ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD ‘ประเทศไทย’ ตก 5ด้าน มาอยู่ที่ 33
https://www.matichon.co.th/economy/news_3400938
ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD ‘ประเทศไทย’ ตก 5ด้าน มาอยู่ที่ 33
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดย World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2565 โดยผลกระทบสะสมจากโควิด-19 ได้ส่งผลให้ปีนี้ไทยมีอันดับลดลงถึง 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 63 เขตเศรษฐกิจ โดยมีอันดับลดลงในทุกปัจจัยชี้วัด ทั้งนี้ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากที่สุด
จากปัจจัยหลักที่ IMD ใช้ในการจัดอันดับรวม 4 ด้าน พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับลดลงถึง 13 อันดับ อันเนื่องมาจากประเด็นการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจภายในประเทศ ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) มีอันดับลดลง 11 อันดับจากอันดับที่ 20 ในปี 2564 เป็นอันดับที่ 31 ในปี 2565 เนื่องจากประเด็นด้านการคลังและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ซึ่งลดลง 15 และ 8 อันดับตามลำดับ
ส่วนด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ก็มีอันดับที่ลดลงเช่นกัน จากอันดับที่ 21 มาอยู่ที่อันดับ 30 โดยประเด็นด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพยังคงเป็นปัญหาหลักและมีอันดับลดลงถึง 7 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 47 ในปีนี้ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากอันดับที่ 43 มาอยู่ที่อันดับ 44
ในระดับอาเซียน IMD มีการจัดอันดับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้รวม 5 เขตเศรษฐกิจ โดยสิงคโปร์ยังคงเป็นผู้นำ มีอันดับดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 5 ใน 2564 มาเป็นอันดับที่ 3 ปีนี้ ในขณะที่มาเลเซียมีอันดับลดลงจากอันดับที่ 25 มาเป็นอันดับที่ 32 ในปีนี้ และอินโดนีเซีย มีอันดับที่ลดลงจากอันดับที่ 37 เป็นอันดับที่ 44 ส่วนฟิลิปปินส์มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 52 เป็นอันดับที่ 48 ในปีนี้
เมื่อมองภาพรวมในระดับโลก เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2565 ได้แก่ อันดับ 1 เดนมาร์ก อันดับ 2 สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 3 สิงคโปร์ อันดับ 4 สวีเดน และอันดับ 5 ฮ่องกง โดย IMD พบว่า เขตเศรษฐกิจที่อยู่อันดับต้นๆ ของโลกในปีนี้เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก (Smaller economies) ที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Advanced digital technologies) มีนโยบายสนับสนุนที่ดี (Good policies) มีความชัดเจนในการส่งเสริมด้านความยั่งยืน (Sustainability) มีภาคธุรกิจที่มีศักยภาพในการปรับตัวสูง (Agile companies) รวมถึงประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government efficiency) ที่แข็งแกร่ง ทำให้เขตเศรษฐกิจเหล่านี้มีความสามารถในการปรับตัวในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนทั้งจากผลกระทบของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) และการระบาดของไวรัสโควิด 19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
นาย
ธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA Center for Competitiveness) กล่าวว่า ผลการจัดอันดับในปีนี้ สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่เปราะบาง มีการพึ่งพิงปัจจัยภายนอกและต่างประเทศมากเกินไป รวมถึงผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของประเทศอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขันในโลกยุคใหม่ นอกจากนั้นอันดับด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ที่ลดลง 11 อันดับ ยังสะท้อนถึงการลดลงของความเชื่อมั่นในนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงความสามารถในการปรับบทบาทของภาครัฐในการเป็นผู้สนับสนุนภาคประชาชนและภาคเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง
นาย
ธีรนันท์กล่าวว่า ดังนั้น ความสามารถในการปรับตัว (Agility & Resiliency) เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคต่อจากนี้ที่ทุกอย่างมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาทั้งในระดับองค์กรให้มีโครงสร้างและกลไกการทำงานที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้ง่ายและในระดับบุคลากรที่เปิดกว้างพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่และมีวิธีคิดที่ก้าวทันโลก ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเศรษฐกิจที่เป็นเสาหลักของประเทศ และการมีกฎระเบียบนโยบายที่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่และสนับสนุนให้ภาคเศรษฐกิจต่างๆ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล.
