หากเราพูดถึงบริษัทที่บุกเบิกอุตสาหกรรมการผลิตซีรีส์วาย หรือซีรีส์แนวประเภทชายรักชายที่ปัจจุบันหลายบริษัทได้ผลิตกับเป็นล่ำเป็นสันแล้ว จะพบชื่อของจีเอ็มเอ็ม ทีวี เป็นชื่อแรกๆ ในเจ้าที่บุกเบิกทำซีรีส์วาย และด้วยคุณภาพของเนื้อหาที่ตรงใจของผู้ชม ทำให้คอนเทนต์ของจีเอ็มเอ็ม ทีวีได้รับผลตอบรับที่ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ และยังสามารถต่อยอดเป็นกิจกรรมต่างๆ ได้อีกมากมายอีกด้วย วันนี้ Modernist จะพาทุกคนมาเข้าใจจีเอ็มเอ็ม ทีวีให้มากขึ้นกัน
ก่อนที่จะมาในชื่อ “จีเอ็มเอ็ม ทีวี” นั้น เดิมจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้ตั้งแผนกผลิตรายการโทรทัศน์มาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นตั้งบริษัท เพื่อดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์เพลงของบริษัท ทำให้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเวลานั้น ด้วยเนื้อหารายการสองประเภท คือ Non-Music คือรายการที่ไม่ได้ทำมาเพื่อขายเพลง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นระยะๆ เช่น ตามไปดู และรายการประเภท Music คือรายการที่จัดทำเพื่อนำเสนอเพลงในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เป็นหลัก
จนกระทั่งวันที่ 3 สิงหาคม 2538 บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) ในปัจจุบัน) ได้จัดตั้งบริษัท แกรมมี่ เทเลวิชั่น จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 200,000 บาท เพื่อรุกคืบการดำเนินผลิตรายการโทรทัศน์แบบจริงจัง โดยมีแนวคิดในการสร้างสรรค์รายการให้ตรงโจทย์ฐานวัยรุ่นในเมืองเป็นหลัก ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้พัฒนารายการอีกมากมายที่ทำให้วงการโทรทัศน์ไทยเปลี่ยนไป และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20,000,000 บาท ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 และทางแกรมมี่ เทเลวิชั่นก็ได้ผลิตรายการหลากหลาย เริ่มต้นด้วย “เกมวัดดวง” เกมที่ไม่ต้องใช้ความคิด แต่ใช้ดวงล้วน ๆ ด้วยกติกาที่กวนบาทาเป็นอย่างมาก, เกมฮอตเพลงฮิต รายการเพลงที่คุณจะได้ชม MV ของแกรมมี่เป็นที่แรกในโลก, FIVELIVE รายการเพลงยามดึกที่แปลก แหวก แนว, O:IC รายการเพลงเที่ยงครึ่งที่พร้อมเสิร์ฟเพลงยามกลางวันให้กับทุกคน เป็นต้น
หลังจากพัฒนาและลองผิดลองถูกมาสักระยะหนึ่ง 30 มีนาคม 2550 จึงได้เปลี่ยนชื่อตามบริษัทแม่อย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ด้วยชื่อบริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด และได้เริ่มต้นผลิตซีรีส์ออกมาเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงออกอากาศสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Bang Channel เพื่อขยายฐานวัยรุ่นตามต่างจังหวัดมากขึ้น ทำให้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และยังเริ่มบริหารจัดการศิลปินในสังกัดของตนเองมากขึ้นอีกด้วย
ถ้าเปิดรายได้ออกมาดูจะพบว่ารายได้ในปี 2564 จะพบว่าจีเอ็มเอ็ม ทีวี ซึ่งได้ย้ายมาอยู่ภายใต้ The One Enterprise เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีรายได้สุทธิรวม 1,290,435,991 บาท โตขึ้นจากปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 33.97 มีรายจ่ายรวมอยู่ที่ 1,058,462,245 บาท ทำให้ในปี 2564 มีกำไรรวมอยู่ที่ 185,691,467 บาท
ความสำเร็จของจีเอ็มเอ็มทีวีในปีที่ผ่านมา วัดได้จากกระแสของซีรีส์หลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น นิทานพันดาว, ปลาบนฟ้า, Not Me หรือ แค่เพื่อนครับเพื่อน ที่ดังข้ามประเทศ และยังสามารถต่อยอดคอนเทนต์ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ออกมาได้หลากหลายท่า ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมออนไลน์ หรือการรับผลิตเนื้อหาให้เพิ่มเติม แม้กระทั่งการบริหารศิลปิน ทำให้นี่เป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญของจีเอ็มเอ็ม ทีวีในวันที่สถาพร พานิชรักษาพงศ์ บริหารงานอยู่ในขณะนี้.
