มิตรรักแฟนเพลงของคาสิโอ G-Shock คงคุ้นเคยกับคำว่า "Tough Solar" กันดีอยู่แล้ว วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันให้มากขึ้น มันคืออะไร มันดียังไง ทำมัยต้อง "กินแสง" ตามผมมาครับ
Tough Solar System
G-Shock รุ่นแรกที่นำระบบนี้มาใช้ คือ DW-9300 (RayMan) หรือเจ้าค้างคาวไฟ ประมาณปี คศ. 1998 และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ "Tough Solar" กับ G-Shock ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เรามาดูหลักการทำงานของระบบนี้กัน
FROGMAN
Tough Solar เป็นระบบที่ใช้ ‘แสง’ สร้างกระแสไฟฟ้าจากแผ่นโซล่า เซลล์ เข้ามาเก็บในแบตเตอรี่ (Capaciter) ซึ่ง เป็นแบตเตอรี่แบบชาร์จซ้ำได้ (Rechargable) หรือถ่านชาร์จนั่นเอง จะไม่เหมือนกับถ่านที่เราใช้ทั่วไป คือหมดแล้วหมดเลย ไม่สามารถนำกลับมาอัดหรือชาร์จไฟได้อีก
แผ่นโซล่า เซลล์ จะถูกติดตั้งในจุดที่รับแสงได้มากที่สุดนั่นคือ บริเวณหน้าปัด พอจะสังเกตุเห็นแผงโซล่า เซลล์ สีจะออกม่วงเข้มมันวาว ลักษณะตามรูป จะมีเส้นแบ่งระหว่างเซลล์ แต่ในบางรุ่นที่ใช้เข็มนี่แทบมองไม่ออก
MTG
ยิ่งในปัจจุปัน ที่คาสิโอนำเอามาใช้กับตระกูล Edifice นี่กลมกลืนมาก มองไม่ออกถ้าไม่บอกว่า Tough Solar เอ้า! จริงๆ
แสงแบบไหน ที่ใช้เป็นแหล่งพลังงาน
เท่าที่ดูในคู่มือแจ้งไว้ใช้ได้ทุกแสง
ขึ้นอยู่กับความเข้มสว่างของแสง ในสภาพที่ใช้งานปกติทั่วไป แสงที่นาฬิกาควรได้รับ/ต่อวัน
-ข้างนอกกลางแจ้งแดดแรง ประมาณ 5 นาที/ต่อวัน
-ในวันที่แดดแรงปกติ แต่ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสง ประมาณ 24 นาที/ต่อวัน
-ในวันที่แดดเบาบาง ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสง ประมาณ 48 นาที/ต่อวัน
-ใช้แสงไฟจากหลอดนีออนทั่วไปชาร์จยาวไปเลย ประมาณ 8 ชั่วโมง/ต่อวัน
แล้วถ้าไม่ปกติต้องยังไงต่อ..ครับ
ตารางด้านบนคือระยะเวลา การเก็บพลังงานขณะชาร์จ ของถ่านในสภาวะแสงต่างๆมี 5 ระดับไล่เรียงกันไป จาก "Level 5" หมดเกลี้ยง ไปจนถึง "Level 1" แบตเต็ม มาดูกันต่อ
ในกรณีแบตเตอรี่เพิ่งหมด เราไปเห็นมันยังขึ้น "CHG" เห็นปุ๊บเอามาจัดเลย (Level 4)
แล้วถ้าไม่ปกติต้องยังไงต่อ..ครับ
-ข้างนอกกลางแจ้งแดดแรงใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงชาร์จเต็ม
-ในวันที่แดดแรงปกติ แต่ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสงใช้เวลาประมาณ 29 ชั่วโมงชาร์จเต็ม
-ในวันที่แดดเบาบาง ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสงใช้เวลาประมาณ 58 ชั่วโมงชาร์จเต็ม
-ใช้แสงไฟจากหลอดนีออนทั่วไปชาร์จยาว ขั้นต่ำมี 24 ชั่วโมงขึ้นถึงเห็นผล แต่ไม่เต็ม จะได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับสภาพของถ่าน
กรณีเก็บจนลืม สะสม มีหลายเรือน
