6 เคล็ดลับห้ามพลาด! ถ่ายภาพ Silhouette ย้อนแสงขั้นเซียน

การถ่ายภาพ Silhouette ขึ้นชื่อว่าเป็นศาสตร์แห่งความน่าพิศวงในการดึงดูดสายตาคนดู วัตถุหลักในภาพจะมืดและมีความลึกลับชวนสับสน โดยช่างภาพต้องใช้เทคนิคและการสังเกตขั้นสูงในการถ่ายภาพนั้นออกมา ถ้าฝีมือไม่ถึงขั้นผู้ชมจะเดาอารมณ์ของภาพได้ว่านี่คือสิ่งที่เขาเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมืดหรือสว่างก็ไม่ได้สร้างความรู้สึกที่แตกต่างกันเสียเท่าไหร่

เฉกเช่นเดียวกับการถ่ายรูปทรงต่างๆ Silhouette จะเล่นกับความคอนทราสตร์ของแสงและความมืด แต่มีความเข้มและมีน้ำหนักค่อนข้างมาก 
ทำให้ช่างภาพหลายๆท่านใช้เวลาช่วงโพล้เพล้หรือกลางคืนเพื่อถ่ายวัตถุให้มีความเข้มและมืดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ถ้าคุณไม่รู้ว่าต้องเริ่มเรียนรู้ที่จุดไหน? งั้นมาดูเทคนิคที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้เพื่อทำให้คุณกลายเป็นเซียนแห่งภาพ Silhouette กัน

 ภาพโดย POO-SUKANYA, Christian Badescu, Andrea Izzotti, และ Apisorn
 
การถ่ายภาพ Silhouette คืออะไร?
การทำให้วัตถุมีเกิดรูปทรงชัดเจน ไม่มีแสง มืดขัดกับฉากพื้นหลังที่สว่าง วัตถุหลักสามารถเป็นคน สัตว์หรือสิ่งของก็ได้ ยิ่งคอนทราสตร์ของวัตถุและพื้นหลังมีมากเท่าไหร่ ภาพที่เกิดขึ้นก็ยิ่งสวยขึ้นเท่านั้น

ความแตกต่างของสีระหว่างวัตถุและพื้นหลังอย่างสิ้นเชิงแบบนี้ ทำให้ถูกเรียกว่าการถ่ายภาพแบบ Silhouette กลายเป็นหนึ่งในเทคนิคที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้
 
มืดสนิท vs. มืดบางส่วน
มีคนเคยกล่าวว่าการถ่ายภาพ Silhouette มีอยู่ 2 ประเภทก็คือ ภาพที่มืดสนิทและภาพที่มืดบางส่วน ก่อนจะถ่ายคุณต้องตัดสินใจก่อนว่าจะเอามืดแค่ไหน
ภาพที่มืดสนิทคือสไตล์ภาพที่จะเข้ามาในหัวคุณเสมอเมื่อพูดถึงเรื่อง Silhouette วัตถุหลักจะมืดสนิท ตำแหน่งวัตถุอยู่ข้างหน้าจุดกำเนิดแสงพอดี

ขั้นตอนถ่ายภาพวัตถุมืดสนิทนั้นคุณจะต้องหาวัตถุที่มีรูปทรงเห็นแล้วจดจำได้ ที่กำเนิดแสงต้องสว่างมากพอที่จะคลุมตัววัตถุหลักได้ทั้งหมด
แสงที่เกิดจาก Foreground จะต้องน้อยมากถึงมากที่สุด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ

ส่วนภาพที่มืดบางส่วน ผลลัพท์ก็ตามชื่อของมันคือส่วนหนึ่งของวัตถุจะมืด อีกส่วนจะมีแสงสว่างตกกระทบเป็น Highlight สร้างอารมณ์ให้เกิดความลึกลับ เหมือนกับว่าวัตถุนั้นโผล่มาจากเงามืด

สำหรับการถ่ายภาพให้มืดบางส่วนนั้น คุณสามารถเติมไฟไว้ตรงข้ามกับตัววัตถุหลักเพื่อเติมรายละเอียดได้ ถึงแม้ภาพมืดสนิทแสดงให้เห็นถึงความน่าเกรงขาม ทรงพลังและมีรูปทรงชัดเจน แต่ถ้าคุณอยากได้ภาพที่มืดบางส่วนแบบนี้ก็สามารถทำได้
 
เทคนิคเพื่อเป็นเซียนถ่ายภาพ Silhouette

1.ถ่ายด้วยโหมด M (Manual Mode)
ถ้าคุณเป็นมือใหม่อาจจะกลัวการใช้โหมด M ทำให้คุณติดอยู่กับกับดักแห่งโหมด Auto แต่นั่นคือวิธีที่ง่ายที่สุดเพราะโหมด Auto ถูกโปรแกรมมาให้เพิ่มแสงบริเวณที่ขาดแสงอยู่แล้ว โหมด Auto ในกล้องดิจิทัลจะพยายามเพิ่มแสงในที่มืด เพื่อทำให้ความสมดุลของแสงและความมืดเท่าๆกัน

