ฟองสบู่ ภัยพิบัติ โตเกียว และปาร์กัวร์ (Parkour) สิ่งเหล่านี้ที่ดูเผินๆ แล้วเหมือนจะอยู่คนละทิศละทางกัน แต่กลับเป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องล่าสุดจาก WIT Studio (เจ้าของผลงานอนิเมะเลื่องชื่ออย่าง Attack on Titan Season 1-3, Kabaneri of the Iron Fortress และ Vivy: Fluorite Eye's Song) ซึ่งได้รับเลือกให้เข้าฉายในงาน The 72nd Berlin International Film Festival เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจากตัวอย่างที่ปล่อยออกมา ก็ดึงดูดเราด้วยความงดงามของภาพจนไม่อาจละสายตาได้และพร้อมตั้งหน้าตั้งตารอชมภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้อย่างใจจดใจจ่อแล้วตั้งแต่ภาพยนตร์ยังไม่ลงสตรีมมิ่ง
โดยงานนี้สตูดิโอได้รวบรวมเหล่ายอดฝีมือที่ผ่านผลงานโด่งดังมาแล้วทั้งสิ้น เริ่มจาก อารากิ เท็ตสึโระ ผู้กำกับจาก Attack on Titan Season 1-3 รับหน้าที่กุมบังเหียนในครั้งนี้ พ่วงด้วย อุโรบุจิ เก็น จาก Puella Magi Madoka Magica (2011) มารับหน้าที่เขียนบท และได้ โอบาตะ ทาเคชิ เจ้าของผลงานมังงะระดับตำนานอย่าง Death Note (2003) มารับหน้าที่ออกแบบตัวละครในเรื่อง ทางด้านดนตรีประกอบก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็น ซาวาโนะ ฮิโรยูกิ ที่ผลงานของเขาล้วนแล้วแต่อยู่ในระดับยอดเยี่ยมเสมอ
เรื่องราวของ Bubble เริ่มต้นขึ้นเมื่อจู่ๆ มีฟองสบู่ปริศนาตกลงมายังโตเกียวและส่งผลให้สภาพของแรงโน้มถ่วงในเมืองเปลี่ยนไปจากเดิม จนส่งผลให้ต้องอพยพผู้คนออกจากเมือง และเมื่อเวลาผ่านไปกลับมีพวกเด็กกำพร้าและวัยรุ่น เข้ามาใช้เมืองร้างแห่งนี้เป็นที่แข่งขันปาร์กัวร์ ฮิบิกิ หนึ่งในสมาชิกของทีมบลูเบลซที่เก่งกาจ ด้วยพรสวรรค์ในการเล่นปาร์กัวร์ของเขา วันหนึ่งเขาได้เข้าไปยังพื้นที่ที่เป็นจุดกำเนิดของแรงระเบิดเมื่อ 5 ปีก่อน เพื่อตามหาคำตอบบางอย่างเกี่ยวกับตัวเขาและฟองสบู่ แต่ก็เกิดพลัดตกลงไปในสนามโน้มถ่วง และได้รับการช่วยชีวิตจาก เด็กสาวลึกลับที่ชื่อว่า อุตะ ที่กุมความลับบางอย่างของเหตุการณ์ฟองสบู่ที่เกิดขึ้น ฮิบิกิจึงต้องหาความจริงของเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องฟองสบู่และเรื่องของอุตะ ที่มีความสัมพันธ์บางอย่างที่ลึกซึ้งต่อเขาด้วยเช่นกัน
ต้องยอมรับว่างานรุ่นพี่อย่าง Your Name หรือกระทั่ง Weathering with You นั้นส่งผลต่อความคาดหวังต่อภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ถูกผลิตออกมาหลังจากทั้งสองเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรื่องนั้นมีเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับความรัก โชคชะตา หรือสายสัมพันธ์ของตัวละคร และงานภาพที่พร้อมจะดึงดูดผู้ชมได้เสมอ ซึ่งทั้งสองเป็นองค์ประกอบที่งานรุ่นพี่ทั้งสองทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนสามารถเข้าไปอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน เรียกว่า ผู้ชมจะมีผลงานทั้งสองเรื่องของผู้กำกับ ชินไค มาโคโตะ เป็นตัวเปรียบเทียบไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
.
