❤️มาลาริน/เปิดใจ "รมว.สุชาติ" โชว์แผนสู้โควิด-19 "เศรษฐศาสตร์-สาธารณสุข" ผลงานเข้าตาระดับโลก

เพี้ยนปักหมุดเปิดใจ "รมว.สุชาติ" โชว์แผนสู้โควิด-19 "เศรษฐศาสตร์-สาธารณสุข" ผลงานเข้าตาระดับโลก


ในการนี้ "หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน" มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ "นายสุชาติ ชมกลิ่น" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดใจในการดูแลผู้ใช้แรงงานในช่วงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาว่า เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) นำโดย ดร.ซามีรา อาสมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก ประจำสำนักงานใหญ่ นครเจนีวา ได้พุ่งมาที่กระทรวงแรงงานในการขับเคลื่อนแก้ไขในการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งน่าจะพุ่งไปที่กระทรวงสาธารณะสุข โดยให้เหตุผลว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของทางกระทรวงแรงงา โดยทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคเอกชนที่ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างกันเพื่อหาความสมดุลในการดูแลสุขภาพของพี่น้องแรงงานช่วงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยไม่ให้ภาคธุรกิจต้องปิดกิจการ โดยไม่ได้สนใจแค่เศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญหลักเศรษฐศาสตร์คู่สาธารณสุข และคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนของแรงงานที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยด้วย ซึ่งเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีเลิศในการให้ต่างชาติได้เรียนรู้จากประสบการณ์บริหารความเสี่ยงเพื่อนำไปปรับใช้ในช่วงวิกฤตได้ต่อไป

นายสุชาติ กล่าวว่า ต้องยอมรับในการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์ในครั้งนี้เป็นผลจากการบูรณาการทำงานร่วมกันตามนโยบายรัฐบาลที่ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงแรงงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและผู้ใช้แรงงานจากสถานการณ์ดังกล่าว เพราะพี่น้องผู้ใช้แรงงานถือได้ว่าเป็นฟันเฟืองที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง จึงได้ให้กระทรวงแรงงานบูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาในหลายด้าน อาทิ การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อนำเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องตามกฎหมาย โครงการ Factory Sandbox การตรวจคัดกรองเชิงรุก RT-PCR 100% ภายใต้โครงการ "แรงงาน...เราสู้ด้วยกัน" การจัดหาเตียง Hospitel รองรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 การเปิดสายด่วนให้ความช่วยเหลือประสานหาเตียงรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 การตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนเพื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นต้น


นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานมีความห่วงใยพี่น้องแรงงานและเร่งให้การช่วยเหลือตามนโยบายรัฐบาลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มแรงงาน สามารถรักษาระดับการจ้างงาน ประคับประคองให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคส่งออกเติบโตต่อเนื่อง จึงได้ดำเนินโครงการ Factory Sandbox ด้วยหลักการสำคัญ คือ..👇

ประการที่1 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แท่นพิมพ์เงินภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง รัฐบาลจึงต้องรักษาการจ้างงานและรักษาแท่นพิมพ์เงินของธุรกิจภาคส่งออกที่มีภาคแรงงานกว่า 2 ล้านคน ใน 4 สาขา ได้แก่ อาหาร เครื่องมือแพทย์ ยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เอาไว้ เนื่องจากหลายประเทศไม่สามารถส่งออกสินค้าได้
 
ประการที่ 2 การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรกมีวัคซีนจำกัด จึงต้องจัดสรรให้ผู้สูงอายุก่อน ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้เล็งเห็นความสำคัญของพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศ จึงขอรับการจัดสรรวัคซีนจากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และป้องกันไม่ให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานต้องนำเชื้อโควิด-19 ไปติดผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวที่บ้าน จึงได้ดำเนินโครงการ Factory Sandbox ตามนโยบายรัฐบาลด้วยหลักการเศรษฐศาสตร์คู่กับสาธารณสุข ทั้งการตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล เยียวยา การให้ความช่วยเหลือ การฉีดวัคซีน ตรวจคัดกรองโควิด -19 เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจเดินได้ 

และประการที่ 3 สำนักงานประกันสังคมมีโรงพยาบาลในเครือข่ายที่เป็นโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศรวมกว่า 200 แห่ง ซึ่งมีทีมแพทย์และพยาบาลที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการรองรับการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงอาศัยสถานพยาบาลเหล่านี้ในการตรวจคัดกรอง ดูแลรักษา และฉีดวัคซีนแก่พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม 

และประการสุดท้าย กระทรวงแรงงานได้ทำงานใกล้ชิดกับสหภาพแรงงาน จึงทำให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและพี่น้องผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง

"กระทรวงแรงงาน ขอขอบคุณองค์การอนามัยโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ให้การสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจส่งออกเติบโต ในรอบ 11 ปี ช่วยเหลือสถานประกอบการจนทำให้สามารถรักษาการจ้างงาน และบางบริษัทฯ สามารถจ่ายโบนัสได้ถึง 8 เท่า สะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เกิดการจ้างงานต่อเนื่อง ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ลูกจ้างกลุ่มยานยนต์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศก้าวข้ามช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปได้"