มีเก็บสะสมไว้เยอะ เก็บไว้ในกล่อง, ในลิ้นชัก, ในตู้เซฟ เกิน 1ปี ไม่ได้ออกมาเจอโลกภายนอกเลย แนะนำให้ลองชาร์จโดยใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อช็อคเซลล์แบตให้ฟื้นคืนชีพ มันใช้ได้ผลดี ถ้าไม่มีจริงๆ ตากแดดแรงจะใช้เวลานาน หรือที่เห็นทำกันแช่ในน้ำตากแดดก็ไม่ว่ากัน ในกรณีไม่ฟื้นคงต้องเปลี่ยนถ่าน
ขนาดไหนถึงจะพอดี ต้องเอาออกมาตากแดดตลอดมั้ย
ด้วยความที่เป็นนาฬิกาสุดที่รัก ชอบเก็บ กลัวพัง เอามาตากแดด
ทุกวัน ผมบอกเลยไม่จำเป็นครับ เอาออกมาโดนแสง โดนแดดเยอะไป กรอบสายคือจุดอ่อนมันจะไปก่อน เอาพอประมาณ ถ้าเก็บในที่มืดแนะนำให้เช็คตลอด ถ้าโชว์ระดับแบตอยู่ "M" ค่อยเอาออกมารับแสง แต่ถ้าใช้งานตลอดไม่มีปัญหา มีตกมา "M" บ้างไม่น่าห่วง ถ้าอายุไม่เกิน 5 ปีมันชิวๆ ไปได้ต่อ บางเรือนเป็น 10 ปี มีให้เห็น ขึ้นอยู่กับการใช้งานครับ ในกรณีนาฬิกาเข็ม ตระกูลนักบินถ้าแบตใกล้หมดเข็มจะเดินกระตุก ไปทีละ 2 วินาทีในรุ่นสูงๆ พอหมดเข็มมันรีเซ็ต วิ่งไปอยู่ที่ 12 นาฬิกาทั้งหมด เจอไม่ต้องงง!นะครับ แบตเตอรี่มันหมด
Tough Solar มันดียังไง
อายุแบตเตอรี่มันจะยาวนาน ช่วยลดโลกร้อน ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อย ลดการเปิดฝาหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานด้วย เก็บที่มืด โดนแสงน้อยนานๆ ไปเร็วแน่นอน
"กินแสง"
ด้วยระบบการทำงาน ใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน บรรดาสาวกของจีช็อค เวลาคุยกัน ไม่ใช้ภาษาที่ยุ่งยากขี้เกียจ วกวนกับภาษาอังกฤษ คุยง่ายๆ พูดจาเข้าใจกันเร็ว "ตัวนี้กินแสงครับ" อ่อไอ้นี่นีมัน "Tough Solar"
แบตเตอรี่ที่ใช้
มีอยู่ไม่กี่เบอร์ ที่เจอเยอะสุดคือ CTL1616 หลังๆ จะเป็น CTL1616F เนื่องจากผู้ผลิต เปลี่ยนกระบวนการผลิตมันเติม F มาตามหลัง มันคงไม่คิดว่าคนเปลี่ยนถ่านจะคิดมาก..คนไม่รู้เรื่องไม่ศึกษาจะคิดมาก คิดไปต่างๆ นาๆ เพราะความไม่รู้ ปลอมหรือเปล่า ใช้กันได้มั้ย นี่ก็เป็นกรณีศึกษาได้เหมือนกัน
บทความมีประโยชน์จาก
https://www.gshockmuesong.com/
G-Shock Tough Solar คืออะไร...ทำไมต้องกินแสง
Tough Solar System
G-Shock รุ่นแรกที่นำระบบนี้มาใช้ คือ DW-9300 (RayMan) หรือเจ้าค้างคาวไฟ ประมาณปี คศ. 1998 และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ "Tough Solar" กับ G-Shock ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เรามาดูหลักการทำงานของระบบนี้กัน
MTG
ยิ่งในปัจจุปัน ที่คาสิโอนำเอามาใช้กับตระกูล Edifice นี่กลมกลืนมาก มองไม่ออกถ้าไม่บอกว่า Tough Solar เอ้า! จริงๆ
แสงแบบไหน ที่ใช้เป็นแหล่งพลังงาน
เท่าที่ดูในคู่มือแจ้งไว้ใช้ได้ทุกแสง
ขึ้นอยู่กับความเข้มสว่างของแสง ในสภาพที่ใช้งานปกติทั่วไป แสงที่นาฬิกาควรได้รับ/ต่อวัน
-ข้างนอกกลางแจ้งแดดแรง ประมาณ 5 นาที/ต่อวัน
-ในวันที่แดดแรงปกติ แต่ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสง ประมาณ 24 นาที/ต่อวัน
-ในวันที่แดดเบาบาง ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสง ประมาณ 48 นาที/ต่อวัน
-ใช้แสงไฟจากหลอดนีออนทั่วไปชาร์จยาวไปเลย ประมาณ 8 ชั่วโมง/ต่อวัน