ซึ่งกับ Bubble นั้น มาพร้อมกับคุณภาพด้านงานภาพที่สูงมาก (อาจจะเหนือกว่างานของชินไค มาโคโตะด้วยซ้ำ) กับการฉายให้เห็นฉากหลังอย่างสภาพของกรุงโตเกียวที่ผิดแปลกไปจากปกติอย่างสิ้นเชิง ทั้งตึกรามบ้านช่องที่ถูกน้ำท่วม ฟองสบู่และซากปรักหักพังที่ลอยไปมาอย่างสะเปะสะปะ อันเนื่องมาจากผลของแรงโน้มถ่วงที่ผิดเพี้ยนไป การให้แสงเงาที่ดูสดใสมีชีวิตชีวาคล้ายกับอยู่ในโลกของความฝัน ซึ่งเหล่าองค์ประกอบนี้ ชินไค มาโคโตะ เคยใช้ได้ผลมาแล้วนักต่อนัก ในการดึงดูดผู้ชมด้วยความงดงามของฉากหลัง และ Bubble ก็ต้องเรียกว่าสอบผ่านฉลุย โดยไม่ต้องสงสัยเลย
และที่ดูเหมือนจะเหนือชั้นขึ้นไปอีก คือ เรื่องของการเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น จะรู้สึกได้เลยว่าทีมงานทำงานกันหนักมากในการสร้างการเคลื่อนไหวของตัวละครและมุมกล้อง ยิ่งในช่วงของการแข่งปาร์กัวร์ มีทั้งการกระโดดไปยังจุดต่างๆ การหมุนตัวตีลังกาเล่นท่า ทุกการเคลื่อนไหวมาพร้อมกับมุมกล้องที่ทำงานอย่างบ้าคลั่ง ทั้งหมุนรอบตัวไปมาอย่างอิสระ พุ่งเข้าและออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งดูๆแล้ว คงเป็นความตั้งใจหลักของทีมงานที่อยากจะขายฉากยากๆ เหล่านี้ ไปพร้อมกับงานภาพที่ยอดเยี่ยม เพื่อมัดใจผู้ชมให้อยู่หมัด
หนำซ้ำการออกแบบตัวละครก็มีคุณภาพไม่แพ้กัน โดยที่น่าสังเกต คือ มีการเพิ่มรายละเอียดของใบหน้า ดวงตา และริมฝีปาก ของตัวละคร เมื่อเป็นภาพระยะใกล้ (Close-up) ซึ่งจะเห็นได้บ่อยในงานของสตูดิโอนี้ และแม้จะถอยออกมาเป็นภาพระยะกลางหรือระยะไกล ก็ยังไม่ทิ้งรายละเอียดของใบหน้ามากนัก นับว่าเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างให้งานอนิเมชั่นหลายๆ เรื่องเลยตรงจุดนี้ (หรือที่ชอบดูกันว่า งานเผาหรือไม่เผา ก็จะสังเกตตรงจุดนี้กันบ่อย)
(ใบหน้าตัวละครระยะ Close-up)
แต่ถึงแม้งานด้านภาพจะวิเศษเพียงใดก็ตาม ก็ไม่สามารถกลบบาดแผลในส่วนของเนื้อเรื่องที่ดูจะสวนทางกับคุณภาพของงานภาพอย่างสุดซอย แม้จะเปิดเรื่องมาได้น่าสนใจ แต่ตัวเนื้อเรื่องก็ไม่ได้อธิบายอะไรให้เราเข้าใจมากนักถึงสภาพที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องต้นกำเนิดของฟองสบู่ มาจากไหนและมีจุดประสงค์อะไร การแข่งขันปาร์กัวร์ที่ดูไม่ออกว่ามีความสำคัญต่อตัวละครในเรื่องมากน้อยแค่ไหน หรือกระทั่งว่าโลกภายนอกเป็นอย่างไร ทำไมพวกเด็กๆ ต้องมาอาศัยอยู่ในเมืองฟองสบู่นี้ ทุกอย่างดูเหมือนจะไม่มีการให้รายละเอียดที่ดีพอให้ผู้ชมได้เข้าใจสภาวะของโลกในภาพยนตร์ เป็นผลให้ขาดความน่าติดตามตั้งแต่ช่วงกลางๆ เรื่องเลยด้วยซ้ำ
.