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามการต้องยอมรับว่าในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมารัฐบาลก็ต้องของคุณภาคเอกชนโดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือในการยอมที่จะแบ่งพื้นที่โรงงานจัดตั้งเป็นศูนย์พักผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายใต้โครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) เนื่องจากทั่วโลกได้รับผลกระทบ รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ แต่ในขณะเดียวกันยังมีภาคธุรกิจส่งออกที่หลายประเทศไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ มีเพียงภาคส่งออกของประเทศไทยที่ไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะธุรกิจส่งออกของประเทศไทยให้สามารถขับเคลื่อนต่อไป โดยเฉพาะการลงทุนที่ผ่านมาของจังหวัดชลบุรี มีการลงทุนมหาศาลในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาท่าเรือเฟสใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ EEC เป็น HUB ของการค้า การลงทุนของภูมิภาค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี



โครงการแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) จึงเป็นโครงการที่รัฐบาล นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน บูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการภายใต้แนวคิด "เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข" เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตส่งออก คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 700,000 ล้านบาท สามารถป้องกันการแพร่ระบาดในคลัสเตอร์โรงงาน เพื่อให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ รวมทั้งสามารถรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตและส่งออกสำคัญได้กว่า 3 ล้านตำแหน่ง

"ล่าสุด Mr.Jackie Chang ประธานบริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ได้เข้าขอบคุณกระทรวงแรงงาน เนื่องในโอกาสที่มอบวัคซีนแก่พนักงานของบริษัทฯ กว่า 17,000 คน ซึ่งเป็นคนไทยทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้โครงการ Factory Sandbox ที่ดำเนินการโดยกระทรวงแรงงานตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ ผลจากการได้รับวัคซีนผ่านโครงการ Factory Sandbox ทำให้ธุรกิจของบริษัทฯ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เกิดการจ้างงานและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลให้กับประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2020 - 2021 ที่ผ่านมามีมูลค่าทางธุรกิจจาก 5 หมื่นล้านบาท เป็น 8 หมื่นล้านบาท สามารถจ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้ถึง 6.5 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม"

นายสุชาติ กล่าวถึงวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมาว่า ปีนี้ถือเป็นปีพิเศษของผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแล และกำกับกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางมาพบผู้ใช้แรงงานด้วยตนเองที่กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ถึงแม้ว่าประเทศไทย และประเทศทั่วโลกยังคงประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 โดยได้ยื่นข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ นับตั้งแต่ปี 2561 – ปัจจุบัน มีการยื่นข้อเรียกร้อง รวมทั้งหมด 17 เรื่อง ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการแล้วเสร็จในขั้นของกระทรวงแล้ว 10 เรื่อง แบ่งเป็น มีผลบังคับใช้แล้ว 4 เรื่อง อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี 3 เรื่อง และอยู่ระหว่างเสนอ สภาผู้แทนราษฎร 3 เรื่อง ในส่วนของ 7 เรื่องที่ยังไม่แล้วเสร็จอยู่ในขั้นการศึกษาและจะเร่งรัด ดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้กระทรวงแรงงานดำเนินการแล้วเสร็จในขั้นของกระทรวง ตามข้อเรียกร้องที่สำคัญ ดังนี้ การแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อเรียกร้อง ของพี่น้องแรงงาน ในประเด็น 3 ขอ ได้แก่ ขอเลือกกำหนดให้สามารถเลือกรับ บำเหน็จหรือบำนาญ ขอคืนกำหนดให้สามารถนำเงินชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนได้ และขอกู้นำเงินชราภาพมาเป็นหลักค้ำประกันกับสถาบันการเงินได้

อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงแก่พี่น้องแรงงาน จึงได้มีการขยาย อายุขั้นสูงของผู้ประกันตน มาตรา 40 รองรับกับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย จากเดิมกำหนดอายุขั้นสูงไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์

รวมทั้งการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 o เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 600 บาท เป็น 800 บาท จำนวนผู้ประกันตน 1.19 ล้านราย จำนวนบุตร 1.33 ล้านราย เป็นเงิน 16,378.23 ล้านบาท

- เพิ่มเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจาก 90 วัน เป็น 98 วัน
-เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพรุนแรง จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70
- สำหรับพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ได้รับสิทธิบำนาญชราภาพแล้วและแสดงความจำนงเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 39/1 จะได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทน 3 กรณี คือ กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย หรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย
- สำหรับผู้ประกันตนที่สิ้นสุดด้วยเหตุถึงความตายหากได้รับบำนาญชราภาพไม่ครบ 60 เดือน ให้ได้รับที่เหลือจนครบ 60 เดือน
-เพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างหรือค้างจ่ายเงิน เพราะได้รับผลกระทบจากโรคโควิด – 19 จากเดิม 70 เท่า เป็น 100 เท่า รวม 11,381 คน เป็นเงิน 158.95 ล้านบาท

👇มีต่อค่ะ......ติดตามในคห.1นะคะ....นานาโอเค
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่