.
.
© iStock/Getty Images Plus
.
.
ฟองโซดามาจากฟองของ
คาร์บอนไดออกไซด์
การร่ายรำที่ซ่าซ่าซ่าของฟองโซดา
สร้างความสุขมานานหลายศตวรรษ
แต่ความลับเบื้องหลังฟองเหล่านี้มาจากไหน
ในฟองโซดาประกอบด้วยฟองอากาศ
ของคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ
CO2
(ต่อไปในกระทู้ขอใช้ CO2 เป็นทึ่เข้าใจกัน)
เครื่องดื่มอัดลมจะถูกผสมด้วยก๊าซไร้สี/ไม่มีกลิ่น
ที่ความดันสูงในระหว่างการผลิต
จนกระทั่งแก๊สมีสภาวะยิ่งยวด
อิ่มตัวสูงกว่าจุดอิ่มตัวปกติ
" โซดาเป็นฟองเพราะมันทำมาเพื่อให้เป็นฟอง "
Mark Jones นักเคมีอุตสาหกรรมและสมาชิก
American Chemical Society
ให้สัมภาษณ์กับ Live Science
เครื่องดื่มน้ำอัดลมตามธรรมชาติ
เช่น เบียร์ และ
Kombucha
ที่อาศัยการหมักเพื่อให้เกิดฟองนั้นมีมานานแล้ว
.
.
การกำเนิดของโซดาอัดลมสมัยใหม่นั้น
มาจากนักบวชและนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
Joseph Priestley ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า
บิดาแห่งอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม
สำหรับการพัฒนาอุปกรณ์อัดลมในปี ค.ศ. 1772
ตามคำอธิบายของ Britannica
.
.
.
อุปกรณ์ในการทดลองเรื่องแก๊ส
ของ Joseph Priestley ในปี 1775
.
.
ในปี ค.ศ. 1794
Jacob Schweppe นักอัญมณีศาสตร์ชาวสวิส
ได้ขายน้ำแร่อัดลมให้กับเพื่อน ๆ ใน Geneva
.
.
ในตอนแรก น้ำอัดลมบรรจุขวด
ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
ตามที่ Britannica ตั้งข้อสังเกต
แต่รสชาติถูกเพิ่มขึ้นมาในภายหลัง
น้ำขิง ประมาณปี 1820
น้ำมะนาว ในช่วงทศวรรษที่ 1830
ในปี 1886
เภสัชกร
John Pemberton
ใน Atlanta รัฐ Georgia
ผู้คิดค้น Coca-Cola เครื่องดื่ม Cola ครั้งแรก
Carbonation ไม่เพียงแต่
ทำให้เกิดฟองฟุ้งกระจาย
แต่ยังทำปฏิกิริยากับน้ำ
เพื่อสร้าง
กรดคาร์บอนิก
ส่งผลให้มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย
แม้ว่ากรดคาร์บอนิก/กรดเพิ่มรสชาติอื่น ๆ
ที่ผู้ผลิตโซดาเติมลงในน้ำอัดลม
จะเชื่อมโยงกับความเสียหายของฟัน
" ผมคิดว่าสมาคมทันตกรรมอเมริกัน
ควรให้ความสำคัญกับน้ำตาลในขวดโซดามากกว่า "
Mark Jones ตั้งข้อสังเกต
.
.
" เมื่อน้ำโซดาบรรจุขวดแล้ว
น้ำอัดลมจะถูกเก็บในสภาพที่เย็นมาก
เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ละลาย
ได้ดีกว่าในที่อุณหภูมิต่ำ
การทำให้ของเหลวอุ่นขึ้น
ทำให้เกิดแก๊สออกจากสารละลาย "
Joe Glajch นักเคมีวิเคราะห์และที่ปรึกษาด้านเคมีเภสัชกรรม
ให้สัมภาษณ์กับ Livescience
.
.
.
Henry's Law and Gas Solubility Explained
.
.
หลังจากเติมโซดาด้วยคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซจะไหลออกมาฟู่ ตามหลักการทางเคมีกายภาพ
ที่เรียกว่า
Henry's law กฎของเฮนรี
ซึ่งเสนอโดย
William Henry
นักเคมีชาวอังกฤษ ในปี 1803 ตามข้อมูลของ Britannica
" ปริมาณของก๊าซที่ละลายอยู่ในของเหลว
จะเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิภาคโดยตรง
กับความกดดันของก๊าซ ที่กระทำเหนือของเหลว "
นั่นคือ : P1/P2 = A1/A2
.
