กะเทยหรือเพศที่ 3 ในอินเดียได้รับการยอมรับในสังคมอินเดียเหรอครับ ดูจากในหนังคังคุไบ ราเซียไบที่เป็นกะเทยมีอิทธิพลมาก

มีแต่คนยำเกรง ราเซียไบ คนนี้ จริงมั้ยครับ อย่างผู้หญิงยังพอเข้าใจ เพราะอินเดียก็เคยมีนายกหญิง อย่าง อินทิรา คานธี แต่สงสัยว่า กะเทย เป็นที่ยอมรับในอินเดียด้วยมั้ยครับ เพราะ ราเซียไบ ก็มี power ไม่น้อย (หนังเรื่องคังคุไบ ก็มาจากเรื่องจริง) 

เท่าที่ทราบ อินเดียมีเพศที่ 3 เยอะสุดในเอเชียด้วย เยอะกว่าไทยอีก 



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เพิ่งได้อ่านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ที่มา : บทความจาก ดร.นักรบ นาคสุวรรณ์ วิทยาลัยดุสิตธานี

             “ฮิชระ” เป็นคำเรียกของสาวประเภทสองในอินเดีย แต่ในสังคมอินเดียการมีเพศสภาพเป็นชายและจิตใจและการแต่งกายเป็นหญิง
ทำให้คนกลุ่มนี้ถูกมองว่า ไม่ใช่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย คนส่วนใหญ่ในสังคมจึงไม่ให้การยอมรับ ซึ่ง “ฮิชระ”มักจะถูกขับไล่ออกจากครอบครัว
เพราะการไม่ได้เป็นผู้ชายเต็มตัวถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจและเป็นที่อับอาย ทำให้ไม่มีการศึกษา จึงต้องรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน ตั้งเป็นชุมชนเพื่อ
ดูแลและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
             สำหรับชาวอินเดียแล้ว “ฮิชระ” มีพลังและอำนาจในการต่อรองเพื่อการมีตัวตนในสังคมฮินดูที่ไม่ยอมรับพวกตนในสังคม กล่าวคือ
กลุ่มพวก “ฮิชระ” ได้รับการเชิญมาอวยพรในวันเกิดทารก หรือ เต้นรำเพื่ออวยพรในงานแต่งงาน ซึ่งจะนำโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์มาสู่ครอบครัวนั้น และ สาปแช่งผู้คนที่ดูถูกเหยียดหยามและทำร้ายพวกเขาให้เกิดความวิบัติได้ กล่าวคือหากผู้ใดถูก “ฮิชระ” สาปแช่งจะถือเป็น
ความโชคร้ายอย่างที่สุด จึงมีผู้คนจำนวนมากนับถือผู้หลากหลายทางเพศในอินเดีย และให้ความสำคัญแก่พระแม่พหุชระ
             พระแม่พหุชระ เป็นเทพเจ้าฮินดูที่ให้พรกับกลุ่มหลากหลายทางเพศในอินเดีย รวมทั้ง “ฮิชระ” ด้วย พระแม่พหุชระเปรียบเสมือน
มารดาของ “ฮิชระ” เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจและสร้างความมั่นคงในการดำเนินชีวิต
             พระแม่พหุชระถือเป็นภาคหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี ชายาพระศิวะ บางตำนานเล่าว่าพระแม่อุมาเทวี ได้ทรงทราบถึงความรักของมนุษย์
ว่าในโลกนี้ไม่ได้มีเพียงคู่รัก ชาย-หญิง เท่านั้น หากแต่ยังมีความรักในเพศเดียวกัน และกลุ่มผู้รักร่วมเพศเหล่านี้ ก็มักถูกกีดกันออกจากสังคม
พระแม่อุมาเทวีจึงแบ่งภาคมาเป็นพระเทวีพระองค์หนึ่ง มีแปดพระกร ทรงศาสตราวุธของพระแม่อุมาเทวีและพระไภรวะ ประทับบนหลังไก่ตัวใหญ่
ติดตามด้วยบริวารสองตน คือ ชายรักร่วมเพศ และ หญิงรักร่วมเพศ เพื่อให้ความอุปถัมภ์ ปกป้องคุ้มครอง ตลอดจนเสริมพลังสร้างกำลังใจให้แก่
ชายรักชาย และหญิงรักหญิง
             อีกตำนานหนึ่ง เทวนิยมฮินดูก็มีการผูกเรื่องว่าพระแม่พหุชระเกิดมาจากน้ำตาของพระแม่อุมาที่ร้องไห้เพราะความสงสารชีวิต “ฮิชระ”
ที่เป็นชนชายขอบของสังคมฮินดู เช่นเดียวกับที่“ฮิชระ” ที่เป็นคนนอกวรรณะ ถูกกีดกันผลักไสออกจากสังคม
             ฮิชระ ในสังคมอินเดียจึงถือว่าตนเองคือกลุ่มคนพิเศษที่เชื่อกันว่ามีเทพเจ้าคุ้มครองและมีสิ่งที่เหนือกว่าคนธรรมดาทั่วไป “ฮิชระ” จะแสดงออกโดยการแต่งกายแบบหญิงอินเดียห่มส่าหรีและบูชาพระแม่พหุชระอย่างเคร่งครัด วันละสามเวลา เพื่อขอพรให้ปกป้องดูแลตัวเอง
ไม่ให้ใครมารังแก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่