Grease ถูกทำออกมาทั้งเป็นละครเวที, ภาพยนตร์, และล่าสุดเป็น live action แต่เวอร์ชั่นที่เป็นที่นิยมที่สุดคือภาพยนตร์ในปี 1978 นำแสดงโดย John Travolta และ Olivia Newton-John เป็นเรื่องราวความรักและมิตรภาพของกลุ่มวัยรุ่นหนึ่งในชนชั้นแรงงาน
____________________________________
เรื่องย่อ
Grease (1978) เริ่มต้นขึ้นเมื่อ Danny Zuko (John Travolta) และ Sandy Olsson (Olivia Newton-John) ได้มาพบรักกันระหว่างปิดเทอมฤดูร้อนและลาจากกันไปด้วยความอาลัยอาวอน เมื่อถึงวันเปิดเทอม Danny กลับมาพบ Sandy อีกครั้งโดยบังเอิญ ซึ่งเธอย้ายมาเรียนที่เดียวกับเขา Danny ทำตัวหมางเมินใส่ Sandy เพราะต้องรักษาภาพลักษณ์เท่ๆต่อหน้าเพื่อนในแก๊งค์ รวมไปถึงสาวๆ Pink Ladies เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ Danny พยายามขอคืนดี Sandy ลับหลังผองเพื่อน ซึ่งก็ต้องตามง้อตามเช็ดกันอีกยาว
***แก๊งค์ T-Birds และ Pink Ladies คือสองกลุ่มที่มีแฟชั่นการแต่งตัวโดดเด่นในโรงเรียน โดยฝ่ายแรกจะมาในเสื้อหนังสีดำ ทรงผมมันวาวแบบ Elvis Presley ชอบซิ่งรถและความท้าทาย ส่วนทางด้านฝ่ายแก๊งค์สาวๆจะมาในชุดสีสันฉูดฉาดและแจ็คเก็ตสีชมพู โดยทั้งสองกลุ่มคิดว่าตัวเองทั้งเท่ทั้งชิค ต่างฝ่ายต่างเหมาะสมที่จะจับคู่ออกเดตกัน***
____________________________________
หลังดูหนังเรื่องนี้จบ สิ่งที่สัมผัสได้คือเรารู้สึกสนุกไปกับหนัง เพลงเพราะร้องตาม ลัลล้าไปกับการเต้น แต่จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้พูดถึงการปฏิวัติทางเพศในอเมริการะหว่างช่วงปี 1960-80 ซึ่งเป็นการโชว์พลังของกลุ่มวัยใหม่ที่ต้องการฉีกขนบธรรมเนียมประเพณีจารีตของเดิมๆ และมูฟออนไปยังอนาคตข้างหน้า ธีมของ Grease น่าจะถูกจัดอยู่ในราวปี 1958-59 ซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายเข้าทศวรรษใหม่พอดี ในช่วงก่อน 60’s หัวข้อเรื่องเพศยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สังคมตั้งบรรทัดฐานว่าผู้หญิงควรวางตัวให้เรียบร้อย ซึ่งสิ่งนี้มันเป็นการกดทับความต้องการลึกๆของวัยรุ่นในช่วงอารมณ์พลุ่งพล่าน แต่วันหนึ่งเมื่อมียาคุมกำเนิดออกมาจำหน่ายทำให้โลกในทศวรรษใหม่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งใน Grease เราจะเห็นกลุ่มวัยรุ่นในหนังหมกมุ่นเรื่องเพศ อยากรู้อยากลอง รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาพร้อมแล้วกับการเข้าสู่อนาคตข้างหน้า ตัวอย่างเช่นเพลง Summer Night ที่ตัวละครเพื่อนๆถาม Danny และ Sandy เกี่ยวกับคู่เดตของแต่ละฝ่าย โดยมีเนื้อหาสองแง่สองง่าม และยังสะท้อนความคิดเรื่องเพศตรงข้ามอีกด้วย
