หลายคนคงได้รับชม Death on the Nile ของ Kenneth Branagh ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จึงถือโอกาสมารีวิวเวอร์ชั่นก่อนหน้าที่ออกฉายในปี 1978 ซึ่งเป็นภาคต่อของ Murder on The Orient Express (1974) ซึ่งมีการเปลี่ยนนักแสดงผู้รับบทปัวโรต์จาก Albert Finney เป็น Peter Ustinov นอกจากนี้ Death on the Nile (1978) ได้รวบรวมนักแสดงมากฝีมืออีกคับคั่ง อาทิ Bette Davis, Mia Farrow, David Niven, Maggie Smith, Angela Lansbury และ Lois Chiles เป็นต้น
____________________________________
เรื่องย่อ
Death on the Nile (1978) เล่าเรื่องราวระหว่างที่แอร์กูล ปัวโรต์ (Peter Ustinov) และผู้พันเอก Race (David Niven) สหายเก่ามาพักร้อนล่องแม่น้ำไนล์บนเรือสุดหรู โดยในค่ำคืนหนึ่ง Linnet Ridgeway (Lois Chiles) ทายาทสาวมหาเศรษฐีถูกฆาตกรรมปริศนา ปัวรัวต์และผู้พัน Race ได้ร่วมมือกันทำการสืบสวนและค้นพบว่าแขกทุกคนบนเรือล้วนมีแรงจูงใจในการสังหารทั้งสิ้น
____________________________________
ภาพยนตร์เวอร์ชั่นนี้ทำออกมาได้ใกล้เคียงกับนิยายของอกาธา คริสตี้ โดยมีจุดต่างเล็กน้อยตรงที่จำนวนตัวละครที่ปรากฏในจอมีน้อยกว่าในหนังสือ ซึ่งคาแรคเตอร์หรือการกระทำของเหล่าตัวละครที่ถูกตัดออกไปนั้นถูกจับนำมาแบ่งใส่ในตัวละครที่เหลือเพื่อทำหน้าที่ดำเนินเรื่องแทน ทั้งนี้เนื้อหาหลักยังถูกเก็บไว้คงเดิม ด้านสถานที่การถ่ายทำ ได้ยกกองกันไปไกลถึงอียิปต์ มีแลนด์มาร์คสำคัญ อาทิ พิรามิดแห่งกีซา, มหาวิหารคาร์นัค, และมหาวิหารอาบูซิมเบล และซีนที่เหลือถ่ายทำในประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งนี้เราชอบที่ได้เห็นสถานที่ดังกล่าวในแบบใกล้ชิดและเป็นส่วนตัวโดยไม่ได้มีคณะทัวร์มาลงพลุกพล่านเหมือนในปัจจุบัน และยังช่วยส่งเสริมให้ตัวหนังได้ฟีลของความลึกลับและอันตราย นอกจากนี้สเน่ห์ของหนังคงหนีไม่พ้นบรรยากาศการท่องเที่ยวผจญภัยไปพร้อมกับตัวละครที่อยู่ในสังคมชั้นสูงที่มาพร้อมกับความหรูหราแปลกตา
มีหลายคนบ่นว่าหนังมีเนื้อเรื่องยาว แต่สำหรับเราคือกำลังดีไม่ได้ยืดเยื้อแต่อย่างใด ครึ่งแรกของเรื่องใช้เวลาในการปูพื้นหลังบรรยากาศและที่มาที่ไปของตัวละครต่างๆ อย่างเรียบง่าย ซึ่งตรงนี้จะทำให้เราได้รู้จักและรับข้อมูลไปพร้อมๆกับปัวโรต์ทำให้สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการสืบคดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเมื่อหลังจากที่ตัวละครมารวมตัวในที่เดียวกันแล้ว พวกเขาก็ได้ใช้เวลาอย่างมีความสุขในการท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ โดยหารู้ไม่ว่าเพียงไม่อีกกี่วันข้างหน้าพวกเขาจะต้องเผชิญเหตุการณ์ระทึกขวัญรออยู่เมื่อได้ย่างก้าวขึ้นสู่เรือล่องแม่น้ำไนล์ ทางด้านเนื้อหา ทริคปมคดีก็มีความลึกลับซับซ้อนและรวมไปถึงตอนจบที่ทำให้เรารู้สึกว่าคดีนี้มันช่างโหดเหี้ยม ทรมานและน่าเศร้าเสียจริง
