คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
1. เรื่องเรียน
วิศวปิโตรเลียม เรียนเกี่ยวกับ drilling เป็นหลัก คือวิธีการเอา Oil & Gas ขึ้นมาจากหลุมให้ได้ ฟังดูเหมือนไปยาก แต่จริงๆ ยากพอสมควรเพราะ
แต่ละแหล่งก็จะมีธรณีสัณฐานไม่เหมือนกัน มีองค์ประกอบทางเคมีไม่เหมือนกัน มีสัดส่วนของก๊าซฯ ต่อของเหลวไม่เหมือนกัน มีแรงดันไม่เหมือนกัน มี Phase Change Properties ไม่เหมือนกัน มีสารปนเปื้อนไม่เหมือนกัน ฯลฯ วิศวปิโตรเลียมจึงเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหลัก ว่าจะขุดยังไงและอย่างไร
วิศเคมี เรียนเกี่ยวกับกระบวนการทางเคมี เป็นหลักการเกิดปฏิกิริยาเคมีและการควบคุมปฏิกิริยาเคมี ซึ่งปฏิกิริยาเคมีแต่ละอย่างอาจเกิดที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ความดันแตกตางกัน สถานะแตกต่างกัน จึงต้องใช้ความรู้ในวิศวกรรมเพื่อออกแบบระบบในการควบคุมให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผลสูงที่สุด และด้วยความปลอดภัยที่สุด ซึ่งอาศัยวิชาการถ่ายเทความร้อน การถ่ายเทมวลสาร การถ่ายเทโมเมนตัม และวิชาควบคุมเป็นหลัก
2. เรื่องงานและผลตอบแทน
วิศวปิโตรเลียม ตลาดแรงงานแคบมาก อยู่เฉพาะแทบจะในอุตสาหกรรมขุดเจาะ Oil & Gas เท่านั้น ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นอุตสาหกรรม Sunset แต่ผลตอบแทนดีมาก ฐานรายได้เฉลี่ยจบใหม่ 50,000+ ไม่รวมค่าเสี่ยงภัยและโบนัส มีวิศวกรหญิงอยู่เยอะพอสมควร แต่เมื่อเทียบกับผู้ชายแล้วก็ถือว่าไม่มาก หากถามว่ามีการกีดกันทางเพศมั้ย ไม่มีครับ บริษัทส่วนใหญ่ใน Oil & Gas เป็น Int'l Firm แค่ว่าสัดส่วนวิศกรหญิงน้อยกว่าเท่านั้นเอง เรื่องเช่นนี้ หากเกิดแล้วรับรองเป็นเรื่องใหญ่โตครับ
วิศวเคมี ตลาดแรงงานกว้างกว่า แต่หากเทียบกับสายอื่นเช่น เครื่องกล ไฟฟ้า หรือ คอมพิวเตอร์แล้ว ก็ถือว่าเล็ก มีหลายอุตสาหกรรมที่ใช้วิศวกรเคมี ไม่ว่าจะเป็น Oil & Gas ฝั่ง Mid-stream เช่นโรงกลั่น โรงแยกก๊าซฯ หรือ Downstream เช่นปิโตรเคมี สายเคมีภัณฑ์ เช่น Green Chemistry หรือแม้แต่ Fast-Moving Consumer Goods (FMCG) ก็ได้ ฐานเงินเดือนเริ่มได้ตั้งแต่ 25,000 จนถึง 50,000 ที่เงินเดือนหลากหลายเพราะขึ้นกับอุตสาหกรรม
วิศวปิโตรเลียม เรียนเกี่ยวกับ drilling เป็นหลัก คือวิธีการเอา Oil & Gas ขึ้นมาจากหลุมให้ได้ ฟังดูเหมือนไปยาก แต่จริงๆ ยากพอสมควรเพราะ
แต่ละแหล่งก็จะมีธรณีสัณฐานไม่เหมือนกัน มีองค์ประกอบทางเคมีไม่เหมือนกัน มีสัดส่วนของก๊าซฯ ต่อของเหลวไม่เหมือนกัน มีแรงดันไม่เหมือนกัน มี Phase Change Properties ไม่เหมือนกัน มีสารปนเปื้อนไม่เหมือนกัน ฯลฯ วิศวปิโตรเลียมจึงเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหลัก ว่าจะขุดยังไงและอย่างไร
วิศเคมี เรียนเกี่ยวกับกระบวนการทางเคมี เป็นหลักการเกิดปฏิกิริยาเคมีและการควบคุมปฏิกิริยาเคมี ซึ่งปฏิกิริยาเคมีแต่ละอย่างอาจเกิดที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ความดันแตกตางกัน สถานะแตกต่างกัน จึงต้องใช้ความรู้ในวิศวกรรมเพื่อออกแบบระบบในการควบคุมให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผลสูงที่สุด และด้วยความปลอดภัยที่สุด ซึ่งอาศัยวิชาการถ่ายเทความร้อน การถ่ายเทมวลสาร การถ่ายเทโมเมนตัม และวิชาควบคุมเป็นหลัก
2. เรื่องงานและผลตอบแทน
วิศวปิโตรเลียม ตลาดแรงงานแคบมาก อยู่เฉพาะแทบจะในอุตสาหกรรมขุดเจาะ Oil & Gas เท่านั้น ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นอุตสาหกรรม Sunset แต่ผลตอบแทนดีมาก ฐานรายได้เฉลี่ยจบใหม่ 50,000+ ไม่รวมค่าเสี่ยงภัยและโบนัส มีวิศวกรหญิงอยู่เยอะพอสมควร แต่เมื่อเทียบกับผู้ชายแล้วก็ถือว่าไม่มาก หากถามว่ามีการกีดกันทางเพศมั้ย ไม่มีครับ บริษัทส่วนใหญ่ใน Oil & Gas เป็น Int'l Firm แค่ว่าสัดส่วนวิศกรหญิงน้อยกว่าเท่านั้นเอง เรื่องเช่นนี้ หากเกิดแล้วรับรองเป็นเรื่องใหญ่โตครับ
วิศวเคมี ตลาดแรงงานกว้างกว่า แต่หากเทียบกับสายอื่นเช่น เครื่องกล ไฟฟ้า หรือ คอมพิวเตอร์แล้ว ก็ถือว่าเล็ก มีหลายอุตสาหกรรมที่ใช้วิศวกรเคมี ไม่ว่าจะเป็น Oil & Gas ฝั่ง Mid-stream เช่นโรงกลั่น โรงแยกก๊าซฯ หรือ Downstream เช่นปิโตรเคมี สายเคมีภัณฑ์ เช่น Green Chemistry หรือแม้แต่ Fast-Moving Consumer Goods (FMCG) ก็ได้ ฐานเงินเดือนเริ่มได้ตั้งแต่ 25,000 จนถึง 50,000 ที่เงินเดือนหลากหลายเพราะขึ้นกับอุตสาหกรรม
แสดงความคิดเห็น
วิศวะปิโตรเลียมกับวิศวะเคมีอะไรหางานยากกว่ากัน