ทุกตัวละครแสดงถึงความพร้อมที่จะเดินทางไปอนาคตข้างหน้า ไม่ใช่แค่เรื่องเพศอย่างเดียวแต่เป็นการปลดปล่อยให้ตัวเองเป็นอิสระทำตามใจอยาก ใช้ชีวิตวัยรุ่นอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นแก๊งค์ T-Birds, Pink Ladies ที่อยู่ในช่วงปีสุดท้ายก่อนจะก้าวไปยังอีกช่วงวัยของชีวิต, คุณครูที่คอยสอนคอยให้กำลังใจ ซึ่งหนังมันอยู่ในธีมการลองผิด/ลองถูกมาแทบตลอด อย่างเช่น Danny ที่พยายามจะเปลี่ยนตัวเองเพื่อรักษาความสัมพันธ์, โค้ช Calhoun ที่คอยเป็นที่พึ่งให้กับนักเรียน, Rizzo กับ Kennickie มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้วิธีคุมกำเนิดจนเกือบพลาดท้องและ Frenchy ที่ค้นหาเป้าหมายชีวิตจากการดรอปเรียนภาควิชาการเพื่อไปศึกษาฝั่งสายอาชีพ รวมไปถึงสีผมของเธอที่เปลี่ยนไปมาทั้งเรื่อง ตัวละครเหล่านี้ได้ทำอะไรตามใจอิสระถึงจะทำผิดพลาดแต่ก็เป็นเหมือนบทเรียนครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราอาจจะต้องเผชิญ’ความผิดพลาดเรื่องอื่นๆ’ในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตามในหนังจะมีแค่ตัวละครตัวเดียวที่ไม่เปลี่ยนเลยคือ Sandy ซึ่งติดแหงกอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมๆ Rizzo ได้เปรียบเปรยว่าเธอเหมือน Sandra Dee นักแสดงวัยรุ่นในยุค 50’s ที่โด่งและเป็นที่นิยม ด้วยภาพลักษณ์จากในหนังที่สง่างามดูดีทำให้ผู้ใหญ่อยากให้เด็กๆมองเจ้าหล่อนเป็นแบบอย่าง ซึ่งหลายคนก็ทำตามแต่ก็มีอีกหลายคนเหมือนกันที่มองว่ามันปลอมเพราะรู้ว่าภาพลักษณ์ดังกล่าวคือแผนการตลาดของสตูดิโอและการสร้างหนังวัยรุ่นก็มาจากมุมมองของผู้ใหญ่ รวมไปถึงชีวิตของเจ้าหล่อนก็ไม่ได้เป็นเหมือนในจอด้วยซ้ำ หรืออีกนัยคือ Rizzo จะสื่อว่า Sandy เธอน่ะปลอมเหมือน Sandra Dee ไอดอลของเธอ! อย่างไรก็ตามสุดท้ายแล้ว Sandy เลือกที่จะเปลี่ยนและเดินหน้าไปพร้อมกับเพื่อนๆ จากการร้องเพลง Goodbye to Sandra Dee และเปลี่ยนโฉมเป็นสาวสุดแซ่บส์ในงานโรงเรียนช่วงท้ายเรื่อง รวมถึงฉากจบที่ Sandy กับ Danny ขึ้นรถแล้วบินขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นเชิงสัญลักษณ์ของการพุ่งไปข้างหน้า
ทรงผม, เครื่องแต่งกาย, เพลงร็อกแอนด์โรล เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายการปฏิวัติทางเพศของวัยรุ่นในยุคนั้น ซึ่งสามสิ่งดังกล่าวปรากฏอยู่ใน Grease โดยเฉพาะเพลงร็อกแอนด์โรลที่ถูกหยิบมาใช้ในหนัง ซึ่งแนวเพลงดังกล่าวมักถูกนำเชื่อมโยงกับเรื่องเพศ สาเหตุมาจากการที่เอลวิส เพรสลีย์ได้พลิกเปลี่ยนวงการเพลงในยุคนั้นให้มาเป็นร็อกแอนด์โรลในปี 1956 (เอลวิชไม่ได้เป็นคนคิดค้น แต่หยิบร็อกแอนด์โรลมาจากคนดำ) บวกกับท่าเต้นแบบ pelvis dance ซึ่งเป็นท่าเต้นเทรคมาร์คของเจ้าตัว ด้วยจังหวะมันๆ สนุกๆ แต่แฝงไปด้วยเซ็กซี่ เร้าใจ เข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายและนั่นก็สร้างความคุกรุ่นให้กับผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ใน Grease ก็มีการเต้นเพลงร็อกแอนด์โรล ซึ่งสามารถเล่าได้ชัดเจนว่าทำไมมันช่างล่อแหลมยิ่งนัก รวมถึงมีการพาดพิงถึงเอลวิส เพรสลีย์ในเพลงที่ Rizzo ร้องด้วย
