จากการแข่งขันแข่งขันวอลเลย์บอลเนชันส์ลีก VNL เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 เป็นการพบกันระหว่างนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทยและทีมชาติญี่ปุ่น ซึ่งผลการแข่งขัน ทีมชาติญี่ปุ่นสามารถเอาชนะทีมชาติไทยไปได้นั้น โดยในช่วงเซตแรกการแข่งขันเป็นอย่างสูสี และในเซตที่สองและเซตที่สามทีมชาติญี่ปุ่นได้เร่งสปีดทำคะแนนนำค่อนข้างทิ้งห่างทีมชาติไทย ในความคิดเห็นส่วนตัวการแข่งขันในสนามที่ 2 นี้นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยมีความแตกต่างต่างจากการแข่งขันในสนามที่ 1 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผมได้ลองวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้น้องๆ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่กำลังแข่งขัน ณ สนาม 2 ประเทศฟิลิปปินส์ มีประสิทธิภาพลดลง ดังนี้
- ตั้งแต่วันที่ 31 พค. ถึง 17 มิย. ทีมชาติไทย อยู่ในอันดับที่ 7 ของตาราง แข่งขันไปแล้ว 7 นัดด้วยกัน โดยมีผลชนะ 4 แพ้ 3 และมีจำนวนเซตได้เสียอยู่ที่ 16:13 นั่นหมายความว่าทีมชาติไทยแข่งขันไปทั้งหมด 29 เซตด้วยกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยกับจำนวนนัดที่ลงแข่งขัน 7 นัด เท่ากับว่านักกีฬาแข่งขันนัดละ 4 เซตต่อนัด ถือว่าเป็นงานหนักพอสมควร และการแข่งขันส่วนใหญ่จะแข่งขันกับฝ่ายตรงข้ามที่มีร่างกายสูงใหญ่ ทำให้การเล่นในเกมส์บุก เช่น การกระโดดตบทำคะแนนต้องให้สูงกว่าบล็อกของฝ่ายตรงข้าม ที่ต้องใช้พละกำลังมากขึ้น จะเห็นได้ชัดจากที่น้องบีมมีอาการตะคลิวบริเวณกล้ามเนื้อขาเมื่อนัดการแข่งขันกับโปแลนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการเดินทางข้ามทวีปอีกด้วย
- ตำแหน่งหลักของนักกีฬาไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีนักกีฬาในบางตำแหน่งหลักมีอาการบาดเจ็บและมีการติดเชื้อโควิด ทำให้กลยุทธ์การแข่งขันของทีมชาติไทยทำเกมส์บุกและเกมส์ป้องกันไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร โดยจะเห็นว่าการใช้บอลเร็วของทีมชาติไทยใช้ในเกมส์บุกน้อยลงได้ชัดเจน ตลอดจนการที่ทีมชาติไทยสามารถชนะทีมอันดับต้นๆ ของโลกได้ทำให้หลายทีมวางแผนป้องกันเกมส์บุกได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการทำคะแนนของหัวเสาและบีหลัง จะไม่ค่อยให้ความสำคัญตำแหน่งบอลเร็วหรือ MB มากนัก และในขณะเดียวกันเมื่อทีมไทยต้องการที่จะใช้เกมส์บุกก็จะส่งบอลไปยังตำแหน่งหัวเสาหรือบีหลัง ที่ทีมตรงข้ามสามารถคาดเดาตำแหน่งการทำคะแนนและสร้างแนวป้องกันได้ง่ายขึ้น และยังทำให้การใช้งานนักกีฬาในตำแหน่งดังกล่าวมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้ขาดสมดุลการทำเกมส์รุกและเกมส์รับของทีมชาติไทย
- ระบบทีมของนักกีฬาหลักและนักกีฬาสำรอง ยังไม่ไหลรื่นไปในทางเดียวกัน โดยโอกาสของมีการเปลี่ยนตัวกีฬาของนักกีฬาหลักและนักกีฬาสำรองในระหว่างเกมส์การแข่งขัน จะเพื่อเป็นการสับเปลี่ยนตัวนักกีฬาเพื่อทำการพัก หรือเพื่อเป็นการนำนักกีฬาตัวหลักออกมาวางแผนในการแก้เกมส์ของฝั่งตรงกันข้าม หรือจากสาเหตุของสองปัจจัยข้างต้น ฯลฯ จะเห็นได้ว่าในบางตำแหน่งยังไม่สามารถเปลี่ยนตัวระหว่างกันได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้ต้องใช้นักกีฬาหลักมากขึ้น ทั้งนี้ควรสร้างนักกีฬาสำรองให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับนักกีฬาหลักให้มากที่สุด และใช้จุดแข็งของนักฬาแต่ละคนเป็นกลยุทธ์ในการทำคะแนน ในบางครั้งการให้นักกีฬายืนในเกมส์ตลอดเวลาอาจจะเป็นเป้าหมายการทำเกมส์บุกของฝั้งตรงข้ามได้ เช่น เมื่อน้องบุ๋มบิ้มอยู่ในแดนหลังและถูกฝ่ายตรงข้ามเสิร์ฟจี้เป็นอย่างมาก อาจจะมีการเปลี่ยนผู้เล่นสำรองที่มีทักษะทำเกมส์รับได้ดีกว่า หรือเพื่อทำให้กลยุทธ์ของฝั่งตรงข้ามสับสนหรือเปลี่ยนไปไม่เป็นตามที่วางแผนไว้ เป็นต้น
สุดท้ายขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้น้องๆ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่ได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชันส์ลีก VNL จนมีผลงานที่ดีเยี่ยม สร้างความสุขให้กับประชาชนชาวไทย และประสบความสำเร็จในในการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชันส์ลีก VNL นัดต่อๆ ไป
