ไม่ใช่ว่าทุกการสัมภาษณ์งานจะผ่านไปด้วยดี บางคนเจอกับผู้สัมภาษณ์ที่รับมือยาก หรือตื่นเต้นจนเผลอพูดอะไรพลาดไป ทำให้การสัมภาษณ์งานมีบรรยากาศการที่น่าอึดอัด แล้วถ้าเราอยากได้งานนี้จริง ๆ เราพอจะพลิกสถานการณ์ให้กลับมาดีได้ไหม
JobThai Tips กระทู้นี้มีเคล็ดลับที่จะช่วยแก้เกมสัมภาษณ์ให้เรากลับมาเป็น Candidate ที่น่าสนใจและอยู่ในสายตาของผู้สัมภาษณ์อีกครั้ง
หาต้นตอของปัญหา
วินาทีที่เราสัมผัสได้ว่าบรรยากาศของการสัมภาษณ์เริ่มไปในทางที่ไม่ดีแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือเราต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่าทิศทางการสัมภาษณ์มันแย่ลงเพราะอะไร บรรยากาศตึงเครียดอาจเกิดขึ้นและไล่ระดับขึ้นตั้งแต่ตอนที่เราเล่นมุกฮากริบกับผู้สัมภาษณ์ เราตอบคำถามไม่ตรงใจเขา หรือไม่ก็อาจเป็นที่ผู้สัมภาษณ์เองที่เครียดอยู่แล้ว เมื่อพอจะเดาสาเหตุได้แล้วเราก็ค่อยหาทางแก้อย่างใจเย็น
ถ้าทำผิดพลาดก็ดูสถานการณ์และแก้ไขตามความเหมาะสม
ความกดดันกับการสัมภาษณ์งานเป็นของคู่กัน เพราะการคุยครั้งนี้อาจเป็นการตัดสินทุก ๆ อย่าง และในระหว่างการสัมภาษณ์ก็อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ถ้าเรารู้ตัวว่าตัวเองทำอะไรผิดพลาดไปก็ให้ลองดูว่ามันเป็นข้อผิดพลาดที่ใหญ่หรือเล็ก ถ้าเราเผลอพูดบางอย่างที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดหรือทำให้ผู้ฟังไม่สบายใจ ก็อย่าลังเลที่จะกลับไปแก้ไข โดยอาจพูดว่า “จากประเด็นก่อนนี้ หนูอยากขออธิบายเพิ่มอีกสักนิดได้ไหมคะ” หรือ “ที่พูดไปเมื่อกี้ผมหมายความอีกแง่นึงนะครับ” หรือถ้าอธิบายแล้วอะไร ๆ ยังไม่ดีขึ้นก็ให้ขอโทษออกไปตรง ๆ และอธิบายว่าเราไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี ถึงมันจะไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าบรรยากาศจะกลับมาดีขึ้น แต่อย่างน้อยเขาก็จะเห็นว่าเราเป็นคนที่รู้ตัวเมื่อเผลอทำสิ่งที่ไม่ควร และกล้าที่จะพูดถึงมันโดยไม่ปล่อยเบลอ
ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการสัมภาษณ์มันไม่ใช่เรื่องใหญ่และไม่ได้ส่งกระทบต่อการตัดสินใจเข้าทำงานแต่อย่างใด และดูเหมือนว่าผู้สัมภาษณ์ก็ดูไม่ได้ถือสาหรือแทบไม่ได้สังเกตสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วยซ้ำ เราก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยขอโทษหรือยกมันกลับขึ้นมาพูดก็ได้ ขอแค่รับรู้เอาไว้ว่าเมื่อกี้มันเกิดอะไรขึ้น และระวังไม่ให้เผลอทำอีกก็พอ สิ่งสำคัญที่สุดคือให้คิดบวกเอาไว้ก่อน ถึงจะรู้ตัวว่าผิดแล้วแต่ก็ยังต้องไปต่อ อย่ากังวลจนทำให้อะไร ๆ แย่ลง