อย่างไรก็ตาม Grease ไม่ได้ชี้นำว่าอะไรที่ถูกหรือผิด อะไรที่ควรจะปฏิบัติในมุมมองเรื่องเพศ มันอยู่ที่มองจากมุมของใครมากกว่า และการที่ Sandy แต่งตัวเซ็กซี่ในท้ายเรื่องนั้นไม่ได้แปลว่าเธอจะเปลี่ยนตัวตนไปด้วย มันเป็นแค่การเริ่มต้นปลดปล่อยให้ตัวเองไม่อยู่ในกรอบเดิม และทำเพื่อความรักของเธอและแฟนหนุ่ม โดยรวม Grease ต้องการจะสื่อว่าหากต้องการจะรักษาความสัมพันธ์ก็ต้องปรับตัวเข้าหากันทั้งสองฝ่ายให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถ้าข้อมูลผิดตรงไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ บทความนี้ค่อนข้างยาว หนังเรื่องนี้สามารถหาซื้อหาดูได้ง่ายมากค่ะ ขอเพิ่มเติมส่วนของ Grease Live Action ที่ทำมาเมื่อปี 2016 เป็นการนำเสนอให้กับคนดูในรูปแบบสดใหม่กว่าเดิม มีความเป็นภาพยนตร์ผสมกับละครเวที ซึ่งทำออกมาได้น่าประทับใจมากๆ และได้ Didi Conn ผู้รับบท Frenchy กลับมาเล่นด้วยโดยในเวอร์ชันใหม่นี้เธอเล่นเป็น Vi คุณป้าพนักงานเสริฟ์อาหาร
____________________________________
หากสนใจในหนังเก่า คลาสสิกยุคจอเงิน หรือบทความเกี่ยวกับนักแสดง ผู้กำกับ
ฝากกดไลค์ติดตามเพจด้วยนะคะ มีอัพเดททุกสัปดาห์ :
https://www.facebook.com/classicreviwerth
หรืออ่านรีวิวหนัง :
https://classicreviewer.wordpress.com
รีวิวหนังเก่า : บทความนี้จะพูดว่าทำไม Grease (1978) ถึงขึ้นแท่นหนังเพลงคลาสสิกและมีอิทธิพลต่อคนดูจนถึงปัจจุบัน
____________________________________
เรื่องย่อ
Grease (1978) เริ่มต้นขึ้นเมื่อ Danny Zuko (John Travolta) และ Sandy Olsson (Olivia Newton-John) ได้มาพบรักกันระหว่างปิดเทอมฤดูร้อนและลาจากกันไปด้วยความอาลัยอาวอน เมื่อถึงวันเปิดเทอม Danny กลับมาพบ Sandy อีกครั้งโดยบังเอิญ ซึ่งเธอย้ายมาเรียนที่เดียวกับเขา Danny ทำตัวหมางเมินใส่ Sandy เพราะต้องรักษาภาพลักษณ์เท่ๆต่อหน้าเพื่อนในแก๊งค์ รวมไปถึงสาวๆ Pink Ladies เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ Danny พยายามขอคืนดี Sandy ลับหลังผองเพื่อน ซึ่งก็ต้องตามง้อตามเช็ดกันอีกยาว
***แก๊งค์ T-Birds และ Pink Ladies คือสองกลุ่มที่มีแฟชั่นการแต่งตัวโดดเด่นในโรงเรียน โดยฝ่ายแรกจะมาในเสื้อหนังสีดำ ทรงผมมันวาวแบบ Elvis Presley ชอบซิ่งรถและความท้าทาย ส่วนทางด้านฝ่ายแก๊งค์สาวๆจะมาในชุดสีสันฉูดฉาดและแจ็คเก็ตสีชมพู โดยทั้งสองกลุ่มคิดว่าตัวเองทั้งเท่ทั้งชิค ต่างฝ่ายต่างเหมาะสมที่จะจับคู่ออกเดตกัน***
____________________________________
หลังดูหนังเรื่องนี้จบ สิ่งที่สัมผัสได้คือเรารู้สึกสนุกไปกับหนัง เพลงเพราะร้องตาม ลัลล้าไปกับการเต้น