คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
กรณีข้าราชกากทม.สิทธิ์รักษาพยาบาลเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ (ตัวเอง+คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส+บุตร3คน+มารดา+บิดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาหรือบิดาที่ศาลสั่งให้เป็นบิดาโดยชอบโดยกฎหมายหรือบิดาที่เคยจดทะเบียนสมรสกับมารดาแต่ภายหลังได้จดทะเบียนหย่า)
แต่จะมีเงื่อนพิเศษบางกรณี เช่น
- คนที่อาศัยสิทธิ์รักษาพยาบาลของเรา (เช่นพ่อ แม่ คู่สมรส บุตร) ถ้ามีสิทธิ์รักษาพยาบาลอื่นนอกเหนือจากสิทธิ์บัตรทอง ให้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลตัวเองก่อน เช่นคู่สมรสมีสิทธิ์รักษาพยาบาลประกันสังคม ก็ให้รักษาด้วยสิทธิ์ประกันสังคมก่อน
- กรณีพึ่งออกจากงานที่สิทธิ์รักษาพยาบาลประกันสังคมและได้บรรจุเป็นข้าราชการ สิทธิ์รักษาพยาบาลของประกันสังคมจะยังมีอยู่อีก 6 เดือน ซึ่งในช่วง6เดือนนี้เจ้าตัวยังไม่สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลข้าราชการแบบเบิกจ่ายตรงได้เนื่องจากระบบได้ถูกกำหนดให้ต้องใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลประกันสังคมก่อน (แต่ผู้อาศัยสิทธิ์เช่นบิดา มารดา คู่สมรส บุตร สามารถรักษาพยาบาลแบบเบิกจ่ายตรงได้เลย) หากเจ้าตัวจะอาศัยสิทธิ์รักษาพยาบาลของข้าราชการ ในช่วง6เดือน ต้องสำรองเงินจ่ายค่ารักษาไปก่อนแล้วนำใบเสร็จมาตั้งเบิกกับหน่วยงานต้นสังกัด เมื่อพ้นระยะเวลา6เดือนแล้วสิทธิ์รักษาพยาบาลแบบเบิกจ่ายตรงข้าราชการจะสามารถใช้ได้ (กรณียังใช้ไม่ได้ให้โทรไปแจ้งสำนักงานประกันสังคมเพื่อถอดชื่อออกจากระบบประกันสังคม)
- กรณียื่นเรื่องเอกสารเบิกจ่ายตรงครั้งแรก สิทธิ์จะสามารถใช้ได้ วันที่1 หรือวันที่ 15 เป็นต้นไป นับตั้งแต่เจ้าหน้าที่ลงข้อมูลในระบบเบิกจ่ายตรง เช่น นายก. บรรจุเป็นข้าราชการครู 3 พ.ค.65 ต่อมาในวันที่ 12 พ.ค.65 ครูก.ได้ยื่นเอกสารเบิกจ่ายตรงที่ต้นสังกัด โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงข้อมูลในระบบเสร็จสิ้นในวันที่ 18 พ.ค.65 ส่งผลให้ครูก.สามารถใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรงได้ในวันที่ 1 มิ.ย.65
ปล.รายละเอียดเชิงลึกให้สอบถามเจ้าหน้าที่ระบบเบิกจ่ายตรง ของต้นสังกัด ถ้าเป็นครูสังกัดกทม. ก็ประสานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา (นักทรัพยากรบุคคล หรือเจ้าพนักงานธุรการ) ของสำนักงานเขตที่ร.ร.สังกัด
แต่จะมีเงื่อนพิเศษบางกรณี เช่น
- คนที่อาศัยสิทธิ์รักษาพยาบาลของเรา (เช่นพ่อ แม่ คู่สมรส บุตร) ถ้ามีสิทธิ์รักษาพยาบาลอื่นนอกเหนือจากสิทธิ์บัตรทอง ให้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลตัวเองก่อน เช่นคู่สมรสมีสิทธิ์รักษาพยาบาลประกันสังคม ก็ให้รักษาด้วยสิทธิ์ประกันสังคมก่อน
- กรณีพึ่งออกจากงานที่สิทธิ์รักษาพยาบาลประกันสังคมและได้บรรจุเป็นข้าราชการ สิทธิ์รักษาพยาบาลของประกันสังคมจะยังมีอยู่อีก 6 เดือน ซึ่งในช่วง6เดือนนี้เจ้าตัวยังไม่สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลข้าราชการแบบเบิกจ่ายตรงได้เนื่องจากระบบได้ถูกกำหนดให้ต้องใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลประกันสังคมก่อน (แต่ผู้อาศัยสิทธิ์เช่นบิดา มารดา คู่สมรส บุตร สามารถรักษาพยาบาลแบบเบิกจ่ายตรงได้เลย) หากเจ้าตัวจะอาศัยสิทธิ์รักษาพยาบาลของข้าราชการ ในช่วง6เดือน ต้องสำรองเงินจ่ายค่ารักษาไปก่อนแล้วนำใบเสร็จมาตั้งเบิกกับหน่วยงานต้นสังกัด เมื่อพ้นระยะเวลา6เดือนแล้วสิทธิ์รักษาพยาบาลแบบเบิกจ่ายตรงข้าราชการจะสามารถใช้ได้ (กรณียังใช้ไม่ได้ให้โทรไปแจ้งสำนักงานประกันสังคมเพื่อถอดชื่อออกจากระบบประกันสังคม)
- กรณียื่นเรื่องเอกสารเบิกจ่ายตรงครั้งแรก สิทธิ์จะสามารถใช้ได้ วันที่1 หรือวันที่ 15 เป็นต้นไป นับตั้งแต่เจ้าหน้าที่ลงข้อมูลในระบบเบิกจ่ายตรง เช่น นายก. บรรจุเป็นข้าราชการครู 3 พ.ค.65 ต่อมาในวันที่ 12 พ.ค.65 ครูก.ได้ยื่นเอกสารเบิกจ่ายตรงที่ต้นสังกัด โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงข้อมูลในระบบเสร็จสิ้นในวันที่ 18 พ.ค.65 ส่งผลให้ครูก.สามารถใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรงได้ในวันที่ 1 มิ.ย.65
ปล.รายละเอียดเชิงลึกให้สอบถามเจ้าหน้าที่ระบบเบิกจ่ายตรง ของต้นสังกัด ถ้าเป็นครูสังกัดกทม. ก็ประสานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษา (นักทรัพยากรบุคคล หรือเจ้าพนักงานธุรการ) ของสำนักงานเขตที่ร.ร.สังกัด
แสดงความคิดเห็น
เพิ่งบรรจุข้าราชการของสังกัด กทม. สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้เลยไหม