.
เมื่อบรรจุกระป๋องหรือบรรจุขวดโซดา
พื้นที่ด้านบนเครื่องดื่มมักจะเต็มไปด้วย
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ความดันที่สูงกว่า
ความดันบรรยากาศมาตรฐานเล็กน้อย
(ประมาณ 14.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
หรือ 101.325 kilopascals)
Joe Glajch กล่าวสรุป
จากกฎของเฮนรี่ และความดันของก๊าซ
ที่ติดอยู่ที่ด้านบนของภาชนะที่ปิดสนิท
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในเครื่องดื่ม
จะอยู่ภายใน(ปะปน)ของเหลว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปิดขวด/กระป๋องโซดา
คาร์บอนจะอัดแรงดันปล่อยสู่อากาศ
ก๊าซระบายนี้สร้างเสียงฟู่ อันเป็นเอกลักษณ์
ที่จะได้ยินจากขวดโซดาหรือกระป๋องที่เพิ่งเปิดใหม่
" ขวดโซดาเป็นภาชนะรับความดัน
ที่จะเก็บความดันนั้นไว้
จนกว่าจะเปิดด้านบน "
Mark Jones กล่าว
(หากขวดหรือกระป๋องถูกเขย่า
หรือถูกรบกวน ก่อนที่จะเปิดออก
ก๊าซที่ติดอยู่ภายในของเหลวจะหลบหนี
ไปรวมกับก๊าซที่อยู่เหนือเครื่องดื่มได้
จะเพิ่มแรงดันในก๊าซที่อยู่เหนือของเหลว
และส่งผลให้โซดาระเบิดออกมา
เมื่อภาชนะถูกเปิดออกมา
สมัยก่อนพวกนักเรียนช่างกลที่ตีกัน
ถ้าหาอาวุธไม่ทัน จะวิ่งเข้าร้านชำ
หยิบขวด Coke Pepsi เขย่าอย่างเร็ว ๆ
แล้วปาใส่ฝ่ายตรงข้าม จะมีเสียงดัง
พร้อมเศษแก้วแตกกระจาย
จะหยุดยั้งให้อีกฝ่ายชะงักได้)
.
.
Columbia University's Climate School ระบุ
คาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 0.04%
ของชั้นบรรยากาศของโลก
กฎของเฮนรี่ เมื่อโซดาสัมผัสกับอากาศ
คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำอัดลม
ย่อมต้องการความเข้มข้นในของเหลว
เท่ากับในอากาศโดยธรรมชาติ
ผลที่ได้คือ ส่วนใหญ่ฟองออกจากของเหลว
เป็นฟองอากาศ CO2 ขนาดเล็ก
" โซดาจะฟองมากขึ้นเมื่อเทลงในแก้ว
เพราะการเทจะเพิ่มพื้นที่ผิวของเหลวอย่างมาก
และช่วยให้ฟองอากาศหลุดออกมา
ตัวอย่างที่ดีนี้ สามารถเห็นได้จากเบียร์
ถ้าเทเบียร์ลงในแก้ว จะได้ฟองขนาดกำลังดีอยู่ด้านบน
ขึ้นอยู่กับชนิดของเบียร์และความเข้มข้นของเบียร์
ฟองนั้น คือ ก๊าซที่มาจากเครื่องดื่ม
เคล็ดลับ ถ้าจะลดปริมาณของฟองระหว่างการริน
และทำให้น้ำอัดลมคงฟองได้นานขึ้น
คือ การเทโซดาที่ด้านข้างของแก้ว
นั่นจะช่วยลดพื้นที่ผิวของการเทลงอย่างมาก
และช่วยรักษา CO2 ในของเหลวได้มากขึ้น "
Joe Glajch กล่าวสรุป Cheer หมดแก้ว !
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2AlF7c8
.
โซดา หรือ Coke ถ้ายังไม่เปิดเลย
จะทำให้ CO2 กักเก็บในบ้าน/โรงรถ
Coke ขวด 1 ลิตรมี CO2 ราว 6 กรัม
Coke กระป๋อง 330 มล. มี CO2 ราว 170 กรัม
Coke Diet มี CO2 ราว 150 กรัม
ส่วนพวกขวดน้ำผลไม้ Smooties อัดโซดา
ขนาด 250 มล. มี CO2 ราว 209 กรัม
แต่คนทั่วไปผลิต CO2 ได้ 9 ตันต่อปี
เรียบเรียง/ที่มา
https://to.pbs.org/3I2cgus
https://bit.ly/3yuCEKn
.