ทั้งนี้ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพขององค์กรและบุคลากรในด้านการบริหารจัดการโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความสามารถในการติดตามและคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและตั้งเป้าหมายเชิงรุกผ่านกิจกรรมต่างๆ ของ TMA และในวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 จะมีการจัดสัมมนาประจำปี Thailand Competitiveness Conference 2022 “Thailand : Fit for the Future” ที่จะมีวิทยากรจาก IMD มานำเสนอถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลกที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศและข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างเจาะลึกในการสัมมนาดังกล่าว
ส่งออกลำไย 3 หมื่นล้านหวั่นซ้ำรอยทุเรียน
https://www.prachachat.net/local-economy/news-954828
ผู้ส่งออกลำไยภาคเหนือ-ตะวันออก หวั่นตลาด 3 หมื่นล้าน สะดุดซ้ำรอยทุเรียน หลังพบเพลี้ยแป้งอื้อ ทางการจีนตรวจเข้มโควิด-รถบรรทุกสินค้าจอดรอคิวยาว ตู้คอนเทนเนอร์ขาด เร่งผนึกกำลังวางแนวปฏิบัติ 4 ข้อหลักก่อนผลผลิตจะออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ย้ำโรงคัดบรรจุส่งออกต้องผ่าน GMP Plus-พัฒนาคุณภาพลำไย-มีแรงงานพอ-เข้มงวดโรคศัตรูพืชเพลี้ยแป้ง
นาย
ชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 (จันทบุรี) เปิดเผย
“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือกับการส่งออกลำไยที่อาจจะเกิดปัญหาซ้ำรอยที่เคยเกิดกับการส่งออกทุเรียน ในวันที่ 15 มิถุนายนนี้จะเชิญผู้เกี่ยวข้องกับลำไยภาคตะวันออก เช่น เกษตรกร สหกรณ์ ล้ง ผู้รวบรวมผลไม้ ผู้ส่งออก มาร่วมหารือ โดยวางแผนจะนำโมเดลที่ดำเนินการกับทุเรียนมาใช้ เพราะขณะนี้จีนที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญยังคงเข้มงวดกับสถานการณ์โควิด-19
โดยจะวางแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4 เรื่อง คือ 1.ความเข้มข้นโรงคัดบรรจุ ส่งออกจำนวน 92 ล้ง (จันทบุรี 90 แห่ง สระแก้ว 2 แห่ง) จะต้องผ่านการประเมิน GMP Plus ก่อนเปิดรับซื้อ 2.การพัฒนาคุณภาพลำไย และการทำข้อตกลง สัญญาซื้อขายแยกเบอร์หรือเหมารวม ให้สัญญาการซื้อ-ขายเป็นธรรม 3.การบริหารจัดการแรงงานให้เพียงพอ และ 4.ความเข้มข้นในเรื่องของโรคศัตรูพืช โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งที่จีนเข้มงวดมาก
ลำไยตะวันออกเตรียมรับมือ
นาย
ทินกฤต ชีวินวรกูล นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกลำไย กล่าวในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้สมาคมได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลผลิตลำไยที่กำลังจะออกมาในฤดูการผลิตปี 2565 เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาการส่งออกไปจีนเช่นเดียวกับปี 2564 ที่ถือว่าวิกฤตหนักสุด ทั้งเรื่องเพลี้ยแป้ง ทางการจีนมีการตรวจโควิด-19 เข้มงวด และมีการปิดด่านชายแดนโดยไม่แจ้งกำหนดเปิด ทำให้รถต้องจอดรอนานกว่า 15-90 วัน ทำให้ต้องขนลำไยกลับมาส่งทางเรือ
แต่ก็ประสบปัญหาการขาดตู้คอนเทนเนอร์อีก กว่าจะส่งลำไยเข้าจีนได้ ผลลำไยก็เสียหายไม่มีคุณภาพ ทำให้ราคาตกต่ำ ซึ่งทุกฝ่ายต้องหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับปีนี้คาดว่าปริมาณลำไยฤดูกาลนี้อาจจะเหลือเพียง 50% เนื่องจากปีที่แล้วราคาไม่ดี ทำให้เกษตรกรโค่นต้นทิ้งไปจำนวนมาก
นางสาว
วรกัญญา ปัญญาประเสริฐกิจ กรรมการสมาคมผู้ค้าและส่งออกลำไย จ.จันทบุรี เปิดเผยว่า การส่งออกลำไยจะมีปัญหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ
1.ตู้คอนเทนเนอร์มีไม่เพียงพอ เนื่องจากบริษัทขนส่งทางเรือมักจะให้ใช้ตู้เก่าที่มีจำนวนน้อย เพราะตู้บรรจุลำไยจะมีกำมะถันกัด ต่างจากตู้บรรจุทุเรียน มังคุด
2.ด่านโหย่วอี้กวนของเวียดนาม แม้จะเปิดให้นำเข้าได้ แต่รับตรวจตู้เพียงวันละ 20-30 ตู้เท่านั้น ทำให้รถที่บรรทุกสินค้าไปต้องจอดรอคิวนาน และเวียดนามมักจะผลักดันรถขนส่งผลไม้ของตัวเองเข้าด่านจีนก่อน
3.ปัญหาลำไยเบอร์ 4 ที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ราคาซื้อขายลำไยในภาพรวมต่ำลง ชาวสวนจะร้องเรียนและต่อรองราคา ควรแยกการซื้อลำไยเบอร์ 1-3 และเบอร์ 4 เพื่อไม่ให้เสียราคาตลาด