ที่เลวร้ายกว่านั้นและน่าจะเป็นความล้มเหลวที่ไม่น่าให้อภัยได้ คือ เรื่องของการนำเสนอตัวละคร ทั้งตัวละครหลักและรองของเรื่อง ที่ล้วนแล้วขาดเสน่ห์และภูมิหลังที่น่าสนใจ เริ่มจากตัวละครหลักอย่าง ฮิบิกิ (ให้เสียงโดย Shison Jun) มีนิสัยเงียบๆ ชอบอยู่คนเดียว ขวางโลก ไม่ชอบร่วมทีมกับคนอื่น (ซึ่งนิสัยแบบนี้ในชีวิตจริงน่าจะไม่มีเพื่อนไปแล้ว แต่ด้วยความเก่งกาจของเขา ทำให้เขายังมีทีมประจำที่ไปลงแข่งด้วยกันอยู่)
ซึ่งฮิบิกิเริ่มมีมิติมากขึ้น(เล็กน้อย) เมื่อพบกับ อุตะ (ให้เสียงโดย Riria) สาวน้อยที่ต้องชะตากับเขาตั้งแต่แรกเห็นและเข้ามาร่วมทีมด้วยในเวลาต่อมา ซึ่งไม่ต้องคิดให้นานก็รู้ได้ทันทีว่า เรื่องราวของสองคนนี้มีที่มาจากนิทาน "เจ้าหญิงเงือกน้อย" (The Little Mermaid) แบบแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย และอีกอย่างก็เป็นเรื่องของอดีตของเขาที่ตัวเรื่องทำทีเป็นเหมือนความลับสุดยอดที่มีความสำคัญมากต่อเรื่องอย่างแน่นอน แต่พอเฉลยมากลับดูไม่ค่อยเซอร์ไพร์สหรือเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในเรื่องเลย อีกทั้งความสามารถพิเศษของเขาก็ไม่มีการบอกที่มาที่ไปแต่อย่างใดด้วย
ด้วยความที่ใช้นิทาน "เจ้าหญิงเงือกน้อย" เป็นตัวตั้งต้น ก็ไม่ต้องแปลกใจถ้าคาแรคเตอร์ของ อุตะ จะถอดแบบมาจากเจ้าหญิงเงือกอีกเช่นกัน ทั้งการพบรักตั้งแต่แรกเห็น เงื่อนไขในการเป็นมนุษย์ที่ต้องแลกกับอะไรบางอย่าง และมีเสียงที่ไพเราะ(แต่บางทีก็รู้สึกแปลกๆ กับเสียงฮัมทำนองประหลาดๆ ที่ใช้บ่อยในเรื่อง) แต่กลับไม่สามารถพูดได้มากนัก(มาเรียนการพูดอีกทีจากตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง)
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เมื่อตัวละครหลักทั้งสองไม่สามารถสร้างเสน่ห์ หรือความอยากเอาใจช่วยให้กับผู้ชมได้เท่าที่ควร (ตัวละครหนึ่งดูไม่น่าคบ อีกคนก็ดูประหลาด) นั่นทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นตอนท้ายเรื่องไม่สามารถเรียกอารมณ์จากผู้ชมได้เลย (เรียกว่าไม่อินก็ได้) ซึ่งจะว่าไปตัวหนังเองก็พยายามปลุกปั้นสองตัวละครนี้อย่างเต็มที่ แต่อย่างที่บอกไปว่า คาแรคเตอร์ตั้งต้นนั้นมีปัญหาจริงๆ จะดูยังไงก็ไม่สัมผัสถึงความเข้ากันได้ของสองตัวละครนี้ นั่นยิ่งไม่ต้องพูดถึงตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง ที่เหมือนใส่มาให้ตัวละครหลักไม่เหงาเท่านั้นเอง ทั้งพวกเพื่อนๆ ในทีม หรือกระทั่งทีมคู่แข่ง(ที่ไม่รู้จะมีไปเพื่ออะไร)