.
.
.
Plants Are Struggling to Keep Us With
Rising Carbon Dioxide Concentration
.
.
.
.
ต้นไม้เป็นตัวช่วยในการดูด CO2 ได้ดีที่สุด
ต้นไม้นั้นจะดูดซับ CO2 จากบรรยากาศ
ด้วย
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
และจะนำมาสะสมไว้ในทุกส่วน
ไม่ว่าเป็นเป็นใบ กิ่ง ลำต้น และรากใต้ดิน (มวลชีวภาพ)
ทำให้ CO2 ถูกตรึงอยู่ในต้นไม้
จนกว่าจะมีการตัดต้นไม้ออกไปจากพื้นที่
ต้นไม้หนึ่งต้นจะดูดซับ CO2 ได้ 9-15 กิโลกรัม/ปี
ผลิต O
2 ได้เพียงพอสำหรับ 2 คน/ปี
และช่วยลดอุณหภูมิได้ 2-4 องศาเซลเซียส
ผลการศึกษาการกักเก็บ CO2
ในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้น
ในพื้นที่ให้บริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์
ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 13.90 เฮกตาร์ (86.8 ไร่)
พบว่ามีความหนาแน่นของต้นไม้เฉลี่ยทั้งหมด
เท่ากับ 480.93 ต้นต่อเฮกตาร์ (76.94 ต้น/ไร่)
และมีปริมาณการกักเก็บ CO2 สะสม
รวมทั้งหมด เท่ากับ 426.83 เมกกะกรัม (ตัน)
หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ
30.7 เมกกะกรัมต่อเฮกตาร์ (4.91 ตัน/ไร่)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ต้นไม้นั้นมีคุณสมบัติ
และสามารถดูดซับ CO2 ที่เป็นสาเหตุหลัก
ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
©
https://bit.ly/3I04Rfi
หมายเหตุ
ต้นไม้ 2 ล้านต้นในกรุงเทพฯ
ตามนโยบายของชัชชาติ
จะช่วยลดอุณหภูมิและดูดซับ CO2
ได้จำนวนมากในอนาคต
.
.
.
ฟองโซดา
.
© iStock/Getty Images Plus
.
ฟองโซดามาจากฟองของ คาร์บอนไดออกไซด์
การร่ายรำที่ซ่าซ่าซ่าของฟองโซดา
สร้างความสุขมานานหลายศตวรรษ
แต่ความลับเบื้องหลังฟองเหล่านี้มาจากไหน
ในฟองโซดาประกอบด้วยฟองอากาศ
ของคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2
(ต่อไปในกระทู้ขอใช้ CO2 เป็นทึ่เข้าใจกัน)
เครื่องดื่มอัดลมจะถูกผสมด้วยก๊าซไร้สี/ไม่มีกลิ่น
ที่ความดันสูงในระหว่างการผลิต
จนกระทั่งแก๊สมีสภาวะยิ่งยวด
อิ่มตัวสูงกว่าจุดอิ่มตัวปกติ
" โซดาเป็นฟองเพราะมันทำมาเพื่อให้เป็นฟอง "
Mark Jones นักเคมีอุตสาหกรรมและสมาชิก
American Chemical Society
ให้สัมภาษณ์กับ Live Science
เครื่องดื่มน้ำอัดลมตามธรรมชาติ
เช่น เบียร์ และ Kombucha
ที่อาศัยการหมักเพื่อให้เกิดฟองนั้นมีมานานแล้ว
.
.
.
.
.
Joseph Priestley
.
การกำเนิดของโซดาอัดลมสมัยใหม่นั้น
มาจากนักบวชและนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
Joseph Priestley ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า
บิดาแห่งอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม
สำหรับการพัฒนาอุปกรณ์อัดลมในปี ค.ศ. 1772
ตามคำอธิบายของ Britannica
.
.
อุปกรณ์ในการทดลองเรื่องแก๊ส
ของ Joseph Priestley ในปี 1775
.
ในปี ค.ศ. 1794
Jacob Schweppe นักอัญมณีศาสตร์ชาวสวิส
ได้ขายน้ำแร่อัดลมให้กับเพื่อน ๆ ใน Geneva
.
.
Jacob Schweppe
.
.
.
John Pemberton
.