จูนทิศทางการคุยให้ตรงกับผู้สัมภาษณ์
สังเกตลักษณะของคนสัมภาษณ์ว่ามีท่าทางและลักษณะเป็นยังไงเพื่อที่เราจะได้วางตัวได้อย่างเหมาะสม ลองดูว่าเขาเป็นคนสบาย ๆ คุยง่ายหรือเป็นคนที่จริงจัง แล้วปรับจูนตัวเองให้ลักษณะการพูดคุยไปในทางเดียวกับเขา ไม่ใช่การเลียนแบบตัวตนเขา แต่ให้ดูว่าเราจะใช้โหมดไหนในการพูดคุย โดยจะต้องอยู่บนเส้นของ “ความเหมาะสม” เพราะถึงจะคุยถูกคอกันยังไงก็ยังถือว่าเป็นการพูดคุยกันครั้งแรก และการสัมภาษณ์งานเป็นการพูดคุยที่จริงจัง ระวังเผลอพูดอะไรล้ำเส้นเพราะความสนุกปาก ถ้าเราวางตัวผิดตั้งแต่ตอนต้นของการสัมภาษณ์ก็ให้รีบสังเกตตัวเองและฝ่ายตรงข้ามให้เร็ว แล้วก็ปรับจูนทิศทางตามเขา
ถ้าพรีเซนต์ตัวเองไม่เต็มที่ก็หาจังหวะดึงบทสนทนากลับมา
คนสมัครงานบางคนมีแพทเทิร์นการพูดพรีเซนต์ตัวเองที่เตรียมตั้งแต่ตอนที่ซ้อมตอบคำถาม แต่พอไปคุยจริง ๆ บทสนทนามันดันไหลไปในทิศทางที่ไกลจากหัวข้อที่เราเตรียมมาจนเราเริ่มใจไม่ดี กลัวว่าจะไม่ได้มีโอกาสได้เล่าข้อดีของตัวเอง ยิ่งถ้าเรื่องที่เตรียมมามีผลกับความมั่นใจเรามาก ๆ ยังไงก็ต้องเล่าให้ได้ เราก็ต้องตั้งสติและหาจังหวะดึงกลับเข้าเรื่องให้ได้ หรืออาจรอเอาไว้เล่าในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ไปเลย แต่ยังไงก็ดูลักษณะการสนทนาให้ดีด้วย ถ้าหัวข้อที่เตรียมมามันไม่สอดคล้องกับทิศทางของการสัมภาษณ์จริง ๆ ก็ไม่ต้องฝืนเล่าออกไป
หาวิธีคุยกับผู้สัมภาษณ์ที่ดูเบื่อหน่าย
ถึงเราจะคุมสติและตอบคำถามอย่างตั้งใจมากแค่ไหน บางคนก็โชคร้ายได้เจอผู้สัมภาษณ์ที่มีท่าทางเบื่อหน่าย เหมือนเขาไม่อยากคุยกับเรา ไม่ค่อยอยากถามคำถามเกี่ยวกับตำแหน่งที่เปิดรับมากนัก มันก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายพูดพรีเซนต์ตัวเองและถามคำถามที่อยากรู้เป็นหลักเพื่อแก้สถานการณ์ เราอาจใช้วิธีชวนคุยในเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานที่นี่ เช่น ถามถึงสไตล์การทำงานเป็นยังไง หรือถามถึงสมาชิกในทีมและทีมอื่นที่เราต้องร่วมงานด้วย ซึ่งการยิงคำถามประมาณนี้จะช่วยให้เขายอมพูดและเล่าเรื่องบ้าง แต่ยังไงถ้าเราพยายามชวนคุยแล้วเขายังถามคำตอบคำ เราก็คงต้องทำใจกับตำแหน่งนี้และบอกตัวเองไว้ว่ามันไม่ใช่ความผิดเรา
ถ้าโดนมองว่าคุณสมบัติต่ำกว่าที่ต้องการ ก็ต้องชี้ให้เขาเห็นมุมอื่น ๆ
