จากปัญหาเด็กเกิดน้อยลง ทำให้มหาลัยหลายๆแห่งเกิดเหตุการณ์ที่นั่งเยอะกว่าเด็ก จนกลายเป็นไม่มีคนเรียนถึงขั้นยุบคณะ ก็มีมาแล้ว โดยเฉพาะในมหาลัยเล็กๆ ที่ไม่ใช่มหาลัยยอดนิยม
แต่ผมก็ยังสังเกตุว่า หลายๆโครงการการรับสมัครของมหาลัย ยังกำหนดเรื่องคุณสมบัติมาเป็นกำแพงไม่ให้เด็กต่างชาติเข้าเรียน
ผมขอแบ่งเด็กต่างชาติ ออกเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่มแรก เป็นกลุ่มคนต่างด้าว ที่พ่อแม่มาทำงานในไทย แล้วก็เกิดหรือโตที่ไทย กลุ่มนี้ น่าจะเยอะมากที่สุด รวมๆกันจริงๆอาจจะเกินหลักแสนต่อปี กลุ่มนี้จะไม่สามารถสมัครโครงการที่กำหนดว่าต้องมีสัญชาติไทยได้ ซึ่งเอาจริงๆ ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่ติดเงื่อนไขตรงนี้
- กลุ่มสอง เป็นกลุ่มคนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่มองว่าคุณภาพการศึกษาไทยดีกว่า แต่ยังไม่มีความพร้อมขนาดที่จะไปเรียนไกลๆถึงในระดับประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง อังกฤษ อเมริกา ได้ เด็กกลุ่มนี้มีความพร้อมระดับนึง หลายๆคนเป็นคนเรียนดี แต่กลุ่มนี้จะเข้าเรียนยากกว่าเด็กกลุ่มแรกแม้จะพยายามเลือกโครงการที่ไม่มีข้อกำหนดเรื่องสัญชาติไทยแล้ว ก็ยังติดคุณสมบัติเรื่องไม่ได้จบมาจาก รร.หลักสูตรแกนกลาง อยู่ดี ซึ่งโครงการการรับเข้าของมหาลัย หากไม่ใช่หลักสูตรภาคพิเศษ หรือเอกชน เกิน 80% จะกำหนดคุณสมบัติเรื่องนี้ไว้
- กลุ่มสาม เป็นกลุ่มเด็กต่างชาติ ของลูกหลานชาวต่างชาติที่มาทำธุรกิจในประเทศไทย พวกนี้มักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีเงินพอ สามารถเรียนภาคพิเศษ หรือ ม.เอกชน ได้สบายๆ หรือจะส่งไปเรียนต่างประเทศในมหาลัยดีๆ ก็ยังได้
อย่างไรก็ดี กำแพงของเด็กต่างชาติเรื่องการสอบวิชาต่างๆ ที่ใช้ในการยื่นเข้ามหาลัย ถือว่าง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว แทบเป็นไปไม่ได้ หรือกว่าจะสอบได้ ก็ต้องเขียนคำร้องขออนุมัติวุ่นวายกว่าสมัยนี้มาก
ประเทศไทย กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และที่นั่งในสถานศึกษาของเรากำลังว่างลงจากการที่มีเด็กน้อยกว่าโครงสร้างที่เราเตรียมรองรับไว้ ทำไมเราไม่เอาโครงสร้างส่วนเกินตรงนี้ไปรองรับเด็กต่างชาติ เพื่อดึงดูดคนต่างชาติให้มาอยู่ที่ไทย จะได้ช่วยบรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะปัญหาผู้สูงอายุไปด้วยเปราะนึง อีกอย่าง การดึงดูดโดยใช้การศึกษา ยังเป็นการคัดคนที่มีคุณภาพมาแล้วระดับนึงได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี เข้าใจว่า บางโครงการติดเรื่องข้อกำหนดด้านสัญชาติจริงๆ เช่น กสพท ที่มีข้อกำหนดผูกพันว่า จบมาแล้วต้องไปใช้ทุน หรือรับราชการ แบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะหากคนที่ไม่มีสัญชาติมาเรียน จบแล้วจะไม่สามารถทำตามเงื่อนไขตรงนี้ได้