สรุป Bubble เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นที่มีงานภาพและอนิเมชั่นที่โดดเด่น สามารถดึงดูดผู้ชมได้ตั้งแต่แรกเห็น แต่มาตกม้าตายตรงเนื้อเรื่องที่ล้มเหลวอย่างหนัก รวมถึงสองตัวละครหลักที่ดูไม่เข้ากันอย่างแรง ทำให้เนื้อเรื่องไม่มีพลังมากพอที่จะเข้าไปสะเทือนอารมณ์ของผู้ชมได้อย่างที่ตั้งใจไว้
ฝากเพจด้วยนะครับ
Story Decoder
[รีวิวหนัง] Bubble: เจ้าหญิงเงือกน้อยในเวอร์ชั่นแปลกใหม่แต่ดันตกม้าตายอย่างไม่น่าให้อภัย
โดยงานนี้สตูดิโอได้รวบรวมเหล่ายอดฝีมือที่ผ่านผลงานโด่งดังมาแล้วทั้งสิ้น เริ่มจาก อารากิ เท็ตสึโระ ผู้กำกับจาก Attack on Titan Season 1-3 รับหน้าที่กุมบังเหียนในครั้งนี้ พ่วงด้วย อุโรบุจิ เก็น จาก Puella Magi Madoka Magica (2011) มารับหน้าที่เขียนบท และได้ โอบาตะ ทาเคชิ เจ้าของผลงานมังงะระดับตำนานอย่าง Death Note (2003) มารับหน้าที่ออกแบบตัวละครในเรื่อง ทางด้านดนตรีประกอบก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็น ซาวาโนะ ฮิโรยูกิ ที่ผลงานของเขาล้วนแล้วแต่อยู่ในระดับยอดเยี่ยมเสมอ
เรื่องราวของ Bubble เริ่มต้นขึ้นเมื่อจู่ๆ มีฟองสบู่ปริศนาตกลงมายังโตเกียวและส่งผลให้สภาพของแรงโน้มถ่วงในเมืองเปลี่ยนไปจากเดิม จนส่งผลให้ต้องอพยพผู้คนออกจากเมือง และเมื่อเวลาผ่านไปกลับมีพวกเด็กกำพร้าและวัยรุ่น เข้ามาใช้เมืองร้างแห่งนี้เป็นที่แข่งขันปาร์กัวร์ ฮิบิกิ หนึ่งในสมาชิกของทีมบลูเบลซที่เก่งกาจ ด้วยพรสวรรค์ในการเล่นปาร์กัวร์ของเขา วันหนึ่งเขาได้เข้าไปยังพื้นที่ที่เป็นจุดกำเนิดของแรงระเบิดเมื่อ 5 ปีก่อน เพื่อตามหาคำตอบบางอย่างเกี่ยวกับตัวเขาและฟองสบู่ แต่ก็เกิดพลัดตกลงไปในสนามโน้มถ่วง และได้รับการช่วยชีวิตจาก เด็กสาวลึกลับที่ชื่อว่า อุตะ ที่กุมความลับบางอย่างของเหตุการณ์ฟองสบู่ที่เกิดขึ้น ฮิบิกิจึงต้องหาความจริงของเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องฟองสบู่และเรื่องของอุตะ ที่มีความสัมพันธ์บางอย่างที่ลึกซึ้งต่อเขาด้วยเช่นกัน
ต้องยอมรับว่างานรุ่นพี่อย่าง Your Name หรือกระทั่ง Weathering with You นั้นส่งผลต่อความคาดหวังต่อภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ถูกผลิตออกมาหลังจากทั้งสองเรื่องนี้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรื่องนั้นมีเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับความรัก โชคชะตา หรือสายสัมพันธ์ของตัวละคร และงานภาพที่พร้อมจะดึงดูดผู้ชมได้เสมอ ซึ่งทั้งสองเป็นองค์ประกอบที่งานรุ่นพี่ทั้งสองทำได้อย่างยอดเยี่ยม จนสามารถเข้าไปอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน เรียกว่า ผู้ชมจะมีผลงานทั้งสองเรื่องของผู้กำกับ ชินไค มาโคโตะ เป็นตัวเปรียบเทียบไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
.