https://www.modernist.life/gmmtv-revenue2021
ซีรีส์วายสะท้านพันล้าน!เปิดรายได้จีเอ็มเอ็ม ทีวี ที่คว้า 1,200 ล้านในปี 2564 ไปแล้ว
ก่อนที่จะมาในชื่อ “จีเอ็มเอ็ม ทีวี” นั้น เดิมจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้ตั้งแผนกผลิตรายการโทรทัศน์มาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นตั้งบริษัท เพื่อดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์เพลงของบริษัท ทำให้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเวลานั้น ด้วยเนื้อหารายการสองประเภท คือ Non-Music คือรายการที่ไม่ได้ทำมาเพื่อขายเพลง ซึ่งได้รับความนิยมเป็นระยะๆ เช่น ตามไปดู และรายการประเภท Music คือรายการที่จัดทำเพื่อนำเสนอเพลงในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เป็นหลัก
จนกระทั่งวันที่ 3 สิงหาคม 2538 บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) ในปัจจุบัน) ได้จัดตั้งบริษัท แกรมมี่ เทเลวิชั่น จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 200,000 บาท เพื่อรุกคืบการดำเนินผลิตรายการโทรทัศน์แบบจริงจัง โดยมีแนวคิดในการสร้างสรรค์รายการให้ตรงโจทย์ฐานวัยรุ่นในเมืองเป็นหลัก ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้พัฒนารายการอีกมากมายที่ทำให้วงการโทรทัศน์ไทยเปลี่ยนไป และได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20,000,000 บาท ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 และทางแกรมมี่ เทเลวิชั่นก็ได้ผลิตรายการหลากหลาย เริ่มต้นด้วย “เกมวัดดวง” เกมที่ไม่ต้องใช้ความคิด แต่ใช้ดวงล้วน ๆ ด้วยกติกาที่กวนบาทาเป็นอย่างมาก, เกมฮอตเพลงฮิต รายการเพลงที่คุณจะได้ชม MV ของแกรมมี่เป็นที่แรกในโลก, FIVELIVE รายการเพลงยามดึกที่แปลก แหวก แนว, O:IC รายการเพลงเที่ยงครึ่งที่พร้อมเสิร์ฟเพลงยามกลางวันให้กับทุกคน เป็นต้น
หลังจากพัฒนาและลองผิดลองถูกมาสักระยะหนึ่ง 30 มีนาคม 2550 จึงได้เปลี่ยนชื่อตามบริษัทแม่อย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ด้วยชื่อบริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด และได้เริ่มต้นผลิตซีรีส์ออกมาเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงออกอากาศสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Bang Channel เพื่อขยายฐานวัยรุ่นตามต่างจังหวัดมากขึ้น ทำให้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และยังเริ่มบริหารจัดการศิลปินในสังกัดของตนเองมากขึ้นอีกด้วย
ถ้าเปิดรายได้ออกมาดูจะพบว่ารายได้ในปี 2564 จะพบว่าจีเอ็มเอ็ม ทีวี ซึ่งได้ย้ายมาอยู่ภายใต้ The One Enterprise เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีรายได้สุทธิรวม 1,290,435,991 บาท โตขึ้นจากปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 33.97 มีรายจ่ายรวมอยู่ที่ 1,058,462,245 บาท ทำให้ในปี 2564 มีกำไรรวมอยู่ที่ 185,691,467 บาท
ความสำเร็จของจีเอ็มเอ็มทีวีในปีที่ผ่านมา วัดได้จากกระแสของซีรีส์หลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น นิทานพันดาว, ปลาบนฟ้า, Not Me หรือ แค่เพื่อนครับเพื่อน ที่ดังข้ามประเทศ และยังสามารถต่อยอดคอนเทนต์ ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ออกมาได้หลากหลายท่า ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมออนไลน์ หรือการรับผลิตเนื้อหาให้เพิ่มเติม แม้กระทั่งการบริหารศิลปิน ทำให้นี่เป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญของจีเอ็มเอ็ม ทีวีในวันที่สถาพร พานิชรักษาพงศ์ บริหารงานอยู่ในขณะนี้.
https://www.modernist.life/gmmtv-revenue2021