เมื่อมีรัก ทุกคนคงเคยพร่ำถามตัวเองว่า ความรักมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นเขา/เธอคนนี้ ทำไมเรารู้สึกแปลกๆ หัวใจเต้นแรง หน้าแดง มือเปียก พวกแนวศิลปินอาจบอกว่ารักเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ เหตุผลไม่เกี่ยว รักมีทั้งความรันทดและความงดงาม รักเป็นเรื่องที่โรแมนติกเกินกว่าจะพรรณนา สำหรับพวกแนวเหนือธรรมชาติจะเชื่อว่า เนื้อคู่ของเราถูกกำหนดมาแล้ว จะต้องตามหาคนที่มีด้ายแดงผูกนิ้วก้อยให้เจอ บ้างก็ว่ารักเกิดจากกรรมเก่า มีการตามมารักมาเลิกกันเป็นชาติๆ ไป การรักใครสักคนอาจจะเป็นเพราะโดนสาป ไสยศาสตร์เท่านั้นที่ช่วยได้ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็มีคำอธิบายที่ฉีกทั้งสองแนวนี้ออกไป ซึ่งแม้ว่าจะฟังแล้วไม่ได้อารมณ์ ไม่โรแมนติก และไม่ลี้ลับเท่า แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังจะบอกเรานี้ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตัวเรา โดยมีเราเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น
ทฤษฎี “รัก 3 ตอน”
ก่อน จะรู้จักความรักในบทที่ลึกเข้าไปถึงสมองและอวัยวะภายในร่างกาย มาทำความรู้จักกับทฤษฎีรัก 3 ตอน ของ ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรุทเจอรส์ (Rutgers University) ในนิวเจอร์ซี กันก่อนดีกว่า ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า ห้วงความรักของคนเราแบ่งเป็น 3 ตอน โดยจะมีฮอร์โมนที่แตกต่างกันมาร่วมแสดงบทบาทในแต่ละตอน
ตอนที่ 1 ช่วงเกิดตัณหา
ตัณหาราคะถูก ขับโดยฮอร์โมนเพศ 2 ตัว คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) และเอสโตรเจน (Oestrogen) เทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็มีเช่นกัน ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า เจ้าฮอร์โมนเพศสองตัวนี้เอง ที่ช่วยควบคุมอาการอยากได้โน่น อยากได้นี่ ของเรา
ตอนที่ 2 ช่วงคลั่งรัก
เป็น ช่วงที่ทำให้ชีวิตเราผิดเพี้ยนไป ไม่รับรู้ ไม่สนใจสิ่งรอบกาย ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่นั่งฝัน เพ้อ ละเมอถึงคนรัก อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ถูกควบคุมโดยกลุ่มสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ซึ่งประกอบด้วย
- โดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีที่ช่วยให้สมองตื่นตัว เช่นเดียวกับนิโคตีนและโคเคอีน
- นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือรู้จักกันในนามของ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ที่เป็นตัวการทำให้เราเหงื่อแตกและหัวใจเต้นรัวยามตื่นเต้น
- เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารสำคัญที่ทำให้เราเกิดอาการ...ซึม..เศร้า..เหงา..เพราะรัก
ตอนที่ 3 ช่วงผูกพัน
ไม่ มีใครที่จะทำตัวคลั่งรักได้ตลอดชีวิต เมื่อผ่านพ้นไปช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าไม่โบกมือลากันไป เสียก่อน คู่รักก็จะฉุดกระชากลากจูงกันเดินมาสู่ช่วงแห่งความผูกพัน ในตอนนี้จะว่าด้วยการตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่และสร้างครอบครัว ฮอร์โมนสองตัวสำคัญคือ