โดยรวมหนังทำออกมาได้ดีเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นวิธีการเล่าเรื่อง, การแสดง, องค์ประกอบศิลป์, และรวมไปถึงคอสตูมที่ภายหลังชนะออสการ์สาขาเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม แต่ทว่าหนังมักถูกนำไปเปรียบเทียบว่ายังสู้ Murder on the Orient Express ภาคก่อนหน้าไม่ได้ ในมุมมองของเราหนังรถไฟด่วนข้างต้นมีความเป็นงานศิลปะ มีชั้นเชิงในการเล่ามากกว่า Death on the Nile ที่ไม่ได้มีเนื้อเรื่องซับซ้อน ตัวละครน้อย ดูเข้าถึงง่ายกว่า ทั้งนี้รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงคาแรคเตอร์ตัวละครปัวโรต์ เพราะ Albert Finney ปฏิเสธกลับมารับบทนักสืบชาวเบลเยียมเพราะไม่อยากแต่งหน้าแปลงโฉมแบบหนักๆ ในสถานที่อากาศร้อน ดังนั้นทีมงานที่เห็นว่าไหนๆก็เปลี่ยนนักแสดงแล้วจึงน่าจะเปลี่ยนคาแรคเตอร์ไปด้วยเลย ดังนั้น Peter Ustinov ผู้ที่มารับช่วงต่อจึงแสดงไปในอีกทิศทางนึง โดยดูเป็นชายสูงวัยที่ดูเข้าถึงง่าย มีความสง่าน่านับถือ พูดจาแสบกวนๆ แต่ก็มีมุมที่อบอุ่นด้วย
สิ่งที่น่าสนใจอย่างสุดท้ายของตัวหนังคือ กองทัพนักแสดงคุณภาพมารวมตัวกันในที่เดียวอาทิ Bette Davis, David Niven, George Kennedy (หนังตระกูล Airport), Angela Lansbury, Maggie Smith, Mia Farrow, Simon MacCorkindale, Jane Birkin, Olivia Hussey (จูเลียต ใน Romeo and Juliet), Jon Finch (นักแสดงนำจาก Frenzy ของฮิตช์ค็อก), Jack Warden (ลูกขุนคนที่ 7 ใน 12 Angry Men) และ Lois Chiles (สาวบอนด์จาก Moonraker) นักแสดงมีอยู่เยอะก็จริง แต่ทุกคนเด่นเกือบพอๆกัน อย่างไรก็ตามต้องขอเอ่ยชม Angela Lanbury ผู้รับบทยัยป้านักเขียนขี้เมา เธอคือสีสันของเรื่อง เล่นเต็มร้อยขโมยซีนสุดๆ คนต่อมาคือ Maggie Smith ผู้รับบทคุณหนูตกอับกลายมาเป็นพยาบาลผู้ติดตามตัวละคร Bette Davis ที่เป็นเศรษฐีนีชราขี้ลักขโมย ซึ่งทั้งคู่ต้องเข้าฉากด้วยกันเกือบตลอดเรื่องและเล่นได้เข้าขากันดี ตัวละครของ Maggie ที่หยิ่งทรนงในเลือดผู้ดีมักปวดหัวในพฤติกรรมขี้ขโมยของเจ้านาย ทั้งสองมักพูดจาโต้ฝีปากกันได้อย่างแสบสัน โดย Maggie ไม่ยอมให้ Bette บดบังรัศมีแม้แต่น้อย ส่วนตัวคิดว่าทั้งสองนักแสดงมีรัศมีความเป็นเจ้าแม่ ดูดุดันและปากร้ายเหมือนกัน ดังนั้นทั้งสองจึงเป็นเหมือนมวยถูกคู่ ต่อมาคือ David Niven ในมาดผู้พัน Race มือขวาของปัวโรต์ที่เราดูจะชอบเขาเป็นพิเศษ นักแสดงชายมีความเป็นผู้ดีแบบอังกฤษจ๋าไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทาง กิริยาและการพูด ถึงแม้จะสูงวัยแล้วแต่ยังดูดีมีสเน่ห์สุดๆ ส่วนนักแสดงที่เหลือต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีทั้งสิ้น
Death on the Nile (2022) มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเนื้อหา แต่ยังคงเก็บโครงเรื่องหลักไว้ การปรับที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการสลับตัวละครวัตสันของปัวโรต์จะไม่ใช่ผู้พัน Race แต่เป็น Bouc ผู้อำนวยการรถไฟจากภาคที่แล้ว เป็นต้น สิ่งที่เราชอบจากภาคนี้คือตัวละคร Simon Doyle สามีของผู้ตายนั้นรับบทโดย Armie Hammer ดูเข้ากับบทมากๆ – มากกว่า Simon MacCorkindale ในเวอร์ชั่น 1978 อีก ถ้ามีโอกาสจะมารีวิวหนังเวอร์ชั่นใหม่ในภายภาคหน้านะคะ Death On the Nile มีจำหน่ายในร้านค้าออนไลน์ และมีบรรยายไทยรองรับค่ะ
____________________________________
หากสนใจในหนังเก่า คลาสสิกยุคจอเงิน หรือบทความเกี่ยวกับนักแสดง ผู้กำกับ