ซึ่งกับ Bubble นั้น มาพร้อมกับคุณภาพด้านงานภาพที่สูงมาก (อาจจะเหนือกว่างานของชินไค มาโคโตะด้วยซ้ำ) กับการฉายให้เห็นฉากหลังอย่างสภาพของกรุงโตเกียวที่ผิดแปลกไปจากปกติอย่างสิ้นเชิง ทั้งตึกรามบ้านช่องที่ถูกน้ำท่วม ฟองสบู่และซากปรักหักพังที่ลอยไปมาอย่างสะเปะสะปะ อันเนื่องมาจากผลของแรงโน้มถ่วงที่ผิดเพี้ยนไป การให้แสงเงาที่ดูสดใสมีชีวิตชีวาคล้ายกับอยู่ในโลกของความฝัน ซึ่งเหล่าองค์ประกอบนี้ ชินไค มาโคโตะ เคยใช้ได้ผลมาแล้วนักต่อนัก ในการดึงดูดผู้ชมด้วยความงดงามของฉากหลัง และ Bubble ก็ต้องเรียกว่าสอบผ่านฉลุย โดยไม่ต้องสงสัยเลย
และที่ดูเหมือนจะเหนือชั้นขึ้นไปอีก คือ เรื่องของการเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น จะรู้สึกได้เลยว่าทีมงานทำงานกันหนักมากในการสร้างการเคลื่อนไหวของตัวละครและมุมกล้อง ยิ่งในช่วงของการแข่งปาร์กัวร์ มีทั้งการกระโดดไปยังจุดต่างๆ การหมุนตัวตีลังกาเล่นท่า ทุกการเคลื่อนไหวมาพร้อมกับมุมกล้องที่ทำงานอย่างบ้าคลั่ง ทั้งหมุนรอบตัวไปมาอย่างอิสระ พุ่งเข้าและออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งดูๆแล้ว คงเป็นความตั้งใจหลักของทีมงานที่อยากจะขายฉากยากๆ เหล่านี้ ไปพร้อมกับงานภาพที่ยอดเยี่ยม เพื่อมัดใจผู้ชมให้อยู่หมัด
หนำซ้ำการออกแบบตัวละครก็มีคุณภาพไม่แพ้กัน โดยที่น่าสังเกต คือ มีการเพิ่มรายละเอียดของใบหน้า ดวงตา และริมฝีปาก ของตัวละคร เมื่อเป็นภาพระยะใกล้ (Close-up) ซึ่งจะเห็นได้บ่อยในงานของสตูดิโอนี้ และแม้จะถอยออกมาเป็นภาพระยะกลางหรือระยะไกล ก็ยังไม่ทิ้งรายละเอียดของใบหน้ามากนัก นับว่าเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างให้งานอนิเมชั่นหลายๆ เรื่องเลยตรงจุดนี้ (หรือที่ชอบดูกันว่า งานเผาหรือไม่เผา ก็จะสังเกตตรงจุดนี้กันบ่อย)
(ใบหน้าตัวละครระยะ Close-up)
แต่ถึงแม้งานด้านภาพจะวิเศษเพียงใดก็ตาม ก็ไม่สามารถกลบบาดแผลในส่วนของเนื้อเรื่องที่ดูจะสวนทางกับคุณภาพของงานภาพอย่างสุดซอย แม้จะเปิดเรื่องมาได้น่าสนใจ แต่ตัวเนื้อเรื่องก็ไม่ได้อธิบายอะไรให้เราเข้าใจมากนักถึงสภาพที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องต้นกำเนิดของฟองสบู่ มาจากไหนและมีจุดประสงค์อะไร การแข่งขันปาร์กัวร์ที่ดูไม่ออกว่ามีความสำคัญต่อตัวละครในเรื่องมากน้อยแค่ไหน หรือกระทั่งว่าโลกภายนอกเป็นอย่างไร ทำไมพวกเด็กๆ ต้องมาอาศัยอยู่ในเมืองฟองสบู่นี้ ทุกอย่างดูเหมือนจะไม่มีการให้รายละเอียดที่ดีพอให้ผู้ชมได้เข้าใจสภาวะของโลกในภาพยนตร์ เป็นผลให้ขาดความน่าติดตามตั้งแต่ช่วงกลางๆ เรื่องเลยด้วยซ้ำ
.
