ขอตั้งเป็นกระทู้คำถาม เพื่อจะได้ comment กันได้ทุกท่านครับ
เนื้อหาทั้งหมดแปล / เรียบเรียงมาจาก
-
https://www.bbc.com/news/science-environment-61911817
-
https://www.npr.org/2022/06/23/1107012619/largest-bacteria-ever-discovered-thiomargarita-magnifica
โดยทั่วไปแล้ว แบคทีเรียจะมีขนาดเล็กและต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการมองเสมอ
แต่วันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแบคทีเรียที่มีขนาดใหญ่เท่าขนตามนุษย์แล้ว
การค้นพบใหม่นี้เป็นแบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จัก มันใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปประมาณ 5,000 เท่า
รายงานในวารสาร Science ระบุว่า ขนาดยักษ์ของมันจะประมาณ 1 เซนติเมตร
ถูกค้นพบว่าเป็นเส้นใยสีขาวบาง ๆ ติดอยู่กับใบไม้ที่จมอยู่ในหนองน้ำโกงกางในทะเลแคริบเบียน
นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบในตอนแรกไม่รู้ว่ามันคือแบคทีเรียชนิดใหม่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
แต่จากการตรวจใน Lab พบว่าเซลล์ของเส้นใยขาว ๆ เหล่านั้น
ไม่มีลักษณะสำคัญของเซลล์พืชหรือสัตว์
การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมได้เปิดเผยลักษณะที่แท้จริงของพวกมัน
พวกมันมีความคล้ายกับแบคทีเรียอื่น ๆ ที่มีชีวิตอยู่ด้วยกำมะถันและเติบโตเป็นจำนวนมหาศาล
แต่ก็ไม่ใหญ่โตขนาดนี้ แบคทีเรียชนิดใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า Thiomargarita magnifica
พวกมันยังจัดระเบียบอวัยวะภายในของมันด้วยวิธีการขั้นสูงที่ไม่ธรรมดา
คือ T. magnifica จะมีถุงที่เป็นเนื้อเยื่อหุ้มเก็บสารพันธุกรรม หรือ DNA ไว้โดยเฉพาะ
ไม่ปล่อยให้ DNA ล่องลอยกระจัดกระจายใน cytoplasm (ของเหลวภายในเซลล์) เหมือนกับแบคทีเรียชนิดอื่น
ซึ่งลักษณะเช่นนี้พบได้แค่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจำพวก Eukaryote เท่านั้น
ทีมผู้วิจัยเรียกถุงเก็บ DNA นี้ว่า Pepin ซึ่งแปลว่าเมล็ดผลไม้ในภาษาฝรั่งเศส
โดยแบคทีเรียยักษ์นี้ยังมี base ที่เป็นองค์ประกอบของ DNA จำนวนมหาศาลถึง 6 ล้านล้านตัว
มากกว่ามนุษย์ที่มีเพียง 6 พันล้านตัวอยู่หลายเท่า เนื่องจากเซลล์ของแบคทีเรียยักษ์ นี้
มีรหัสพันธุกรรม (genome) ทั้งหมดอยู่ถึง 500,000 ชุด
นี่คือข้อความต้นฉบับ (เผื่อผมจะแปลผิดพลาดไป)
T. magnifica carries a lot of DNA. If you count all the "letters"
or bases, in its life code, or genome, there are some 12 million.
But in each cell, there may be half a million copies of the genome.
"If you now take the genome size of 12 million bases,
multiply that by the number of genome copies - so, half a million
you end up with approximately 6,000 giga, or billion, bases, of DNA.
For comparison, a diploid human genome is approximately six giga bases in size.
So this means that our Thiomargarita stores several orders of magnitude more DNA
in itself as compared to a human cell," explained Dr Tanja Woyke, also from Lawrence Berkeley.
ภาพของ Thiomargarita magnifica เทียบกับขนาดเหรียญ 10 Cent
(เหรียญมีรัศมี 8.9 มิลลิเมตร)
T.magnifica เป็นเส้นยาว มีขนาดและลักษณะเหมือนกับขนตาของคนเรา
มันใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสร้างอาหารให้ตัวเอง โดยทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์สารประกอบกำมะถัน
จากซากพืชซากสัตว์ในดินตะกอนป่าชายเลน สร้างน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงานให้เซลล์ได้
การดำรงชีวิตแบบนี้ทำให้มันต้องอาศัยยึดเกาะกับพื้นผิวที่เป็นของแข็ง เช่น เปลือกหอยนางรม ใบไม้
กิ่งก้านของต้นโกงกาง รวมทั้งเศษขยะพลาสติกที่พบได้เกลื่อนกลาดในปัจจุบัน
ในขณะที่แบคทีเรียส่วนใหญ่สืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ที่เหมือนกันสองเซลล์
แต่แบคทีเรียยักษ์ นี้ จะขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อเล็ก ๆ หนึ่งชิ้นที่ส่วนปลาย
ซึ่งสามารถลอยออกไปและสร้างตัวเต็มใหม่ทั้งหมดได้
และแม้ว่าแบคทีเรียยักษ์นี้จะมีขนาดใหญ่มาก จนแบคทีเรียขนาดเล็กนับแสนตัว
สามารถติดกับพื้นผิวด้านนอกของพวกมันได้ นักวิจัยพบว่าพื้นผิวเหล่านี้ดู "pristine"
(pristine แปลว่าอะไรดีครับ ? หากจะแปลว่า บริสุทธิ์ หรือ ผิวดั้งเดิม จะดูแปลก ๆ ไหม ?)
โดยคาดว่าแบคทีเรียยักษ์ นี้ อาจหลั่งสาร antibiotic บางชนิดออกมาเพื่อป้องกัน
การเกาะติดของจุลชีพอื่น ๆ
มีการค้นพบ แบคทีเรีย ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติถึง 5,000 เท่า !!