ถ้าเราถูกคนสัมภาษณ์มองว่ายังมีคุณสมบัติต่ำกว่าที่บริษัทต้องการ เราเองก็ต้องกล้าที่จะชี้แจงคุณสมบัติอื่น ๆ ของตัวเองอย่างสุภาพ ถ้าเขาไม่มั่นใจในทักษะบางอย่างของเราว่าเราจะทำได้ดีพอไหมก็ให้เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้สัมภาษณ์เป็นห่วงว่าเรามีภาวะผู้นำมากพอจะนำคนจำนวนมาก ๆ ไหม เราก็สามารถเล่าประสบการณ์การทำงานที่แสดงถึงภาวะผู้นำให้เขาฟังได้ อย่างการทำโปรเจกต์อะไรบางอย่างที่เราเป็นคนหลักในการรับผิดชอบ
ติดต่อผู้เกี่ยวข้อง แก้สถานการณ์หลังสัมภาษณ์
หลังสัมภาษณ์เสร็จแล้วแทนที่เราจะรอผลตอบรับจากบริษัทเฉย ๆ เราสามารถส่งอีเมลไปหา HR หรือผู้เกี่ยวข้องเพื่อขอบคุณสำหรับโอกาสและขอบคุณที่เขาสละเวลาให้ เพื่อให้เขามองว่าเราเห็นคุณค่าของการพูดคุยครั้งนี้มาก ๆ
คราวนี้ถ้าเกิดว่าเราบังเอิญเจอการสัมภาษณ์ที่ทุก ๆ อย่างไม่เป็นใจ เช่น รู้สึกกดดัน ไม่พร้อม มีปัญหาส่วนตัว หรือเจอผู้สัมภาษณ์ที่อารมณ์ไม่ดี แต่เราก็ยังต้องการงานนี้มาก ๆ เราอาจต้องติดต่อ HR หรือคนที่ติดต่อเรามาในตอนแรกเพื่อเล่าเรื่องราวในมุมของเราให้เขาฟังว่าเกิดอะไรขึ้นในห้องสัมภาษณ์ เพื่อให้เขาชั่งน้ำหนักและดูว่าพอจะทำอะไรได้ไหม เช่น อาจให้โอกาสสัมภาษณ์ครั้งที่ 2 เพื่อให้บริษัทได้ตัดสินใจอีกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ส่งอีเมลเล่าสิ่งที่ต้องการอธิบายออกไป
มูฟออน เดินหน้าหางานต่อ
บางครั้งเราก็โชคไม่ดีที่ต้องเจอกับการสัมภาษณ์งานที่ล่มไม่เป็นท่าทั้งที่พยายามแก้สถานการณ์แทบตาย เราไม่สามารถทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการทำใจและให้กำลังใจตัวเองว่าได้ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้แต่มันก็ไม่มีอะไรเสียเปล่า ทบทวนเรื่องที่เกิดขึ้นในวันนี้ เรียนรู้จากมัน แล้วเอาไปปรับใช้กับการสัมภาษณ์ครั้งต่อไป
ถ้าเรารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่เหมาะกับตำแหน่งนี้และสามารถทำทุกอย่างที่อยู่ในรายละเอียดของประกาศงานได้อยู่แล้ว สิ่งที่ต้องพกไปทุก ๆ ครั้งที่สัมภาษณ์งานก็คือ “ความมั่นใจ” ว่าตัวเองดีพอสำหรับตำแหน่งนี้ และในระหว่างพูดคุยก็ต้องมีสติ รู้ตัวว่าบทสนทนากำลังไหลไปในทิศทางไหน และ “เป็นตัวเอง” เข้าไว้ อย่าเครียด ตัวตนของเราจะตรงกับวัฒนธรรมขององค์กรนี้มากน้อยแค่ไหนก็ให้ผู้สัมภาษณ์เป็นคนตัดสินดีกว่า
ทำบรรยากาศการสัมภาษณ์งานอึดอัด จะแก้ไขยังไง ?