- ออกซีโทซิน (Oxytocin) จากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำนมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและ ทารก โดยมีการพบว่าออกซีโทซินจะถูกขับออกมาเมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ ลึกซึ้ง ทฤษฎีบอกไว้ว่ายิ่งชายหญิงมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งแค่ไหน ความผูกพันก็มีมากขึ้นเท่านั้น
- วาโซเพรสซิน (Vasopressin) สารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย จะถูกขับออกมาเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความตึงเครียดสูง ความดันเลือดสูง หรือเมื่อคู่รักมีความสัมพันธ์ทางเพศ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งพยายามทำการศึกษาถึงฤทธิ์เดชของวาโซเพรสซิน โดยหลังจากที่พวกเขาได้ฟังตำนานรักของหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี (Prairie vole) ซึ่งเป็นหนึ่งในร้อยละ 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จับคู่อยู่กินกันแบบผัวเดียวเมียเดียวตลอดช่วง ชีวิต (Monogamous) ที่มีว่า ถ้าคู่ของพวกมันตาย อีกตัวก็จะตรอมใจตายตามไปในไม่ช้า โดยไม่คิดจะมีใหม่ ด้วยจิตริษยาต่อหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี่ที่ถือและปฏิบัติตามศีลข้อสาม ห้ามผิดลูกผิดเมียเขาอย่างเคร่งครัด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ทำการให้ยาที่ลดปฏิกริยาของวาโซเพรสซินในหนูตัวผู้ ปรากฏว่าหนูตัวผู้ตัวนั้นไม่ถึงกับศีลแตก แต่เริ่มมีอาการเย็นชา ห่างเหินคู่รัก และไม่แสดงอาการหึงหวงเมื่อมีหนูหนุ่มตัวอื่นๆ เข้ามาตีท้ายครัวเลยสักนิด หลังจบปฏิบัติการสร้างความร้าวฉานแล้ว พวกเขาก็ได้ข้อสรุปมาให้ชาวโลกชื่นใจว่า ถ้าขาดวาโซเพรสซินเมื่อไร ก็ให้เตรียมพร้อมรับมือหายนะที่กำลังจะมาสู่ครอบครัวได้เลย
ทฤษฎีการจีบ
เมื่อ เราปิ๊งใครสักคนที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า จะรู้ได้อย่างไรว่าเขา /เธอคนนั้นคือคนที่ “ใช่เลย” หรือ “ไม่ใช่เลย” เชื่อหรือไม่ว่าภายในเวลาแค่ 90 วินาที ถึง 4 นาทีของการพูดคุยกัน ระบบภายในร่างกายจะช่วยเราตัดสินได้ว่า จะ “รุก” ต่อ หรือ จะ “ชิ่ง” ดี เพราะว่าในการพูดคุยอย่างสวีทหวานแหววกับบุคคลเป้าหมาย ความประทับใจและการรับรู้ข้อความจากการสื่อสารนั้น ร้อยละ 55 จะมาจากภาษากาย ร้อยละ 38 มาจากน้ำเสียงและความเร็วในการพูด และแค่ร้อยละ 7 จากสาระที่เราพูดออกไป ซึ่งหมายความว่าเพียงแต่มีลีลาดี ก็จะมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว
การมองตาเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่หนุ่ม /สาวเจ้าเสน่ห์ทั้งหลายยืนยันว่ามีประสิทธิภาพเหลือเกิน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ศาสตราจารย์อาเธอร์ อรัน นักจิตวิทยาจากนิวยอร์ค ได้ทำการทดลองโดยนำชายหญิงหลายคนมาจับคู่นั่งพูดคุยกันแบบเปิดอกเกี่ยวกับ ชีวิตส่วนตัวของแต่ละคน นานหนึ่งชั่วโมงครึ่ง หลังจากนั้น ให้นั่งจ้องตากันเฉยๆ โดยไม่ต้องเอื้อนเอ่ยอะไรทั้งสิ้นอีกสี่นาที ผลคือผู้ที่เข้ารับการทดลองหลายคนยอมรับว่า เกิดความสนใจในตัวของคู่ทดลอง โดยเฉพาะคู่ที่อยู่ในสายงานหรือมีระดับทางสังคมที่ใกล้เคียงกัน และมีคู่หนึ่งก้าวหน้าไปถึงขั้นแต่งงานกันเลย ในประเด็นของความรักที่เกิดจากการมองตานั้น นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อเรารู้สึกสนใจอะไร รูม่านตาของเราจะขยาย นัยน์ตาจะดูกลมโตและเป็นประกาย ซึ่งอาจจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้เขา/เธอรู้ตัวก็เป็นได้ หากสาวอิตาเลียนในสมัยกลางได้รู้เรื่องนี้คงจะร้องไห้ เพราะแค่พวกเธอพบเจอคนที่ถูกใจ นัยน์ตาของพวกเธอก็จะกลมโต สวยงาม เหมือนสาวใสไร้เดียงสาได้แบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเสี่ยงไปใช้น้ำสกัดจากลูกเบลลาดอนน่า (Belladonna) ซึ่งเป็นพืชจำพวกมะเขือพวงและมีพิษ มาหยอดตาเพื่อทำการขยายรูม่านตาอย่างที่นิยมทำกัน
สัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกให้รู้ถึงรัก ได้แก่ การเลียนแบบ เมื่ออยู่ในโลกแห่งรักของสองเรา คนสองคนนี้ก็จะลอกเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างจากกันโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง พูด บุคลิกท่าทางต่างๆ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ กระจกเงา การที่คู่รักทำอะไรที่เหมือนกัน แสดงว่าทั้งคู่เปิดใจให้กัน พร้อมที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่ถึงกระนั้น ปรากฏการณ์กระจกเงาอาจเป็นอันตรายได้ เพราะมันเกิดขึ้นในกลุ่มของเพื่อนสนิทด้วยเช่นกัน ผู้ที่กำลังแอบรักเขาต้องระวังให้มาก เพราะหากตีความไม่ดีแล้ว อาจจะสับสนระหว่างสัญญาณของความรักกับมิตรภาพได้
มีบางทฤษฎีบอกว่า มนุษย์เราชอบความท้าทาย ยิ่งยากยิ่งอยากพิชิต เหมือนยอดเขาเอฟเวอเรสต์ที่มีคนแวะเวียนไปท้าทายปีนป่ายไม่เคยขาด นักวิทยาศาสตร์ทำการทดสอบเพื่อยืนยันสมมติฐานนี้ (อีกแล้ว) โดยได้ใช้คอมพิวเตอร์หาคู่ (Computer dating experiment) ทดสอบกับผู้หญิงสามคน คนแรก หญิงเอ สาวนักทดลอง อยากจะเดทซะกับทุกคนที่คอมพิวเตอร์สุ่มเลือกมาให้ คนที่สอง หญิงบี ผู้ไร้ความรู้สึก ไม่ยินดียินร้ายกับชายที่คอมพิวเตอร์จัดให้เลยสักคน คนสุดท้าย หญิงซี สาวช่างเลือก ที่กัดฟันเลือกชายผู้โชคดีมาได้หนึ่งคนจากทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์จัดให้ จากนั้นถามความเห็นผู้ชายทั้งหมดที่เป็นตัวเลือกในคอมพิวเตอร์ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สาวขี้เลือกเบอร์สามกับสามจอมหยิ่งเบอร์สองเนี่ย โดนใจที่สุด
เรื่อง การผจญภัยก็สำคัญไม่น้อย มีหลายคนบอกว่า ถ้าคนเราผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบาก สยดสยอง โหดร้าย ทารุณมาด้วยกัน จะยิ่งทำให้เข้าใจกันดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าจริง แต่ทว่าคนมักจะเข้าใจผิดไปเองว่าความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตนั้นเป็นความรัก ถ้าการออกเดทที่สวนสนุก (โดยมีข้อแม้ว่าต้องเล่นเครื่องเล่นผาดโผนหวาดเสียวด้วยกัน) จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นขึ้นแล้วนั้น การจับคู่กระโดดบันจี้จัมพ์ด้วยกันน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ยิ่งแน่นแนบไปถึง ขั้นเป็นคู่แท้ตลอดกาลเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นคนจะอยู่ด้วยกันได้ ก็ย่อมจะต้องมีอะไรที่คล้ายกันบ้าง คนที่มีระดับความกล้าบ้าบิ่นและชอบอะไรที่สยองๆพอๆกัน ก็เหมาะแล้วที่จะเป็นคู่รักคู่ทรโหด
ความรักกับวิทยาศาตร์