ลำไยเหนือล้นตลาด-ราคาตก
นาย
เจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ผลผลิตลำไยในฤดูของจังหวัดเชียงใหม่ปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 300,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 3-4% จากปี 2564 ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เหมาะสม โดยปีนี้ได้เตรียมมาตรการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำ
โดยจะใช้กลไกการตลาดในการซื้อขายปกติ แบ่งเป็นลำไยแปรรูปและอบแห้ง 40% และบริโภคสด 60% และปีนี้ราคาลำไยสดคละเกรดคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 22-25 บาท/กก. และราคาเกรด AA ประมาณ 30-32 บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรต้องการและคุ้มทุน
ส่วนการส่งออกลำไยไปจีน ขณะนี้มีล้งชาวจีนเตรียมเข้ามารับซื้อผลผลิตประมาณ 20-30 ราย แต่เนื่องจากทางการจีนมีความเข้มงวดเรื่องซีโร่โควิด ส่งผลให้ขั้นตอนการส่งออกสินค้าลำไยไปจีนทำได้ยากลำบากมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากังวล หากหน่วยงานภาครัฐของไทยมีการเจรจาและประสานกับทางการจีนในเรื่องนี้ให้เร็วจะส่งผลดีต่อการส่งออกลำไย อย่างไรก็ตาม ล่าสุดสภาการอาชีพเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ได้ประสานขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเงินสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยไร่ละ 2,000 บาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และผลผลิตปีนี้คาดว่าจะออกมามาก ทำให้ราคาลำไยไม่คุ้มต้นทุนการผลิต
นางสาว
กรรณิการ์ ด่านไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทองพูนฟูดส์ ผู้ผลิตและส่งออกผลไม้อบแห้งลำไย จังหวัดลำพูน เปิดเผยว่า “ประเด็นสำคัญของผู้ส่งออกลำไยปีนี้คือ กระบวนการด้านเอกสารที่ต้องขึ้นทะเบียน เพื่อนำลำไยเข้าประเทศจีน ซึ่งเป็นกฎระเบียบใหม่ด้านมาตรฐานสุขอนามัยที่ทางการจีนเข้มงวดหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานค่อนข้างช้า เป็นปัญหาระหว่างทางการไทยและจีน ที่ต้องเร่งปลดล็อกให้ทันฤดูกาลผลผลิตลำไยที่จะออกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้
ขณะเดียวกันอยากให้ภาครัฐช่วยจัดหาตู้คอนเทนเนอร์รองรับสินค้าลำไยอบแห้งที่จะส่งออกไปจีน เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้ตู้คอนเทนเนอร์ยังคงขาดแคลนมาก และราคาค่าระวางเพิ่มสูงมาก ทำให้ต้นทุนการขนส่งได้ปรับเพิ่มขึ้น 200%”
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่า สถานการณ์ผลผลิตลำไยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ตาก แพร่ และน่าน ในปี 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกมาประมาณ 1,072,564 ตัน จากปี 2564 ที่ผลผลิตออกมาประมาณ 940,571 ตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 14% โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนจะมีลำไยออกสู่ตลาดมากที่สุด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ปี 2564 ที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกลำไยไปต่างประเทศ แบ่งเป็น ลำไยสด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 23,061 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม เป็นต้น ส่วนลำไยอบแห้ง มีการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 7,411 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นลำไยกระป๋อง 673 ล้านบาท และลำไยแช่เย็นแช่แข็งประมาณ 9 ล้านบาท
JJNY : IMD‘ไทย’ ตก 5 ด้านมาอยู่ที่33│ส่งออกลำไยหวั่นซ้ำรอยทุเรียน│สลากเหลือเพียบ ผู้ค้าโอด│สภาวุ่น! จวกรบ. ลักไก่
https://www.matichon.co.th/economy/news_3400938
ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD ‘ประเทศไทย’ ตก 5ด้าน มาอยู่ที่ 33
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือทีเอ็มเอ (TMA) เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดย World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2565 โดยผลกระทบสะสมจากโควิด-19 ได้ส่งผลให้ปีนี้ไทยมีอันดับลดลงถึง 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 63 เขตเศรษฐกิจ โดยมีอันดับลดลงในทุกปัจจัยชี้วัด ทั้งนี้ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากที่สุด