ฝากกดไลค์ติดตามเพจด้วยนะคะ มีอัพเดททุกสัปดาห์ :
https://www.facebook.com/classicreviwerth
หรืออ่านรีวิวหนัง :
https://classicreviewer.wordpress.com
รีวิวหนังเก่า : แอร์กูล ปัวโรต์ที่ต้องมาสืบคดีฆาตกรรมบนเรือที่ล่องอยู่บนแม่น้ำไนล์ Death on the Nile (1978)
____________________________________
เรื่องย่อ
Death on the Nile (1978) เล่าเรื่องราวระหว่างที่แอร์กูล ปัวโรต์ (Peter Ustinov) และผู้พันเอก Race (David Niven) สหายเก่ามาพักร้อนล่องแม่น้ำไนล์บนเรือสุดหรู โดยในค่ำคืนหนึ่ง Linnet Ridgeway (Lois Chiles) ทายาทสาวมหาเศรษฐีถูกฆาตกรรมปริศนา ปัวรัวต์และผู้พัน Race ได้ร่วมมือกันทำการสืบสวนและค้นพบว่าแขกทุกคนบนเรือล้วนมีแรงจูงใจในการสังหารทั้งสิ้น
____________________________________
ภาพยนตร์เวอร์ชั่นนี้ทำออกมาได้ใกล้เคียงกับนิยายของอกาธา คริสตี้ โดยมีจุดต่างเล็กน้อยตรงที่จำนวนตัวละครที่ปรากฏในจอมีน้อยกว่าในหนังสือ ซึ่งคาแรคเตอร์หรือการกระทำของเหล่าตัวละครที่ถูกตัดออกไปนั้นถูกจับนำมาแบ่งใส่ในตัวละครที่เหลือเพื่อทำหน้าที่ดำเนินเรื่องแทน ทั้งนี้เนื้อหาหลักยังถูกเก็บไว้คงเดิม ด้านสถานที่การถ่ายทำ ได้ยกกองกันไปไกลถึงอียิปต์ มีแลนด์มาร์คสำคัญ อาทิ พิรามิดแห่งกีซา, มหาวิหารคาร์นัค, และมหาวิหารอาบูซิมเบล และซีนที่เหลือถ่ายทำในประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งนี้เราชอบที่ได้เห็นสถานที่ดังกล่าวในแบบใกล้ชิดและเป็นส่วนตัวโดยไม่ได้มีคณะทัวร์มาลงพลุกพล่านเหมือนในปัจจุบัน และยังช่วยส่งเสริมให้ตัวหนังได้ฟีลของความลึกลับและอันตราย นอกจากนี้สเน่ห์ของหนังคงหนีไม่พ้นบรรยากาศการท่องเที่ยวผจญภัยไปพร้อมกับตัวละครที่อยู่ในสังคมชั้นสูงที่มาพร้อมกับความหรูหราแปลกตา
มีหลายคนบ่นว่าหนังมีเนื้อเรื่องยาว แต่สำหรับเราคือกำลังดีไม่ได้ยืดเยื้อแต่อย่างใด ครึ่งแรกของเรื่องใช้เวลาในการปูพื้นหลังบรรยากาศและที่มาที่ไปของตัวละครต่างๆ อย่างเรียบง่าย ซึ่งตรงนี้จะทำให้เราได้รู้จักและรับข้อมูลไปพร้อมๆกับปัวโรต์ทำให้สามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการสืบคดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเมื่อหลังจากที่ตัวละครมารวมตัวในที่เดียวกันแล้ว พวกเขาก็ได้ใช้เวลาอย่างมีความสุขในการท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ โดยหารู้ไม่ว่าเพียงไม่อีกกี่วันข้างหน้าพวกเขาจะต้องเผชิญเหตุการณ์ระทึกขวัญรออยู่เมื่อได้ย่างก้าวขึ้นสู่เรือล่องแม่น้ำไนล์ ทางด้านเนื้อหา ทริคปมคดีก็มีความลึกลับซับซ้อนและรวมไปถึงตอนจบที่ทำให้เรารู้สึกว่าคดีนี้มันช่างโหดเหี้ยม ทรมานและน่าเศร้าเสียจริง
โดยรวมหนังทำออกมาได้ดีเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นวิธีการเล่าเรื่อง, การแสดง, องค์ประกอบศิลป์, และรวมไปถึงคอสตูมที่ภายหลังชนะออสการ์สาขาเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม แต่ทว่าหนังมักถูกนำไปเปรียบเทียบว่ายังสู้ Murder on the Orient Express ภาคก่อนหน้าไม่ได้ ในมุมมองของเราหนังรถไฟด่วนข้างต้นมีความเป็นงานศิลปะ มีชั้นเชิงในการเล่ามากกว่า Death on the