แต่จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้พูดถึงการปฏิวัติทางเพศในอเมริการะหว่างช่วงปี 1960-80 ซึ่งเป็นการโชว์พลังของกลุ่มวัยใหม่ที่ต้องการฉีกขนบธรรมเนียมประเพณีจารีตของเดิมๆ และมูฟออนไปยังอนาคตข้างหน้า ธีมของ Grease น่าจะถูกจัดอยู่ในราวปี 1958-59 ซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายเข้าทศวรรษใหม่พอดี ในช่วงก่อน 60’s หัวข้อเรื่องเพศยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สังคมตั้งบรรทัดฐานว่าผู้หญิงควรวางตัวให้เรียบร้อย ซึ่งสิ่งนี้มันเป็นการกดทับความต้องการลึกๆของวัยรุ่นในช่วงอารมณ์พลุ่งพล่าน แต่วันหนึ่งเมื่อมียาคุมกำเนิดออกมาจำหน่ายทำให้โลกในทศวรรษใหม่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งใน Grease เราจะเห็นกลุ่มวัยรุ่นในหนังหมกมุ่นเรื่องเพศ อยากรู้อยากลอง รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาพร้อมแล้วกับการเข้าสู่อนาคตข้างหน้า ตัวอย่างเช่นเพลง Summer Night ที่ตัวละครเพื่อนๆถาม Danny และ Sandy เกี่ยวกับคู่เดตของแต่ละฝ่าย โดยมีเนื้อหาสองแง่สองง่าม และยังสะท้อนความคิดเรื่องเพศตรงข้ามอีกด้วย
ทุกตัวละครแสดงถึงความพร้อมที่จะเดินทางไปอนาคตข้างหน้า ไม่ใช่แค่เรื่องเพศอย่างเดียวแต่เป็นการปลดปล่อยให้ตัวเองเป็นอิสระทำตามใจอยาก ใช้ชีวิตวัยรุ่นอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นแก๊งค์ T-Birds, Pink Ladies ที่อยู่ในช่วงปีสุดท้ายก่อนจะก้าวไปยังอีกช่วงวัยของชีวิต, คุณครูที่คอยสอนคอยให้กำลังใจ ซึ่งหนังมันอยู่ในธีมการลองผิด/ลองถูกมาแทบตลอด อย่างเช่น Danny ที่พยายามจะเปลี่ยนตัวเองเพื่อรักษาความสัมพันธ์, โค้ช Calhoun ที่คอยเป็นที่พึ่งให้กับนักเรียน, Rizzo กับ Kennickie มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้วิธีคุมกำเนิดจนเกือบพลาดท้องและ Frenchy ที่ค้นหาเป้าหมายชีวิตจากการดรอปเรียนภาควิชาการเพื่อไปศึกษาฝั่งสายอาชีพ รวมไปถึงสีผมของเธอที่เปลี่ยนไปมาทั้งเรื่อง ตัวละครเหล่านี้ได้ทำอะไรตามใจอิสระถึงจะทำผิดพลาดแต่ก็เป็นเหมือนบทเรียนครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราอาจจะต้องเผชิญ’ความผิดพลาดเรื่องอื่นๆ’ในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตามในหนังจะมีแค่ตัวละครตัวเดียวที่ไม่เปลี่ยนเลยคือ Sandy ซึ่งติดแหงกอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมๆ Rizzo ได้เปรียบเปรยว่าเธอเหมือน Sandra Dee นักแสดงวัยรุ่นในยุค 50’s ที่โด่งและเป็นที่นิยม ด้วยภาพลักษณ์จากในหนังที่สง่างามดูดีทำให้ผู้ใหญ่อยากให้เด็กๆมองเจ้าหล่อนเป็นแบบอย่าง ซึ่งหลายคนก็ทำตามแต่ก็มีอีกหลายคนเหมือนกันที่มองว่ามันปลอมเพราะรู้ว่าภาพลักษณ์ดังกล่าวคือแผนการตลาดของสตูดิโอและการสร้างหนังวัยรุ่นก็มาจากมุมมองของผู้ใหญ่ รวมไปถึงชีวิตของเจ้าหล่อนก็ไม่ได้เป็นเหมือนในจอด้วยซ้ำ หรืออีกนัยคือ Rizzo จะสื่อว่า Sandy เธอน่ะปลอมเหมือน Sandra Dee ไอดอลของเธอ! อย่างไรก็ตามสุดท้ายแล้ว Sandy เลือกที่จะเปลี่ยนและเดินหน้าไปพร้อมกับเพื่อนๆ จากการร้องเพลง Goodbye to Sandra Dee และเปลี่ยนโฉมเป็นสาวสุดแซ่บส์ในงานโรงเรียนช่วงท้ายเรื่อง รวมถึงฉากจบที่ Sandy กับ Danny ขึ้นรถแล้วบินขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นเชิงสัญลักษณ์ของการพุ่งไปข้างหน้า
ทรงผม, เครื่องแต่งกาย, เพลงร็อกแอนด์โรล เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายการปฏิวัติทางเพศของวัยรุ่นในยุคนั้น ซึ่งสามสิ่งดังกล่าวปรากฏอยู่ใน Grease โดยเฉพาะเพลงร็อกแอนด์โรลที่ถูกหยิบมาใช้ในหนัง ซึ่งแนวเพลงดังกล่าวมักถูกนำเชื่อมโยงกับเรื่องเพศ สาเหตุมาจากการที่เอลวิส เพรสลีย์ได้พลิกเปลี่ยนวงการเพลงในยุคนั้นให้มาเป็นร็อกแอนด์โรลในปี 1956 (เอลวิชไม่ได้เป็นคนคิดค้น แต่หยิบร็อกแอนด์โรลมาจากคนดำ) บวกกับท่าเต้นแบบ pelvis dance ซึ่งเป็นท่าเต้นเทรคมาร์คของเจ้าตัว ด้วยจังหวะมันๆ สนุกๆ แต่แฝงไปด้วยเซ็กซี่ เร้าใจ เข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายและนั่นก็สร้างความคุกรุ่นให้กับผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ใน Grease ก็มีการเต้นเพลงร็อกแอนด์โรล ซึ่งสามารถเล่าได้ชัดเจนว่าทำไมมันช่างล่อแหลมยิ่งนัก รวมถึงมีการพาดพิงถึงเอลวิส เพรสลีย์ในเพลงที่ Rizzo ร้องด้วย
อย่างไรก็ตาม Grease ไม่ได้ชี้นำว่าอะไรที่ถูกหรือผิด อะไรที่ควรจะปฏิบัติในมุมมองเรื่องเพศ มันอยู่ที่มองจากมุมของใครมากกว่า และการที่ Sandy แต่งตัวเซ็กซี่ในท้ายเรื่องนั้นไม่ได้แปลว่าเธอจะเปลี่ยนตัวตนไปด้วย มันเป็นแค่การเริ่มต้นปลดปล่อยให้ตัวเองไม่อยู่ในกรอบเดิม และทำเพื่อความรักของเธอและแฟนหนุ่ม โดยรวม Grease ต้องการจะสื่อว่าหากต้องการจะรักษาความสัมพันธ์ก็ต้องปรับตัวเข้าหากันทั้งสองฝ่ายให้เกียรติซึ่งกันและกัน ถ้าข้อมูลผิดตรงไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ บทความนี้ค่อนข้างยาว หนังเรื่องนี้สามารถหาซื้อหาดูได้ง่ายมากค่ะ ขอเพิ่มเติมส่วนของ Grease Live Action ที่ทำมาเมื่อปี 2016 เป็นการนำเสนอให้กับคนดูในรูปแบบสดใหม่กว่าเดิม มีความเป็นภาพยนตร์ผสมกับละครเวที ซึ่งทำออกมาได้น่าประทับใจมากๆ และได้ Didi Conn ผู้รับบท Frenchy กลับมาเล่นด้วยโดยในเวอร์ชันใหม่นี้เธอเล่นเป็น Vi คุณป้าพนักงานเสริฟ์อาหาร
____________________________________
หากสนใจในหนังเก่า คลาสสิกยุคจอเงิน หรือบทความเกี่ยวกับนักแสดง ผู้กำกับ
ฝากกดไลค์ติดตามเพจด้วยนะคะ มีอัพเดททุกสัปดาห์ : https://www.facebook.com/classicreviwerth
หรืออ่านรีวิวหนัง : https://classicreviewer.wordpress.com