จากปัจจัยหลักที่ IMD ใช้ในการจัดอันดับรวม 4 ด้าน พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับลดลงถึง 13 อันดับ อันเนื่องมาจากประเด็นการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจภายในประเทศ ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) มีอันดับลดลง 11 อันดับจากอันดับที่ 20 ในปี 2564 เป็นอันดับที่ 31 ในปี 2565 เนื่องจากประเด็นด้านการคลังและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ซึ่งลดลง 15 และ 8 อันดับตามลำดับ
ส่วนด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ก็มีอันดับที่ลดลงเช่นกัน จากอันดับที่ 21 มาอยู่ที่อันดับ 30 โดยประเด็นด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพยังคงเป็นปัญหาหลักและมีอันดับลดลงถึง 7 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 47 ในปีนี้ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากอันดับที่ 43 มาอยู่ที่อันดับ 44
ในระดับอาเซียน IMD มีการจัดอันดับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้รวม 5 เขตเศรษฐกิจ โดยสิงคโปร์ยังคงเป็นผู้นำ มีอันดับดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 5 ใน 2564 มาเป็นอันดับที่ 3 ปีนี้ ในขณะที่มาเลเซียมีอันดับลดลงจากอันดับที่ 25 มาเป็นอันดับที่ 32 ในปีนี้ และอินโดนีเซีย มีอันดับที่ลดลงจากอันดับที่ 37 เป็นอันดับที่ 44 ส่วนฟิลิปปินส์มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 52 เป็นอันดับที่ 48 ในปีนี้
เมื่อมองภาพรวมในระดับโลก เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2565 ได้แก่ อันดับ 1 เดนมาร์ก อันดับ 2 สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 3 สิงคโปร์ อันดับ 4 สวีเดน และอันดับ 5 ฮ่องกง โดย IMD พบว่า เขตเศรษฐกิจที่อยู่อันดับต้นๆ ของโลกในปีนี้เป็นเขตเศรษฐกิจขนาดเล็ก (Smaller economies) ที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Advanced digital technologies) มีนโยบายสนับสนุนที่ดี (Good policies) มีความชัดเจนในการส่งเสริมด้านความยั่งยืน (Sustainability) มีภาคธุรกิจที่มีศักยภาพในการปรับตัวสูง (Agile companies) รวมถึงประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government efficiency) ที่แข็งแกร่ง ทำให้เขตเศรษฐกิจเหล่านี้มีความสามารถในการปรับตัวในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนทั้งจากผลกระทบของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) และการระบาดของไวรัสโควิด 19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA Center for Competitiveness) กล่าวว่า ผลการจัดอันดับในปีนี้ สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่เปราะบาง มีการพึ่งพิงปัจจัยภายนอกและต่างประเทศมากเกินไป รวมถึงผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของประเทศอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขันในโลกยุคใหม่ นอกจากนั้นอันดับด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ที่ลดลง 11 อันดับ ยังสะท้อนถึงการลดลงของความเชื่อมั่นในนโยบายการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงความสามารถในการปรับบทบาทของภาครัฐในการเป็นผู้สนับสนุนภาคประชาชนและภาคเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง
นายธีรนันท์กล่าวว่า ดังนั้น ความสามารถในการปรับตัว (Agility & Resiliency) เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคต่อจากนี้ที่ทุกอย่างมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาทั้งในระดับองค์กรให้มีโครงสร้างและกลไกการทำงานที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้ง่ายและในระดับบุคลากรที่เปิดกว้างพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่และมีวิธีคิดที่ก้าวทันโลก ในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเศรษฐกิจที่เป็นเสาหลักของประเทศ และการมีกฎระเบียบนโยบายที่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่และสนับสนุนให้ภาคเศรษฐกิจต่างๆ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล.