Nile ที่ไม่ได้มีเนื้อเรื่องซับซ้อน ตัวละครน้อย ดูเข้าถึงง่ายกว่า ทั้งนี้รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงคาแรคเตอร์ตัวละครปัวโรต์ เพราะ Albert Finney ปฏิเสธกลับมารับบทนักสืบชาวเบลเยียมเพราะไม่อยากแต่งหน้าแปลงโฉมแบบหนักๆ ในสถานที่อากาศร้อน ดังนั้นทีมงานที่เห็นว่าไหนๆก็เปลี่ยนนักแสดงแล้วจึงน่าจะเปลี่ยนคาแรคเตอร์ไปด้วยเลย ดังนั้น Peter Ustinov ผู้ที่มารับช่วงต่อจึงแสดงไปในอีกทิศทางนึง โดยดูเป็นชายสูงวัยที่ดูเข้าถึงง่าย มีความสง่าน่านับถือ พูดจาแสบกวนๆ แต่ก็มีมุมที่อบอุ่นด้วย
สิ่งที่น่าสนใจอย่างสุดท้ายของตัวหนังคือ กองทัพนักแสดงคุณภาพมารวมตัวกันในที่เดียวอาทิ Bette Davis, David Niven, George Kennedy (หนังตระกูล Airport), Angela Lansbury, Maggie Smith, Mia Farrow, Simon MacCorkindale, Jane Birkin, Olivia Hussey (จูเลียต ใน Romeo and Juliet), Jon Finch (นักแสดงนำจาก Frenzy ของฮิตช์ค็อก), Jack Warden (ลูกขุนคนที่ 7 ใน 12 Angry Men) และ Lois Chiles (สาวบอนด์จาก Moonraker) นักแสดงมีอยู่เยอะก็จริง แต่ทุกคนเด่นเกือบพอๆกัน อย่างไรก็ตามต้องขอเอ่ยชม Angela Lanbury ผู้รับบทยัยป้านักเขียนขี้เมา เธอคือสีสันของเรื่อง เล่นเต็มร้อยขโมยซีนสุดๆ คนต่อมาคือ Maggie Smith ผู้รับบทคุณหนูตกอับกลายมาเป็นพยาบาลผู้ติดตามตัวละคร Bette Davis ที่เป็นเศรษฐีนีชราขี้ลักขโมย ซึ่งทั้งคู่ต้องเข้าฉากด้วยกันเกือบตลอดเรื่องและเล่นได้เข้าขากันดี ตัวละครของ Maggie ที่หยิ่งทรนงในเลือดผู้ดีมักปวดหัวในพฤติกรรมขี้ขโมยของเจ้านาย ทั้งสองมักพูดจาโต้ฝีปากกันได้อย่างแสบสัน โดย Maggie ไม่ยอมให้ Bette บดบังรัศมีแม้แต่น้อย ส่วนตัวคิดว่าทั้งสองนักแสดงมีรัศมีความเป็นเจ้าแม่ ดูดุดันและปากร้ายเหมือนกัน ดังนั้นทั้งสองจึงเป็นเหมือนมวยถูกคู่ ต่อมาคือ David Niven ในมาดผู้พัน Race มือขวาของปัวโรต์ที่เราดูจะชอบเขาเป็นพิเศษ นักแสดงชายมีความเป็นผู้ดีแบบอังกฤษจ๋าไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทาง กิริยาและการพูด ถึงแม้จะสูงวัยแล้วแต่ยังดูดีมีสเน่ห์สุดๆ ส่วนนักแสดงที่เหลือต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีทั้งสิ้น
Death on the Nile (2022) มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเนื้อหา แต่ยังคงเก็บโครงเรื่องหลักไว้ การปรับที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการสลับตัวละครวัตสันของปัวโรต์จะไม่ใช่ผู้พัน Race แต่เป็น Bouc ผู้อำนวยการรถไฟจากภาคที่แล้ว เป็นต้น สิ่งที่เราชอบจากภาคนี้คือตัวละคร Simon Doyle สามีของผู้ตายนั้นรับบทโดย Armie Hammer ดูเข้ากับบทมากๆ – มากกว่า Simon MacCorkindale ในเวอร์ชั่น 1978 อีก ถ้ามีโอกาสจะมารีวิวหนังเวอร์ชั่นใหม่ในภายภาคหน้านะคะ Death On the Nile มีจำหน่ายในร้านค้าออนไลน์ และมีบรรยายไทยรองรับค่ะ
____________________________________
หากสนใจในหนังเก่า คลาสสิกยุคจอเงิน หรือบทความเกี่ยวกับนักแสดง ผู้กำกับ
ฝากกดไลค์ติดตามเพจด้วยนะคะ มีอัพเดททุกสัปดาห์ : https://www.facebook.com/classicreviwerth
หรืออ่านรีวิวหนัง : https://classicreviewer.wordpress.com