เนื้อหาทั้งหมดแปล / เรียบเรียงมาจาก
- https://www.bbc.com/news/science-environment-61911817
- https://www.npr.org/2022/06/23/1107012619/largest-bacteria-ever-discovered-thiomargarita-magnifica
โดยทั่วไปแล้ว แบคทีเรียจะมีขนาดเล็กและต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการมองเสมอ
แต่วันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแบคทีเรียที่มีขนาดใหญ่เท่าขนตามนุษย์แล้ว
การค้นพบใหม่นี้เป็นแบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จัก มันใหญ่กว่าแบคทีเรียทั่วไปประมาณ 5,000 เท่า
รายงานในวารสาร Science ระบุว่า ขนาดยักษ์ของมันจะประมาณ 1 เซนติเมตร
ถูกค้นพบว่าเป็นเส้นใยสีขาวบาง ๆ ติดอยู่กับใบไม้ที่จมอยู่ในหนองน้ำโกงกางในทะเลแคริบเบียน
นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบในตอนแรกไม่รู้ว่ามันคือแบคทีเรียชนิดใหม่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
แต่จากการตรวจใน Lab พบว่าเซลล์ของเส้นใยขาว ๆ เหล่านั้น ไม่มีลักษณะสำคัญของเซลล์พืชหรือสัตว์
การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมได้เปิดเผยลักษณะที่แท้จริงของพวกมัน
พวกมันมีความคล้ายกับแบคทีเรียอื่น ๆ ที่มีชีวิตอยู่ด้วยกำมะถันและเติบโตเป็นจำนวนมหาศาล
แต่ก็ไม่ใหญ่โตขนาดนี้ แบคทีเรียชนิดใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า Thiomargarita magnifica
พวกมันยังจัดระเบียบอวัยวะภายในของมันด้วยวิธีการขั้นสูงที่ไม่ธรรมดา
คือ T. magnifica จะมีถุงที่เป็นเนื้อเยื่อหุ้มเก็บสารพันธุกรรม หรือ DNA ไว้โดยเฉพาะ
ไม่ปล่อยให้ DNA ล่องลอยกระจัดกระจายใน cytoplasm (ของเหลวภายในเซลล์) เหมือนกับแบคทีเรียชนิดอื่น
ซึ่งลักษณะเช่นนี้พบได้แค่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจำพวก Eukaryote เท่านั้น
ทีมผู้วิจัยเรียกถุงเก็บ DNA นี้ว่า Pepin ซึ่งแปลว่าเมล็ดผลไม้ในภาษาฝรั่งเศส
โดยแบคทีเรียยักษ์นี้ยังมี base ที่เป็นองค์ประกอบของ DNA จำนวนมหาศาลถึง 6 ล้านล้านตัว
มากกว่ามนุษย์ที่มีเพียง 6 พันล้านตัวอยู่หลายเท่า เนื่องจากเซลล์ของแบคทีเรียยักษ์ นี้
มีรหัสพันธุกรรม (genome) ทั้งหมดอยู่ถึง 500,000 ชุด
นี่คือข้อความต้นฉบับ (เผื่อผมจะแปลผิดพลาดไป)
T. magnifica carries a lot of DNA. If you count all the "letters"
or bases, in its life code, or genome, there are some 12 million.
But in each cell, there may be half a million copies of the genome.
"If you now take the genome size of 12 million bases,
multiply that by the number of genome copies - so, half a million
you end up with approximately 6,000 giga, or billion, bases, of DNA.
For comparison, a diploid human genome is approximately six giga bases in size.
So this means that our Thiomargarita stores several orders of magnitude more DNA
in itself as compared to a human cell," explained Dr Tanja Woyke, also from Lawrence Berkeley.
ภาพของ Thiomargarita magnifica เทียบกับขนาดเหรียญ 10 Cent
(เหรียญมีรัศมี 8.9 มิลลิเมตร)
T.magnifica เป็นเส้นยาว มีขนาดและลักษณะเหมือนกับขนตาของคนเรา
มันใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสร้างอาหารให้ตัวเอง โดยทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์สารประกอบกำมะถัน
จากซากพืชซากสัตว์ในดินตะกอนป่าชายเลน สร้างน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงานให้เซลล์ได้
การดำรงชีวิตแบบนี้ทำให้มันต้องอาศัยยึดเกาะกับพื้นผิวที่เป็นของแข็ง เช่น เปลือกหอยนางรม ใบไม้
กิ่งก้านของต้นโกงกาง รวมทั้งเศษขยะพลาสติกที่พบได้เกลื่อนกลาดในปัจจุบัน
ในขณะที่แบคทีเรียส่วนใหญ่สืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ที่เหมือนกันสองเซลล์
แต่แบคทีเรียยักษ์ นี้ จะขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อเล็ก ๆ หนึ่งชิ้นที่ส่วนปลาย
ซึ่งสามารถลอยออกไปและสร้างตัวเต็มใหม่ทั้งหมดได้
และแม้ว่าแบคทีเรียยักษ์นี้จะมีขนาดใหญ่มาก จนแบคทีเรียขนาดเล็กนับแสนตัว
สามารถติดกับพื้นผิวด้านนอกของพวกมันได้ นักวิจัยพบว่าพื้นผิวเหล่านี้ดู "pristine"
(pristine แปลว่าอะไรดีครับ ? หากจะแปลว่า บริสุทธิ์ หรือ ผิวดั้งเดิม จะดูแปลก ๆ ไหม ?)
โดยคาดว่าแบคทีเรียยักษ์ นี้ อาจหลั่งสาร antibiotic บางชนิดออกมาเพื่อป้องกัน
การเกาะติดของจุลชีพอื่น ๆ