JobThai Tips กระทู้นี้มีเคล็ดลับที่จะช่วยแก้เกมสัมภาษณ์ให้เรากลับมาเป็น Candidate ที่น่าสนใจและอยู่ในสายตาของผู้สัมภาษณ์อีกครั้ง
หาต้นตอของปัญหา
วินาทีที่เราสัมผัสได้ว่าบรรยากาศของการสัมภาษณ์เริ่มไปในทางที่ไม่ดีแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือเราต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่าทิศทางการสัมภาษณ์มันแย่ลงเพราะอะไร บรรยากาศตึงเครียดอาจเกิดขึ้นและไล่ระดับขึ้นตั้งแต่ตอนที่เราเล่นมุกฮากริบกับผู้สัมภาษณ์ เราตอบคำถามไม่ตรงใจเขา หรือไม่ก็อาจเป็นที่ผู้สัมภาษณ์เองที่เครียดอยู่แล้ว เมื่อพอจะเดาสาเหตุได้แล้วเราก็ค่อยหาทางแก้อย่างใจเย็น
ถ้าทำผิดพลาดก็ดูสถานการณ์และแก้ไขตามความเหมาะสม
ความกดดันกับการสัมภาษณ์งานเป็นของคู่กัน เพราะการคุยครั้งนี้อาจเป็นการตัดสินทุก ๆ อย่าง และในระหว่างการสัมภาษณ์ก็อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ถ้าเรารู้ตัวว่าตัวเองทำอะไรผิดพลาดไปก็ให้ลองดูว่ามันเป็นข้อผิดพลาดที่ใหญ่หรือเล็ก ถ้าเราเผลอพูดบางอย่างที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดหรือทำให้ผู้ฟังไม่สบายใจ ก็อย่าลังเลที่จะกลับไปแก้ไข โดยอาจพูดว่า “จากประเด็นก่อนนี้ หนูอยากขออธิบายเพิ่มอีกสักนิดได้ไหมคะ” หรือ “ที่พูดไปเมื่อกี้ผมหมายความอีกแง่นึงนะครับ” หรือถ้าอธิบายแล้วอะไร ๆ ยังไม่ดีขึ้นก็ให้ขอโทษออกไปตรง ๆ และอธิบายว่าเราไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี ถึงมันจะไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าบรรยากาศจะกลับมาดีขึ้น แต่อย่างน้อยเขาก็จะเห็นว่าเราเป็นคนที่รู้ตัวเมื่อเผลอทำสิ่งที่ไม่ควร และกล้าที่จะพูดถึงมันโดยไม่ปล่อยเบลอ
ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการสัมภาษณ์มันไม่ใช่เรื่องใหญ่และไม่ได้ส่งกระทบต่อการตัดสินใจเข้าทำงานแต่อย่างใด และดูเหมือนว่าผู้สัมภาษณ์ก็ดูไม่ได้ถือสาหรือแทบไม่ได้สังเกตสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วยซ้ำ เราก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยขอโทษหรือยกมันกลับขึ้นมาพูดก็ได้ ขอแค่รับรู้เอาไว้ว่าเมื่อกี้มันเกิดอะไรขึ้น และระวังไม่ให้เผลอทำอีกก็พอ สิ่งสำคัญที่สุดคือให้คิดบวกเอาไว้ก่อน ถึงจะรู้ตัวว่าผิดแล้วแต่ก็ยังต้องไปต่อ อย่ากังวลจนทำให้อะไร ๆ แย่ลง