คิดว่ายังไงกันบ้างครับ
ที่นั่งในมหาลัยมีมากกว่าเด็กนักเรียนมาสักระยะ แต่ทำไมมหาลัยหลายแห่งหรือหลายๆโครงการรับสมัครจึงยังบล็อกเด็กต่างชาติ
แต่ผมก็ยังสังเกตุว่า หลายๆโครงการการรับสมัครของมหาลัย ยังกำหนดเรื่องคุณสมบัติมาเป็นกำแพงไม่ให้เด็กต่างชาติเข้าเรียน
ผมขอแบ่งเด็กต่างชาติ ออกเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่มแรก เป็นกลุ่มคนต่างด้าว ที่พ่อแม่มาทำงานในไทย แล้วก็เกิดหรือโตที่ไทย กลุ่มนี้ น่าจะเยอะมากที่สุด รวมๆกันจริงๆอาจจะเกินหลักแสนต่อปี กลุ่มนี้จะไม่สามารถสมัครโครงการที่กำหนดว่าต้องมีสัญชาติไทยได้ ซึ่งเอาจริงๆ ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่ติดเงื่อนไขตรงนี้
- กลุ่มสอง เป็นกลุ่มคนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่มองว่าคุณภาพการศึกษาไทยดีกว่า แต่ยังไม่มีความพร้อมขนาดที่จะไปเรียนไกลๆถึงในระดับประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง อังกฤษ อเมริกา ได้ เด็กกลุ่มนี้มีความพร้อมระดับนึง หลายๆคนเป็นคนเรียนดี แต่กลุ่มนี้จะเข้าเรียนยากกว่าเด็กกลุ่มแรกแม้จะพยายามเลือกโครงการที่ไม่มีข้อกำหนดเรื่องสัญชาติไทยแล้ว ก็ยังติดคุณสมบัติเรื่องไม่ได้จบมาจาก รร.หลักสูตรแกนกลาง อยู่ดี ซึ่งโครงการการรับเข้าของมหาลัย หากไม่ใช่หลักสูตรภาคพิเศษ หรือเอกชน เกิน 80% จะกำหนดคุณสมบัติเรื่องนี้ไว้
- กลุ่มสาม เป็นกลุ่มเด็กต่างชาติ ของลูกหลานชาวต่างชาติที่มาทำธุรกิจในประเทศไทย พวกนี้มักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีเงินพอ สามารถเรียนภาคพิเศษ หรือ ม.เอกชน ได้สบายๆ หรือจะส่งไปเรียนต่างประเทศในมหาลัยดีๆ ก็ยังได้
อย่างไรก็ดี กำแพงของเด็กต่างชาติเรื่องการสอบวิชาต่างๆ ที่ใช้ในการยื่นเข้ามหาลัย ถือว่าง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว แทบเป็นไปไม่ได้ หรือกว่าจะสอบได้ ก็ต้องเขียนคำร้องขออนุมัติวุ่นวายกว่าสมัยนี้มาก
ประเทศไทย กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และที่นั่งในสถานศึกษาของเรากำลังว่างลงจากการที่มีเด็กน้อยกว่าโครงสร้างที่เราเตรียมรองรับไว้ ทำไมเราไม่เอาโครงสร้างส่วนเกินตรงนี้ไปรองรับเด็กต่างชาติ เพื่อดึงดูดคนต่างชาติให้มาอยู่ที่ไทย จะได้ช่วยบรรเทาปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะปัญหาผู้สูงอายุไปด้วยเปราะนึง อีกอย่าง การดึงดูดโดยใช้การศึกษา ยังเป็นการคัดคนที่มีคุณภาพมาแล้วระดับนึงได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี เข้าใจว่า บางโครงการติดเรื่องข้อกำหนดด้านสัญชาติจริงๆ เช่น กสพท ที่มีข้อกำหนดผูกพันว่า จบมาแล้วต้องไปใช้ทุน หรือรับราชการ แบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะหากคนที่ไม่มีสัญชาติมาเรียน จบแล้วจะไม่สามารถทำตามเงื่อนไขตรงนี้ได้
คิดว่ายังไงกันบ้างครับ