิงพื้นฐานมาจากกล้องเรนจ์ไฟน์เดอร์ของตัวเอง แต่ไหน ๆ ก็ทำกล้องฮาฟเฟลมตัวเล็กแล้ว ก็ทำให้เรนจ์ไฟน์เดอร์ฟูลเฟลมที่มีอยู่มันเล็กลงด้วยซะเลย อย่างยาชิกานี่ก็จะเป็น Electro 35CC และสำหรับแคนนอน พวกเขาทำ New Canonet เป็นการย่อส่วนแคนโนเน็ทให้เล็กลงและเพิ่มระบบแผ่นกดฟิล์มหรือ QL (Quick Load) โดยแบ่งเป็น 3 รุ่นย่อยตามค่า F สูงสุดของตัวกล้อง คือ QL17, QL 19 และ QL28 โดยที่จุดสูงสุดของสาย QL17 คือ QL17 Gen III เห็นว่าโค้ทเลนซ์ใหม่ และเพิ่มอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ แต่โดยรวมแล้วก็ไม่ค่อยต่างจาก Ge II แบบของผมมากนัก

    OK เรามาดูการใช้งานเบื้องต้นกันดีกว่า



    เลนซ์ขนาด 40มม. F กว้างสุดคือ 1.7 แคบสุดอยู่ที่ 16 สปีดชัตเตอร์ช้าสุดอยู่ที่ 1/4 เร็วสุดคือ 1/500 และมีชัตเตอร์ B



    ที่ว่ามาเมื่อกี้ปรับจากวงแหวนรอบเลนซ์ครับ และ ISO ก็ดูค่าจากตรงนี้เช่นกัน



    โดย ISO จะปรับจากตรงนี้ครับ แง่งเล็ก ๆ ตรงมุมซ้ายล่าง ใช้เล็บจิกแล้วเลื่อน



    ตรงนี้คือเรนจ์ไฟน์เดอร์ กับแถบเลขค่าวัดแสง



    ตัวนี้มี Shutter Priority ด้วย ก็คือเมื่อเราหมุนแหวนรูรับแสงมาที่ A เราก็ปรับแค่สปีดชัตเตอร์อย่างเดียวโดยตัวกล้องจะคำนวณค่า F ให้ ค่าที่ได้จะเป็นค่ากลาง ซึ่งผมก็ใช้ฟังก์ชันนี้ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการวัดแสงดูก่อนว่าค่ากลางคือเท่าไหร่ แล้วค่อยทด ถ้าอยากให้โอเวอร์ก็ทดขึ้นจากค่ากลาง หรืออยากให้อันเดอร์ก็ทดลง ฟังดูซับซ้อนแต่ไม่ยากครับ หรือถ้าเราจะใช้โหมดแมนนวล ก็หมุนให้ตรงกับค่า F ที่ต้องการได้ทันที ส่วนตัวเลข 28 - 20 - 14 ด้านขวานี่ บอกตามตรงคือ ไม่รู้ครับ ถ้าใครรู้ช่วยเม้นท์ไว้ด้านล่างด้วยนะครับ



    สภาพในช่องมอง แถบค่าวัดแสงอยู่ด้านขวา ถ้าเข็มขึ้นด้านบนหมายถึงโอเวอร์ ถ้าเข็มลงด้านล่างคืออันเดอร์ หรือเวลาเราใช้โหมดแมนนวล เข็มก็จะหยุดอยู่ที่ขอบบน



    ด้านบนกล้อง มีฮอตชูว์ ก้านปั่นกรอฟิล์ม ตัวนับฟิล์ม และคันง้างไกขึ้นฟิล์ม



    ด้านล่าง มีปุ่มปลดล็อคหนามเตย รูเสียบขาตั้งกล้อง และช่องใส่ถ่าน 



    นี่คือถ่ายที่ใช้



    ในช่องจะมีแผ่นพลาสติกเล็ก ๆ ทำหน้าที่เป็นลิ้นไว้ดึงถ่านเวลาเราจะเอาถ่านออก 



    ปุ่มเช็คถ่านอยู่ข้าง ๆ ช่องมอง



    เมื่อกดแล้วเข็มวัดแสงจะเลื่อนมาอยู่แถว ๆ กลางแถบเลขค่าวัดแสง บ่งบอกว่ากำลังไฟของถ่านยังดีอยู่



    วิธีใส่ฟิล์ม ง่ายมากครับ แถมใส่ได้เร็วมากด้วย เริ่มจากดึงแป้นกรอฟิล์มขึ้นเพื่อปลดล็อคฝาหลัง



    สภาพห้องฟิล์ม ตามมาตรฐานสากลนิยม



    ที่มาของความง่ายในการใส่ฟิล์มมันมาจากตรงนี้ครับ นี่คือแผ่นกดฟิล์ม



     วิธีการก็คือ เราใส่ฟิล์มเข้าไป กดแป้นกรอฟิล์มให้ลงล็อค แล้วค่อย ๆ ดึงฟิล์มมาพาด ให้หางฟิล์มพ้นหนามเตยมา 2 รู


   
    ค่อย ๆ ปิดฝา ให้แผ่นกดฟิล์มทำหน้าที่ของมัน จากนั้นง้างขึ้นไกชัตเตอร์ 2 ครั้งแล้วกดชัตเตอร์ทิ้ง แค่นี้เองครับ ด้วยวิธีการที่ผมว่ามานี่ เราสามารถถ่ายได้ 37 รูป



    รูซิงก์แฟลชสาย อยู่ข้าง ๆ ก้านปั่นฟิล์ม



    ส่วนแฟลชตรงรุ่นของมันคือเจ้าตัวนี้ครับ ตัวแฟลชนี่ซื้อแยก



    แฟลชใช้ถ่าน AA 2 ก้อน

    เอาล่ะ ไปดูภาพตัวอย่างกันดีกว่าครับ
ชื่อสินค้า:   Canon Canonet QL 17 Gen II
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่