ทั้งนี้ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพขององค์กรและบุคลากรในด้านการบริหารจัดการโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างความสามารถในการติดตามและคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและตั้งเป้าหมายเชิงรุกผ่านกิจกรรมต่างๆ ของ TMA และในวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 จะมีการจัดสัมมนาประจำปี Thailand Competitiveness Conference 2022 “Thailand : Fit for the Future” ที่จะมีวิทยากรจาก IMD มานำเสนอถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลกที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศและข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างเจาะลึกในการสัมมนาดังกล่าว
ส่งออกลำไย 3 หมื่นล้านหวั่นซ้ำรอยทุเรียน
https://www.prachachat.net/local-economy/news-954828
ผู้ส่งออกลำไยภาคเหนือ-ตะวันออก หวั่นตลาด 3 หมื่นล้าน สะดุดซ้ำรอยทุเรียน หลังพบเพลี้ยแป้งอื้อ ทางการจีนตรวจเข้มโควิด-รถบรรทุกสินค้าจอดรอคิวยาว ตู้คอนเทนเนอร์ขาด เร่งผนึกกำลังวางแนวปฏิบัติ 4 ข้อหลักก่อนผลผลิตจะออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ย้ำโรงคัดบรรจุส่งออกต้องผ่าน GMP Plus-พัฒนาคุณภาพลำไย-มีแรงงานพอ-เข้มงวดโรคศัตรูพืชเพลี้ยแป้ง
นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 (จันทบุรี) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือกับการส่งออกลำไยที่อาจจะเกิดปัญหาซ้ำรอยที่เคยเกิดกับการส่งออกทุเรียน ในวันที่ 15 มิถุนายนนี้จะเชิญผู้เกี่ยวข้องกับลำไยภาคตะวันออก เช่น เกษตรกร สหกรณ์ ล้ง ผู้รวบรวมผลไม้ ผู้ส่งออก มาร่วมหารือ โดยวางแผนจะนำโมเดลที่ดำเนินการกับทุเรียนมาใช้ เพราะขณะนี้จีนที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญยังคงเข้มงวดกับสถานการณ์โควิด-19
โดยจะวางแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4 เรื่อง คือ 1.ความเข้มข้นโรงคัดบรรจุ ส่งออกจำนวน 92 ล้ง (จันทบุรี 90 แห่ง สระแก้ว 2 แห่ง) จะต้องผ่านการประเมิน GMP Plus ก่อนเปิดรับซื้อ 2.การพัฒนาคุณภาพลำไย และการทำข้อตกลง สัญญาซื้อขายแยกเบอร์หรือเหมารวม ให้สัญญาการซื้อ-ขายเป็นธรรม 3.การบริหารจัดการแรงงานให้เพียงพอ และ 4.ความเข้มข้นในเรื่องของโรคศัตรูพืช โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งที่จีนเข้มงวดมาก
ลำไยตะวันออกเตรียมรับมือ
นายทินกฤต ชีวินวรกูล นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกลำไย กล่าวในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้สมาคมได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลผลิตลำไยที่กำลังจะออกมาในฤดูการผลิตปี 2565 เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาการส่งออกไปจีนเช่นเดียวกับปี 2564 ที่ถือว่าวิกฤตหนักสุด ทั้งเรื่องเพลี้ยแป้ง ทางการจีนมีการตรวจโควิด-19 เข้มงวด และมีการปิดด่านชายแดนโดยไม่แจ้งกำหนดเปิด ทำให้รถต้องจอดรอนานกว่า 15-90 วัน ทำให้ต้องขนลำไยกลับมาส่งทางเรือ
แต่ก็ประสบปัญหาการขาดตู้คอนเทนเนอร์อีก กว่าจะส่งลำไยเข้าจีนได้ ผลลำไยก็เสียหายไม่มีคุณภาพ ทำให้ราคาตกต่ำ ซึ่งทุกฝ่ายต้องหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับปีนี้คาดว่าปริมาณลำไยฤดูกาลนี้อาจจะเหลือเพียง 50% เนื่องจากปีที่แล้วราคาไม่ดี ทำให้เกษตรกรโค่นต้นทิ้งไปจำนวนมาก
นางสาววรกัญญา ปัญญาประเสริฐกิจ กรรมการสมาคมผู้ค้าและส่งออกลำไย จ.จันทบุรี เปิดเผยว่า การส่งออกลำไยจะมีปัญหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ
1.ตู้คอนเทนเนอร์มีไม่เพียงพอ เนื่องจากบริษัทขนส่งทางเรือมักจะให้ใช้ตู้เก่าที่มีจำนวนน้อย เพราะตู้บรรจุลำไยจะมีกำมะถันกัด ต่างจากตู้บรรจุทุเรียน มังคุด
2.ด่านโหย่วอี้กวนของเวียดนาม แม้จะเปิดให้นำเข้าได้ แต่รับตรวจตู้เพียงวันละ 20-30 ตู้เท่านั้น ทำให้รถที่บรรทุกสินค้าไปต้องจอดรอคิวนาน และเวียดนามมักจะผลักดันรถขนส่งผลไม้ของตัวเองเข้าด่านจีนก่อน