ในตอนแรก น้ำอัดลมบรรจุขวด
ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
ตามที่ Britannica ตั้งข้อสังเกต
แต่รสชาติถูกเพิ่มขึ้นมาในภายหลัง
น้ำขิง ประมาณปี 1820
น้ำมะนาว ในช่วงทศวรรษที่ 1830
ในปี 1886
เภสัชกร John Pemberton
ใน Atlanta รัฐ Georgia
ผู้คิดค้น Coca-Cola เครื่องดื่ม Cola ครั้งแรก
Carbonation ไม่เพียงแต่
ทำให้เกิดฟองฟุ้งกระจาย
แต่ยังทำปฏิกิริยากับน้ำ
เพื่อสร้าง กรดคาร์บอนิก
ส่งผลให้มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย
แม้ว่ากรดคาร์บอนิก/กรดเพิ่มรสชาติอื่น ๆ
ที่ผู้ผลิตโซดาเติมลงในน้ำอัดลม
จะเชื่อมโยงกับความเสียหายของฟัน
" ผมคิดว่าสมาคมทันตกรรมอเมริกัน
ควรให้ความสำคัญกับน้ำตาลในขวดโซดามากกว่า "
Mark Jones ตั้งข้อสังเกต
.
.
.
.
Joe Glajch
.
" เมื่อน้ำโซดาบรรจุขวดแล้ว
น้ำอัดลมจะถูกเก็บในสภาพที่เย็นมาก
เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ละลาย
ได้ดีกว่าในที่อุณหภูมิต่ำ
การทำให้ของเหลวอุ่นขึ้น
ทำให้เกิดแก๊สออกจากสารละลาย "
Joe Glajch นักเคมีวิเคราะห์และที่ปรึกษาด้านเคมีเภสัชกรรม
ให้สัมภาษณ์กับ Livescience
.
.
Henry's Law and Gas Solubility Explained
.
หลังจากเติมโซดาด้วยคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซจะไหลออกมาฟู่ ตามหลักการทางเคมีกายภาพ
ที่เรียกว่า Henry's law กฎของเฮนรี
ซึ่งเสนอโดย William Henry
นักเคมีชาวอังกฤษ ในปี 1803 ตามข้อมูลของ Britannica
" ปริมาณของก๊าซที่ละลายอยู่ในของเหลว
จะเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิภาคโดยตรง
กับความกดดันของก๊าซ ที่กระทำเหนือของเหลว "
นั่นคือ : P1/P2 = A1/A2
.
.
William Henry
.
เมื่อบรรจุกระป๋องหรือบรรจุขวดโซดา
พื้นที่ด้านบนเครื่องดื่มมักจะเต็มไปด้วย
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ความดันที่สูงกว่า
ความดันบรรยากาศมาตรฐานเล็กน้อย
(ประมาณ 14.7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
หรือ 101.325 kilopascals)
Joe Glajch กล่าวสรุป
จากกฎของเฮนรี่ และความดันของก๊าซ
ที่ติดอยู่ที่ด้านบนของภาชนะที่ปิดสนิท
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในเครื่องดื่ม
จะอยู่ภายใน(ปะปน)ของเหลว
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปิดขวด/กระป๋องโซดา
คาร์บอนจะอัดแรงดันปล่อยสู่อากาศ
ก๊าซระบายนี้สร้างเสียงฟู่ อันเป็นเอกลักษณ์
ที่จะได้ยินจากขวดโซดาหรือกระป๋องที่เพิ่งเปิดใหม่
" ขวดโซดาเป็นภาชนะรับความดัน
ที่จะเก็บความดันนั้นไว้
จนกว่าจะเปิดด้านบน "
Mark Jones กล่าว
(หากขวดหรือกระป๋องถูกเขย่า
หรือถูกรบกวน ก่อนที่จะเปิดออก
ก๊าซที่ติดอยู่ภายในของเหลวจะหลบหนี
ไปรวมกับก๊าซที่อยู่เหนือเครื่องดื่มได้
จะเพิ่มแรงดันในก๊าซที่อยู่เหนือของเหลว
และส่งผลให้โซดาระเบิดออกมา
เมื่อภาชนะถูกเปิดออกมา
สมัยก่อนพวกนักเรียนช่างกลที่ตีกัน
ถ้าหาอาวุธไม่ทัน จะวิ่งเข้าร้านชำ
หยิบขวด Coke Pepsi เขย่าอย่างเร็ว ๆ
แล้วปาใส่ฝ่ายตรงข้าม จะมีเสียงดัง
พร้อมเศษแก้วแตกกระจาย
จะหยุดยั้งให้อีกฝ่ายชะงักได้)
.
.