จูนทิศทางการคุยให้ตรงกับผู้สัมภาษณ์
สังเกตลักษณะของคนสัมภาษณ์ว่ามีท่าทางและลักษณะเป็นยังไงเพื่อที่เราจะได้วางตัวได้อย่างเหมาะสม ลองดูว่าเขาเป็นคนสบาย ๆ คุยง่ายหรือเป็นคนที่จริงจัง แล้วปรับจูนตัวเองให้ลักษณะการพูดคุยไปในทางเดียวกับเขา ไม่ใช่การเลียนแบบตัวตนเขา แต่ให้ดูว่าเราจะใช้โหมดไหนในการพูดคุย โดยจะต้องอยู่บนเส้นของ “ความเหมาะสม” เพราะถึงจะคุยถูกคอกันยังไงก็ยังถือว่าเป็นการพูดคุยกันครั้งแรก และการสัมภาษณ์งานเป็นการพูดคุยที่จริงจัง ระวังเผลอพูดอะไรล้ำเส้นเพราะความสนุกปาก ถ้าเราวางตัวผิดตั้งแต่ตอนต้นของการสัมภาษณ์ก็ให้รีบสังเกตตัวเองและฝ่ายตรงข้ามให้เร็ว แล้วก็ปรับจูนทิศทางตามเขา
ถ้าพรีเซนต์ตัวเองไม่เต็มที่ก็หาจังหวะดึงบทสนทนากลับมา
คนสมัครงานบางคนมีแพทเทิร์นการพูดพรีเซนต์ตัวเองที่เตรียมตั้งแต่ตอนที่ซ้อมตอบคำถาม แต่พอไปคุยจริง ๆ บทสนทนามันดันไหลไปในทิศทางที่ไกลจากหัวข้อที่เราเตรียมมาจนเราเริ่มใจไม่ดี กลัวว่าจะไม่ได้มีโอกาสได้เล่าข้อดีของตัวเอง ยิ่งถ้าเรื่องที่เตรียมมามีผลกับความมั่นใจเรามาก ๆ ยังไงก็ต้องเล่าให้ได้ เราก็ต้องตั้งสติและหาจังหวะดึงกลับเข้าเรื่องให้ได้ หรืออาจรอเอาไว้เล่าในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ไปเลย แต่ยังไงก็ดูลักษณะการสนทนาให้ดีด้วย ถ้าหัวข้อที่เตรียมมามันไม่สอดคล้องกับทิศทางของการสัมภาษณ์จริง ๆ ก็ไม่ต้องฝืนเล่าออกไป
หาวิธีคุยกับผู้สัมภาษณ์ที่ดูเบื่อหน่าย
ถึงเราจะคุมสติและตอบคำถามอย่างตั้งใจมากแค่ไหน บางคนก็โชคร้ายได้เจอผู้สัมภาษณ์ที่มีท่าทางเบื่อหน่าย เหมือนเขาไม่อยากคุยกับเรา ไม่ค่อยอยากถามคำถามเกี่ยวกับตำแหน่งที่เปิดรับมากนัก มันก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายพูดพรีเซนต์ตัวเองและถามคำถามที่อยากรู้เป็นหลักเพื่อแก้สถานการณ์ เราอาจใช้วิธีชวนคุยในเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานที่นี่ เช่น ถามถึงสไตล์การทำงานเป็นยังไง หรือถามถึงสมาชิกในทีมและทีมอื่นที่เราต้องร่วมงานด้วย ซึ่งการยิงคำถามประมาณนี้จะช่วยให้เขายอมพูดและเล่าเรื่องบ้าง แต่ยังไงถ้าเราพยายามชวนคุยแล้วเขายังถามคำตอบคำ เราก็คงต้องทำใจกับตำแหน่งนี้และบอกตัวเองไว้ว่ามันไม่ใช่ความผิดเรา
ถ้าโดนมองว่าคุณสมบัติต่ำกว่าที่ต้องการ ก็ต้องชี้ให้เขาเห็นมุมอื่น ๆ
