พลังใบ .. กระท่อมเป็นประโยชน์หรือโทษกับนักกีฬา

กระทู้สนทนา
Main Stand  https://www.mainstand.co.th/2509

พ.ร.บ. ยาเสพติดฉบับใหม่ ประกาศผ่านราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยปลดกระท่อมจากการเป็นยาเสพติด และมีผลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา

กระท่อมกับกีฬา

จนถึงตอนนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าใครคือนักกีฬาคนแรก ที่บุกเบิกการนำกระท่อมมาใช้อย่างเป็นทางการ  อย่างไรก็ตามมีการตรวจพบสาร Mitragynine และ Demetyhl-mitragynine อันเป็นสารอัลคาลอยด์สำคัญ ที่พบได้ในใบกระท่อมเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2015 
ระหว่างการตรวจโด๊ปของนักกีฬาชายรายหนึ่ง ทำให้นี่คือหลักฐานอย่างเป็นรูปธรรมชิ้นแรก ว่ามีการใช้กระท่อมในบรรดานักกีฬาอาชีพอยู่จริง

ทางองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก หรือ WADA ได้ติดตามและเพิ่มกระท่อมอยู่ในลิสต์เฝ้าระวังมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี 2018 ที่พวกเขาอนุมัติให้มีการใช้ใบกระท่อมได้ โดยไม่ถือว่าเป็นสารกระตุ้น และไม่มีการแบนนักกีฬาที่ใช้แต่อย่างใด

กระท่อมให้ฤทธิ์ที่แตกต่างออกไปตามปริมาณที่รับประทานเข้าไป หากใช้ในปริมาณที่น้อย คือระหว่าง 1 ถึง 5 กรัม มันจะเป็นสารกระตุ้นที่ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว สดชื่น มีพลังงานเพิ่มเติม และเสริมสร้างสมาธิให้กับนักกีฬาได้

หากใช้ในปริมาณมากขึ้น ระหว่าง 5 ถึง 15 กรัม กระท่อมสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บให้กับผู้ที่รับประทานเข้าไปได้ คล้ายกับยาระงับอาการปวดแบบ Opioid ซึ่งเป็นที่นิยมในกีฬาที่อาการบาดเจ็บเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ยกน้ำหนัก, วิ่ง, หรือมวย เป็นต้น

สายพันธุ์กระท่อมที่ถูกนิยมนำมาใช้ในวงการกีฬา ได้แก่ ก้านเขียว, ก้านขาว, ก้านแดง, และ แมงดา ซึ่งมักพบได้มากในประเทศไทยและชาติต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน

มีคุณหรือโทษกันแน่?

แม้เป็นที่ทราบกันดีว่า กระท่อมช่วยเพิ่มพลังงาน และสามารถลดอาการบาดเจ็บให้กับผู้ที่รับประทานเข้าไปได้ แต่จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่มีงานวิจัยไหนที่ยืนยันประสิทธิภาพของใบกระท่อม ที่อาจเป็นประโยชน์หรือโทษกับนักกีฬาได้อย่างเป็นทางการ

แน่นอนว่าสิ่งใดที่มีคุณอนันต์ ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน สาร Mitragynine ที่ถูกพบได้มากในใบกระท่อม เป็นสารจำพวกเดียวกับที่พบในยา LSD และยังถูกขึ้นบัญชีเป็นสารเสพติดโดย WADA เมื่อปี 2014 แม้การแบนนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ใบกระท่อม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าหากมีการใช้ในปริมาณที่สูงเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการเสพติด และเป็นโทษต่อร่างกายได้เช่นกัน

มีการค้นพบหนึ่งที่น่าสนใจ ว่าที่สหรัฐอเมริกา มีรายงานผู้ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตจากการเสพติดใบกระท่อมอยู่จำนวนหนึ่ง แต่กับในแถบอาเซียน แม้มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาจากการใช้ใบกระท่อมอยู่บ้าง แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากกระท่อมเลย

นี่อาจมาจากการปรับตัวของร่างกาย หลังจากมีการใช้กระท่อมเป็นยาชูกำลัง สมุนไพร และเวชภัณฑ์รักษาโรคมาตั้งแต่ในอดีตของผู้คนในแถบนี้ เมื่อเทียบกับฝั่งตะวันตกที่เพิ่งเริ่มใช้อย่างแพร่หลายมาไม่นาน แต่ก็อาจเกิดจากความบกพร่องในการบันทึกข้อมูลได้เช่นกัน

แม้ในตอนนี้ยังไม่มีการวิจัยที่ชี้ให้เห็นคุณหรือโทษของกระท่อมอย่างชัดเจน และถึงกระท่อมก็กำลังกลับมาถูกกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง การใช้งานหรือรับประทานกระท่อมก็ยังควรอยู่ในปริมาณที่เราสามารถควบคุมได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ผลเสียจากการที่ปล่อยให้มันมาควบคุมร่างกายของเราได้นั้น อาจเลวร้ายกว่าข้อดีต่าง ๆ ที่ถูกกล่าวถึงไว้ในข้างต้นได้

แหล่งอ้างอิง :
https://doi.org/10.1002/dta.1970
https://www.usada.org/spirit-of-sport/education/substance-profile-kratom/
https://www.practicalpainmanagement.com/treatments/pharmacological/non-opioids/kratom-primer-miracle-medicine-herb-abuse
https://kratomguides.com/kratom-for-athletes/

คลิปนาทีที่ 0.52  น้องเพียวกำลังสงสัยเรื่องใบกระท่อมถือเป็นโด๊ปไหม
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่