JJNY : ติดเชื้อ2,976 ตาย32│แพทย์ชนบท ห่วงกระจายวัคซีน│พลังงานเพิ่งตื่นค่าการกลั่นพุ่งปรี๊ด│'สุทิน' ซัด ผิดกม.การคลัง

โควิดติดเชื้อรายวันขยับขึ้น! 2,976 ราย ตาย 32 หายป่วย 4,238 ราย
https://siamrath.co.th/n/353636
 
 
วันที่ 3 มิ.ย.2565 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่จำนวน 2,976 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 มีจำนวน 2,237,121 ราย  
 
หายป่วยกลับบ้าน 4,238 ราย ทำให้ยอดหายป่วยสะสม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 มีจำนวน 2,227,051 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 34,898 ราย และเสียชีวิต 342 ราย รวมเสียชีวิตสะสมตั้งแต่ ปี 2563-ปัจจุบัน จำนวน 30,113 ราย 
 
ส่วนจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 818 ราย
 

 
แพทย์ชนบท ห่วงกระจายวัคซีน 16 ล้านโดส ให้ รพ.สต. หวั่นเป็นที่พักเพื่อรอทิ้ง!
https://www.nationtv.tv/news/378875184

ชมรมแพทย์ชนบท ตั้งข้อสงสัย มติที่ประชุมศบค. กระจายวัคซีนโควิด-19 จำนวน 16 ล้านโดส ไปเก็บที่ รพ.สต. เกือบหมื่นแห่งทั่วประเทศ หวั่นกลายเป็นที่พักวัคซีนเพื่อรอทิ้ง สิ้นเปลืองงบฯ
 
2 มิถุนายน 2565 ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก “ชมรมแพทย์ชนบท” ตั้งข้อสงสัย มติ "ศบค." กระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต. ทั่วประเทศจำนวนมากถึง 16 ล้านโดส หวั่นเป็นการบริหารผิดพลาด วัคซีนหมดอายุ สิ้นเปลืองงบประมาณ มีเนื้อหาดังนี้..
 
 รพ.สต. ไม่ใช่ถังขยะทิ้งวัคซีนนะ 
 
หลังจากหนังสือสั่งการของ สธ.ที่อ้างมติที่ประชุม ศบค.เผยแพร่ออกมา เสียงอื้ออึงก็กว้างขวางทั้งประเทศ 
 
○ "นี่มันแผนการกำจัดวัคซีนของ ศบค.เหรอ"
○ "รพ.สต.จะเอาตู้เย็นที่ไหนเก็บ"
○ "วัคซีนล็อตแรกที่ส่งมาก็ยังเหลือเต็มอยู่เลย"
○ "คนสนใจฉีดมีน้อยมาก รับมาแล้วจะฉีดใคร"
○ "เสียดายวัคซีนเอามาทิ้งให้หมดอายุ เงินภาษีทั้งนั้น" 

การบริหารจัดการวัคซีนของประเทศที่จะมีวัคซีนเต็มแขน ปัจจุบันพบปัญหาที่กลับตาลปัตร คือ สั่งวัคซีนมามากเกินไป เกินความประสงค์ฉีดของประชาชน 
 
ยิ่งในสถานการณ์โควิดที่ลดลง แม้วัคซีนเข็มสามจะมีความคลุมราว 40.8% ของเป้าหมาย แต่การจะชี้ชวนมาฉีดนั้นแทบจะไม่มีใครมาฉีดแล้ว  เป็นสิทธิที่เขาจะเลือก จะบังคับก็ไม่ได้ วัคซีนจึงเหลือเต็มคลังของ สธ. ไม่รู้จะเอาไปไหน
 