ถ้าเราถูกคนสัมภาษณ์มองว่ายังมีคุณสมบัติต่ำกว่าที่บริษัทต้องการ เราเองก็ต้องกล้าที่จะชี้แจงคุณสมบัติอื่น ๆ ของตัวเองอย่างสุภาพ ถ้าเขาไม่มั่นใจในทักษะบางอย่างของเราว่าเราจะทำได้ดีพอไหมก็ให้เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้สัมภาษณ์เป็นห่วงว่าเรามีภาวะผู้นำมากพอจะนำคนจำนวนมาก ๆ ไหม เราก็สามารถเล่าประสบการณ์การทำงานที่แสดงถึงภาวะผู้นำให้เขาฟังได้ อย่างการทำโปรเจกต์อะไรบางอย่างที่เราเป็นคนหลักในการรับผิดชอบ
ติดต่อผู้เกี่ยวข้อง แก้สถานการณ์หลังสัมภาษณ์
หลังสัมภาษณ์เสร็จแล้วแทนที่เราจะรอผลตอบรับจากบริษัทเฉย ๆ เราสามารถส่งอีเมลไปหา HR หรือผู้เกี่ยวข้องเพื่อขอบคุณสำหรับโอกาสและขอบคุณที่เขาสละเวลาให้ เพื่อให้เขามองว่าเราเห็นคุณค่าของการพูดคุยครั้งนี้มาก ๆ
คราวนี้ถ้าเกิดว่าเราบังเอิญเจอการสัมภาษณ์ที่ทุก ๆ อย่างไม่เป็นใจ เช่น รู้สึกกดดัน ไม่พร้อม มีปัญหาส่วนตัว หรือเจอผู้สัมภาษณ์ที่อารมณ์ไม่ดี แต่เราก็ยังต้องการงานนี้มาก ๆ เราอาจต้องติดต่อ HR หรือคนที่ติดต่อเรามาในตอนแรกเพื่อเล่าเรื่องราวในมุมของเราให้เขาฟังว่าเกิดอะไรขึ้นในห้องสัมภาษณ์ เพื่อให้เขาชั่งน้ำหนักและดูว่าพอจะทำอะไรได้ไหม เช่น อาจให้โอกาสสัมภาษณ์ครั้งที่ 2 เพื่อให้บริษัทได้ตัดสินใจอีกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ส่งอีเมลเล่าสิ่งที่ต้องการอธิบายออกไป
มูฟออน เดินหน้าหางานต่อ
บางครั้งเราก็โชคไม่ดีที่ต้องเจอกับการสัมภาษณ์งานที่ล่มไม่เป็นท่าทั้งที่พยายามแก้สถานการณ์แทบตาย เราไม่สามารถทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการทำใจและให้กำลังใจตัวเองว่าได้ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขอะไรได้แต่มันก็ไม่มีอะไรเสียเปล่า ทบทวนเรื่องที่เกิดขึ้นในวันนี้ เรียนรู้จากมัน แล้วเอาไปปรับใช้กับการสัมภาษณ์ครั้งต่อไป
ถ้าเรารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่เหมาะกับตำแหน่งนี้และสามารถทำทุกอย่างที่อยู่ในรายละเอียดของประกาศงานได้อยู่แล้ว สิ่งที่ต้องพกไปทุก ๆ ครั้งที่สัมภาษณ์งานก็คือ “ความมั่นใจ” ว่าตัวเองดีพอสำหรับตำแหน่งนี้ และในระหว่างพูดคุยก็ต้องมีสติ รู้ตัวว่าบทสนทนากำลังไหลไปในทิศทางไหน และ “เป็นตัวเอง” เข้าไว้ อย่าเครียด ตัวตนของเราจะตรงกับวัฒนธรรมขององค์กรนี้มากน้อยแค่ไหนก็ให้ผู้สัมภาษณ์เป็นคนตัดสินดีกว่า