3.ปัญหาลำไยเบอร์ 4 ที่มีจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ราคาซื้อขายลำไยในภาพรวมต่ำลง ชาวสวนจะร้องเรียนและต่อรองราคา ควรแยกการซื้อลำไยเบอร์ 1-3 และเบอร์ 4 เพื่อไม่ให้เสียราคาตลาด
ลำไยเหนือล้นตลาด-ราคาตก
นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ผลผลิตลำไยในฤดูของจังหวัดเชียงใหม่ปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตออกมาในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 300,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 3-4% จากปี 2564 ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เหมาะสม โดยปีนี้ได้เตรียมมาตรการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำ
โดยจะใช้กลไกการตลาดในการซื้อขายปกติ แบ่งเป็นลำไยแปรรูปและอบแห้ง 40% และบริโภคสด 60% และปีนี้ราคาลำไยสดคละเกรดคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 22-25 บาท/กก. และราคาเกรด AA ประมาณ 30-32 บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรต้องการและคุ้มทุน
ส่วนการส่งออกลำไยไปจีน ขณะนี้มีล้งชาวจีนเตรียมเข้ามารับซื้อผลผลิตประมาณ 20-30 ราย แต่เนื่องจากทางการจีนมีความเข้มงวดเรื่องซีโร่โควิด ส่งผลให้ขั้นตอนการส่งออกสินค้าลำไยไปจีนทำได้ยากลำบากมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากังวล หากหน่วยงานภาครัฐของไทยมีการเจรจาและประสานกับทางการจีนในเรื่องนี้ให้เร็วจะส่งผลดีต่อการส่งออกลำไย อย่างไรก็ตาม ล่าสุดสภาการอาชีพเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ได้ประสานขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเงินสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยไร่ละ 2,000 บาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น และผลผลิตปีนี้คาดว่าจะออกมามาก ทำให้ราคาลำไยไม่คุ้มต้นทุนการผลิต
นางสาวกรรณิการ์ ด่านไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทองพูนฟูดส์ ผู้ผลิตและส่งออกผลไม้อบแห้งลำไย จังหวัดลำพูน เปิดเผยว่า “ประเด็นสำคัญของผู้ส่งออกลำไยปีนี้คือ กระบวนการด้านเอกสารที่ต้องขึ้นทะเบียน เพื่อนำลำไยเข้าประเทศจีน ซึ่งเป็นกฎระเบียบใหม่ด้านมาตรฐานสุขอนามัยที่ทางการจีนเข้มงวดหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานค่อนข้างช้า เป็นปัญหาระหว่างทางการไทยและจีน ที่ต้องเร่งปลดล็อกให้ทันฤดูกาลผลผลิตลำไยที่จะออกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้
ขณะเดียวกันอยากให้ภาครัฐช่วยจัดหาตู้คอนเทนเนอร์รองรับสินค้าลำไยอบแห้งที่จะส่งออกไปจีน เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้ตู้คอนเทนเนอร์ยังคงขาดแคลนมาก และราคาค่าระวางเพิ่มสูงมาก ทำให้ต้นทุนการขนส่งได้ปรับเพิ่มขึ้น 200%”
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่า สถานการณ์ผลผลิตลำไยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ตาก แพร่ และน่าน ในปี 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกมาประมาณ 1,072,564 ตัน จากปี 2564 ที่ผลผลิตออกมาประมาณ 940,571 ตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 14% โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนจะมีลำไยออกสู่ตลาดมากที่สุด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ปี 2564 ที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกลำไยไปต่างประเทศ แบ่งเป็น ลำไยสด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 23,061 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม เป็นต้น ส่วนลำไยอบแห้ง มีการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 7,411 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นลำไยกระป๋อง 673 ล้านบาท และลำไยแช่เย็นแช่แข็งประมาณ 9 ล้านบาท