รักนะ จุ๊บๆ
หมายเหตุ ทั้งหมดเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของเจ้าของกระทู้เท่านั้น หากมีความผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ โอกาสนี้ ขอบคุณครับ
ปัจจัยที่ทำให้นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่แข่งขันวอลเลย์บอลเนชันส์ลีก VNL ณ สนาม 2 มีประสิทธิภาพลดลง
- ตั้งแต่วันที่ 31 พค. ถึง 17 มิย. ทีมชาติไทย อยู่ในอันดับที่ 7 ของตาราง แข่งขันไปแล้ว 7 นัดด้วยกัน โดยมีผลชนะ 4 แพ้ 3 และมีจำนวนเซตได้เสียอยู่ที่ 16:13 นั่นหมายความว่าทีมชาติไทยแข่งขันไปทั้งหมด 29 เซตด้วยกัน เมื่อนำมาเฉลี่ยกับจำนวนนัดที่ลงแข่งขัน 7 นัด เท่ากับว่านักกีฬาแข่งขันนัดละ 4 เซตต่อนัด ถือว่าเป็นงานหนักพอสมควร และการแข่งขันส่วนใหญ่จะแข่งขันกับฝ่ายตรงข้ามที่มีร่างกายสูงใหญ่ ทำให้การเล่นในเกมส์บุก เช่น การกระโดดตบทำคะแนนต้องให้สูงกว่าบล็อกของฝ่ายตรงข้าม ที่ต้องใช้พละกำลังมากขึ้น จะเห็นได้ชัดจากที่น้องบีมมีอาการตะคลิวบริเวณกล้ามเนื้อขาเมื่อนัดการแข่งขันกับโปแลนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการเดินทางข้ามทวีปอีกด้วย
- ตำแหน่งหลักของนักกีฬาไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีนักกีฬาในบางตำแหน่งหลักมีอาการบาดเจ็บและมีการติดเชื้อโควิด ทำให้กลยุทธ์การแข่งขันของทีมชาติไทยทำเกมส์บุกและเกมส์ป้องกันไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร โดยจะเห็นว่าการใช้บอลเร็วของทีมชาติไทยใช้ในเกมส์บุกน้อยลงได้ชัดเจน ตลอดจนการที่ทีมชาติไทยสามารถชนะทีมอันดับต้นๆ ของโลกได้ทำให้หลายทีมวางแผนป้องกันเกมส์บุกได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการทำคะแนนของหัวเสาและบีหลัง จะไม่ค่อยให้ความสำคัญตำแหน่งบอลเร็วหรือ MB มากนัก และในขณะเดียวกันเมื่อทีมไทยต้องการที่จะใช้เกมส์บุกก็จะส่งบอลไปยังตำแหน่งหัวเสาหรือบีหลัง ที่ทีมตรงข้ามสามารถคาดเดาตำแหน่งการทำคะแนนและสร้างแนวป้องกันได้ง่ายขึ้น และยังทำให้การใช้งานนักกีฬาในตำแหน่งดังกล่าวมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้ขาดสมดุลการทำเกมส์รุกและเกมส์รับของทีมชาติไทย
- ระบบทีมของนักกีฬาหลักและนักกีฬาสำรอง ยังไม่ไหลรื่นไปในทางเดียวกัน โดยโอกาสของมีการเปลี่ยนตัวกีฬาของนักกีฬาหลักและนักกีฬาสำรองในระหว่างเกมส์การแข่งขัน จะเพื่อเป็นการสับเปลี่ยนตัวนักกีฬาเพื่อทำการพัก หรือเพื่อเป็นการนำนักกีฬาตัวหลักออกมาวางแผนในการแก้เกมส์ของฝั่งตรงกันข้าม หรือจากสาเหตุของสองปัจจัยข้างต้น ฯลฯ จะเห็นได้ว่าในบางตำแหน่งยังไม่สามารถเปลี่ยนตัวระหว่างกันได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้ต้องใช้นักกีฬาหลักมากขึ้น ทั้งนี้ควรสร้างนักกีฬาสำรองให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับนักกีฬาหลักให้มากที่สุด และใช้จุดแข็งของนักฬาแต่ละคนเป็นกลยุทธ์ในการทำคะแนน ในบางครั้งการให้นักกีฬายืนในเกมส์ตลอดเวลาอาจจะเป็นเป้าหมายการทำเกมส์บุกของฝั้งตรงข้ามได้ เช่น เมื่อน้องบุ๋มบิ้มอยู่ในแดนหลังและถูกฝ่ายตรงข้ามเสิร์ฟจี้เป็นอย่างมาก อาจจะมีการเปลี่ยนผู้เล่นสำรองที่มีทักษะทำเกมส์รับได้ดีกว่า หรือเพื่อทำให้กลยุทธ์ของฝั่งตรงข้ามสับสนหรือเปลี่ยนไปไม่เป็นตามที่วางแผนไว้ เป็นต้น
สุดท้ายขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้น้องๆ นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่ได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชันส์ลีก VNL จนมีผลงานที่ดีเยี่ยม สร้างความสุขให้กับประชาชนชาวไทย และประสบความสำเร็จในในการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชันส์ลีก VNL นัดต่อๆ ไป
รักนะ จุ๊บๆ
หมายเหตุ ทั้งหมดเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของเจ้าของกระทู้เท่านั้น หากมีความผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ โอกาสนี้ ขอบคุณครับ