ที่เลวร้ายกว่านั้นและน่าจะเป็นความล้มเหลวที่ไม่น่าให้อภัยได้ คือ เรื่องของการนำเสนอตัวละคร ทั้งตัวละครหลักและรองของเรื่อง ที่ล้วนแล้วขาดเสน่ห์และภูมิหลังที่น่าสนใจ เริ่มจากตัวละครหลักอย่าง ฮิบิกิ (ให้เสียงโดย Shison Jun) มีนิสัยเงียบๆ ชอบอยู่คนเดียว ขวางโลก ไม่ชอบร่วมทีมกับคนอื่น (ซึ่งนิสัยแบบนี้ในชีวิตจริงน่าจะไม่มีเพื่อนไปแล้ว แต่ด้วยความเก่งกาจของเขา ทำให้เขายังมีทีมประจำที่ไปลงแข่งด้วยกันอยู่)
ซึ่งฮิบิกิเริ่มมีมิติมากขึ้น(เล็กน้อย) เมื่อพบกับ อุตะ (ให้เสียงโดย Riria) สาวน้อยที่ต้องชะตากับเขาตั้งแต่แรกเห็นและเข้ามาร่วมทีมด้วยในเวลาต่อมา ซึ่งไม่ต้องคิดให้นานก็รู้ได้ทันทีว่า เรื่องราวของสองคนนี้มีที่มาจากนิทาน "เจ้าหญิงเงือกน้อย" (The Little Mermaid) แบบแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย และอีกอย่างก็เป็นเรื่องของอดีตของเขาที่ตัวเรื่องทำทีเป็นเหมือนความลับสุดยอดที่มีความสำคัญมากต่อเรื่องอย่างแน่นอน แต่พอเฉลยมากลับดูไม่ค่อยเซอร์ไพร์สหรือเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในเรื่องเลย อีกทั้งความสามารถพิเศษของเขาก็ไม่มีการบอกที่มาที่ไปแต่อย่างใดด้วย
ด้วยความที่ใช้นิทาน "เจ้าหญิงเงือกน้อย" เป็นตัวตั้งต้น ก็ไม่ต้องแปลกใจถ้าคาแรคเตอร์ของ อุตะ จะถอดแบบมาจากเจ้าหญิงเงือกอีกเช่นกัน ทั้งการพบรักตั้งแต่แรกเห็น เงื่อนไขในการเป็นมนุษย์ที่ต้องแลกกับอะไรบางอย่าง และมีเสียงที่ไพเราะ(แต่บางทีก็รู้สึกแปลกๆ กับเสียงฮัมทำนองประหลาดๆ ที่ใช้บ่อยในเรื่อง) แต่กลับไม่สามารถพูดได้มากนัก(มาเรียนการพูดอีกทีจากตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง)
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เมื่อตัวละครหลักทั้งสองไม่สามารถสร้างเสน่ห์ หรือความอยากเอาใจช่วยให้กับผู้ชมได้เท่าที่ควร (ตัวละครหนึ่งดูไม่น่าคบ อีกคนก็ดูประหลาด) นั่นทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นตอนท้ายเรื่องไม่สามารถเรียกอารมณ์จากผู้ชมได้เลย (เรียกว่าไม่อินก็ได้) ซึ่งจะว่าไปตัวหนังเองก็พยายามปลุกปั้นสองตัวละครนี้อย่างเต็มที่ แต่อย่างที่บอกไปว่า คาแรคเตอร์ตั้งต้นนั้นมีปัญหาจริงๆ จะดูยังไงก็ไม่สัมผัสถึงความเข้ากันได้ของสองตัวละครนี้ นั่นยิ่งไม่ต้องพูดถึงตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง ที่เหมือนใส่มาให้ตัวละครหลักไม่เหงาเท่านั้นเอง ทั้งพวกเพื่อนๆ ในทีม หรือกระทั่งทีมคู่แข่ง(ที่ไม่รู้จะมีไปเพื่ออะไร)
สรุป Bubble เป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นที่มีงานภาพและอนิเมชั่นที่โดดเด่น สามารถดึงดูดผู้ชมได้ตั้งแต่แรกเห็น แต่มาตกม้าตายตรงเนื้อเรื่องที่ล้มเหลวอย่างหนัก รวมถึงสองตัวละครหลักที่ดูไม่เข้ากันอย่างแรง ทำให้เนื้อเรื่องไม่มีพลังมากพอที่จะเข้าไปสะเทือนอารมณ์ของผู้ชมได้อย่างที่ตั้งใจไว้
ฝากเพจด้วยนะครับ Story Decoder