สธ. คงรู้ว่าพวกโรงพยาบาลต่างๆนั้นหัวดื้อ ส่งวัคซีนซี้ซั้วแบบนี้มาให้คงถูกด่าเปิง หวยเลยไปออกที่ รพ.สต. ที่ตัวเล็กสุด ปากเสียงเบาสุด การส่งวัคซีนครั้งนี้เล่นกระจายวัคซีนให้ รพ.สต.ทุกแห่ง ไม่สนใจว่าใหญ่เล็ก ประชากรที่ดูแลกี่คน ไม่สนใจจำนวนวัคซีนที่เขาต้องการ ส่งไปให้เลยทุกแห่งให้เท่าๆกัน ราวกับส่งไปเพื่อทิ้งอย่างชอบธรรม
 

รพ.สต.มีเกือบ 1 หมื่นแห่ง แต่ละแห่งจะได้ ซิโนแวคแห่งละ 120 โดส แอสตร้า 1,000 โดส และไฟเซอร์ 600 โดส รวม รพ.สต.ทุกแห่ง  กระจายวัคซีนทั้ง 3 ยี่ห้อนี้ออกจากคลัง สธ.ได้ 16,795,800 โดส ให้ไปเยอะแบบนี้ เอาไปฝากเพื่อให้หมดอายุที่ รพ.สต. เพื่อรอทิ้งชัดๆ และเชื่อว่า หลังจากรอบนี้ เดี๋ยวก็จะส่งมาอีก เพราะสั่งไว้เยอะ ประเทศเราไม่มีวิธีอื่นที่จัดการให้ดีกว่านี้แล้วหรือ
 
เสียดายภาษี เสียดายค่า logistic การขนส่งเพื่อเอาไปวัคซีนไปทิ้งที่ รพ.สต. เพื่อให้ดูชอบธรรม รพ.สต.ไม่ใช่ถังขยะทิ้งวัคซีนนะเจ้านาย
 
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0R4fLYW9F4BmvBvSksbc8r4W1UvYFPaDCA9TSyyQP8eGPq3uojuUo8njovK9ZTardl&id=142436575783508
 

 
พลังงานเพิ่งตื่นค่าการกลั่นพุ่งปรี๊ด เตรียมประสานพาณิชย์ตรวจสอบต้นทุน
https://www.thairath.co.th/business/economics/2409210

กบง.ลุยสอบค่าการกลั่นน้ำมัน หลังพุ่ง 5 บาทต่อลิตร จากค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา 2 บาทต่อลิตร ด้านโรงกลั่นโอดแบกรับขาดทุนกว่า 30,000 ล้านบาท และต้องลงทุนรักษาสิ่งแวดล้อมอีก 50,000 ล้านบาท
 
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ.จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ ที่อยู่ในคณะอนุกรรมการที่ดูราคาการกลั่น ภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณา ค่าการกลั่นน้ำมัน (กำไร) ที่ในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา ค่าการกลั่นขึ้นไปอยู่ที่ 5 บาทต่อน้ำมัน 1 ลิตร เมื่อเทียบกับค่าการกลั่นเฉลี่ยอ้างอิง อยู่ที่ 2 บาทต่อลิตร พร้อมกันนี้จะเรียกกลุ่มโรงกลั่นมาหารือถึงต้นทุนที่แท้จริง คาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็วๆนี้
  
“ค่าการกลั่นระดับ 5 บาทต่อลิตรถือว่าสูง แต่ต้องดูว่าต้นทุนแท้จริงในการซื้อน้ำมันดิบ แหล่งซื้อ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เมื่อคำนวณแล้วออกมาเท่าไหร่ เหมาะสมหรือไม่ เพราะกลุ่มโรงกลั่นอาจมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเช่นกันในภาวะปัจจุบัน ต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ทั้งนี้ หากค่าการกลั่นลดลงราคาน้ำมันก็จะลดลงเช่นกัน”
 
สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกหลังจากนี้คาดว่าอาจไม่พุ่งแรงเหมือนช่วงที่ผ่านมา ช่วงที่เหลือของปีคาดอยู่ระดับ 110 เหรียญฯ เพราะขณะนี้กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ผู้ใช้พลังงานหลักจากประเทศรัสเซียเริ่มปรับตัว โดยหันไปใช้แหล่งพลังงานอื่นมากขึ้น ขณะเดียวกันคาดว่าสหรัฐฯจะปล่อยเชลก๊าซ (ก๊าซธรรมชาติในชั้นหินดินดาน) ป้อนตลาด เพราะราคาจูงใจ แม้จะมีปัญหาเรื่องคาร์บอนอยู่บ้าง
 
นายวัฒนพงษ์กล่าวถึงความต้องการใช้พลังงานไทยปีนี้ ว่า คาดว่าจะขยายตัว 2.1% ภายใต้สมมติฐานผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (จีดีพี) เติบโต 2.5-3.5% อัตราแลกเปลี่ยน 33.30-34.30 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 105-110 เหรียญ และจีดีพีโลกเติบโต 3.5% ขณะที่การใช้พลังงานขั้นต้น (น้ำมันก๊าซธรรมชาติ) รายชนิดพบว่าเติบโตเกือบทุกประเภท ยกเว้นก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะลดลง 9.5% จากราคาที่ปรับสูงมากจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน จนผู้ใช้หันไปพึ่งน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาแทน ขณะที่น้ำมันคาดเพิ่มขึ้น 12.9% ถ่านหิน/ลิกไนต์ เพิ่มขึ้น 6.8% และไฟฟ้าพลังน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า 8.2%
 
นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากประเด็นที่กล่าวถึงกันในสังคมว่า ค่าการกลั่นที่โรงกลั่นน้ำมันสูงขึ้นกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นผลจากส่วนต่างราคาน้ำมันเบนซินหรือดีเซลเทียบกับน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นมาตลอด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้คำนวณจากส่วนต่างราคาของน้ำมันเบนซินและดีเซลเทียบกับราคาน้ำมันดิบอ้างอิงเท่านั้น แต่ต้องนำส่วนต่างราคาเฉลี่ยของน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดตามสัดส่วนการผลิตที่โรงกลั่นผลิตได้
 
นอกจากนี้ ยังมีก๊าซหุงต้ม หรือน้ำมันเตาที่มีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบมาคำนวณรวมทั้งหมดเทียบกับราคาน้ำมันดิบที่ซื้อจริง ซึ่งรวมค่าพรีเมียมของน้ำมันดิบ หรือราคาส่วนเพิ่มเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบอ้างอิง และค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากแหล่งผลิตมายังประเทศไทย เช่น ค่าขนส่งน้ำมันดิบทางเรือ ค่าประกันภัย รวมถึงต้องหักลบต้นทุนค่าพลังงานความร้อน ค่าน้ำและค่าไฟที่ใช้ในการกลั่นอีกด้วย อีกทั้งต้องนำค่าการกลั่นมาหักลบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้น รวมถึงกำไร ขาดทุน จากการบริหารความเสี่ยงด้านราคา และสต๊อกน้ำมัน จึงจะสะท้อนกำไรสุทธิที่โรงกลั่นน้ำมันได้รับจริง
  
“กำไรที่แท้จริงที่กลุ่มโรงกลั่นได้รับ ไม่ได้สูงตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 1ที่ผ่านมาแต่อย่างใด อีกทั้งกลุ่มโรงกลั่นยังต้อง
เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหากราคาน้ำมันมีทิศทางปรับตัวลดลงในอนาคต ซึ่งก็เป็นไปตามวงจรของธุรกิจน้ำมัน
ที่มีทั้งขาขึ้นและขาลง ดูได้จากในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดและกลุ่มโรงกลั่นขาดทุนสต๊อกน้ำมันในปี 2563 สูงกว่า 30,000 ล้านบาท ยังต้องแบกรับการขาดทุนมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง และต้องลงทุนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการลงทุนเพื่อผลิตน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 5 ที่ต้องใช้เงินลงทุน 50,000 ล้านบาทอีกด้วย”.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่