เมื่อมีรัก ทุกคนคงเคยพร่ำถามตัวเองว่า ความรักมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นเขา/เธอคนนี้ ทำไมเรารู้สึกแปลกๆ หัวใจเต้นแรง หน้าแดง มือเปียก พวกแนวศิลปินอาจบอกว่ารักเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ เหตุผลไม่เกี่ยว รักมีทั้งความรันทดและความงดงาม รักเป็นเรื่องที่โรแมนติกเกินกว่าจะพรรณนา สำหรับพวกแนวเหนือธรรมชาติจะเชื่อว่า เนื้อคู่ของเราถูกกำหนดมาแล้ว จะต้องตามหาคนที่มีด้ายแดงผูกนิ้วก้อยให้เจอ บ้างก็ว่ารักเกิดจากกรรมเก่า มีการตามมารักมาเลิกกันเป็นชาติๆ ไป การรักใครสักคนอาจจะเป็นเพราะโดนสาป ไสยศาสตร์เท่านั้นที่ช่วยได้ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็มีคำอธิบายที่ฉีกทั้งสองแนวนี้ออกไป ซึ่งแม้ว่าจะฟังแล้วไม่ได้อารมณ์ ไม่โรแมนติก และไม่ลี้ลับเท่า แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังจะบอกเรานี้ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตัวเรา โดยมีเราเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น
ทฤษฎี “รัก 3 ตอน”
ก่อน จะรู้จักความรักในบทที่ลึกเข้าไปถึงสมองและอวัยวะภายในร่างกาย มาทำความรู้จักกับทฤษฎีรัก 3 ตอน ของ ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรุทเจอรส์ (Rutgers University) ในนิวเจอร์ซี กันก่อนดีกว่า ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า ห้วงความรักของคนเราแบ่งเป็น 3 ตอน โดยจะมีฮอร์โมนที่แตกต่างกันมาร่วมแสดงบทบาทในแต่ละตอน
ตอนที่ 1 ช่วงเกิดตัณหา
ตัณหาราคะถูก ขับโดยฮอร์โมนเพศ 2 ตัว คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) และเอสโตรเจน (Oestrogen) เทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็มีเช่นกัน ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า เจ้าฮอร์โมนเพศสองตัวนี้เอง ที่ช่วยควบคุมอาการอยากได้โน่น อยากได้นี่ ของเรา
ตอนที่ 2 ช่วงคลั่งรัก
เป็น ช่วงที่ทำให้ชีวิตเราผิดเพี้ยนไป ไม่รับรู้ ไม่สนใจสิ่งรอบกาย ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่นั่งฝัน เพ้อ ละเมอถึงคนรัก อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ถูกควบคุมโดยกลุ่มสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ซึ่งประกอบด้วย
- โดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีที่ช่วยให้สมองตื่นตัว เช่นเดียวกับนิโคตีนและโคเคอีน
- นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือรู้จักกันในนามของ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ที่เป็นตัวการทำให้เราเหงื่อแตกและหัวใจเต้นรัวยามตื่นเต้น
- เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารสำคัญที่ทำให้เราเกิดอาการ...ซึม..เศร้า..เหงา..เพราะรัก
ตอนที่ 3 ช่วงผูกพัน
ไม่ มีใครที่จะทำตัวคลั่งรักได้ตลอดชีวิต เมื่อผ่านพ้นไปช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าไม่โบกมือลากันไป เสียก่อน คู่รักก็จะฉุดกระชากลากจูงกันเดินมาสู่ช่วงแห่งความผูกพัน ในตอนนี้จะว่าด้วยการตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่และสร้างครอบครัว ฮอร์โมนสองตัวสำคัญคือ