แล้วถ้าไม่ปกติต้องยังไงต่อ..ครับ
ตารางด้านบนคือระยะเวลา การเก็บพลังงานขณะชาร์จ ของถ่านในสภาวะแสงต่างๆมี 5 ระดับไล่เรียงกันไป จาก "Level 5" หมดเกลี้ยง ไปจนถึง "Level 1" แบตเต็ม มาดูกันต่อ
ในกรณีแบตเตอรี่เพิ่งหมด เราไปเห็นมันยังขึ้น "CHG" เห็นปุ๊บเอามาจัดเลย (Level 4)
แล้วถ้าไม่ปกติต้องยังไงต่อ..ครับ
-ข้างนอกกลางแจ้งแดดแรงใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงชาร์จเต็ม
-ในวันที่แดดแรงปกติ แต่ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสงใช้เวลาประมาณ 29 ชั่วโมงชาร์จเต็ม
-ในวันที่แดดเบาบาง ตัวนาฬิกาอยู่ในบ้านรับแสงใช้เวลาประมาณ 58 ชั่วโมงชาร์จเต็ม
-ใช้แสงไฟจากหลอดนีออนทั่วไปชาร์จยาว ขั้นต่ำมี 24 ชั่วโมงขึ้นถึงเห็นผล แต่ไม่เต็ม จะได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับสภาพของถ่าน
กรณีเก็บจนลืม สะสม มีหลายเรือน
มีเก็บสะสมไว้เยอะ เก็บไว้ในกล่อง, ในลิ้นชัก, ในตู้เซฟ เกิน 1ปี ไม่ได้ออกมาเจอโลกภายนอกเลย แนะนำให้ลองชาร์จโดยใช้เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อช็อคเซลล์แบตให้ฟื้นคืนชีพ มันใช้ได้ผลดี ถ้าไม่มีจริงๆ ตากแดดแรงจะใช้เวลานาน หรือที่เห็นทำกันแช่ในน้ำตากแดดก็ไม่ว่ากัน ในกรณีไม่ฟื้นคงต้องเปลี่ยนถ่าน
ขนาดไหนถึงจะพอดี ต้องเอาออกมาตากแดดตลอดมั้ย
ด้วยความที่เป็นนาฬิกาสุดที่รัก ชอบเก็บ กลัวพัง เอามาตากแดดทุกวัน ผมบอกเลยไม่จำเป็นครับ เอาออกมาโดนแสง โดนแดดเยอะไป กรอบสายคือจุดอ่อนมันจะไปก่อน เอาพอประมาณ ถ้าเก็บในที่มืดแนะนำให้เช็คตลอด ถ้าโชว์ระดับแบตอยู่ "M" ค่อยเอาออกมารับแสง แต่ถ้าใช้งานตลอดไม่มีปัญหา มีตกมา "M" บ้างไม่น่าห่วง ถ้าอายุไม่เกิน 5 ปีมันชิวๆ ไปได้ต่อ บางเรือนเป็น 10 ปี มีให้เห็น ขึ้นอยู่กับการใช้งานครับ ในกรณีนาฬิกาเข็ม ตระกูลนักบินถ้าแบตใกล้หมดเข็มจะเดินกระตุก ไปทีละ 2 วินาทีในรุ่นสูงๆ พอหมดเข็มมันรีเซ็ต วิ่งไปอยู่ที่ 12 นาฬิกาทั้งหมด เจอไม่ต้องงง!นะครับ แบตเตอรี่มันหมด
Tough Solar มันดียังไง
อายุแบตเตอรี่มันจะยาวนาน ช่วยลดโลกร้อน ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อย ลดการเปิดฝาหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานด้วย เก็บที่มืด โดนแสงน้อยนานๆ ไปเร็วแน่นอน
"กินแสง"
ด้วยระบบการทำงาน ใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน บรรดาสาวกของจีช็อค เวลาคุยกัน ไม่ใช้ภาษาที่ยุ่งยากขี้เกียจ วกวนกับภาษาอังกฤษ คุยง่ายๆ พูดจาเข้าใจกันเร็ว "ตัวนี้กินแสงครับ" อ่อไอ้นี่นีมัน "Tough Solar"
แบตเตอรี่ที่ใช้
มีอยู่ไม่กี่เบอร์ ที่เจอเยอะสุดคือ CTL1616 หลังๆ จะเป็น CTL1616F เนื่องจากผู้ผลิต เปลี่ยนกระบวนการผลิตมันเติม F มาตามหลัง มันคงไม่คิดว่าคนเปลี่ยนถ่านจะคิดมาก..คนไม่รู้เรื่องไม่ศึกษาจะคิดมาก คิดไปต่างๆ นาๆ เพราะความไม่รู้ ปลอมหรือเปล่า ใช้กันได้มั้ย นี่ก็เป็นกรณีศึกษาได้เหมือนกัน
บทความมีประโยชน์จาก
https://www.gshockmuesong.com/