Columbia University's Climate School ระบุ
คาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น 0.04%
ของชั้นบรรยากาศของโลก
กฎของเฮนรี่ เมื่อโซดาสัมผัสกับอากาศ
คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำอัดลม
ย่อมต้องการความเข้มข้นในของเหลว
เท่ากับในอากาศโดยธรรมชาติ
ผลที่ได้คือ ส่วนใหญ่ฟองออกจากของเหลว
เป็นฟองอากาศ CO2 ขนาดเล็ก
" โซดาจะฟองมากขึ้นเมื่อเทลงในแก้ว
เพราะการเทจะเพิ่มพื้นที่ผิวของเหลวอย่างมาก
และช่วยให้ฟองอากาศหลุดออกมา
ตัวอย่างที่ดีนี้ สามารถเห็นได้จากเบียร์
ถ้าเทเบียร์ลงในแก้ว จะได้ฟองขนาดกำลังดีอยู่ด้านบน
ขึ้นอยู่กับชนิดของเบียร์และความเข้มข้นของเบียร์
ฟองนั้น คือ ก๊าซที่มาจากเครื่องดื่ม
เคล็ดลับ ถ้าจะลดปริมาณของฟองระหว่างการริน
และทำให้น้ำอัดลมคงฟองได้นานขึ้น
คือ การเทโซดาที่ด้านข้างของแก้ว
นั่นจะช่วยลดพื้นที่ผิวของการเทลงอย่างมาก
และช่วยรักษา CO2 ในของเหลวได้มากขึ้น "
Joe Glajch กล่าวสรุป Cheer หมดแก้ว !
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2AlF7c8
.
.
Charles Q. Choi ผู้เขียนเรื่องนี้
.
.
โซดา หรือ Coke ถ้ายังไม่เปิดเลย
จะทำให้ CO2 กักเก็บในบ้าน/โรงรถ
Coke ขวด 1 ลิตรมี CO2 ราว 6 กรัม
Coke กระป๋อง 330 มล. มี CO2 ราว 170 กรัม
Coke Diet มี CO2 ราว 150 กรัม
ส่วนพวกขวดน้ำผลไม้ Smooties อัดโซดา
ขนาด 250 มล. มี CO2 ราว 209 กรัม
แต่คนทั่วไปผลิต CO2 ได้ 9 ตันต่อปี
เรียบเรียง/ที่มา
https://to.pbs.org/3I2cgus
https://bit.ly/3yuCEKn
.
.
.
Plants Are Struggling to Keep Us With
Rising Carbon Dioxide Concentration
.
.
.
.
ต้นไม้เป็นตัวช่วยในการดูด CO2 ได้ดีที่สุด
ต้นไม้นั้นจะดูดซับ CO2 จากบรรยากาศ
ด้วย กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
และจะนำมาสะสมไว้ในทุกส่วน
ไม่ว่าเป็นเป็นใบ กิ่ง ลำต้น และรากใต้ดิน (มวลชีวภาพ)
ทำให้ CO2 ถูกตรึงอยู่ในต้นไม้
จนกว่าจะมีการตัดต้นไม้ออกไปจากพื้นที่
ต้นไม้หนึ่งต้นจะดูดซับ CO2 ได้ 9-15 กิโลกรัม/ปี
ผลิต O2 ได้เพียงพอสำหรับ 2 คน/ปี
และช่วยลดอุณหภูมิได้ 2-4 องศาเซลเซียส
ผลการศึกษาการกักเก็บ CO2
ในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้น
ในพื้นที่ให้บริการของอุทยานหลวงราชพฤกษ์
ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 13.90 เฮกตาร์ (86.8 ไร่)
พบว่ามีความหนาแน่นของต้นไม้เฉลี่ยทั้งหมด
เท่ากับ 480.93 ต้นต่อเฮกตาร์ (76.94 ต้น/ไร่)
และมีปริมาณการกักเก็บ CO2 สะสม
รวมทั้งหมด เท่ากับ 426.83 เมกกะกรัม (ตัน)
หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ
30.7 เมกกะกรัมต่อเฮกตาร์ (4.91 ตัน/ไร่)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ต้นไม้นั้นมีคุณสมบัติ
และสามารถดูดซับ CO2 ที่เป็นสาเหตุหลัก
ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
© https://bit.ly/3I04Rfi
หมายเหตุ
ต้นไม้ 2 ล้านต้นในกรุงเทพฯ
ตามนโยบายของชัชชาติ
จะช่วยลดอุณหภูมิและดูดซับ CO2
ได้จำนวนมากในอนาคต
.
.