ตัวอย่างเช่น แฟลชในกล้องจะเด้งออกมาแบบอัตโนมัติเพื่อทำให้พื้นที่มืดสว่างในบางสถานการณ์ ทำให้คุณควบคุมแสงไม่ได้ดั่งใจ พยายามหลีกเลี่ยงโหมดนี้โดยเด็ดขาด ยิ่งสำหรับการถ่ายภาพ Silhouette ยิ่งไม่เหมาะสม
 
ภาพโดย yuttana Contributor Studio
2.วัตถุต้องมีรูปทรงชัดเจน
วัตถุแทบทุกอย่างสามารถนำมาถ่าย Silhouette ได้ แต่วัตถุบางอย่างกลับได้ผลลัพท์ที่ดีกว่าวัตถุแบบอื่น พยายามหาวัตถุที่มีรูปทรงชัดเจน มองแล้วสามารถนึกออกได้มาถ่าย เพื่อดึงดูดสายตาของคนดู

ส่วนใหญ่ภาพถ่าย Silhouette มักจะนำมนุษย์มาถ่าย สาเหตุเพราะจดจำได้ง่าย แต่ภาพ Silhouette ไม่สามารถนำรายละเอียดของวัตถุออกมาได้ เช่น สีหรือลวดลาย เพราะแบบนั้นรูปทรงของวัตถุจึงต้องชัดเจน เพื่อให้วัตถุโดดเด่นออกมาจากสิ่งโดยรอบ แต่ฉากหลังจะต้องเรียบง่ายไม่ดูกระจัดกระจายยุ่งเหยิง เพื่อที่วัตถุหลักจะไม่ถูกดึงดูดสายตา

 ภาพโดย Golubovy, Alan Poulson Photography, และ Alexander Pekour
3.ใช้จุดกำเนิดแสงให้ถูกต้อง
การถ่าย Silhouette ต้องมีจุดกำเนิดแสงเป็นองค์ประกอบสำคัญ​ โดยที่แสงจะต้องอยู่ข้างหลังวัตถุหรือเรียกอีกอย่างว่า Backlight และต้องเป็นแสงไฟที่แข็งและมีกำลังไฟแรงพอสมควร

แสงอาทิตย์จึงเหมาะมากกับการถ่าย Silhouette โดยเฉพาะช่วงรุ่งเช้ากับพลบค่ำ ให้คุณนำวัตถุหลักมาอยู่บริเวณด้านหน้าของแสงนั้น ภาพที่ได้ก็จะสวยงามไปอีกแบบ ไฟประดิษฐ์ก็สามารถทำได้เช่นกัน ถ้าคุณหาไม่ได้ก็ใช้ไฟหน้ารถยนต์แทนได้

แสงไฟในสตูดิโอเป็นอีกทางเลือกที่ดี คุณจะมีอิสระกับการจัดแสงวางตำแหน่งไฟให้เหมาะสมกับภาพ Silhouette ที่คุณหวังจะได้

 ภาพโดย victorhugosilvafotografo และ Daxiao Productions

4.หาตำแหน่งถ่ายภาพ Silhouette ให้เหมาะสม
หากคุณมีวัตถุและแสงไฟแรงๆพร้อมจะถ่ายภาพแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถถ่ายภาพ Silhouette ได้เสียที งั้นคุณก็ต้องมองหาตำแหน่งใหม่เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด คุณต้องยืนในตำแหน่งหน้าวัตถุ แล้วให้จุดกำเนิดแสงอยู่หลังวัตถุตรงกลางที่สุด สิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่างคุณกับจุดกำเนิดแสงควรมีแต่วัตถุที่คุณอยากถ่ายเท่านั้น

5.ใช้ Shutter Speed แบบเร็ว
อีกทางเลือกในการเพิ่มความมืดให้กับวัตถุหลักก็คือเพิ่ม Shutter Speed วิธีการง่ายๆก็คือไปที่ตั้งค่า Shutter Speed ของคุณ จากนั้นปรับให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นจนกว่าจะได้ความมืดที่คุณต้องการ แสงที่เข้ามายังรูรับแสงของกล้องจะน้อยลง

6.ใช้รูรับแสงแคบ
การเลือกรูรับแสงหรือค่า F ตัวเลขสูงช่วยให้ระยะชัดตื้นมีความคมชัด ยิ่งถ้าคุณปรับไปเกิน F/11 ฉากทั้งภาพจะคมกริบชัดเจนทั้งหมด ยิ่งทำให้ภาพ Silhouette ของคุณดียิ่งขึ้นไปอีกขั้น
 
กล่าวโดยสรุป

ถ้าคุณยังมีข้อสงสัยอยู่ว่าทำไมภาพของคุณถึงไม่เป็น Silhouette เสียที ให้คุณจำไว้ว่าสิ่งสำคัญอยู่ที่แสงและวัตถุหลัก การวางตำแหน่งวัตถุหลักให้อยู่ระหว่างตัวช่างภาพและแสงคือกุญแจสำคัญในการสร้าง Silhouette ทดลองไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอสไตล์งานของคุณ ที่สำคัญอย่าเพิ่มยอมแพ้เด็ดขาด

บทความต้นฉบับ: 6 Tips for Mastering Silhouette Photography 
 
เรียบเรียงโดย ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่