- ออกซีโทซิน (Oxytocin) จากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำนมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและ ทารก โดยมีการพบว่าออกซีโทซินจะถูกขับออกมาเมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ ลึกซึ้ง ทฤษฎีบอกไว้ว่ายิ่งชายหญิงมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งแค่ไหน ความผูกพันก็มีมากขึ้นเท่านั้น
- วาโซเพรสซิน (Vasopressin) สารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย จะถูกขับออกมาเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความตึงเครียดสูง ความดันเลือดสูง หรือเมื่อคู่รักมีความสัมพันธ์ทางเพศ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งพยายามทำการศึกษาถึงฤทธิ์เดชของวาโซเพรสซิน โดยหลังจากที่พวกเขาได้ฟังตำนานรักของหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี (Prairie vole) ซึ่งเป็นหนึ่งในร้อยละ 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จับคู่อยู่กินกันแบบผัวเดียวเมียเดียวตลอดช่วง ชีวิต (Monogamous) ที่มีว่า ถ้าคู่ของพวกมันตาย อีกตัวก็จะตรอมใจตายตามไปในไม่ช้า โดยไม่คิดจะมีใหม่ ด้วยจิตริษยาต่อหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี่ที่ถือและปฏิบัติตามศีลข้อสาม ห้ามผิดลูกผิดเมียเขาอย่างเคร่งครัด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ทำการให้ยาที่ลดปฏิกริยาของวาโซเพรสซินในหนูตัวผู้ ปรากฏว่าหนูตัวผู้ตัวนั้นไม่ถึงกับศีลแตก แต่เริ่มมีอาการเย็นชา ห่างเหินคู่รัก และไม่แสดงอาการหึงหวงเมื่อมีหนูหนุ่มตัวอื่นๆ เข้ามาตีท้ายครัวเลยสักนิด หลังจบปฏิบัติการสร้างความร้าวฉานแล้ว พวกเขาก็ได้ข้อสรุปมาให้ชาวโลกชื่นใจว่า ถ้าขาดวาโซเพรสซินเมื่อไร ก็ให้เตรียมพร้อมรับมือหายนะที่กำลังจะมาสู่ครอบครัวได้เลย
ทฤษฎีการจีบ
เมื่อ เราปิ๊งใครสักคนที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า จะรู้ได้อย่างไรว่าเขา /เธอคนนั้นคือคนที่ “ใช่เลย” หรือ “ไม่ใช่เลย” เชื่อหรือไม่ว่าภายในเวลาแค่ 90 วินาที ถึง 4 นาทีของการพูดคุยกัน ระบบภายในร่างกายจะช่วยเราตัดสินได้ว่า จะ “รุก” ต่อ หรือ จะ “ชิ่ง” ดี เพราะว่าในการพูดคุยอย่างสวีทหวานแหววกับบุคคลเป้าหมาย ความประทับใจและการรับรู้ข้อความจากการสื่อสารนั้น ร้อยละ 55 จะมาจากภาษากาย ร้อยละ 38 มาจากน้ำเสียงและความเร็วในการพูด และแค่ร้อยละ 7 จากสาระที่เราพูดออกไป ซึ่งหมายความว่าเพียงแต่มีลีลาดี ก็จะมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว
การมองตาเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่หนุ่ม /สาวเจ้าเสน่ห์ทั้งหลายยืนยันว่ามีประสิทธิภาพเหลือเกิน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ศาสตราจารย์อาเธอร์ อรัน นักจิตวิทยาจากนิวยอร์ค ได้ทำการทดลองโดยนำชายหญิงหลายคนมาจับคู่นั่งพูดคุยกันแบบเปิดอกเกี่ยวกับ ชีวิตส่วนตัวของแต่ละคน นานหนึ่งชั่วโมงครึ่ง หลังจากนั้น ให้นั่งจ้องตากันเฉยๆ โดยไม่ต้องเอื้อนเอ่ยอะไรทั้งสิ้นอีกสี่นาที ผลคือผู้ที่เข้ารับการทดลองหลายคนยอมรับว่า เกิดความสนใจในตัวของคู่ทดลอง โดยเฉพาะคู่ที่อยู่ในสายงานหรือมีระดับทางสังคมที่ใกล้เคียงกัน และมีคู่หนึ่งก้าวหน้าไปถึงขั้นแต่งงานกันเลย ในประเด็นของความรักที่เกิดจากการมองตานั้น นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อเรารู้สึกสนใจอะไร รูม่านตาของเราจะขยาย นัยน์ตาจะดูกลมโตและเป็นประกาย ซึ่งอาจจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้เขา/เธอรู้ตัวก็เป็นได้ หากสาวอิตาเลียนในสมัยกลางได้รู้เรื่องนี้คงจะร้องไห้ เพราะแค่พวกเธอพบเจอคนที่ถูกใจ นัยน์ตาของพวกเธอก็จะกลมโต สวยงาม เหมือนสาวใสไร้เดียงสาได้แบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเสี่ยงไปใช้น้ำสกัดจากลูกเบลลาดอนน่า (Belladonna) ซึ่งเป็นพืชจำพวกมะเขือพวงและมีพิษ มาหยอดตาเพื่อทำการขยายรูม่านตาอย่างที่นิยมทำกัน
สัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกให้รู้ถึงรัก ได้แก่ การเลียนแบบ เมื่ออยู่ในโลกแห่งรักของสองเรา คนสองคนนี้ก็จะลอกเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างจากกันโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง พูด บุคลิกท่าทางต่างๆ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ กระจกเงา การที่คู่รักทำอะไรที่เหมือนกัน แสดงว่าทั้งคู่เปิดใจให้กัน พร้อมที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่ถึงกระนั้น ปรากฏการณ์กระจกเงาอาจเป็นอันตรายได้ เพราะมันเกิดขึ้นในกลุ่มของเพื่อนสนิทด้วยเช่นกัน ผู้ที่กำลังแอบรักเขาต้องระวังให้มาก เพราะหากตีความไม่ดีแล้ว อาจจะสับสนระหว่างสัญญาณของความรักกับมิตรภาพได้
มีบางทฤษฎีบอกว่า มนุษย์เราชอบความท้าทาย ยิ่งยากยิ่งอยากพิชิต เหมือนยอดเขาเอฟเวอเรสต์ที่มีคนแวะเวียนไปท้าทายปีนป่ายไม่เคยขาด นักวิทยาศาสตร์ทำการทดสอบเพื่อยืนยันสมมติฐานนี้ (อีกแล้ว) โดยได้ใช้คอมพิวเตอร์หาคู่ (Computer dating experiment) ทดสอบกับผู้หญิงสามคน คนแรก หญิงเอ สาวนักทดลอง อยากจะเดทซะกับทุกคนที่คอมพิวเตอร์สุ่มเลือกมาให้ คนที่สอง หญิงบี ผู้ไร้ความรู้สึก ไม่ยินดียินร้ายกับชายที่คอมพิวเตอร์จัดให้เลยสักคน คนสุดท้าย หญิงซี สาวช่างเลือก ที่กัดฟันเลือกชายผู้โชคดีมาได้หนึ่งคนจากทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์จัดให้ จากนั้นถามความเห็นผู้ชายทั้งหมดที่เป็นตัวเลือกในคอมพิวเตอร์ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สาวขี้เลือกเบอร์สามกับสามจอมหยิ่งเบอร์สองเนี่ย โดนใจที่สุด
เรื่อง การผจญภัยก็สำคัญไม่น้อย มีหลายคนบอกว่า ถ้าคนเราผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบาก สยดสยอง โหดร้าย ทารุณมาด้วยกัน จะยิ่งทำให้เข้าใจกันดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าจริง แต่ทว่าคนมักจะเข้าใจผิดไปเองว่าความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้นหลังผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตนั้นเป็นความรัก ถ้าการออกเดทที่สวนสนุก (โดยมีข้อแม้ว่าต้องเล่นเครื่องเล่นผาดโผนหวาดเสียวด้วยกัน) จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นขึ้นแล้วนั้น การจับคู่กระโดดบันจี้จัมพ์ด้วยกันน่าจะทำให้ความสัมพันธ์ยิ่งแน่นแนบไปถึง ขั้นเป็นคู่แท้ตลอดกาลเลยทีเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นคนจะอยู่ด้วยกันได้ ก็ย่อมจะต้องมีอะไรที่คล้ายกันบ้าง คนที่มีระดับความกล้าบ้าบิ่นและชอบอะไรที่สยองๆพอๆกัน ก็เหมาะแล้วที่จะเป็นคู่รักคู่ทรโหด